การตื่นตัวทางการเมืองของเยาวชนในระบอบประชาธิปไตย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การตื่นตัวในทางการเมืองของเยาวชนในระบอบประชาธิปไตยในสังคมปัจจุบันจะมีการพัฒนาความเจริญก้าวหน้าทางด้านความคิดทั้งสติปัญญาและยังมีผู้คนมากมายหลากหลายชนชั้นมีความตื่นตัวในทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยทั้งระดับเยาวชนคนรุ่นใหม่และระดับประชาชนคนทุกเพศทุกวัยโดยเฉพาะระดับเยาวชนที่มีความตื่นตัวทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยสูงและมีความเป็นปัจเจกบุคคลค่อนข้างสูงมากในการพัฒนาการเมืองให้เป็นระบอบประชาธิปไตย เพราะมีความต้องการทางด้านสิทธิ เสรีภาพและความเสมอภาคและกระบวนการยุติธรรมมีความโปร่งใสได้อย่างแท้จริง นับตั้งแต่วันแรกที่กลุ่มนิสิตนักศึกษาจัดกิจกรรม "แฟลชม็อบ" เพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย ต่อต้านรัฐบาล รวมถึงแสดงความไม่เห็นด้วยกับการที่ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินยุบพรรคอนาคตใหม่ การชุมนุมเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในหลายสถาบันการศึกษาทั่วประเทศในช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมาและปัจจุบันยังมีการชุมนุมเรียกร้องขับไล่รัฐบาลที่มาจากการสืบทอดอำนาจเผด็จการ และสังคมให้ความสนใจปรากฏการณ์คนรุ่นใหม่ออกมาเคลื่อนไหวทางการเมืองครั้งนี้ไม่น้อย มีทั้งผู้ที่สนับสนุนและตั้งคำถามถึง "เบื้องหลัง" การชุมนุมของคนรุ่นใหม่ บ้างว่าถูกปลุกระดมหรือมีพรรคการเมืองหนุนหลังบีบีซีไทยถามนักเรียน-นิสิตนักศึกษาว่าเหตุใดเขาและเธอถึงออกมาชุมนุม และมีใครอยู่เบื้องหลังการเคลื่อนไหวหรือไม่
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
จรูญ สุภาพ. (2535). ระบบการเมืองเปรียบเทียบ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์วัฒนพานิช.
จิรโชค (บรรพต) วีระสัยและคณะ. (2542). รัฐศาสตร์ทั่วไป. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ธวัช เบญจาธิกุล. (2529). “ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเข้ามามีส่วนร่วมของชาวนาในการพัฒนา: หมู่บ้านชาวเขาชนะเลิศการประกวดหมู่บ้านพัฒนาตัวอย่างของศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขาจังหวัดเชียงใหม่ ประจำปี พ.ศ. 2527”. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
นิรันดร์ จงวุฒิเวศย์. (2527). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนา, กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหิดล.
ประเวศ วะสี. (2537). การพัฒนาประชาธิปไตยและการปฏิรูปทางการเมือง. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน.
สถาบันพระปกเกล้า. แผนพัฒนาวัฒนธรรมประชาธิปไตย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว. โรงเรียนกันทรารมณ์, ประวัติการปกครองระบอบประชาธิปไตย, [ออนไลน์], แหล่งข้อมูล: http://www.kr.ac.th/ebook/saiyud/b 1.htm [สืบค้นเมื่อ 27 กรกฎาคม 2564]. Sartori, G. Democratic Theory. N.Y.: F.A. Pracger, 1965.