การกระจายอำนาจสู่องค์กรปกครองท้องถิ่น

Main Article Content

ดาวนภา เกตุทอง

บทคัดย่อ

การกระจายอำนาจสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นการแบ่งอำนาจหน้าที่ระหว่างส่วนกลางกับส่วนท้องถิ่น ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป และเป็นการลดภารกิจของรัฐบาลให้คงเหลือเพียงภารกิจหลัก เช่น การทหาร การต่างประเทศ โดยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เข้ามารับผิดชอบภารกิจที่เกี่ยวกับการบริการสาธารณะที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตประจำวันของประชาชน เช่น การรักษาความสะอาด การรักษาสิ่งแวดล้อม เพื่อให้สามารถที่จะแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นใน แต่ละท้องถิ่นได้ทันต่อเหตุการณ์ และพัฒนาท้องถิ่นตรงกับความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น ได้จริง รูปแบบการปกครองส่วนท้องถิ่นของประเทศไทยในปัจจุบัน ได้แก่ องค์การบริหาร ส่วนตำบล องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาลกรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา การกระจายอำนาจให้แก่ ท้องถิ่นจะทำให้ประชาชนในท้องถิ่นได้มีส่วนร่วมในการปกครองท้องถิ่นของตนเอง มีการบัญญัติไว้เป็นหมวดการปกครองท้องถิ่นที่ชัดเจน โดยวางหลักการว่าท้องถิ่นต้องมีความเป็นอิสระและสามารถปกครองตนเองได้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ถูกจัดตั้งขึ้นทั่วประเทศทั้งในรูปแบบทั่วไปและรูปแบบพิเศษ มีอำนาจหน้าที่และภารกิจมากมายตามที่กฎหมายกำหนด โดยสามารถเลือกตั้งและถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นได้ เมื่อมีการทุจริตต่อหน้าที่ นอกจากนี้ประชาชนในท้องถิ่นยังสามารถเสนอกฎหมายในเรื่องท้องถิ่นของตนเองได้ ซึ่งในร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้ได้ให้ประชาชนในท้องถิ่นสามารถลงประชามติในเรื่องที่เกี่ยวกับท้องถิ่นของตนได้ และลดจำนวนประชาชน ที่จะเข้าชื่อถอดถอนนักการเมืองท้องถิ่นและการเสนอกฎหมายท้องถิ่น เพื่อให้ทำได้ง่ายกว่าในรัฐธรรมนูญปี 2540 มีการบัญญัติไว้เป็นหมวดการปกครองท้องถิ่นที่ชัดเจน โดยวางหลักการว่าท้องถิ่นต้องมีความเป็นอิสระและสามารถปกครองตนเองได้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ถูกจัดตั้งขึ้นทั่วประเทศทั้งในรูปแบบทั่วไปและรูปแบบพิเศษ มีอำนาจหน้าที่และภารกิจมากมายตามที่กฎหมายกำหนด

Article Details

How to Cite
เกตุทอง ด. . (2021). การกระจายอำนาจสู่องค์กรปกครองท้องถิ่น. วารสาร มจร เพชรบุรีปริทรรศน์, 3(2), 46–57. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JPR/article/view/253227
บท
บทความวิชาการ

References

โกวิทย์ พวงงาม. (2554). การปกครองท้องถิ่นไทย หลักการและมิติใหม่ในอนาคต. กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน.

นครินทร์ เมฆไตรรัตน์. (2547). สารานุกรมการปกครองท้องถิ่นไทย หมวดที่ 4 องค์ประกอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ลำดับที่ 2 เรื่องภารกิจหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. นนทบุรี: สถาบันพระปกเกล้า.

นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ และคณะ. (2546). ทิศทางการปกครองส่วนท้องถิ่นของไทยและต่างประเทศเปรียบเทียบ. กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน.

ประยูร กาญจนดุล. (2544). การปกครองท้องถิ่นในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไพฑูรย์ โพธิสว่าง และวิเชียร ตันศิริ. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อการได้รับคะแนนเสียงเลือกตั้งของผู้นำทางการเมืองของประเทศไทย. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยบูรพา.

ภิรมย์พร ไชยยนต์. (2557). การกระจายอำนาจการปกครองท้องถิ่น: ศึกษากรณีการปกครองตนเองตามเจตนารมณ์ของประชาชนในระดับจังหวัด. ใน วิทยานิพนธ์หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขานิติศาสตร์. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

โภคิน พลกุล. (2536). หลักเกี่ยวกับการจัดระเบียบบริหารราชการ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

โภคิน พลกุล และคณะ. (2538). แนวทางการพัฒนากฎหมายเกี่ยวกับการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. ใน รายงานการวิจัย. สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.

มรุต วันทนากร. (2549). การเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นโดยตรงกับเทศบาลไทย: บทสรุปสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทยในภาพรวม. กรุงเทพมหานคร: มิสเตอร์ก๊อปปี้.

วุฒิสาร ตันไชย. (2557). การกระจายอำนาจและประชาธิปไตยในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพระปกเกล้า.

วุฒิสาร ตันไชย และธีรพรรณ ใจมั่น. (2547). สารานุกรมการปกครองท้องถิ่นไทยสถาบันพระปกเกล้า. นนทบุรี: สถาบันพระปกเกล้า.

สมคิด เลิศไพฑูรย์. (2549). กฎหมายปกครองท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรี.

Hambleton Et al. (2002). Globalism and Local Democracy. Hampshire: Palgrave.