อำนาจผลประโยชน์ทางการเมือง

Main Article Content

มะลิ ทิพพ์ประจง
นิพนธ์ ทิพย์ศรีนิมิต

บทคัดย่อ

          พจนานุกรมของฝรั่งเล่มหนึ่ง ได้นิยามคำว่า Politics ว่าคือการต่อสู้เพื่ออำนาจ และอำนาจที่ว่านี้ คงจะหมายถึงอำนาจอันเกิดจากการมีตำแหน่งหน้าที่ ในภาครัฐ เพราะอำนาจประเภทนี้ทำให้ผู้มีอำนาจได้รับผลประโยชน์ ทั้งในทางสังคม และทางด้านการเงิน คือได้ทั้งเงิน และชื่อเสียง ด้วยเหตุนี้ การเมืองจึงเป็นที่ต้องการของผู้ที่ต้องการอำนาจ เพื่อจะได้อำนาจนั้นเป็นเครื่องมือในการแสวงหาผลประโยชน์ ทั้งโดยชอบธรรม และมิชอบธรรม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์และวิธีการในการเข้ามาสู่ความเป็นนักการเมืองของแต่ละคนเป็นสำคัญ ในความเป็นที่ปรากฏในวงการเมืองสามารถแบ่งนักการเมืองออกเป็น 4 ประเภทดังต่อไปนี้ 1) เข้ามาเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของตนเอง จากการถูกเอารัดเอาเปรียบจากนักการเมือง และข้าราชการประจำ ซึ่งอาศัยอำนาจรัฐแล้วรังแกธุรกิจซึ่งไม่มีเส้นสายทางการเมือง 2) เข้ามาเพื่อแสวงหาผลประโยชน์โดยอาศัยอำนาจรัฐ ทั้งโดยชอบ และโดยมิชอบ และนักการเมืองประเภทนี้เองที่เป็นเหตุให้เกิดนักการเมืองประเภทที่หนึ่ง 3) ทั้งเข้ามาปกป้องผลประโยชน์ของตนเอง และแสวงหาผลประโยชน์เพิ่มเติม 4) เข้ามาเพื่อรับใช้ประเทศ และประชาชน โดยการใช้ความรู้ ความสามารถซึ่งตนเองมีอยู่พัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า ความต้องการด้านผลประโยชน์ทางด้านการเมืองยุคปัจจุบันมีความเปลี่ยนแปลงไปตามสภาวะของโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาดังนั้นกลุ่มผู้ที่ให้การสนับสนุนนักการเมืองต่าง ๆ จึงต้องมีการปรับตัวและสร้างเงื่อนไขในการต่อรองกับผู้มีอำนาจทางการเมืองเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ตนต้องการเช่นตำแหน่ง ธุรกิจ หรือการแลกเปลี่ยนสินระหว่างผู้มีอำนาจกับกับผลประโยชน์

Article Details

How to Cite
ทิพพ์ประจง ม. ., & ทิพย์ศรีนิมิต น. . (2021). อำนาจผลประโยชน์ทางการเมือง. วารสาร มจร เพชรบุรีปริทรรศน์, 2(2), 16–32. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JPR/article/view/253241
บท
บทความวิชาการ

References

เดชรัตน์ สุขกำเนิด. (16 มกราคม 2560). อำนาจและผลประโยชน์ทางการเมือง. (จิรภัทร นิรินทร์, ผู้สัมภาษณ์)

จิรโชค (บรรพต) วีระสัย. (2542). รัฐศาสตร์ทั่วไป. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ประภาส ปิ่นตบแต่ง. (2552). กรอบการวิเคราะห์การเมืองแบบทฤษฎีขบวนการทางสังคม. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิไฮน์ริค เบิลล์ สำนักงานภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้.

มติชนออนไลน์. (2558). จับเข่าคุยนักรัฐศาสตร์ บทเรียนการเมืองว่าด้วยเรื่องจีเอ็มโอและอธิปไตยทางอาหาร. เรียกใช้เมื่อ 23 ธันวาคม 2558 จาก http://www.matichon.co.th/news

มนตรี เจนวิทย์การ. (2558) . บทบาทของกลุ่มผลประโยชน์ที่มีต่อรัฐบาลระบบราชการ ประชาชนและการพัฒนาประเทศ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ. (16 มกราคม 2560). อำนาจและผลประโยชน์ทางการเมือง. (จิรภัทร นิรินทร์, ผู้สัมภาษณ์)

วีระ หวังสัจจะโชค. (16 มกราคม 2560). อำนาจและผลประโยชน์มางการเมือง. (จิรภัทร นิรินทร์, ผู้สัมภาษณ์)

ศิรินภัทรา สถาพรวงศ์. (2552) . นโยบายสิ่งมีชีวิตต่อต่อพันธุกรรม. ใน วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Charles, E. L. (1917) . The World’s Political EconomicSystem. New York: Library of Congress.

Edward, O. L. & David, K. (1987) . Organizational state, Social choice innational policy domains. Wisconsin: University of Wisconsin Press.

Olson, M. Jr. (1965) . The Logic of Collective Action, Public goods and theTheory of Groups. Cambridge, Massachusetts: Harvard University Press.