พฤติกรรมการออมและการใช้จ่ายของผู้สูงอายุ ตำบลเชียงทอง อำเภอวังเจ้า จังหวัดตาก
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการออมและการใช้จ่ายของผู้สูงอายุ 2) ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในการออมและการใช้จ่ายของผู้สูงอายุ และ 3) เสนอรูปแบบการสร้างเสริมพฤติกรรมการออมและการใช้จ่ายของผู้สูงอายุ ตำบลเชียงทอง อำเภอวังเจ้า จังหวัดตาก การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีวิจัยแบบผสานวิธีระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามกับผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปในตำบลเชียงทอง จำนวน 268 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบไคสแควร์ และการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้แบบสัมภาษณ์กับตัวแทนผู้สูงอายุในตำบลเชียงทอง จำนวน 9 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการออมเงิน มีรูปแบบการออมเงินนอกสถาบันการเงินด้วยการออมในรูปแบบการเก็บเงินไว้ในมือ เหตุผลการออมเงินเพื่อไว้ใช้เมื่อเจ็บป่วย/ฉุกเฉิน ปริมาณเงินออมต่อเดือน 1,001-5,000 บาท มีการใช้จ่ายต่อเดือน 1,001-5,000 บาท และมีภาระหนี้สินน้อยกว่า 1,000 บาท 2) ปัจจัยเพศ อายุ สถานภาพสมรส อาชีพ จำนวนสมาชิกในครัวเรือน รายได้ต่อเดือน แหล่งที่มาของรายได้ รูปแบบการออมเงิน เหตุผลการออมเงิน ปริมาณเงินออมต่อเดือน การใช้จ่ายต่อเดือน และภาระหนี้สิน มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในการออมและการใช้จ่ายของผู้สูงอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 3) รูปแบบการสร้างเสริมพฤติกรรมการออมและการใช้จ่ายของผู้สูงอายุ คือ “DISRI Model” มีองค์ประกอบ คือ แบ่งสัดส่วนเงิน ทำบัญชีรายรับรายจ่าย มีบัญชีออมเงิน ลดรายจ่าย และลงทุนเพื่อต่อยอด
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (Thrid edition ed.). New York: Harper and Row Publication.
กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2566). สถิติผู้สูงอายุ. เรียกใช้เมื่อ 2 กรกฎาคม 2566 จาก https://www.dop.go.th/th/know/side/1/1/2449
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2566). ระบบ 3 หมอรู้จักคุณ, รายงานข้อมูลตำบลเชียงทอง. เรียกใช้เมื่อ 2 กรกฎาคม 2566 จาก https://3doctor.hss.moph.go.th/main/rp_village?region=2&prov=NjM=&provn=4LiV4Liy4LiB&id=6309&n=4Lin4Lix4LiH4LmA4LiI4LmJ4Liy&tamid=630901&tamname=4LmA4LiK4Li14Lii4LiH4LiX4Lit4LiH
กวิสรา จันทร์พันธ์, และ พิทักษ์ ศิริวงศ์. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการออมของผู้สูงอายุ ในเขตอำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์. การประชุมวิชาการระดับชาติ ด้านการบริหารกิจการสาธารณะ ครั้งที่ 4 , วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
เกษมศรี ปูชนีย์วงศ์. (2558). การตระหนักรู้และพฤติกรรมการออมเพื่อเตรียมตัวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของ กลุ่มบุคคลช่วงอายุระหว่าง 25-35 ปี. การค้นคว้าอิสระเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,.
ประภัสสร คำเขื่อน. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการออมของผู้สูงอายุ. การค้นคว้าอิสระเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สำนักงานสถิติจังหวัดตาก. (2566). จำนวนผู้สูงอายุในจังหวัดตาก. เรียกใช้เมื่อ 28 ธันวาคม 2566 จาก https://app.powerbi.com/view?r=eyJrIjoiNDMxNGUwY2QtMjA1OS00YWExLWJlY2QtOGNhNjQyNDQ2YTM0IiwidCI6ImY2NGQzMTgzLTc2OTEtNGZjYi1hNWVmLTM5ZWJjMDgyYmZmOSIsImMiOjEwfQ%3D%3D
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ.2566-2570). กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.
สุนัยญา แดงเหม. (2565). ปัจจัยที่มีผลต่อการออมของครัวเรือนไทยในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล. วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาเศรษฐกิจดิจิทัล, มหาวิทยาลัยรังสิต.
สุภมาส อังศุโชติ, และ กาญจนี กังวานพรศิริ. (2558). ศึกษาแนวทางและมาตรการส่งเสริมการออมของผู้สูงอายุ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง: กรณีศึกษาจังหวัดนนทบุรี. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 7(14), 146-158.