ประชาชนกับประชาธิปไตย

Main Article Content

พระณัฐพงษ์ ญาณเมธี (ไกรเทพ)
มะลิ ทิพพ์ประจง

บทคัดย่อ

          ประชาธิปไตย เป็นระบบการปกครองรูปแบบหนึ่ง ซึ่งประชาชนหรือพลเมืองที่อาศัยอยู่ในรัฐหรือประเทศนั้น ประชาชนจะเป็นผู้เลือกผู้ปกครองขึ้นมาทำหน้าที่เป็นผู้นำออกกฎหมาย ทั้งนี้ประชาชนมีสิทธิในการใช้อำนาจของตนเองหรือผ่านผู้แทนที่ตนเลือกขึ้นเป็นผู้นำ ซึ่งการคัดสรรตัวแทนขึ้นเป็นผู้นำมีหลายวิธี ทั้งเลือกจากความสามารถ เลือกด้วยอายุ เลือกด้วยทักษะเฉพาะของบุคคล แต่ทั้งหมดต้องดำเนินภายใต้การเลือกด้วยเสียงส่วนมาก จึงเรียกได้ว่าเป็นการเลือกในรูปแบบประชาธิปไตย นอกจากการเลือกตั้งแล้ว ความคิด  ที่เป็นรากฐานของประชาธิปไตย ได้แก่ เสรีภาพในการชุมนุมและการพูด การไม่แบ่งแยกและความเสมอภาค สิทธิพลเมือง ความยินยอม สิทธิในการมีชีวิตและสิทธิฝ่ายข้างน้อย นอกจากนี้ ประชาธิปไตยยังทำให้ทุกฝ่ายตระหนักถึงผลประโยชน์ของตนและแบ่งอำนาจจากกลุ่มคน มาเป็นชุดกฎเกณฑ์แทนการสร้างหรือส่งเสริมระบอบประชาธิปไตยให้แข็งแรงไม่ควรหมายถึงเพียงแค่การสร้างระบบสถาบันขึ้นมาชุดหนึ่ง หรือการสร้างระบบนิติรัฐและรัฐบาลที่มีประสิทธิภาพขึ้นมาเท่านั้น หากแต่ต้องบ่มเพาะวิถีชีวิตแบบประชาธิปไตยให้ฝังรากลึกลงในตัวของพลเมืองแต่ละคนด้วย โดยผ่านเครือข่ายของกลุ่ม องค์กร สมาคม และสถาบันทางสังคมต่าง ๆ เพราะฉะนั้นประเทศที่มีการบ่มเพาะวัฒนธรรมทางการเมืองแบบพลเมืองน้อยเนื่องจากมีการเปลี่ยนผ่านจากระบอบเผด็จการไปสู่ประชาธิปไตยอย่างรวดเร็วย่อมมีปัญหาในการรักษาระบอบประชาธิปไตย ทั้งนี้ประวัติศาสตร์ไทยมักระบุว่าบุคคลกลุ่มที่นำความคิดประชาธิปไตยมายังประเทศไทยได้แก่คณะราษฎร โดยเฉพาะแกนนำซึ่งเป็นกลุ่มนักเรียนนอกที่ศึกษาอยู่ในอังกฤษและฝรั่งเศส แต่ก็มีหลักฐานแสดงว่าผู้ซึ่งแสดงความเห็นเกี่ยวกับการมีรัฐธรรมนูญ และสภาผู้แทนราษฎรก่อนพวกคณะราษฎร

Article Details

How to Cite
พระณัฐพงษ์ ญาณเมธี (ไกรเทพ), & ทิพพ์ประจง ม. (2021). ประชาชนกับประชาธิปไตย. วารสาร มจร เพชรบุรีปริทรรศน์, 1(1), 53–71. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JPR/article/view/253030
บท
บทความวิชาการ

References

กลุ่มงานประธานรัฐสภา สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2558). เทียบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และ 2550 กับร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับปฏิรูป (ปี 58). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

กลุ่มงานผลิตเอกสาร สำนักประชาสัมพันธ์. (2555). พลเมืองในระบอบประชาธิปไตย. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

กลุ่มงานผลิตเอกสาร สำนักประชาสัมพันธ์. (2556). พื้นฐานความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: สำนักการพิมพ์สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ. (2558). จากประชาชนพัฒนาเป็นพลเมือง. กรุงเทพมหานคร: สำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

ฌานิทธิ์ สันตะพันธ์. (2550). วัฒนธรรมทางการเมืองแบบพลเมือง: แนวทางการสร้างสังคมประชาธิปไตย. เรียกใช้เมื่อ 2 มีนาคม 2554 จาก http://www.publaw.net/publaw /view.aspxMid=1117

ณรงค์วิทย์ แสนทอง. (2545). คู่มือการพัฒนาระบบการบริหารผลงานยุคใหม่. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์เอชอาร์เซ็นเตอร์.

ณรงค์วิทย์ แสนทอง. (2547). มารู้จัก Competency กันเถอะ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์เอชอาร์เซ็นเตอร์.

ทิพย์พาพร ตันติสุนทร. (2557). พลเมือง สิทธิมนุษยชน และประชาธิปไตย. กรุงเทพมหานคร : สถาบัน นโยบาย การศึกษา ภายใต้มูลนิธิส่งเสริมนโยบายการศึกษา.

ธเนศวร์ เจริญเมือง. (2548). แนวคิดว่าด้วยความเป็นพลเมือง. นนทบุรี: สำนักพิมพ์บริษัทโรงพิมพ์คลังวิชาจำกัด.

ธัญธัช วิภัติภูมิประเทศ. (2556). ความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ และคณะ. (2554). การมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ. กรุงเทพมหานคร: เอ.พี.กราฟฟิค ดีไซน์.

ปริญญา เทวานฤมิตรกุล. (2555). การศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง (Civic Education). กรุงเทพมหานคร: นานมีบุ๊คพับลิเคชั่น.

ภัทราพร เกษสังข์. (2549). การวิจัยทางการศึกษา. เลย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

วรากรณ์ สามโกเศศ. (2554). การศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมือง. เรียกใช้เมื่อ 2 มีนาคม 2554 จาก http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=22720&Key =hotnews

วันชัย วัฒนศัพท์. (2542). การเมืองภาคพลเมือง. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ศิริภัณฑ์ออฟเวท.

วิรัตน์ คาศรีจันทร์. (2544). จิตสานึกพลเมืองในบริบทประชาสังคมไทย. ใน (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาประชากรศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยมหิดล.

สถาบันพระปกเกล้า. (2559). ประชาธิปไตยไทยในทศวรรษใหม่. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพระปกเกล้า.

สมยศ เชื้อไทย. (2535). คำอธิบายหลักรัฐธรรมนูญทั่วไป. กรุงเทพมหานคร: เรือนแก้วการพิมพ์.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). การพัฒนาคุณภาพคนและสังคมไทยสู่สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้. เรียกใช้เมื่อ 2 มีนาคม 2554 จาก https://www.nesdc.go.th/main.php?filename=index

สุปรีญา นุ่นเกลี้ยง. (2556). จิตสำนึกพลเมืองประชาธิปไตยกับการพัฒนาท้องถิ่นในทัศนะของกลุ่มเยาวชนระดับอุดมศึกษา. ใน เอกสารการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 11 "มนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ในยุค Thailand 4.0" . มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

เสกสรร ประเสริฐกุล. (2548). การเมืองภาคประชาชนในระบอบประชาธิปไตยไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อมรินทร์.

อเนก เหล่าธรรมทัศน์. (2543). อนุทินความคิดจาก รัฐสู่ประชาสังคมและพลเมือง การเมืองของพลเมือง. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์คบไฟ.

อเนก เหล่าธรรมทัศน์. (2556). การเมืองของพลเมือง: สู่สหัสวรรษใหม่. กรุงเทพมหานคร: โครงการจัดพิมพ์คบไฟ.