การจัดการที่ดินในพื้นที่ชุมชนและพื้นที่ภาคเกษตรกรรมในเขตป่าสงวนแห่งชาติ กรณีศึกษาพื้นที่เขตอำเภอคลองลาน, จังหวัดกำแพงเพชร อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาวการณ์ ปัญหา และอุปสรรคของการจัดการที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติเขตคลองลาน และวังน้ำเขียว 2) แนวทางการแก้ปัญหาของการเป็นพื้นที่ทับซ้อนที่เป็นที่อยู่อาศัยและที่ทำกินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ เขตคลองลานและวังน้ำเขียว และ 3) กฎหมายและผลกระทบของการบังคับใช้กฎหมายของป่าสงวนแห่งชาติ วิธีดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพ และรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก 4 กลุ่ม โดยมีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 50 คน ผลการศึกษา พบว่า การจัดการที่ดินมีปัญหาและอุปสรรคในประเด็น ความไม่ชัดเจนของเขตแดน กรรมสิทธิ์ที่ดิน และกฎหมาย ส่วนแนวทางการแก้ปัญหาของการเป็นพื้นที่ทับซ้อนในเขตป่าสงวนแช่งชาติ คือ ต้องมีการจัดทำแนวเขตอย่างชัดเจน ในพื้นที่ทับซ้อนมีการจัดฐานข้อมูลแนวเขตที่ชัดเจนในมาตรฐานหรือมาตราส่วนเดียวกัน จัดทำแผนการใช้ประโยชน์ที่ดิน โดยการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน มีการแก้ไขกฎหมายให้ชัดเจน และให้มีการลงนาม แบบสัญญาประชาคมร่วมกันก่อนมีการออกกฎระเบียบ ออกเอกสารสิทธิ์ให้ประชาชนมีการประกาศอย่างชัดเจน และในส่วนกฎหมายและผลกระทบของกฎหมายป่าสงวนแห่งชาติ มีอุปสรรคและปัญหาในการบังคับใช้กฎหมาย นโยบายของรัฐไม่มีความแน่นอน ไม่มีความต่อเนื่อง มีลักษณะเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ผู้บังคับใช้กฎหมายมีอุปสรรคและปัญหาทั้งภายใน และระหว่างองค์กรที่เข้ามามีส่วนรับผิดชอบร่วมกัน มีหลายหน่วยงานเข้ามาเกี่ยวข้องก่อให้เกิดปัญหาการประสานงานที่ไม่มีประสิทธิภาพ ทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างหน่วยงาน องค์กรของรัฐ และประชาชน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมป่าไม้. (2561). บทสรุปสำหรับผู้บริหาร:โครงการจัดทำข้อมูลสภาพพื้นที่ป่าไม้ปี พ.ศ. 2560- 2561. กรุงเทพฯ: สำนักจัดการที่ดินป่าไม้.
กิตติคุณ นุผัด .(2561). ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินตาม พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม พ.ศ. 2518.
ครรชิต โล่ห์คํา .(2561). ปัญหาการบุกรุกพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ.ปริญญานิติศาสตรมหาบัณฑิต
วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม สาขาวิชานิติศาสตร์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
คำวิเศษ เพ็งวันสวรรค์ .(2561). แนวทางการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้เขตป่าสงวนแห่งชาติดงหัวสาวพื้นที่บ้านน้ำพากเมืองปทุมพร แขวงจำปาสักสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ยุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค) มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.
ณัฏฐพงษ์ จุฑาพันธ์สวัสดิ .(2562). ความสัมพันธ์เชิงอำนาจของผู้มีอิทธิพลกับการบุกรุกพื้นที่ป่าสงวน แห่งชาติจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันตกของประเทศไทย. ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต วิชาเอกการเมืองการปกครอง สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
พระราชบัญญัติป่าชุมชน พ.ศ. 2562, เล่ม 136 ตอนที่ 71 ก ราชกิจจานุเบกษา 29 สืบค้นเมื่อ 2 ม.ค. 2565. จาก https://library2.parliament.go.th/giventake/content_nla2557/law136-290562-71.pdf.
พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2562, เล่ม 136 ตอนที่ 71 ก ราชกิจจานุเบกษา 29พฤษภาคม 2562 สืบค้นเมื่อ 2 ม.ค. 2565. จาก
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/A/071/T_0104.PDF.
พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 เล่ม 136 ตอนที่ 71 ก ราชกิจจานุเบกษา 29 พฤษภาคม 2562 สืบค้นเมื่อ 2 ม.ค. 2565. จาก https://www.reic.or.th/Upload/27_17502_1563854758_53024.pdf
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134, ตอน 40 ก. สืบค้นเมื่อ 2 ม.ค. 2565. จาก https://th.wikisource.org/wiki.
สุนี ลำสา .(2559). ปัจจัยการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน และแนวทางการพัฒนาการป้องกันพื้นที่ป่าไม้ในอุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยาง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. (วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม.