การวิเคราะห์โลกทัศน์ทางการเมืองของเยาวชนที่มีต่อรัฐบาลไทย ช่วง พ.ศ. 2563

Main Article Content

อนุชา พละกุล

บทคัดย่อ

ระบอบประชาธิปไตยให้ความสำคัญหลักอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน หลักเสรีภาพ หลักความเสมอภาค หลักนิติธรรม หลักเสียงข้างมาก ซึ่งต้องบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญอันเป็น ข้อตกลงร่วมกัน การบริการราชการแผ่นของรัฐบาลช่วง พ.ศ.2563 มีความด้อยประสิทธิภาพมาก เยาวชนจึงออกมาประท้วงขับไล่ด้วยข้อเสนอว่า หยุดการคุกคามเสรีภาพประชาชน เปิดทางให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 และขอให้ยุบสภาเพื่อเลือกตั้งใหม่ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่โรคระบาดโควิด-19 แพร่เชื้ออย่างรวดเร็วโดยไม่มียารักษาที่ได้ประสิทธิภาพ ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตและการประกอบอาชีพของประชาชนทั้งหมด สะท้อนความไม่โปร่งใสของรัฐบาล รัฐมนตรีและข้าราชการบางคนไม่มีความสุจริตในการปฏิบัติหน้าที่ ทั้งหมดถูกสะท้อนออกมาทางด้านสังคม อาทิ อาชญากรรมเพิ่มขึ้น ยาเสพติดเพิ่มมากขึ้น เยาวชนเข้าถึงสิ่งเสพติดได้ง่าย ด้านเศรษฐกิจ บริษัทและโรงงานประกาศปิดกิจการ เกิดการเลิกจ้างงานจำนวนมาก ส่งผลให้มีผู้ตกงานทันทีหลายแสนคน ประชาชนวัยทำงานหลายประเภทกลับภูมิลำเนา ด้านการเมือง เกิดการกำจัดคู่ขัดแย้งทางความคิดอย่างมาก ซึ่งกระทำการละเมิดกฎหมายที่รัฐบาลประกาศ นักวิชาการบางคนวิเคราะห์ว่า เป็นยุคเผด็จการทหารอีกครั้งหนึ่งของไทย ด้านศาสนา รัฐบาลดำเนินการจับกุมพระเถระหลายรูป ซึ่งถูกกล่าวหาว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับ คดีทุจริตเงินอุดหนุนวัด รวมทั้งการดำเนินคดีกับพระสงฆ์และสามเณรที่ออกไปร่วมเดินขบวน ขับไล่รัฐบาล ทั้งที่ผิดตามพระธรรมวินัยและกฎหมาย ด้านความโปร่งใสตรวจสอบได้ของรัฐบาล ถูกมองว่าไม่มีความสุจริตในการปฏิบัติหน้าที่ของรัฐมนตรีและข้าราชการบางคน หากแม้มีความผิด ก็มิได้ลงโทษตามความผิดอย่างเด็ดขาด แต่กลับปกป้องให้พ้นผิด หรือได้รับการลงโทษสถานเบา

Article Details

How to Cite
พละกุล อ. . (2021). การวิเคราะห์โลกทัศน์ทางการเมืองของเยาวชนที่มีต่อรัฐบาลไทย ช่วง พ.ศ. 2563. วารสาร มจร เพชรบุรีปริทรรศน์, 3(1), 61–75. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JPR/article/view/253222
บท
บทความวิชาการ

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2563). แนวทางปฏิบัติด้านสาธารณสุข เพื่อการจัดการภาวะระบาดของโรคโควิด-19 ในข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 1). กรุงเทพมหานคร: กระทรวงสาธารณสุข.

กลุ่มงานผลิตเอกสาร สำนักประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร์. (2559). เยาวชนกับการมีส่วนร่วมพัฒนาประชาธิปไตย. กรุงเทพมหานคร: สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร์.

จารึก ถาพร. (2556). ความขัดแย้งทางการเมืองท้องถิ่นในจังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา, 2(1),118-120.

ณฐมน หมวกฉิม และ จิรเดช ทังสุบุตร. (2563). การพัฒนาการการมีส่วนร่วมทางการเมืองของเยาวชนไทย เขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร. วารสารรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 3(1),21-34.

ดิเรก สุขสว่าง. (2562). สรุปคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 3/2562 เรื่อง คณะกรรมการการเลือกตั้งขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยเพื่อมีคำสั่งยุบพรรคไทยรักษาชาติ. เรียกใช้เมื่อ 31 ธันวาคม 2562 จาก https://bit.ly/381OEpt

ปธาน สุวรรณมงคล. (2552). การปกครองท้องถิ่นไทยในบริบทของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

พิศาล มุกดารัศมี. (2551). การเมือง ปรัชญาทางการเมืองคลาสสิค. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์วิภาษา.

ราชกิจจานุเบกษา. (2548). พระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 เล่ม 122 ตอนที่ 58 ก (16 กรกฎาคม 2548).

ราชกิจจานุเบกษา. (2563). ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 2) เล่ม 137 ตอนพิเศษ 76 ง (2 เมษายน 2563).

ราชกิจจานุเบกษา. (2563). ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 5) เล่ม 137 ตอนพิเศษ 102 ง (1 พฤษภาคม 2563).

ราชกิจจานุเบกษา. (2563). ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 6) เล่ม 137 ตอนพิเศษ 102 ง (1 พฤษภาคม 2563).

ราชกิจจานุเบกษา. (2563). ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 7) เล่ม 137 ตอนพิเศษ 114 ง (15 พฤษภาคม 2563).

ราชกิจจานุเบกษา. (2563). คำวินิจฉัยที่ 5/2563 เรื่องพิจารณาที่ 37/2562, เรื่อง คณะกรรมการการเลือกตั้งขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยเพื่อมีคำสั่งยุบพรรคอนาคตใหม่ เล่ม 137 ตอนที่ 21 ก (18 มีนาคม 2563).

ราชกิจจานุเบกษา. (2563). ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร เล่ม 137 ตอนพิเศษ 69 ง (25 มีนาคม 2563).

วรุตม์ อินทฤทธิ์. (2559). การศึกษากับการจัดการความขัดแย้งทางการเมืองในสังคมไทย. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ครั้งที่ 3 (ฉบับที่ 1). สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

สมบัติ ธํารงธัญวงศ์. (2554). การเมือง :แนวความคิดและการพัฒนา. กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ์เสมาธรรม.