ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำของครูยุคดิจิทัล ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำของครูยุคดิจิทัล ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมเพชรบุรี 2) ภาวะผู้นำครูยุคดิจิทัล ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมเพชรบุรี 3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำของครูยุคดิจิทัล ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมเพชรบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ ข้าราชการครูที่ในโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดเพชรบุรี จำนวน 278 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับของปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำของครูยุคดิจิทัลจำนวน 3 ตัวแปร อยู่ในระดับมากทั้งหมด โดยมีค่าเฉลี่ยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ปัจจัยด้านการบริหารจัดการองค์กร ปัจจัยด้านทักษะความเข้าใจและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และปัจจัยด้านคุณลักษณะส่วนบุคคล 2) ภาวะผู้นำของครูยุคดิจิทัล โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงลำดับจากมากไปหาน้อยตามค่าเฉลี่ยดังนี้ ด้านการเป็นพลเมืองในยุคดิจิทัล ด้านการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ยุคดิจิทัล ด้านการมีวิสัยทัศน์ยุคดิจิทัล และ ด้านการพัฒนาระดับมืออาชีพยุคดิจิทัล 3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำของครูยุคดิจิทัล ประกอบไปด้วยตัวแปรทั้งหมด 3 ตัวแปร คือ ปัจจัยด้านทักษะความเข้าใจและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ปัจจัยด้านการบริหารจัดการองค์กร และ ปัจจัยด้านคุณลักษณะส่วนบุคคล โดยมีประสิทธิภาพในการทํานายร้อยละ 68.30 และสมการพยากรณ์ในรูปแบบคะแนนมาตรฐานคือ Z^ = 0.433(x3) + 0.389(x2) + 0.360(x1)
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรณัฏฐ์ ตาแปง. (2563). บทบาทภาวะผู้นำทางการศึกษาของผู้บริหารยุคดิจิทัลในโรงเรียนขยาย โอกาสทางการศึกษา กลุ่มเครือข่ายพัฒนาการศึกษาแม่สลองในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3. การศึกษาค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยพะเยา.
คมศิลป์ ประสงค์สุข. (2564). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำครูด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยกระบวนการจัดการความรู้. รายงานวิจัยนี้ได้รับ การสนับสนุนทุนวิจัย จากกองทุนวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
เจษฎา ชวนะไพศาล. (2563). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มสหวิทยาเขตทวารวดี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุพรรณบุรี. การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.
จุฬาลักษณ์ อักษรณรงค์ และกุหลาบ ปุริสาร. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยี สารสนเทศของผู้บริหารสถานศึกษา สหวิทยาเขตหนองหาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20 จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย. 8(2). 178-188.
ณิชาภา ธพิพัฒน์. (2559). การพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำผู้บริหารสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน.วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยลงกรณ์.
ณัฏฐณิชา พรปทุมชัยกิจ. (2564). ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขต
พื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต
มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ.
ณัฐสุดา เกษา, กิตติ์ธเนศ เกษา, เบญจพร บรรพสาร และสิรินธร สินจินดาวงศ์. (2565). ภาวะผู้นำ ทางด้านเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 2 สหวิทยาเขตเบญจวิโรต ที่มีผลต่อการบริหารสถานศึกษาในยุค ดิจิทัล. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น. 16(2). 48-64.
เทวฤทธิ์ ผลจันทร์. (2564). โปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำทางวิชาการของครู สังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
พิชญ์พิมล สุนทะวงศ์. (2565). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงติจิทัลของครู สังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ลลิตา สมใจ. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับ ประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1. การค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยพะเยา.
ศศิธร รักษาชนม์ . (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สุธาสินี สุริยา. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับ แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรี สะเกษ เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ.
สร้อยสุดา กรีน. (2563). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำครูในการจัดการเรียนรู้ ในโรงเรียน มัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานศึกษาธิการภาค 11. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities.
Educational and Psychological Measurement. 30(3). 607-61