การมีส่วนร่วมของชุมชนในการขับเคลื่อนชุมชนคุณธรรมด้วยพลังบวร : กรณีศึกษาชุมชนคุณธรรมวัดดงกลาง ตำบลดงกลาง อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของชุมชนในการขับเคลื่อนชุมชนคุณธรรมด้วยพลังบวร 2) เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับการมีส่วนร่วมของชุมชนในการขับเคลื่อนชุมชนคุณธรรมด้วยพลังบวร 3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการมีส่วนร่วมของชุมชนในการขับเคลื่อนชุมชนคุณธรรมด้วยพลังบวร ดำเนินการตามระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนที่เข้าร่วมการดำเนินโครงการ จำนวน 343 คน ที่ได้จากสูตรของยามาเน่ เครื่องมือ คือ แบบสอบถาม ได้ค่าความเชื่อมั่น 0.920 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t-test และ F-test ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการมีส่วนร่วมของชุมชนในการขับเคลื่อนชุมชนคุณธรรมด้วยพลังบวร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ประชาชนที่มี อายุ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมของชุมชนในการขับเคลื่อนชุมชนคุณธรรมด้วยพลังบวร แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนด้านอื่นไม่แตกต่างกัน และ 3) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ พบว่า 1) ปัญหา อุปสรรค คือ ประชาชนในพื้นที่ยังขาดการมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น ความต้องการ การตัดสินใจ การกำหนดแนวทางการพัฒนาการดำเนินงาน และการประชาสัมพันธ์เชิญชวนบุคคลอื่นมาเข้าร่วมการดำเนินโครงการ 2) ข้อเสนอแนะ คือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น ความต้องการ การตัดสินใจ การกำหนดแนวทางการพัฒนาการดำเนินงาน และ การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานด้านการประชาสัมพันธ์เพื่อเชิญชวนบุคคลอื่นมาเข้าร่วมการดำเนินโครงการ กิจกรรมดังกล่าว
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพิจิตร. (5 สิงหาคม 2566). เกี่ยวกับสำนักงาน. เรียกใช้เมื่อ 5 สิงหาคม 2566 จาก https://phichit.m-culture.go.th/th.
กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม . (2563). แนวทางการดำเนินงาน โครงการชุมชนคุณธรรมขับเคลื่อนด้วยพลังบวร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563. กรงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การศาสนา.
พระครูปลัดธรรมสรณ์ โสภาบุตร. (2561). แนวทางในการพัฒนาโรงเรียนวิถีพุทธตามหลักบวรแบบมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในโรงเรียนเมืองโพธิ์ชัย อำเภอโพธิ์ชัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3. ใน (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา): บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระณัฏฐ์ธนชัย จันดาผล, พระพรสวรรค์ ใจตรง, พระกัญจน์ แสงรุ่ง และ พระจรัญ สุวโจ. (2563). การศึกษาการขับเคลื่อนชุมชนคุณธรรมด้วยพลังบวรของวัดจำปา อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 5(1) , 183-193.
พระอธิการโสภณ ปิยธมฺโม (กิ่งแก้ว). (2565). รูปแบบการบริหารโครงการชุมชนคุณธรรมขับเคลื่อนด้วยพลังบวรตามหลักจิตอาสา สังกัดสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดอำนาจเจริญ. ใน (ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา): บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สิตา จุลวานิช. (2565). กระบวนการมีส่วนร่วมของพลัง “บวร” ตามหลักพุทธสันติวิธีในการพัฒนาวัดให้เป็นแหล่งท่องเที่ยววิถีพุทธ. ใน (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสันติศึกษา) : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สุชาติ ทองยอด . (2565). นวัตกรรมการพัฒนาเยาวชนด้วย “พลังบวร” ตำบลบางน้ำจืด อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร. ใน (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการชุมชนท้องถิ่น): บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธาน.
องค์การบริหารส่วนตำบลดงกลาง. (2565). แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566 - 2570). พิจิตร: องค์การบริหารส่วนตำบลดงกลาง.