ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการรับบริการยางล้อรถยนต์ กับศูนย์บริการบริษัททรัพย์รุ่งเรืองยางยนต์ จำกัด

Main Article Content

ศราวุธ สุขมโนมนต์
ตะวัน วิกรัยพัฒน์
พิชัย ลัทธศักดิ์ศิริ
ธนกฤต แย้มเผื่อน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ส่วนประสมทางการตลาด และ ความพึงพอใจในการเข้ารับบริการยางล้อรถยนต์ 2) เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจในการเข้ารับบริการยางล้อรถยนต์กับลักษณะของผู้บริโภค3) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในการเข้ารับบริการยางล้อรถยนต์ กลุ่มตัวอย่างเป็น เป็นลูกค้าของบริษัททรัพย์รุ่งเรืองยางยนต์ จำกัด  จำนวน 360 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test ค่าความแปรปรวนทางเดียวและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในภาพรวม มีค่าเฉลี่ยในระดับมากที่สุด ความพึงพอใจในการเข้ารับบริการยางล้อรถยนต์ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ผู้บริโภคที่มีอายุ สถานภาพ อาชีพและรายได้เฉลี่ยต่อเดือนแตกต่างกันมีความพึงพอใจในการเข้ารับบริการยางล้อรถยนต์ แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดด้านกระบวนการ ด้านการส่งเสริมการตลาด และด้านราคา มีผลต่อความพึงพอใจในการเข้ารับบริการยางล้อรถยนต์ ซึ่งสามารถอธิบายความผันแปรของความพึงพอใจในการเข้ารับบริการยางล้อรถยนต์ได้ร้อยละ 33.50

Article Details

How to Cite
สุขมโนมนต์ ศ., วิกรัยพัฒน์ ต., ลัทธศักดิ์ศิริ พ., & แย้มเผื่อน ธ. (2023). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการรับบริการยางล้อรถยนต์ กับศูนย์บริการบริษัททรัพย์รุ่งเรืองยางยนต์ จำกัด. วารสาร มจร เพชรบุรีปริทรรศน์, 6(1), หน้า 34 – 46. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JPR/article/view/264960
บท
บทความวิจัย

References

กองการยาง กรมวิชาการเกษตรกระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2558). สถิติยางประเทศไทย.กรุงเทพฯ : กองการยาง กรมวิชาการเกษตร.

กุลวดี อัมโภชน์. (2561). ส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อความพึงพอใจและความจงรักภักดีของลูกค้าร้านสะดวกซื้อ เขตพัทยา จังหวัดชลบุรี.วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทร์เกษม, 13(1) (มกราคม 2561).

กัลยา วาณิชย์บัญชา. (2560). สถิติสำหรับงานวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 11, โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พรสุดา ปานเกษม. (2557). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการตัดสินใจเลือกใช้บริการศูนย์บริการยางรถยนต์ กรณีศึกษา ห้างหุ้นส่วนจำกัดสุชาดาการยาง.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

พนิตานันท์ อังคสกุลเกียรติ. (2556). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อเสื้อผ้าของผู้หญิงจากร้านค้าในสังคมออนไลน์เฟซบุ๊ก.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เพ็ญนภา จรัสพันธ์. (2557). ความพึงพอใจของลูกค้าต่อคุณภาพการให้บริการของศูนย์บริการลูกค้า จีเนท โมบายเซอร์วิสเซ็นเตอร์ จันทบุรี. มหาวิทยาลัยบูรพา.

วรัญญา โพธิ์ไพรทอง. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าออนไลน์จากร้านค้าออนไลน์.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วิวิศนา โชติศักดิ์. (2563). ความพึงพอใจของผู้ซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านแอพพลิเคชนั่ Lazada ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

โสภณ สุดสาหร่าย. (2556). ปัจจัยการเลือกเข้าศูนย์บริการรถยนต์ที่ไม่เป็นผู้แทนจำหน่ายของผู้ใช้รถยนต์ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล.มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

อภิชัจ ชูทิพย์. (2560). การพัฒนาคุณภาพกระบวนการผลิตยางรถยนต์โดยใช้หลักการพื้นผิวผลตอบสนอง.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เอกภพ วีระกูล. (2562). การศึกษากระบวนการใช้ประโยชน์จากยางรถยนต์เก่าเพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์เก้าอี้. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

Cronbach, L. J. (1984). Essential of psychology testing. New York: Harper.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis.3rdEd. New York. Harper and Row. Publications