แนวทางการส่งเสริมศักยภาพคนไร้ที่พึ่ง เพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งกุ่มสะแก จังหวัดเพชรบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การส่งเสริมศักยภาพคนไร้ที่พึ่ง และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งกุ่มสะแก 2) ความสัมพันธ์ระหว่างการส่งเสริมศักยภาพคนไร้ที่พึ่ง กับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งกุ่มสะแก จังหวัดเพชรบุรี 3) แนวทางในการส่งเสริมศักยภาพคนไร้ที่พึ่ง เพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งกุ่มสะแก ใช้การวิจัยแบบผสมผสาน ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ คนไร้ที่พึ่งในสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งกุ่มสะแก จำนวน 217 คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และวิธีวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 คน โดยเลือกแบบเจาะจงจากหัวหน้าฝ่ายสวัสดิการสงเคราะห์ ครูฝึกอาชีพหัตถกรรม นักสังคมสงเคราะห์ นักจิตวิทยา ผู้ดูแลผู้รับการสงเคราะห์ชาย ผู้ดูผู้รับการสงเคราะห์หญิง และเจ้าหน้าที่ผู้จัดจำหน่ายสินค้า วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา พบว่า 1) การส่งเสริมศักยภาพคนไร้ที่พึ่ง และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งกุ่มสะแก โดยภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก 2) ความสัมพันธ์ระหว่างการส่งเสริมศักยภาพคนไร้ที่พึ่ง กับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งกุ่มสะแก โดยรวมในระดับสูง (r=0.710) มีความสัมพันธ์กันทางบวก จำแนกเป็นรายด้านอยู่ระหว่าง 0.270 ถึง 0.623 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 3) แนวทางการส่งเสริมศักยภาพคนไร้ที่พึ่งในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ควรมีการจัดกิจกรรม หรือการฝึกอบรมให้ความรู้เพื่อเพิ่มทักษะในด้านต่าง ๆ เช่น การฝึกทักษะที่มีอยู่แล้วให้เกิดความเชี่ยวชาญ การฝึกทักษะให้สำหรับผู้ที่ไม่มีทักษะ ควรเริ่มให้ฝึกทักษะง่ายๆ และการนำเครือข่ายมาช่วยในการอบรมให้ความรู้ในด้านต่าง ๆ เพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้ดีขึ้นไป
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ. (2565). การพัฒนาศักยภาพและเสริมสร้างคุณภาพชีวิต. กรุงเทพมหานคร : กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2559). ความหลากหลายของโลกในสถานการณ์ยุคปัจจุบัน. กรุงเทพมหานคร.
จิรกิตติ์ เนาวพงศ์รัตน์. (2562). ผลการจัดการเรียนรู้พลศึกษาตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงรุกที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต (สุขศึกษาและพลศึกษา), จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชูชัย สมิทธิไกร. (2553). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพมหานคร: วีพริ้นท์.
ทิพากรณ์ หน่อแก้วบุญ. (2559). การพัฒนาระบบการเรียนการสอนตามแบบยูเลิร์นนิ่งเพื่ออาชีวศึกษาและการฝึกอาชีพ. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีเทคนิคศึกษา ภาควิชาครุศาสตร์เทคโนโลยีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
นิตยา เต็งประเสริฐ. (2557). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยการผสมผสานทักษะปฏิบัติเดวีส์และการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อพัฒนาทักษะปฏิบัติชุดระบำไก่วิชาดนตรี-นาฏศิลป์. หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการวิจัยและพัฒนาหลักสูตรคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีจังหวัดปทุมธานี.
ไพศาล วรคำ. (2552). การวิจัยการศึกษา.กาฬสินธุ์ : คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.ประสานการพิมพ์.
มัทนียา ค้อมทอง. (2552). ผลของการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนที่มีต่อความรู้ เจตคติ และทักษะอาชีพของกลุ่มสตรีชมรมแม่บ้านทหารอากาศ จังหวัดลพบุรี วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สำนักงานวิทยทรัพยากร.
วรรณี ลิมอักษร. (2551). จิตวิทยาการศึกษา. สงขลา: ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยสงขลา.
อธิพงษ์ ฤทธิชัย. (2556). แนวคิดเรื่องสมรรถนะ.กรุงเทพมหานคร: ปัญญาชน.
อัจฉราพร ปะทิ. (2559). ความรู้ความเข้าใจและความคิดเห็นของประชาชนในชุมชนต่อการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง: กรณีศึกษาประชาชนในตำบลผาสิงห์อำเภอเมืองจังหวัดน่าน. สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารและนโยบายสวัสดิการสังคม ภาควิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.