การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมการอ่านเชิงวิเคราะห์ โรงเรียนป่าเด็งวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การแก้ไขปัญหาด้านการจัดการเรียนรู้ภายในโรงเรียนมีหลักการบริหารงานที่สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้โดยใช้กระบวนการของการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ผู้วิจัยจึงสนใจทำวิจัยเรื่อง การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมการอ่านเชิงวิเคราะห์ โรงเรียนป่าเด็งวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบุรี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ของโรงเรียนป่าเด็งวิทยา และ 2) พัฒนาทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนโรงเรียนป่าเด็งวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบุรี กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย ประกอบด้วย ครูผู้สอน จำนวน 6 คน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนป่าเด็งวิทยา มีขั้นตอนในการวิจัย 1) ขั้นวางแผน 2) ขั้นปฏิบัติการ และ 3) ขั้นสะท้อนผล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม แบบทดสอบ แบบบันทึก แบบประเมิน แบบสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้าง แผนการจัดการเรียนรู้ และการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าที
ผลการวิจัยพบว่า
- การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ของโรงเรียนป่าเด็งวิทยา ประกอบด้วยขั้นตอนในการวิจัย 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นวางแผน ได้ดำเนินการใน 3 องค์ประกอบของการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ คือ ด้านการสนับสนุนและการเป็นผู้นำร่วมกัน โดยครูร่วมกันวิเคราะห์ สังเคราะห์ แนวคิดทฤษฎีของการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ด้านการสร้างค่านิยมและวิสัยทัศน์ร่วม โดยครูร่วมประชุม เพื่อประเมินและจัดลำดับสภาพปัญหา ความต้องการในเรื่องการอ่านเชิงวิเคราะห์ และด้านการจัดสภาพที่เอื้ออำนวย ได้จัดตั้งทีมงาน PLT ออกเป็น 3 ทีม ทีมละ 2 คน (บัดดี้) ที่ PADENG PLC Zone 2) ขั้นปฏิบัติการ ดำเนินการตามการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ด้านการเรียนรู้ร่วมกันและการประยุกต์ใช้ความรู้โดยการเปิดชั้นเรียนให้สมาชิกในทีม PLC ได้เข้าร่วมสังเกตในการจัดการเรียนการสอน ประกอบไปด้วย 1) ครูต้นแบบ ซึ่งเป็นครูผู้สอนหลักรายวิชาภาษาไทย 2) ครูร่วมเรียนรู้ 3) หัวหน้ากลุ่มสาระ
4) ผู้บริหาร และ 5) ผู้เชี่ยวชาญ และขั้นสุดท้ายขั้นที่ 3) ขั้นสะท้อนผล ได้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกันในการแก้ปัญหาการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน - ผลการพัฒนาทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนป่าเด็งวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบุรี โดยใช้แบบทดสอบซึ่งประกอบด้วย ทักษะการเปรียบเทียบ ทักษะการจำแนก ทักษะการเรียงลำดับ ทักษะการเชื่อมโยง และทักษะการพิสูจน์ความจริง พบว่าคะแนนเฉลี่ยโดยรวมทุกด้าน และจำแนกรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมวิชาการ. (2551). แนวทางการวัดและประเมินการเรียนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.
____________. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: สปอร์ตซินดิเคท.
กานต์ชนก ด้วงตะกั่ว. (2557). การศึกษาความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์หน่วยการเรียนรู้วรรณคดี
และวรรณกรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จากการใช้วิธีสอนแบบ SQ4R ร่วมกับแผนผัง
ความคิด. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏ
นครราชสีมา
การุณันทน์ รัตนแสนวงษ์. (2550). ทักษะการใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2553). การคิดเชิงวิเคราะห์. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ : บริษัท ซัคเซสมีเดีย
จำกัด.
จรรยา ศรีบัวหลวง. (2559). การศึกษาความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี
ที่ 2 จากการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับแผนผังความคิด. การประชุมวิชาการและเสนอ
ผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 3 ก้าวสู่ทศวรรษที่ 2: บูรณาการงานวิจัย ใช้องค์ความรู้ สู่ความยั่งยืน”
มิถุนายน 2559 ณ วิทยาลัยนครราชสีมา อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา.
ชนาธิป พรกุล. (2555). การออกแบบการสอน: การบูรณาการ การอ่าน การคิดวิเคราะห์และการเขียน.
พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชูชาติ พ่วงสมจิตร์. (2560). ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพและแนวทางการนำมาใช้ในสถานศึกษา.วารสาร
ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 10 : 34-41
ฐะปะนีย์ นาครทรรพ. (2545). การสอนภาษาไทย. กรุงเทพฯ : ศูนยสงเสริมวิชาการ.
ทิศนา แขมมณี. (2557). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.
กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ. (2551). การพัฒนาทักษะการคิด. กรุงเทพฯ : 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.
ประเวศ วะสี. (2547). การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วรรณี โสมประยูร. (2553). การสอนภาษาไทยในระดับประถมศึกษา. กรุงเทพฯ : พิมพ์ลักษณ์.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2563). เอกสารประกอบการอบรม การจัดการ
เรียนรุ้ฐานสมรรถนะทางคณิตศาสตร์ โครงการเพิ่มศักยภาพครูให้มีสมรรถนะของครูยุคใหม่ สำหรับการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). คู่มือประกอบการอบรม การขับเคลื่อน
กระบวนการ PLC (Professional Learning Community) “ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ” สู่
สถานศึกษา. สืบค้น 10 กันยายน 2564
สุภาวดี ปกครอง. (2561). การพัฒนาครูโดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อการอ่านออกเขียน
ได้ของนักเรียนประถมศึกษา. วารสารสุทธิปริทัศน์ปีที่ 32 ฉบับที่ 101.
สุวิทย์ มูลคำ. (2550). กลยุทธ์การสอนคิดวิเคราะห์. (พิมพ์ครั้งที่2). กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดภาพพิมพ์.
Dufour, R. (2004) : What is professional learning community. Education Leadership, 61
DuFour, R. (2010). Professional learning communities: A bandwagon, an idea worth
considering, or our best hope for high levels of learning?.Middle School Journal, 39, 4-6.
Eastwood, K. W., & Louis, K. S. (1992). Restructuring that lasts: Managing the
performance dip. Journal of School Leadership, 2(2), 213–224.
Hord, S. (1997). Professional learning communities: Communities of continuous
inquiry and improvement. Austin, TX: Southwest Educational Development Laboratory. Retrieved November 24, 2015, from http://www.sedl.org/pubs/change34/2.html.
Senge, P. M. (1990). The Fifth Discipline: The Art and Practice of the
LearningOrganization.Doubleday, New York, NY: MCB UP Ltd.
Hipp, K. & Huffman, J. (2003). Professional Learning Communities: Assessment-Development-
Effects.Paper presented at the meeting of the International Congress for School Effectiveness andImprovement. Sydney: Australia.(8), 6-11.