อำนาจบทบาทหน้าที่ของประชาชนต่อการเลือกผู้นำท้องถิ่นของตนเอง
Main Article Content
บทคัดย่อ
กิจกรรมทางการเมือง เป็นหน้าที่ของประชาชนที่ทุกคนต้องเอาใจใส่และรับผิดชอบต่อบ้านเมือง การที่จะให้ประชาชนตื่นตัวและสนใจในกิจกรรมทางการเมืองการเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเมืองการปกครองท้องถิ่นเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพอย่างยิ่งในการเร่งเร้าให้ประชาชนตื่นตัวในการอยากเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองมากขึ้น การปกครองในระบอบประชาธิปไตยสิ่งสำคัญคือ "ประชาชน" และความสมบูรณ์ของระบอบประชาธิปไตยก็คือ การที่ประชาชนสามารถเข้ามามีสิทธิ์มีเสียงในการปกครองมากที่สุดเท่าที่จะมากได้แต่เนื่องจากความจำกัดในรายหลายด้าน เช่นจำนวนประชากรที่มีมากเกินกว่าที่จะเข้ามาดำเนินกิจกรรมทางการเมืองได้โดยตรง การเมืองเป็นเรื่องของการพัฒนาและมีความสำคัญกับประชาชนทุกกลุ่มดังนั้นถ้าประชาชนไม่รู้อำนาจหน้าที่และบทบาทของตนเองในทางการเมืองย่อมต้องส่งผลเสียทั้งทางตรงและทางอ้อมดังนั้นการเมืองทุกระดับหัวใจจะอยู่ที่ประชาชนเพราะประชาชนเป็นผู้ต้องใช้อำนาจของตนเองให้ครบถ้วนตามกระบวนการทางกฎหมายในฐานะที่เราเป็นพลเมืองคนหนึ่ง จากสถานการณ์ของประเทศไทยได้มี การเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากทั้งในด้านเศรษฐกิจสังคมและการเมือง ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงและทางอ้อมต่อวิถีการดำรงชีพของประชาชนอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 ที่มีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับการปรับปรุงสิทธิ เสรีภาพ หน้าที่และการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานของรัฐ การปรับปรุงโครงสร้างการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรวมทั้งการเร่งรัดให้มีการกระจายอำนาจในการบริหารและการจัดบริการสาธารณะไปสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยเร็วทั้งนี้ เพื่อให้การบริหารงานและการให้บริการสาธารณะของรัฐเป็นไปด้วยความคล่องตัวมีประสิทธิภาพ และสามารถตอบสนองต่อปัญหาและความต้องการของประชาชนได้ดียิ่งขึ้น
Article Details
References
โกวิทย์ พวงงาม. (2546). การปกครองท้องถิ่นไทย หลักการและนิติใหม่ในอนาคต. กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ์เสมาธรรม.
ชูศักดิ์ เที่ยงตรง. (2518). การบริหารการปกครองท้องถิ่นไทย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ถนอม กรรมใจ. (2547). สารจาก อบต.ตลาดจินดา. นครปฐม: วารสารประชาสัมพันธ์.
ทรงพล ตุ้มทอง. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการปกครองท้องถิ่นศึกษาเฉพาะกรณี: เทศบาลตำบลศรีราชา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี. ใน วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารทั่วไป. มหาวิทยาลัยบูรพา.
ประหยัด หงส์ทองคํา. (2526). การปกครองท้องถิ่นไทย. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.
ปิยพร ถิตย์ประเสริฐ. (2548). การศึกษาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน :กรณีศึกษาเฉพาะชุมชนในเขตเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์. ใน วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐศาสตร์. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ภาวิณี โพธิ์มั่น. (2543). รูปแบบการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในองค์การบริหารส่วนตำบล : ศึกษาเฉพาะกรณีตำบลขุนคง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2538). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: ราชบัณฑิตยสถาน.
วรทัต ลัยนันทน์. (2545). การมีส่วนร่วมการปกครองส่วนท้องถิ่นองค์การบริหารส่วนตำบล. กรุงเทพมหานคร: บรรณกิจ.
วราสิทธิ์ กาญจนสูตร. (2546). คัมภีร์บริหารการปกครองท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร: มติชน.
วิญญู อังคณารักษ์. (2519). แนวความคิดในการกระจายอำนาจการปกครองท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร: ศักดิ์โสภาการพิมพ์.
ศุภกิจ เบญจกัญญา. (2545). ความรู้และความเข้าใจของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลบ้านกาด จังหวัดเชียงใหม่ เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของเทศบาล. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สมบัติ ธํารงธัญวงศ์. (2554). การเมือง :แนวความคิดและการพัฒนา. กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ์เสมาธรรม.
สำนักงานคณะกรรมการการกระจายอำนาจ. (2546). คู่มือการกระจายอำนาจให้แก่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
อุทัย หิรัญโต. (2523). การปกครองท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.