แนวคิดประชาธิปไตยแบบองค์รวม
Main Article Content
บทคัดย่อ
หากกล่าวถึงประชาธิปไตยเราทุกคนจะเข้าใจถึงระบอบการปกครองซึ่งถือเป็นการปกครองโดยให้สิทธิ เสรีภาพ แก่ประชาชนในประเทศนั้น ๆ เป็นผู้กำหนด เลือกสรร และมีอิสระภาพทั้งด้านความคิด การดำเนินชีวิต หรือแม้แต่ การกระทำใด ๆ ก็ตามที่อยู่ภายใต้กฎหมายของรัฐหรือประเทศนั้น ๆ ซึ่ง เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1809 อับราฮัม ลินคอล์น ประธานาธิบดีคนที่ 16 ของสหรัฐอเมริกา ได้กล่าววลีที่ว่า “รัฐบาลของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน” และจากการกล่าวสุนทรพจน์ใกล้กับสมรภูมิเกตตีสเบิร์ก ความว่า “เราจะไม่ให้การตายของพวกเขาสูญเปล่า ที่ประเทศนี้ซึ่งอยู่ภายใต้การคุ้มครองของพระเจ้าจะมีอิสรภาพที่เกิดใหม่ และที่รัฐบาลของประชาชน โดยประชาชนเพื่อประชาชนจะยังคงอยู่บนโลกต่อไป” รูปแบบหรือระบอบการปกครองที่มีชื่อว่าประชาธิปไตยนั้นกำเนิดและวิวัฒนาการมาเป็นระยะเวลายาวนานซึ่งมีนักวิชาการส่วนใหญ่ให้ความคิดเห็นว่า คำว่าประชาธิปไตยนั้นถือกำเนินในยุคสมัยของยุคกรีกโบราณ และได้มีการพัฒนา วิวัฒน์ตามยุคสมัยในแต่ละภูมิภาคจนทำให้มีการพัฒนามาจนถึงยุคปัจจุบัน ทั้งนี้ ในปัจจุบันนั้น มีหลายประเทศทั่วโลกที่ใช้รูปแบบการปกครองแบบประชาธิปไตย รวมถึงประเทศไทยที่นำรูปแบบการปกครองแบบประชาธิปไตยมาใช้ทั้งนี้ประเทศไทย เป็นประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ลักษณะของการปกครอง ในรูปแบบประชาธิปไตยมีทั้งทางตรง ทางอ้อม รวมไปถึงเรื่องของการแสดงออกทางอำนาจของบุคคลต่าง ๆ เป็นต้น ดังนั้น ประชาธิปไตยจึงถือได้ว่าเป็นของประชาชนทุกคนที่อยู่ภายใต้รัฐหรือประเทศที่มีรูปแบบการปกครองแบบประชาธิปไตย
Article Details
References
ทิพย์พาพร ตันติสุนทร. (2554). การศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง. กรุงเทพมหานคร: สถาบันนโยบายศึกษา.
ธเนศวร์ เจริญเมือง. (2548). แนวคิดว่าด้วยพลเมือง. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพระปกเกล้า.
ธัญญาลักษณ์ วีระสมบัติ. (2546). การใช้ Competency เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการฝึกอบรมในองค์กร. วารสารบริหารธุรกิจ, 99(3), 55-57.
ธัญธัช วิภัติภูมิประเทศ. (2556). ผลของการใช้กิจกรรมมาเรียนรู้โดยใช้ปัญญาเป็นรากฐานในวิชาการศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองที่มีต่อความตระหนักในความเป็น พลเมืองของนักศึกษา. ใน (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
นิภาพรรณ เจนสันติกุล. (2556). โครงสร้างทางสังคม บทบาทและนโยบายสาธารณะกับความเป็นพลเมือง. วารสารศิลปะศาสตร์, (5)1, 53 – 54.
บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. (2554). ปาฐกถาพิเศษในกรปิดประชุมวิชาการการเป็นพลเมืองกับอนาคตประเทศไทย. ใน เอกสารการประชุมวิชาการ สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่13 ประจำปี 2554. บ.จรัญสนิทวงศ์การพิมพ์.
บวรศักดิ์ อุวรรณโณ และถวิลวดี บุรีกุล. (2548). ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพระปกเกล้า.
ปริญญา เทวานฤมิตรกุล. (2555). การศึกษาเพื่อความเป็นพลเมือง (Civic Education): แก้ปัญหาการเมืองไทยโดยสร้างประชาธิปไตยที่ “คน”. ใน เอกสารการประชุมวิชาการสถาบันพระปกเกล้า. ครั้งที่ 13 ประจำปี 2554. บ. จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.
เยาวภา ประคองสินธิ์ . (2550). ประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองของไทย สำหรับวิชาสังคมศึกษา. ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.
วิสุทธิ์ โพธิแท่น. (2550). เนวคิดพื้นฐานของประชาธิปไตย. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.
เอนก เหล่าธรรมทัศน์. (2551). การเมืองภาคพลเมือง. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพระปกเกล้า.
Gabriel A. A. & Verba, S. (1956). The Civic Culture : Political Attitudes and Democracy in Five Nations. Boston: Little Brown & Company.
Kenneth P. L. (1965). Political Socialization. New York: Oxford University Press.