การประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อเป็นฐานในการสร้างรายได้ให้กับชุมชน กรณีศึกษา บ้านมะเดื่อชุมพร หมู่ที่ 4 ตำบลโกสัมพี อำเภอโกสัมพี จังหวัดกำแพงเพชร

Main Article Content

สิรินพร เกียงเกษร

บทคัดย่อ

งานวิจัยแบบผสมผสานนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการใช้ประโยชน์จากพืชสมุนไพรท้องถิ่น เพื่อเป็นฐานในการสร้างรายได้ให้กับชุมชน และ เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่จากพืชสมุนไพรท้องถิ่นให้กับกลุ่มอาชีพบ้านมะเดื่อชุมพร ตำบลโกสัมพี อำเภอโกสัมพีนคร จังหวัดกำแพงเพชร โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือ 1)กลุ่มอาชีพ บ้านมะเดื่อชุมพร จำนวน 20 คน รวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก และวิเคราะห์ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา 2) กลุ่มผู้บริโภค จำนวน 80 คน รวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา พบว่า 1) กลุ่มอาชีพมีความสนใจในการทำลูกประคบสมุนไพรรูปแบบทรงกลมมากที่สุด เพื่อคงความเป็นลูกประคบสมุนไพร พร้อมปรับปรุงให้เป็นพวงกุญแจลูกประคบสมุนไพรจิ๋วแบบพกพา 2) พัฒนาทักษะการใช้ประโยชน์จากพืชสมุนไพรท้องถิ่น ได้แก่ ตะไคร้ มะกรูด ไพล ขมิ้นชัน ส้มป่อย และมะขาม เป็นผลิตภัณฑ์ลูกประคบสมุนไพร พวงกุญแจลูกประคบสมุนไพรจิ๋วแบบพกพา และนำมาสร้างรายได้ให้กับกลุ่มอาชีพ คัดเลือกกล่องบรรจุภัณฑ์ ออกแบบป้ายประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ลูกประคบสมุนไพร เพื่อใช้ในการทดลองตลาด นำผลิตผลิตภัณฑ์ไปทดลองจำหน่ายตามงานเทศกาลต่าง ๆ ในจังหวัดกำแพงเพชร 3) ความพึงพอใจของผู้บริโภคอยู่ในระดับมากที่สุด (x̅=4.71)  ได้แก่ วัสดุในการผลิตมีความเหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ และเป็นวัสดุท้องถิ่นที่มาจากธรรมชาติเป็นหลัก  (x̅=4.93) รองลงมาลูกประคบสมุนไพรที่ออกแบบมีความแปลกใหม่จากผลิตภัณฑ์ทั่วไปในท้องตลาด (x̅=4.90) ขนาดและรูปทรงของลูกประคบสมุนไพรเหมาะสม (x̅=4.89) ตามลำดับ กลุ่มอาชีพมีความพึงพอใจกับผลการดำเนินงานเป็นอย่างมาก เนื่องจากสามารถนำภูมิปัญญาท้องถิ่นพืชสมุนไพรต่าง ๆ มาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถเป็นอาชีพเสริม สร้างรายได้ให้กับตนเอง ครอบครัว ก่อให้เกิดการพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน

Article Details

How to Cite
เกียงเกษร ส. (2024). การประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อเป็นฐานในการสร้างรายได้ให้กับชุมชน กรณีศึกษา บ้านมะเดื่อชุมพร หมู่ที่ 4 ตำบลโกสัมพี อำเภอโกสัมพี จังหวัดกำแพงเพชร. วารสาร มจร เพชรบุรีปริทรรศน์, 7(1), หน้า 394 – 407. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JPR/article/view/274807
บท
บทความวิจัย

References

กฤษณะ ดาราเรือง. (2560). การพัฒนาผลิตภัณฑ์และกลยุทธ์ทางการตลาดวิสาหกิจชุมชนบ้านเขาแหลม

จังหวัดนครสรรค์. วารสารสุทธิปริทัศน์.

กรุณา จันทุม และกัลยารัตน์ กำลังเหลือ. (2560). การรักษาโรคด้วยสมุนไพรและตำรับยาโบราณจากหมอพื้นบ้าน.

วารสาร J Med Health Sci.

จิตต์เลขา ทองมณี. (2557). การผลิตลูกประคบสมุนไพร. [ออนไลน์] ได้จาก: https://www.clinictech.rmutp.ac.th, 2566.

จักพงศ์ แท่งทอง. (2550). พืชสมุนไพรในวิทยาเขตบ้านยางน้อยมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

ขุนแผน เหมือยฝน. ผู้ใหญ่บ้าน. สัมภาษณ์, 20 เมษายน 2566. ข้อมูลสมุนไพรหมู่บ้านมะเดื่อชุมพร.

นงลักษณ์ จิ๋วจู และคณะ. (2559). การพัฒนาการแปรรูปพืชสมุนไพร ตามภูมิปัญญาท้องถิ่นจากทรัพยากร ความ หลากหลายทางชีวภาพเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน กรณีศึกษา : บ้านโพธิ์พัฒนา ตำบลคณฑี อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร. วารสารการประชุมวิชาการระดับชาติ และนานาชาติ ราชภัฏวิจัย ครั้งที่ 4. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

นันทพร นิลวิเศษ. (2533). สมุนไพรในสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน. เล่ม 14 พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : อรินทร์.

พยอม วงศ์สารศรี. (2545). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สุภา.

รัชฎาพร เกตานนท์ แนวแห่งธรรม. (2560). แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจ

สร้างสรรค์ในจังหวัดนครปฐม. วารสารสาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ.

สยามรัฐ. ภูมิปัญญาท้องถิ่นชาวจีนเมืองเบตงนำสมุนไพรทางเลือกรักษาโรค. [ออนไลน์] ได้จาก: http://www.siamrath.co.th/n/76457, 2566.

สุกัญญา ทัศมี. (2554). ปัญหาในการบริหารจัดการของกลุ่มอาชีพจักรสานด้วยไม้ไผ่ บ้านน้อยโนนจำนง ตำบลพรรณานา อำเภอพรรณนานิคม จังหวัดสกลนคร. รายงานการศึกษาอิสระ ปริญญารัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

องค์การบริหารส่วนตำบลโกสัมพี. ข้อมูลประชากรหมู่บ้านมะเดื่อชุมพร. [ออนไลน์] ได้จาก: https://www.kosampee.go.th/condition.php, 2566.

อดุลย์ จาตุรงคกุล. (2543). การบริหารเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อรชร มณีสงฆ์. (2548). หลักการตลาด. กรุงเทพมหานคร : แมคกรอ ฮิล.

เอกวิทย์ ณ ถลาง. (2540). ภูมิปัญญาชาวบ้าน 4 ภูมิภาค: วิถีชีวิตและกระบวนการเรียนรู้ของชาวบ้าน ไทย. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Department of Community Development. (2001). The Operations Development of One District One Product (OTOP). Bangkok: United Production Printing.