การเพิ่มทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และความจำขณะคิดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ด้วยวิธีการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการประยุกต์โมเดลแอบสแตรกโคด

Main Article Content

เบญจมาศ จันทร์มาลี
กนก พานทอง
ปิยะทิพย์ ประดุจพรม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ก่อนกับหลังการใช้วิธีการเรียนรู้สำหรับเพิ่มทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และความจำขณะคิดเพื่อเปรียบเทียบความจำขณะคิดก่อนกับหลังการใช้วิธีการเรียนรู้สำหรับเพิ่มทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และความจำขณะคิด และเพื่อเปรียบเทียบทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และความจำขณะคิดหลังการทดลอง เมื่อจำแนกตามการใช้วิธีการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน วิธีการเรียนรู้โดยใช้โมเดลแอบสแตรกโคด และวิธีการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการประยุกต์โมเดลแอบสแตรกโคด กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนในกลุ่มตะวันบูรพา 6 โรงเรียน จำนวน 118 คน ได้มาด้วยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้โมเดลแอบสแตรกโคด แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการประยุกต์โมเดลแอบสแตรกโคด แบบทดสอบทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และแบบวัดความจำขณะคิด วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติ Paired Sample t-test, One-Way MANOVA และ One-Way ANOVA  


ผลการวิจัย ปรากฏว่า


1. ทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังการใช้วิธีการเรียนรู้สำหรับเพิ่มทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และความจำขณะคิดสูงกว่าก่อนการใช้วิธีการเรียนรู้สำหรับเพิ่มทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และความจำขณะคิด


2. ความจำขณะคิดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังการใช้วิธีการเรียนรู้สำหรับเพิ่มทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และความจำขณะคิดสูงกว่าก่อนการใช้วิธีการเรียนรู้สำหรับเพิ่มทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และความจำขณะคิด


3. ทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และความจำขณะคิดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ในกลุ่มทดลองหลังการใช้วิธีการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน วิธีการเรียนรู้โดยใช้โมเดลแอบสแตรกโคด และวิธีการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการประยุกต์โมเดลแอบสแตรกโคดแตกต่างกัน


คำสำคัญ : ทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์, ความจำขณะคิด, วิธีการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน, วิธีการเรียนรู้โดยใช้โมเดลแอบสแตรกโคด, วิธีการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการประยุกต์โมเดลแอบสแตรกโคด


 

Article Details

How to Cite
จันทร์มาลี เ. ., พานทอง ก. ., & ประดุจพรม ป. (2024). การเพิ่มทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และความจำขณะคิดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ด้วยวิธีการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการประยุกต์โมเดลแอบสแตรกโคด. วารสาร มจร เพชรบุรีปริทรรศน์, 7(1), หน้า 486 – 503. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JPR/article/view/275275
บท
บทความวิจัย

References

กษมา เกิดประสงค์. (2560). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้น

มัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 39(2), 109-110.

กัญจน์วิภา ใบกุหลาบ และ สุวรรณา จุ้ยทอง. (2562) ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานที่มีต่อ

ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง สมการ

ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์: ม.ป.ท.

เทวินทร์ สินธุมัด. (2565). ผลของการฝึกความจำขณะทำงานที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้น

ประถมศึกษาปีที่ 2. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 19(87), 174.

วิไลรัตน์ ชูช่วย. (2558). ผลของการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการต้อบทเรียนและรูปแบบการจัดกลุ่มแบบช่วย

รายบุคคลที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วารสาร

เทคโนโลยีภาคใต้, 8(1), 55.

Edmond, W. A., & Kennedy, T. D., (2017). An Appalled Reference Guide to Research Designs Quantitative,

Qualitative, and Mixed Methods. Far East Square Singapore: Sage Publications.

McCloskey, M. (1992). Cognitive mechanisms in numerical processing: Evidence from acquired

dyscalculia. Cognition, 44(1-2), 107-157.

S Triyani, I K Budayasa & S M Amin. (2018). Designing Task to Support Student’s Creative Thinking

Process In Problem Solving Of Fraction In Elementary School.