ปัจจัยและพฤติกรรมที่ส่งผลต่อการบริโภคหวานของนักเรียน โรงเรียนดาราวิทยาลัยจังหวัดเชียงใหม่ สังกัดมูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยและพฤติกรรมที่ส่งผลต่อการบริโภคหวานของนักเรียนโรงเรียนดาราวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายปีที่ 4-6 จำนวน 85 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์เชิงลึก และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยและพฤติกรรมที่มีผลต่อการบริโภคหวานของนักเรียนโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า (1) ด้านทัศนคติและจิตวิทยาส่วนบุคคลของนักเรียน พบว่าในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̅ = 3.60, S.D = 0.53) (2) ด้านความรู้ของนักเรียนพบว่าในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̅ = 4.27 S.D = 0.55) (3) ด้านสื่อของนักเรียนพบว่าในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̅ = 3.64, S.D. = 0.84) (3) ด้านวัฒนธรรมของนักเรียนพบว่าในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̅= 4.35, S.D. = 0.45) (4) ด้านสังคมของนักเรียนพบว่าในภาพรวมอยู่ในระดับมาก(x̅ = 4.35 S.D. = 0.45)
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size For Research Activities. Education and Psychological Measurement, 30, 607-610.
กฤษณพงศ์ เลิศบำรุงชัย และปณิตา วรรณพิรุณ. (2561). รูปแบบการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนเน็กติวิสต์ผ่านคลาวด์เทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมสื่อสร้างสรรค์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, 12(29), 221-228.
กองโรคไม่ติดต่อ. (2562). รายงานสถานการณ์โรค NCDs. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค.
ฝ่ายโภชนาการ คณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล. (2560, สิงหาคม 22). Retrieved from https://www.si.mahidol.ac.th/Th/healthdetail.asp?aid=1287
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2563). การสำรวจพฤติกรรมการบริโภคอาหารของประชากร ประจำปี พ.ศ. 2562. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.