ผลการใช้เพลงและกลอนพ้องคำเพื่อพัฒนาคำศัพท์ภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนขนาดเล็ก กรณีศึกษาโรงเรียนบ้านสักหลง อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หาประสิทธิภาพชุดฝึกเพลงและกลอนพ้องคำเพื่อพัฒนาคำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนขนาดเล็ก 2) หาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านคำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 3 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านคำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 3 และ 4) ประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อชุดฝึกเพลงและกลอนพ้องคำเพื่อพัฒนาคำศัพท์ภาษาอังกฤษ ประชากรที่ใช้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียนบ้านสักหลง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 กลุ่มตัวอย่างที่ได้จากการสุ่มแบบเจาะจง จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ บทเรียนเพลงและกลอนพ้องคำศัพท์ภาษาอังกฤษ แบบทดสอบก่อนเรียน แบบทดสอบหลังเรียน และแบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ E1/E2 ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test ผลการวิจัยพบว่า 1) บทเรียนเพลงและกลอนพ้องคำศัพท์ภาษาอังกฤษ มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.33/77.33 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านคำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 3 มีคะแนนรวมคิดเป็นร้อยละ 75.67 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านคำศัพท์ของกลุ่มตัวอย่างระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 4) ความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.91, S.D. = .19) การวิจัยนี้ได้ให้ข้อมูลที่มีคุณค่าเกี่ยวกับการใช้เพลงและกลอนพ้องคำเพื่อพัฒนาคำศัพท์ภาษาอังกฤษและผลกระทบต่อความพอใจของนักเรียน พร้อมทั้งสนับสนุนการพัฒนาแนวทางการเรียนการสอนที่มีต้นทุนต่ำและเป็นประโยชน์ต่อโรงเรียนที่มีทรัพยากรจำกัด
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ณรงค์ กาญจนะ. (2553). เทคนิคและทักษะการสอนเบื้องต้น เล่ม 1. กรุงเทพมหานคร: จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.
ดารณี ศักดิ์ศิริผล. (2556). การศึกษาภาวะสมาธิสั้นในเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ในเขตกรุงเทพมหานคร
(รายงานการวิจัย). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์.
ทิพย์วัลย์ พันธ์เจริญ. (2558). การพัฒนาชุดการสอนเพลงเพื่อการสอนภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี
ที่ 4 โรงเรียนกรับใหญ่ว่องกุศลกิจพิทยาคม จังหวัดราชบุรี. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชา
การสอนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ). บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐ์ศิลป์. (2560). ปฏิรูปการศึกษาต้องบูรณาการข้ามหน่วยงาน. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2562,
จาก https://www.isranews.org/isranews-short-news/54592-65217.html.
นวลพรรณ ไชยมา. (2554). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานโดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี
สารสนเทศเพื่อพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูงสำหรับนักศึกษาสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตเพชรบูรณ์ (รายงาน
การวิจัย). ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
เนาวรัตน์ อินทรประสิทธิ์ และ อาคม สระบัว. (2558). การใช้กิจกรรมเพลงภาษาอังกฤษเพื่อส่งเสริมการออกเสียง
ต่อเนื่องกันในภาษาอังกฤษ (รายงานการวิจัย). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.
ปราณี ชูชม. (2556). การใช้ชุดเกม เพลง ในการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่
/2 เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โรงเรียนอนุบาลน้องหญิง (รายงานการวิจัย). อุบลราชธานี:
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี.
ปรารถนา ผดุงพจน์. (2561). การพัฒนาคลังกิจกรรมภาษาอังกฤษตามหลักรูปแบบการเรียนสำหรับนักศึกษาระดับ
ปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร. วารสารวิจัยราชภัฎพระนคร, 7(2), 86-98.
พิชญ์สินี ชมคำพู. (2552). รูปแบบการประเมินสมรรถนะนักศึกษาครูในศตวรรษที่ 21. วารสารวิจัยทางการศึกษา,
(1), 13-23.
เพ็ญสุดา จิโนการ. (2561). การศึกษาการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทางสังคมของเด็กออทิสติกจากการใช้ดนตรีบำบัด.
วารสารวิจัยและพัฒนาการศึกษาพิเศษ, 7(1), 2-13.
มาริสา กาสุวรรณ์ และมณฑา จาฏุพจน์. (2556). ประสิทธิผลของกิจกรรมเพลงภาษาอังกฤษต่อการเรียนรู้และความ
คงทนของคำศัพท์และทักษะการพูด. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 5(2), 18-31.
รติยา ภมรปฐมกุล และทศพร แสงสว่าง. (2557). หน่วยเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนรูปแบบเกม เรื่องการบวกและการ
ลบจำนวนเต็ม สำหรับเด็กสมาธิสั้น ระดับประถมศึกษาปีที่ 3. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต,
สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา). บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
สภานโยบายวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ. (2560). การปฏิรูประบบวิจัยและนวัตกรรมของประเทศสำนักงาน
คณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ. สืบค้น เมื่อ 20 สิงหาคม 2562, จาก
http://www.sti.or.th/sti/about.php?content_type=25.
สาลินีย์ สุวรรณพันธ์. (2553). การใช้กิจกรรมเพลงเพื่อส่งเสริมการออกเสียง ความรู้ทางด้านคำศัพท์และไวยากรณ์
ภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการสอน
ภาษาอังกฤษ). บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สุภาวดี ขันธ์บุญ. (2557). การศึกษาผลการใช้กิจกรรมเพลงเพื่อส่งเสริมทักษะการฟัง – การพูดภาษาอังกฤษและ
ความรู้ด้านคำศัพท์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตร
และการสอน). บัณฑิตศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
สุริยา ฆ้องเสนาะ. (2558). หน่วยบาทของครูไทยในศตวรรษที่ 21.สืบค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2565 (ออนไลน์). จาก
http://www.parliament. go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/d ownload/article /ar ticle_ 2015 0401102120.pdf.
อุไรวรรณ มาตมุงคุณ. (2554). พัฒนาการด้านการเรียนของเด็กปฐมวัยที่ได้การจัดกิจกรรมศิลปะจากงานกระดาษ.
(วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย). บัณฑิตศึกษา, มหาวิทยาลัยศรีนครินทร
วิโรฒ).
Sri Wahyuni. (2012). Improving Student’s Vocabulary Mastery through Popular Songs. (Master of
Arts, Language Study). Graduate School, University of Surakarta.
Xiangming Li and Manny Brand. (2009). Effectiveness of Music on Vocabulary Acquisition, Language
Usage and Meaning for Mainland Chinese ESL learners. Music Education, 36(1), 73-84.
Zahra Farmand and Behzad Pourgharib. (2013). The Effect of English Songs on English Learners
Pronunciation. International Journal of Basic Sciences & Applied Research, 2(9), 840-846.