แนวทางการพัฒนาการบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนอนุบาล แม่ฟ้าหลวง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3

Main Article Content

ธนวรรธก์ โชติบุญ
ไพรภ รัตนชูวงศ์
สุวดี อุปปินใจ

บทคัดย่อ

            บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษา ลักษณะ ปัจจัย และเสนอแนวทางการพัฒนาการบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนอนุบาลแม่ฟ้าหลวง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 เป็นวิจัยแบบผสมผสานวิธี ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน ครูทั้งหมดในโรงเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ตัวแทนผู้ปกครองนักเรียน ตัวแทนชุมชน จำนวน 40 คน และสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 10 คน โดยใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ และแบบสนทนากลุ่ม โดยการวิเคราะห์ข้อมูล หาค่าความถี่ ค่าร้อยละ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา        ผลการศึกษา พบว่า ลักษณะการมีส่วนร่วม ทั้ง 4 ด้าน ด้านการตัดสินใจ ด้านการปฏิบัติ ผู้อำนวยการโรงเรียนมีส่วนร่วมมาก ด้านผลประโยชน์ ด้านการประเมินผล มีส่วนร่วมปานกลาง ส่วนตัวแทนผู้ปกครองและตัวแทนชุมชนมีส่วนร่วมน้อย ปัจจัยภายใน ผู้อำนวยการโรงเรียน ครู ผู้ปกครองนักเรียน กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ตัวแทนชุมชน มีส่วนร่วมด้านโครงสร้างการบริหารงานและนโยบายภายในโรงเรียน ในด้านปัจจัยภายนอก คนในชุมชน ผู้ปกครองนักเรียนและหน่วยงานท้องถิ่น มีส่วนร่วมในด้านสังคมและวัฒนธรรมของโรงเรียน ด้านแนวทางการพัฒนาการบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนโดยมีส่วนร่วมในการแต่งตั้งคณะกรรมการโรงเรียน ร่วมประชุมและรับทราบตารางเวลาในการจัดกิจกรรมในแต่ละปีการศึกษาของโรงเรียน มีส่วนร่วมในการเป็นตัวแทนในด้านแรงงาน และร่วมเป็นที่ปรึกษาของโรงเรียน ร่วมระดมทุน ร่วมรับฟังปัญหาและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับทางโรงเรียนการพัฒนาการบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียน โดยร่วมสร้างระบบเครือข่ายผู้ปกครองนักเรียน ร่วมวิเคราะห์และประเมินผลตั้งแต่ริเริ่มโครงการ ระหว่างดำเนินโครงการ รวมไปถึงการประเมินผลเมื่อดำเนินโครงการเสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

Article Details

How to Cite
โชติบุญ ธ. . ., รัตนชูวงศ์ ไ. ., & อุปปินใจ ส. . (2021). แนวทางการพัฒนาการบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนอนุบาล แม่ฟ้าหลวง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3. วารสาร มจร เพชรบุรีปริทรรศน์, 4(1), 59–74. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JPR/article/view/253013
บท
บทความวิจัย

References

เจนณรงค์ อุ่นทุลัย และคณะ. (2555). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสาร ม.มรม (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 6(3), 185-196.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้นฉบับปรับปรุงใหม่. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ กระทรวงศึกษาธิการ พุทธศักราช 2546. (2546). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 120 ตอนที่ 62 ก. (6 กรกฎาคม 2546).

เมตต์ เมตการุณ์จิต. (2553). การบริหารจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: บุ๊คพอยท์.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2560. (2560). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 134 ตอนที่ 40 ก. (6 เมษายน 2560).

โรงเรียนอนุบาลแม่ฟ้าหลวง. (2562). แผนปฏิบัติราชการปีการศึกษา 2562. เชียงราย: โรงเรียนอนุบาลแม่ฟ้าหลวง.

สราวดี เพ็งศรีโคตร. (2554). รูปแบบการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาปฐมวัย. วารสารการศึกษาและพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยบูรพา, 7(1), 75-79.

สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561-2580 (ฉบับย่อ). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ.

Cohen & Uphoff. (2014). Promoting Empowerment of People in Advancing Povert Eradication Social Integration and Decent Work for All. New York: UN. Economic and Social Council.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing (5th ed.). New York: Harper Collins Publishers.