- การพัฒนาและผลการใช้ชุดศึกษาด้วยตนเอง เรื่อง การประเมินตามสภาพจริง (Authentic Assessment) สำหรับครูที่สมัครใจเข้ารับการพัฒนาของโรงเรียนเอกชน ในจังหวัดนนทบุรี -
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของชุดศึกษาด้วยตนเอง 2) เพื่อเปรียบเทียบความรู้ของครูก่อนและหลังศึกษาชุดศึกษาด้วยตนเอง และ 3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน และนักเรียนที่มีต่อการวัดและประเมินผลของครู
ขั้นตอนการวิจัยมี 3 ขั้นตอน (1) การพัฒนาชุดศึกษาด้วยตนเอง (2) การทดลองใช้และหาประสิทธิภาพของชุดศึกษาด้วยตนเอง (3) การนำไปใช้จริงกับครูในโรงเรียนเอกชนของจังหวัดนนทบุรีและ (4) การติดตามผลของการใช้ชุดศึกษาด้วยตนเอง
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ (1) ครูที่ปฏิบัติการสอนในโรงเรียนประถมและมัธยมศึกษา โรงเรียนเอกชนในจังหวัดนนทบุรี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 70 คน ซึ่งเป็นผู้ที่ศึกษาชุดศึกษาด้วยตนเองได้ครบทุกเรื่องและปฏิบัติตามข้อตกลง (2) ผู้บริหารและนักเรียนที่ตอบแบบสอบถามแสดงความคิดเห็นต่อการวัดและประเมินผลของครูที่ศึกษาชุดพัฒนาตนเอง จำนวน 20 คน และ 100 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ (1) ชุดศึกษาด้วยตนเอง จำนวน 1 ชุด รวม 4 หน่วย หน่วยที่ 1 เรื่องการประเมินโดยวิธีสังเกต สัมภาษณ์ และสอบถาม หน่วยที่ 2 เรื่องการประเมินโดยใช้แฟ้มสะสมงาน หน่วยที่ 3 เรื่องการประเมินการปฏิบัติ หน่วยที่ 4 เรื่องการสร้างเกณฑ์การประเมิน (Rubrics) ทดลองใช้กับครูแบบเดี่ยว 3 คน แบบกลุ่ม 9 คน และแบบภาคสนาม 45 คน มีประสิทธิภาพ (Efficiency) E1/E2 ในภาพรวมของทั้งสี่หน่วยเท่ากับ 67.73/68.22 (2) แบบทดสอบหลังศึกษาชุดศึกษาด้วยตนเอง มีค่าความเชื่อมั่น .850 (3) แบบทดสอบรวบยอด/สรุปองค์ความรู้ใช้ทดสอบก่อนและหลังจากการศึกษาชุดศึกษาด้วยตนเองได้ครบทุกเรื่อง มีค่าความเชื่อมั่น 0.757 (4) แบบประเมินความคิดเห็นของผู้บริหารและนักเรียนที่มีต่อการวัดและประเมินผลของครู มีค่าความเชื่อมั่น .907 และ .739 สถิติที่ใช้คือค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ การทดสอบค่า t (t-test) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป
1.ชุดศึกษาด้วยตนเอง เรื่อง การประเมินตามสภาพจริง (Authentic Assessment) มีประสิทธิภาพ 67.73/68.22
2.ความรู้ของครูหลังศึกษาชุดศึกษาด้วยตนเองสูงกว่าก่อนศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีความก้าวหน้าเพิ่มขึ้น ร้อยละ 57.38
จากการทำแบบทดสอบรวบยอด/สรุปองค์ความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.22 จากการทำแบบทดสอบก่อนและหลังการศึกษาของทุกเรื่องเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.99 สูงกว่ากัน
3.ผู้บริหารโรงเรียน มีความคิดเห็นว่าครูสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการวัดและประเมินผลนักเรียนในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และนักเรียนมีความคิดเห็นว่าครูได้ปฏิบัติงานด้านการวัดและประเมินผลตามรายการที่กำหนดในแบบสอบถามในภาพรวมร้อยละ 86.94 และไม่ได้ปฏิบัติร้อยละ 13.06
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ษฑฬษ ปรีชาจารย์, วีระวัฒน์ พัฒนกุลชัย, วิทยา ศรีชมพู. (2566). แนวทางการพัฒนากรอบคิดแบบเติบโตของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน. วารสารวิชาการการจัดการภาครัฐและเอกชน, 5(1), 205-222.
ผ่องอำไพ หมั่นคง, สมบูรณ์ ตัน ยะ, วรสิทธิ์ รัตนวราหะ. (2566). การพัฒนาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ความรับผิดชอบต่อสังคมของสถาน ศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา: Development of Factor and Indicators for Corporate Social Responsibility of Institutes under Vocational Education Commission. สิกขาวารสาร ศึกษาศาสตร์, 10(1), 73-85.
อดิศร ศิริ, นภาภรณ์ ธัญญา, สุภาพร แพรว พนิต, วรญา ภูเสตวงษ์. (2566). การพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างทักษะการคิดทางคณิตศาสตร์สำหรับ นักเรียนที่มีความสามารถพิเศษในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย: Development of Curriculum Enhancing Mathematical Thinking Skills for Gifted Secondary School Students. สิกขาวารสารศึกษา ศาสตร์, 10(1), 141-152.
กัลฐภัสร์ ไชยสิงห์ทอง, & การุณย์ ชัย วณิชย์. (2566). การพัฒนาทักษะการเขียนภาษาจีนของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิศูนย์พระนครศรีอยุธยาหันตราโดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุก(Active Learning). วารสารศิลปศาสตร์ราช มงคลสุวรรณภูมิ, 5(1), 28-40
แววดาว ดาทอง. (2566). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจิตวิทยาศาสตร์และความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบสะตีม ศึกษา(STEAM EDUCATION)เรื่องอาหารและสารอาหารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่6โรงเรียนโคกหิน ตั้งศึกษาศิลป์. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา, 34(1), 19-31.
ศุภกฤต ดิษฐ สุวรรณ. (2566). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อยก ระดับคุณภาพผู้เรียนโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการสุวรรณภูมิ. Journal of Roi Kaensarn Academi, 8(3), 194-214.
สุนทรี แซ่บ่าง. (2566). การพัฒนาความรู้พื้นฐานด้านการทำ วิจัยในชั้นเรียนโดยใช้ชุดการเรียนรู้ด้วยตนเองสำหรับครูปฐมวัยในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนจังหวัดสุราษฎร์ธานี. The Golden Teak: Humanity and Social Science Journal, 29(1), 105-118
ชานนท์ ดำสนิท, ชานนท์ จงจินากูล, & สยาม จวงประโคน. (2566). การพัฒนาชุดสื่อการเรียนรู้ในรูป แบบออนไลน์รายวิชาทฤษฎีดนตรีสากล2 สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่1วิทยาลัยนาฏศิลป ร้อยเอ็ด. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 42(1), 48-58.
ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์. (2566). นวัตกรรมการศึกษาเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบโมไบล์เลิร์นนิง เรื่อง แหล่โบราณสถานบริเวณเมืองเก่าจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสตรีวิทยาโดยใช้โปรแกรมโลกเสมือนจริง (Metaverse). วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา, 15(1), 119-133
กับณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์. (2566). นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษากิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกและเกมการศึกษารายวิชาวิทยาศาสตร์เรื่องสิ่งมีชีวิตกับสภาพแวดล้อมชั้นประถมศึกษาปีที่ 5โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดนครปฐม. วารสารพุทธนวัตกรรมปริทรรศน์, 4(2), 1-12
กับณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์. (2565). นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่องห่วงโซ่อาหาร (Food Chain) โดยใช้สื่อวิดีโอ(VDO) ผ่านแอปพลิเคชั่นสําหรับเรียนรู้ผ่านวีดีทัศน์แบบมีปฏิสัมพันธ์. วารสารวิจัยศิลปวิทยาการลุ่มน้ำโขง มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 32(2), 25-38.