วิวัฒนาการปกครองของรัฐ

Main Article Content

มะลิ ทิพพ์ประจง
กัญจิรา วิจิตรวัชรารักษ์

บทคัดย่อ

รัฐจะต้องมีองค์ประกอบหลักที่บ่งความเป็นรัฐแต่เวนด์ท์เห็นว่าความเข้าใจหรือมุมมองเกี่ยวกับรัฐมีหลายแบบด้วยกันโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพิจารณารัฐร่วมกับความสัมพันธ์กับสังคมทั้งนี้โดยทั่วไปอาจจัดประเภททรรศนะคติที่มีต่อรัฐเป็น 3 แบบ คือ รัฐในแบบเว็บเบอเรียน (Weberian) รัฐในแบบพหุนิยม (Pluralist) และรัฐในแบบมาร์กซิสต์ (Marxist) ทรรศนะต่อรัฐในแบบเว็บเบอเรียน หมายถึง การมองรัฐในแบบที่เน้นรัฐในฐานะองค์กรที่มีอำนาจอธิปไตยและสามารถผูกขาดการใช้ความรุนแรงที่มีการจัดตั้งอย่างเป็นทางการเหนือดินแดนของรัฐนั้นอย่าง ชอบธรรมเนื่องจากการเป็นตัวแสดงที่ในรูปแบบขององค์กร รัฐจึงมีลักษณะคล้ายบุคคลและมีผลประโยชน์เป็นเดิมพัน รัฐจึงต้องตัดสินใจและดำเนินการในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง รัฐในแบบพหุนิยมจะเน้นความเป็นตัวแทนแห่งการกระทำของรัฐ และแยกรัฐออกจากสังคมเช่นเดียวกับในแบบเว็บเบอเรียนแต่เนื่องจากรัฐประกอบไปด้วยกลุ่มต่าง ๆ ในสังคมก็มักมองรัฐโดยจะลดทอนรัฐในภาพรวมลงมาเป็นกลุ่มผลประโยชน์และปัจเจกชนของสังคม ด้วยเหตุนี้พวกที่มองรัฐแบบพหุนิยมจึงมองว่ารัฐไม่ใช่สิ่งอื่นนอกไปจากรัฐบาลและกลุ่มคนที่ปกครองรัฐ การมองรัฐในแนวนี้สะท้อนในทรรศนะของเสรีนิยมเชิงโครงสร้างในทางการเมืองระหว่างประเทศ รัฐในแบบมาร์กซิสต์ รัฐคือโครงสร้างของการจัดการปกครองและของกฎเกณฑ์ในสังคม โครงสร้างนี้เป็นตัวกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างตัวแสดงต่าง ๆ ขององค์กรรัฐกับสังคมในแง่นี้ “รัฐทุนนิยม” จึงหมายถึงโครงสร้างของอำนาจการเมืองที่สถาปนาสังคมที่อาศัยวิถีการผลิตที่ยึดระบบกรรมสิทธิ์ของเอกชนเป็นหลัก

Article Details

How to Cite
ทิพพ์ประจง ม. ., & วิจิตรวัชรารักษ์ ก. . (2021). วิวัฒนาการปกครองของรัฐ. วารสาร มจร เพชรบุรีปริทรรศน์, 3(2), 1–14. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JPR/article/view/253223
บท
บทความวิชาการ

References

ชัยอนันต์ สมุทวณิช. (2538). อนาคตการเมืองไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

ประดิษฐ์ ยมานันท์. (2559). การปฏิรูปพรรคการเมือง. ปทุมธานี: โรงพิมพ์อาสารักษาดินแดน.

ปฤษฎา หงส์ไกรเลิศ. (2544). การปฏิรูปพรรคการเมืองไทย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ลิขิต ธีรเวคิน. (2530). วิวัฒนาการการเมืองการปกครองไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์หาวิทยาลัย.

ลิขิต ธีรเวคิน. (2549). แผนแม่บทพัฒนาการเมือง. กรุงเทพมหานคร: คณะอนุกรรมการยกร่าง.

วิทยา นภาศิริกุล และสุรพล ราชภัณฑารักษ์. (2539). พรรคการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วิสุทธิ โพธิแท่น. (2544). การดำเนินกิจกรรมของพรรคการเมืองไทย. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพระปกเกล้า.

สมบัติ ธํารงธัญวงศ์. (2554). การเมือง :แนวความคิดและการพัฒนา. กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ์เสมาธรรม.