คุณภาพชีวิตในการทำงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานในเขตอุตสาหกรรมจังหวัดระยอง

Main Article Content

เปรมฤดี ผ่องชมภู
พิชัย ทรัพย์เกิด
พรพนา ศรีสถานนท์
ชนินทร์ วิชชุลตา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตในการทำงาน และประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน 2) เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน จำแนกตามลักษณะของพนักงาน 3) เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตในการทำงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานในเขตอุตสาหกรรม จังหวัดระยอง กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานในเขตอุตสาหกรรมจังหวัดระยอง จำนวน 385 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test ,F-test  และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ  ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณภาพชีวิตในการทำงานในการทำงานในภาพรวมและรายด้าน มีค่าเฉลี่ยในระดับมากที่สุด  ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานในภาพรวมและรายด้าน มีค่าเฉลี่ยในระดับมากที่สุด 2) พนักงานที่มีอายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่งงาน และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนแตกต่างกัน มีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานแตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05  4) คุณภาพชีวิตในการทำงานด้านค่าตอบแทนที่เป็นธรรมและเพียงพอด้านสิ่งแวดล้อมที่ถูกลักษณะและปลอดภัยด้านโอกาสที่ได้รับการพัฒนาและใช้ความสามารถของบุคคลด้านโอกาสก้าวหน้าและความมั่นคงในการทำงาน ด้านการมีส่วนร่วมในการทำงานและความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ด้านสิทธิส่วนบุคคลในการทำงานส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานในเขตอุตสาหกรรม จังหวัดระยอง

Article Details

How to Cite
ผ่องชมภู เ. ., ทรัพย์เกิด พ., ศรีสถานนท์ พ., & วิชชุลตา ช. . (2024). คุณภาพชีวิตในการทำงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานในเขตอุตสาหกรรมจังหวัดระยอง. วารสาร มจร เพชรบุรีปริทรรศน์, 7(1), หน้า 366 – 380. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JPR/article/view/274554
บท
บทความวิจัย

References

กิติคุณ ซื่อสัตย์ดี. (2557). คุณภาพชีวิตการทำงานกับประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานชวเลข สังกัดสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. ปริญญา

รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกริก.

เฉลิมขวัญ เมฆสุข และ ประสพชัย พสุนนท์. (2560). ปัจจัยคุณภาพชีวิตการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานระดับปฏิบัติการ บริษัท สยามฟิตติ้งส์ จำกัด. ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ชาณาณินฐ์ สัจจชยพันธ์. (2561). การพัฒนาขีดความสามารถของพนักงานในนิคม อุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง. วารสารบริหารธุรกิจอุตสาหกรรม ปี 2 (2).

ปัจจัยญา ปูสัญจร. (2559). คุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานบริษัท จี-เน็ท เน็ทเวิร์ค โซลูชั่น จำกัด. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

พรพิตรา ธรรมชาติ. (2560). คุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในการทำงาน และ ความตั้งใจในการลาออกของผู้แทนขายระดับบังคับบัญชาของกลุ่มบริษัทผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์.

พิชญา วัฒนะรังสรรค์และคณะ. (2559). เพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานโรงแรมระดับ 4 ดาว ย่านสยามสแควร์. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาอุตสาหกรรมการบริการและการท่องเที่ยว, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

มารวย วิชาญยุทธนากูล. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของพนักงานโรงแรมระดับ 5 ดาว. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

มุสตอฟา หมัดบินเฮด. (2565). คุณภาพชีวิตในการทำงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพใน การปฏิบัติงานของ บุคลากรภาครัฐ อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

วาริณี โพธิราช. (2559). คุณภาพชีวิตการทำงานของลูกจ้างในมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักงานสถิติระยอง. (2561). สืบค้นจาก

www.rayong.old.nso.go.th/ nso/project/search/result_by_departme nt.jsp

อุสุมา ศักดิ์ไพศาล. (2556). คุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน บริษัท อินเตอร์ เรียบตี้ แมนเนจเม้น จำกัด. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

อรวรา กล้าหาญ. (2564). คุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานการรถไฟแห่งประเทศไทย สำนักงานใหญ่. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Cronbach, L. J. (1984). Essential of psychology testing. New York: Harper.

Cochran, W.G. (1953). Sampling Techniques. New York : John Wiley & Sons.