ความร่วมมือภาครัฐและเอกชนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชน

Main Article Content

ภัครธรณ์ เอี่ยมอำภา

บทคัดย่อ

บทความเรื่อง ความร่วมมือภาครัฐและเอกชนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ทบทวนการดำเนินงานที่ผ่านมาของภาครัฐและเอกชนต่อการสนับสนุนการท่องเที่ยวโดยชุมชน 2) นำเสนอผลกระทบด้านลบของการท่องเที่ยวโดยชุมชนในประเทศไทย และ 3) ศึกษาความร่วมมือภาครัฐและเอกชนเพื่อจัดหาแนวทางการแก้ปัญหาผลกระทบด้านลบที่เกิดขึ้น ซึ่งในบทความนี้จะอธิบายถึงปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น และแนวทางการเข้าไปส่งเสริมและพัฒนาในลักษณะเชิงระบบโดยการนำแนวคิดพาราไดม์ 3 แนวคิด อันได้แก่ 1) การบริหารจัดการภาครัฐแนวเก่า (Old Public Management: OPM) 2) การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management: NPM) และ3) การบริการสาธารณะแนวใหม่ (New Public Service: NPS) ตลอดจนการเข้าไปอำนวยความสะดวกและขับเคลื่อนตามบทบาทที่ภาครัฐและเอกชนสามารถทำได้ในลักษณะนำร่องในช่วงแรก เพื่อสุดท้ายแล้ว ชุมชนจะมีทักษะและความสามารถในการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนด้วยชุมชนเอง ซึ่งในประเด็นปัญหาที่จะกล่าวถึง อันได้แก่ ปัญหาด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ปัญหาด้านสังคมและวัฒนธรรม และปัญหาด้านเศรษฐกิจ

Article Details

How to Cite
เอี่ยมอำภา ภ. . (2024). ความร่วมมือภาครัฐและเอกชนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชน . วารสาร มจร เพชรบุรีปริทรรศน์, 7(1), หน้า 33 – 47. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JPR/article/view/271692
บท
บทความวิชาการ

References

บรรณานุกรม

รุ่งรวี จิตภักดี. นวัตกรรมการท่องเที่ยวโดยชุมชน. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2566

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส.ม.อ.). “สรุปผลการประเมินผลกระทบจากการท่องเที่ยวชุมชน และข้อเสนอเชิงนโยบายในการทำยุทธศาสตร์ การท่องเที่ยวชุมชนอันดามัน.” สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2563: 18.

กิตติศักดิ์ กลิ่นหมื่นไวย และจุฑาทิพย์ สุจริตกุล. ผลกระทบของการท่องเที่ยวที่มีต่อชุมชนท้องถิ่น อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารรัตช์ภาค, 2565: 66-68.

NAPHAT SUKCHAROENCHOK. THE IMPACTS OF COMMUNITY-BASED TOURISM IN TERMS OF ECONOMIC, SOCIAL, AND ENVIRONMENTAL DIMENSIONS FOR THE LOCAL COMMUNITIES IN THAILAND. COPYRIGHT OF THAMMASAT UNIVERSITY, 2562: 4.

เสนอชัย เถาว์ชาลี และคนธรรพ์ พรถวิล. “ผลกระทบจากการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชนเผ่าม้ง ตำบลรวมไทยพัฒนา อำเภอพบพระ จังหวัดตาก.” วารสาร มจร การพัฒนาสังคม , ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 มกราคม – เมษายน 2564: 108.

นันทภัค บุรขจรกุล เปรมปรีดา ทองลา และเพ็ญศิริ สมารักษ์. ผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการท่องเที่ยวโดยชุมชน ตำบลบางสระเก้า อำเภอแหลมสิงห์จังหวัดจันทบุรี. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, ปีที่ 16 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม - เมษายน 2565: 54.

อำนาจ รักษาพล เบญจมาศ ณ ทองแก้ว และอุทัยวรรณ ศรีวิชัย. ผลกระทบด้านเศรษฐกิจจากการท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชน เกาะพิทักษ์ จังหวัดชุมพร. วารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา 2563: 65.

ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๖/ตอนที่ ๗๒/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๔ พฤษภาคม ๒๕๒๒

กรมการท่องเที่ยว (Department of Tourism). ประกาศเขตพื้นที่เพื่อการท่องเที่ยวในท้องถิ่นหรือชุมชน ตามพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ. 2551. ม.ป.ป. https://www.dot.go.th/content-sharing/content-sharing-detail/17 (09 พฤษภาคม 2566 ที่เข้าถึง).

ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๒๘ ก/หน้า ๒๐/๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑

กรมการท่องเที่ยว (Department of Tourism).ประวัติความเป็นมาของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. 2565. https://www.mots.go.th/news/5793 (09 พฤษภาคม 2566 ที่เข้าถึง).

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. พระราชบัญญัติสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. 2558. https://www.mots.go.th/news/category/377 (09 พฤษภาคม 2566 ที่เข้าถึง).

Tourism Authority of Thailand. การท่องเที่ยวโดยชุมชมอย่างยั่งยืน. ม.ป.ป. https://tatreviewmagazine.com/article/cbt-thailand/ (27 พฤษภาคม 2566 ที่เข้าถึง).

ดร. ประคอง สายจันทร์ ผู้อำนวยการสำนักท่องเที่ยวโดยชุมชน (สทช.), สัมภาษณ์โดย วิภาพร วัฒนวิทย์ (ผู้ดำเนินรายการ). ท่องเที่ยวโดยชุมชน โอกาสของทางเลือก รายการ คุณเล่า เราขยาย (Thai PBS) ผ่าน https://youtu.be/86dLbHHXEmw (5 มกราคม 2566).

กรมการท่องเที่ยว. ประกาศรายชื่อชุมชนที่ผ่านการตรวจประเมินและรับรองมาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชน . ม.ป.ป. https://www.dot.go.th/search?q=ประกาศรายชื่อชุมชน (16 เมษายน 2566 ที่เข้าถึง).

สำนักท่องเที่ยวโดยชุมชน องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) อพท. รายชื่อชุมชนที่มีศักยภาพเชื่อมตลาดชุมชน ที่ อพท. ลงไปดำเนินการ . 2566. https://catalog.dasta.or.th/dataset/23_01 (26 เมษายน 2566 ที่เข้าถึง).

ปกรณ์ ศิริประกอบ และศุภชัย ยาวะประภาษ. “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560: มองผ่านพาราไดม์ทางรัฐประศาสนศาสตร์.” สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน, ปีที่ 10 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2560: 27-64.

Dr. Andrea Giampiccoli. "Role of external parties in Community-Based Tourism development: Towards a new model”. 2017.