ส่วนประสมทางการตลาดบริการ การตัดสินใจการเลือกโรงสีข้าวเพื่อการขายข้าวเปลือกของชาวนาในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท

Main Article Content

กานติมา กันทรากรภา
พรพนา ศรีสถานนท์
ตะวัน วิกรัยพัฒน์
ทรงพล ลพนานุสรณ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษา ส่วนประสมทางการตลาด และการตัดสินใจการเลือกโรงสีข้าวเพื่อการขายข้าวเปลือกของชาวนาในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท 2) เพื่อเปรียบเทียบการตัดสินใจเลือกโรงสีข้าวลักษณะของชาวนา3)  เพื่อศึกษาส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกโรงสีข้าวเพื่อการขายข้าวเปลือกของชาวนาในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ขายข้าวที่เป็นชาวนา จำนวน 385 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test ค่าความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ      ผลการวิจัยพบว่า ส่วนประสมทางการตลาด 7P’s  ในภาพรวมและรายด้าน มีค่าเฉลี่ยในระดับมากที่สุด 2) การตัดสินใจเลือกโรงสีข้าวเพื่อการขายข้าวเปลือก ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด 3) ชาวนาที่มีระดับการศึกษาแตกต่างกัน มีการตัดสินใจเลือกโรงสีข้าวเพื่อการขายข้าวเปลือกของชาวนาในเขตอำเภอเมืองจังหวัดชัยนาทนั้นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 4) ส่วนประสมทางการตลาดบริการ ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านสถานที่ ด้านบุคลากร ด้านลักษณะทางกายภาพ ด้านกระบวนการ ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกโรงสีข้าวเพื่อการขายข้าวเปลือกของชาวนาในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชัยนาทอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

How to Cite
กันทรากรภา ก., ศรีสถานนท์ พ., วิกรัยพัฒน์ ต. ., & ลพนานุสรณ์ ท. (2024). ส่วนประสมทางการตลาดบริการ การตัดสินใจการเลือกโรงสีข้าวเพื่อการขายข้าวเปลือกของชาวนาในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท. วารสาร มจร เพชรบุรีปริทรรศน์, 7(1), หน้า 381 – 393. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JPR/article/view/274591
บท
บทความวิจัย

References

กชกร กางธนทรัพย์. (2561). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (7P’s) ที่มีอิทธิพลต่อความจงรักภักดีในการใช้บริการอู่ซ่อมรถยนต์ของผู้ใช้บริการในจังหวัดสงขลาขลา. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

กรมอนามัย. (2566). โรงสีข้าว. กองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. สืบค้นจาก: http://www.hia.anamai.moph.go.th เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2566

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2560). การวิเคราะห์สถิติชั้นสูงด้วย SPSS for Window. (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจํากัด สามลดา.

จักรพงศ์ เตชะมวลไววิทย. (2561). การใช้ปัจจัยส่วนประสมการตลาดในการเลือกซื้อคอนโดมิเนียมในกรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยเกริก.

จิตตวุฒิ รัตตกุล (2559). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการและทัศนคติที่มีผลต่อ การตัดสินใจซื้ออาหารเพื่อสุขภาพของ พนักงานบริษัทเอกชน ในเขต กรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

จุรีพร ช้อนใจ. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อน้ำผลไม้พร้อมดื่ม ตรา กรีนเมทของผู้บริโภคในจังหวัดราชบุรี. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ณัฐธิดา อินต๊ะพรม. (2559). การใช้ปัจจัยส่วนประสมการตลาดในการตัดสินใจซื้อรถยนต์ของผู้บริโภคในเขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยเกริก.

ธงชัย สุวรรณสิชณน์. (2560). KU สร้างสรรค์ข้าวไทย “ศาสตร์แห่งแผ่นดิน เพื่อความกินดีอยู่ดี. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.ธนพร คำทิพย์ และรวิดา วิริยกิจจา. (2561). แรงจูงใจและพฤติกรรมในการใช้บริการ Mobile-Banking ของธนาคารออมสิน กรณีศึกษาธนาคารออมสิน จังหวัดเพชรบูรณ์. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

ธีระรัตน์ ชิณแสน, สำราญ พิมราช และ นภาพร เวชกามา. (2561). การศึกษาคุณภาพและความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์พื้นเมืองที่พบใน เขตพื้นที่จังหวัดมหาสารคามและจังหวัดใกล้เคียงที่ผ่านการกระตุ้นความงอก ด้วยวิธี Hydropriming. มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.

มุสตอฝา อาลีดีมัน. (2561). พฤติกรรมผู้บริโภคในการเลือกใช้บริการเครื่องจักรกลหนัก เกี่ยวกับการเกษ ตร เขตพื้นที่ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วรัญญา โพธิ์ไพรทอง (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าออนไลน์จากร้านค้าออนไลน์. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วัชระ เพชรล้วน. (2566). ข้าวไรซ์เบอรี่. สืบค้นจาก:

https://dna.kps.ku.ac.th/index.php/research-develop/rice-breeding-lab/riceberry-variety/21-rice-science-center-article/rgdu-rsc-research-rice, 2566. (9 ก.ค. 2566).

Cronbach, L. J. (1984). Essential of psychology testing. New York: Harper.

Cochran, W.G. (1953). Sampling Techniques. New York: John Wiley & Sons.