การพัฒนาความสามารถในการให้เหตุผลและเจตคติที่มีต่อคณิตศาสตร์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบวงจรการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ร่วมกับ เทคนิคการใช้คำถามของบาดแฮมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

Main Article Content

อาภาพัชร์ ถั่วทอง
จินตนา ศิริธัญญารัตน์
นภาภรณ์ ยอดสิน

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบวงจรการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ร่วมกับเทคนิคการใช้คำถามของบาดแฮมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนเรียนกับหลังเรียน 2) เปรียบเทียบเจตคติที่มีต่อคณิตศาสตร์ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบวงจรการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ร่วมกับเทคนิคการใช้คำถามของบาดแฮมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนเรียนกับหลังเรียน โรงเรียนวัดไผ่ขาด อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 20 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดความสามารถในการให้เหตุผล 3 ฉบับ และแบบวัดเจตคติที่มีต่อคณิตศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบท ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบวงจรการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ร่วมกับเทคนิคการใช้คำถามของบาดแฮมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) เจตคติที่มีต่อคณิตศาสตร์ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบวงจรการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ร่วมกับเทคนิคการใช้คำถามของบาดแฮมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
ถั่วทอง อ. ., ศิริธัญญารัตน์ จ. ., & ยอดสิน น. . . . . (2024). การพัฒนาความสามารถในการให้เหตุผลและเจตคติที่มีต่อคณิตศาสตร์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบวงจรการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ร่วมกับ เทคนิคการใช้คำถามของบาดแฮมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสาร มจร เพชรบุรีปริทรรศน์, 7(2), 269–278. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JPR/article/view/276064
บท
บทความวิจัย

References

จตุพร ผ่องลุนหิต. (2560). ผลของการจัดการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ ที่มีต่อทักษะการแก้ปัญหา และทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3.ใน (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนคณิตศาสตร์). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.

ฐิตินันท์ ใจยายอง. (2561). การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาและเจตคติที่มีต่อคณิตศาสตร์ โดยใช้เทคนิค เค ดับเบิ้ลยู ดี แอล ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านกองก๋อย จังหวัดฮ่องสอน. ใน (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตร การสอน และเทคโนโลยีการเรียนรู้). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ทิศนา แขมมณี. (2561). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 22. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธัณรัตน์ สังหร. (2556). ผลของการจัดการเรียนรู้แบบอุปนัย-นิรนัยที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ความสามารถในการให้เหตุผลและความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ เรื่อง สถิติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. ใน (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการมัธยมศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

เพียงตะวัน นวกุล. (2564). ผลการจัดการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. ใน (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

วิชัย เสวกงาม. (2557). การเปรียบเทียบพฤติกรรมการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีเจตนมาเชิงพฤติกรรมทางการเรียนคณิตศาสตร์แตกต่างกัน. ใน (การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชามัธยมศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิภารัตน์ บุญเขื่อง. (2559). เจตคติที่มีต่อคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ในชั้นเรียนคณิตศาสตร์ที่ใช้วิธีการแบบเปิด. ใน (วิทยานิพนธ์ศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2545). คู่มือการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระ การเรียนรู้คณิตศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

_____. (2556). ผลการประเมิน PISA 2012 คณิตศาสตร์ การอ่าน และวิทยาศาสตร์บทสรุป สำหรับผู้บริหาร. กรุงเทพมหานคร: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

______. (2559). ผลการประเมิน PISA 2015 คณิตศาสตร์ การอ่าน และวิทยาศาสตร์.กรุงเทพมหานคร: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

______. (2564). ผลการประเมิน PISA 2018 การอ่านคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอรนุช ลิมตศิริ. (2555).

อัมพร ม้าคะนอง. (2559). ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์: การพัฒนาเพื่อพัฒนาการ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์ตำราและเอกสารทางวิชาการ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อารีย์ ศรีสุกอง. (2562). ผลการจัดการเรียนรู้แบบประสบการณ์ ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ความน่าจะเป็นสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. ใน (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยนเรศวร.

Badham. (1994). What’s the Question?. Pamphlet 23. Primary Association for Mathematics (Australia).

Badham way. (2008). Using questioning to stimulate mathematical thinking. Australian Primary Mathematics Classroom, 13(3), 22-27.

David A. Klob. (2014). Experiential Learning: Experience as the Source of Learning and Development. New Jersey: FT Press.