การส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองตามระบอบประชาธิปไตยของนักศึกษาระดับมหาวิทยาลัยในจังหวัดพิษณุโลก
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปและปัญหาอุปสรรค ศึกษาการส่งเสริมการพัฒนาการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมือง และศึกษารูปแบบการพัฒนาการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองตามระบอบประชาธิปไตยของนักศึกษาระดับมหาวิทยาลัยในจังหวัดพิษณุโลก ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 20 รูปหรือคน การสนทนากลุ่มเฉพาะ จำนวน 12 รูปหรือคน ด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา และการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 391 คน
ผลการวิจัยพบว่า
- สภาพทั่วไปและปัญหาอุปสรรค ได้แก่ สภาพทั่วไป : การเลือกตั้ง การร่วมรณรงค์กิจกรรมทางการเมือง การสังเกตการณ์การเลือกตั้ง การลงคะแนนเสียง ติดตามการนับคะแนน ส่วนปัญหาอุปสรรค : กลุ่มอนุรักษ์นิยม กลุ่มเพื่อน ครอบครัว ทุนทางสังคม และการดำเนินชีวิต เชิงปริมาณภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.12)
- การส่งเสริมการพัฒนาการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมือง ได้แก่ 1) ด้านกิจการนักศึกษา การจัดกิจกรรมให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในความรู้ด้านประชาธิปไตย การจัดรายวิชาที่เกี่ยวกับหน้าที่พลเมือง และการเปิดพื้นที่ให้ในการมีส่วนร่วมทางการเมืองเชิงสร้างสรรค์ 2) ด้านการมีส่วนร่วม มหาวิทยาลัยควรเน้นให้นักศึกษามีส่วนร่วมทางการเมือง หลักสูตรควรสร้างการเป็นพลเมืองที่ดี การแสดงความเห็นทางการเมือง และการสร้างสำนึกการเป็นพลเมืองมากกว่าเป็นราษฎร และ3) ด้านการให้ความรู้ การเข้าถึงข้อมูลผ่านสื่อออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ ผ่านเพลง ผ่านแร็ป กรณีศึกษา กระแสนิยม การจัดกิจกรรมพัฒนาหลักสูตร และการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษา เชิงปริมาณภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.12)
3. รูปแบบการพัฒนาการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองตามระบอบประชาธิปไตยของนักศึกษาระดับมหาวิทยาลัยในจังหวัดพิษณุโลก ได้แก่ 1) ด้านการมีส่วนร่วมโดยตรง ประกอบด้วย การติดตามข่าวสาร การใช้สิทธิเลือกตั้ง การเริ่มพูดคุยประเด็นทางการเมือง การรณรงค์ การเสนอแนวคิด การเสนอนโยบายต่อนักการเมือง การเคลื่อนไหวทางการเมือง การสมัครเป็นสมาชิกการเมือง และการกำหนดกฎเกณฑ์ 2) ด้านการมีส่วนร่วมโดยอ้อม ประกอบด้วย การแสดงความคิดเห็นต่อปรากฎการณ์ทางการเมือง การแสดงความคิดเห็นในคลัปเฮ้า เฟชบุ๊ค และสื่อโซเชียลต่างๆ การแลกเปลี่ยนประเด็นทางการเมือง การศึกษานโยบายของผู้สมัครและพรรคการเมือง และการเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมือง 3) การมีส่วนร่วมแบบมีส่วนร่วม ประกอบด้วย ควรส่งเสริมความคิดเห็นด้านการเมือง ควรส่งเสริมความคิดเห็นด้านการบริหารมหาวิทยาลัย ควรส่งเสริมความคิดเห็นด้านการควบคุมการทำงานของผู้แทนหรือสมาชิกวุฒิสภา ควรส่งเสริมความคิดเห็นด้านประเด็นนโยบายสาธารณะของหน่วยงานภาครัฐ ควรส่งเสริมความคิดเห็นด้านการมีส่วนร่วมในการก่อรูปนโยบาย และควรส่งเสริมความคิดเห็นด้านทิศทางการพัฒนาประเทศในอนาคตทั้งเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา และการประกอบอาชีพฯ และ4) การมีส่วนร่วมแบบถกแถลง ประกอบด้วย การไปร่วมกับม๊อบ การจัดกิจกรรม กระบวนการประชาธิปไตยภาคพลเมือง ประชาธิปไตยภาคชุมชน และจิตสำนึกสาธารณะ เชิงปริมาณภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.93)
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กองทะเบียน, สถิตินักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ประจำปีการศึกษา 2564.
ชุมพล เพ็งศิริ, “การส่งเสริมความเข็มแข็งการเมืองภาคประชาชนในจังหวัดนครราชสีมา”, ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์, (บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2563).
ชุติพนธ์ วงษ์อมรวิทย์, “การเสริมสร้างจริยธรรมทางการเมืองของนักการเมืองท้องถิ่นในจังหวัดนครราชสีมา”, ดุษฎีนิพนธ์นี้ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์, (บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2563).
ทศพร ทรัพย์สนอง, “ระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของนักศึกษา : กรณีศึกษานักศึกษามหาวิทยาลัยสยาม”,วารสารกระแสวัฒนธรรม, ปีที่ 13 ฉบับที่ 23 (มกราคม - มิถุนายน 2555) : 47-48.
ทศพร ทรัพย์สนอง, “ระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของนักศึกษา : กรณีศึกษานักศึกษามหาวิทยาลัยสยาม”, วารสารกระแสวัฒนธรรม, ปีที่ 13 ฉบับที่ 23 (มกราคม - มิถุนายน 2555) : 46.
นิติธร กล่ำคุ้ม และเชี่ยวชาญ อาศุวัฒนกูล, “วัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา”, วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน 2561) : 125.
นิยม เวชกามา, “รูปแบบการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของประชาชนชาวสกลนครตามแนวพุทธจิตวิทยา”, ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา, (พระนครศรีอยุธยา : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2561).
พัฒนภูมิ ผ่องยุบล และคณะ,“การส่งเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตยให้แก่ประชาชนขององค์การบริหารส่วนตําบลในอําเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา”, วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, ปีที่ 8 ฉบับที่ 7 (กรกฎาคม 2564) : 92.
พระครูพิบูลย์ธรรมสถิต ฐิตสุโข (ยังบุญส่ง), “การนำหลักสาราณียธรรม 6 ไปใช้ในการปฏิบัติงานของบุคลากรเทศบาลตำบลร่อนพิบูลย์ อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช”, วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา ปีที่ 12ฉบับที่ 1 (มกราคม-เมษายน 2561): 111.
พระครูวินัยธรอธิษฐ์ สุวฑฺโฒ (สุขพานิช) วัชรินทร์ ชาญศิลป์ และสุรพล สุยะพรหม, การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของประชาชนในจังหวัดเพชรบุรี, วารสารพุทธสังคมวิทยาปริทรรศน์, ปีที่ 7 ฉบับที่ 1 (มกราคม – มีนาคม 2565) : 46-47.
พรเศรษฐี วุฒิปัญญาอิสกุล, “การบูรณาการหลักธรรมาธิปไตยเพื่อส่งเสริมภาวะผู้นำทางการเมืองของนักการเมืองในจังหวัดนครราชสีมา”, ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์, (บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยามหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2563).
พีรพล ไทยทอง และคณะ, “รูปแบบการส่งเสริมประชาธิปไตยของนักศึกษามหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ”,วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, ปีที่ 7 ฉบับที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน 2559) : 35.
พิศมัย วงศ์จำปา และพระครูพิศาลสรกิจ, “พลวัตภาคประชาชนกับการเคลื่อนไหวทางการเมืองในจังหวัดพะเยา, ภายใต้แผนงานวิจัย เรื่อง พลวัตเมืองพะเยา : ขบวนการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมกับการจัดการตนเองของชุมชนท้องถิ่นตามแนวพุทธศาสนา”, รายงานการวิจัย, (สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2560), หน้า 162-163.
พระมหาประเสริฐ สุเมโธ (เพชรศรี) และปิยวัฒน์ คงทรัพย์, “สาราณียธรรม : หลักธรรมในการแก้ปัญหาความขัดแย้งในสังคมไทย”, วารสารวิจัยเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 (5) (สิงหาคม 2558 – มกราคม 2559) : 29.
ไพบูลย์ สุขเจตนี, “การพัฒนาความไว้วางใจทางการเมืองของประชาชนที่มีต่อนักการเมือง ระดับท้องถิ่นในจังหวัดนนทบุรี”, ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์, (บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2563).
ภูริส ภูมิประเทศ ตรีชฎา สุขเกษม อภิชาติ แสงอัมพร และภทรพร ศรีโกตะเพชร, “แนวทางการมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่ส่งเสริมระบอบประชาธิปไตยของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์”, วารสารมนุษยสังคมสาร (มสส.), ปีที่ 18 ฉบับที่ 3 (กันยายน-ธันวาคม 2563) : 102-103.
ศราวุฒิ วิสาพรม วชิรวัตติ์ อาริยะสิริโชติ และวนิดา เสาสิมมา, “การวิเคราะห์การสร้างพลเมืองเพื่อเสริมสร้างประชาธิปไตยจากฐานราก:กรณีศึกษาโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองมหาสารคาม”, วารสารการเมืองการปกครอง, ปีที่ 9 ฉบับที่ 3 (กันยายน – ธันวาคม 2562) : 1.
สำนักวิชาการและพัฒนาการศึกษา, ประวัติความเป็นมา, [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://acad.plu.ac.th/about-us [23 พฤศจิกายน. 2564].
สุมาลี บุญเรือง, “การพัฒนาการตื่นตัวทางการเมืองของประชาชนในระบอบประชาธิปไตยที่มีผลต่อการเลือกตั้งทั่วไป”, ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์, (บัณฑิตศึกษา : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2564).
อภิญญา ฉัตรช่อฟ้า, “การพัฒนาความเป็นพลเมืองภายใต้การปกครองระบอบประชาธิปไตย. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น”, ปีที่ 7 ฉบับที่ 1 (มกราคม 2564): 303-304.
เอกนรินทร์ ปิยะปัญญามงคล, “แนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองในการเลือกตั้งของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา”, วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, ปีที่ 7 ฉบับที่ 6 (มิถุนายน 2564) : 350-351.
ไอยธร เทพทอง และกนกกาญจน์ อนุแก่นทราย, “ค่านิยมประชาธิปไตยของเยาวชนไทย: กรณีศึกษานักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายจังหวัดนนทบุรี”, วารสารสุทธิปริทัศน์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, ปีที่ 33 ฉบับที่ 105 (มกราคม - มีนาคม 2562) : 91