พฤติกรรมการป้องกันตนเองจากไวรัสโคโรนาของประชาชน ในพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

วนิดา โนรา

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องพฤติกรรมการป้องกันไวรัสโคโรนาของประชาชนในพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการป้องกันตนเอง และเปรียบเทียบพฤติกรรมการป้องกันไวรัสโคโรนา จำแนกตามเพศ อายุ และอาชีพ ประชากร คือ ประชาชนในพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ประกอบการร้านค้า และนักท่องเที่ยวในพื้นที่ คำนวณจากสูตรการหากลุ่มตัวอย่างแบบไม่ทราบขนาดประชากร ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง 384 คน เครื่องมือที่ใช้ในวิจัย คือ แบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันตนเอง ซึ่งผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้น โดยผ่านการตรวจสอบความตรงด้านเนื้อหาโดยผ่านผู้เชี่ยวชาญ และค่าความเชื่อมั่นด้วยค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.97 การเก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา


ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุน้อยกว่า 20 ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรี สถานภาพโสด อาชีพที่ทำอยู่ในปัจจุบันเป็นนักศึกษา รายได้ปัจจุบัน/เดือน ต่ำกว่า 15,000 บาท แหล่งข้อมูลการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับสถานการณ์โควิค-19 จาก Social Media (Facebook และ Twitter) ส่วนความรู้เกี่ยวกับการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา พบว่า 3 ลำดับแรก คือ ระยะฟักตัวไวรัสโคโรนา คือ ช่วงเวลาหลังจากสัมผัสหรือรับเชื้อไวรัสจนถึงช่วงที่เริ่มมีอาการ  เป็นโรคที่สามารถติดต่อกันได้ง่าย และการสวมหน้ากากอนามัย/ผ้า สามารถช่วยป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา  ส่วนพฤติกรรมการปฏิบัติตนในการป้องกันโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสโคโรนา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3 ลำดับแรก คือ ท่านสวมหน้ากากอนามัย/ผ้า เมื่อออกจากบ้าน เมื่อท่านไปสถานที่ชุมชนแออัด เช่น ตลาดนัด ห้าง ท่านปฏิบัติตามกฎของสถานที่ และท่านตรวจวัดอุณหภูมิ ที่จุดคัดกรอง เมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับพฤติกรรมการป้องกันไวรัสโคโรนาที่มีเพศ อายุ และอาชีพต่างกัน พบว่า มีความแตกต่างกันอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01


คำสำคัญ : พฤติกรรมการป้องกันตนเอง  ไวรัสโคโรนา  พื้นที่แหล่งท่องเที่ยว  จังหวัดเชียงใหม่

Article Details

How to Cite
โนรา ว. (2024). พฤติกรรมการป้องกันตนเองจากไวรัสโคโรนาของประชาชน ในพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วารสาร มจร เพชรบุรีปริทรรศน์, 7(1), หน้า 566 – 579. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JPR/article/view/275205
บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2563). โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). เรียกใช้เมื่อ 27 สิงหาคม 2564 จาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia /faq_more.php.

ขวัญตา สุธรรม. (2561). การป้องกันตนเองจากควันบุหรี่มือสองของนักเรียน มัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดราชบุรี. ใน (วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการสร้างเสริมสุขภาพ). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

จันทิมา ห้าวหาญ และพรรณวดี ขาจริง. (2563). ความรู้ความเข้าใจและพฤติกรรมการปฏิบัติตนเกี่ยวกับการป้องกันโรคโควิด-19 (COVID-19) ของประชาชนในจังหวัดภูเก็ต. การประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 11 ปีการศึกษา 2563 หัวข้อ “Community-led Social Innovation in the Era of Global Changes amidst Covid-19 Crisis: นวัตกรรมทางสังคมของชุมชนในยุคของการเปลี่ยนแปลงโลกท่ามกลางวิกฤตโควิด-19” 19 กุมภาพันธ์ 2564 (หน้า 169-178). ภูเก็ต: วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้.

จารุรัตน์ ศรีรัตนประภาส และจิราวรรณ กล่อมเมฆ. (2565). ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันโควิด-19 ของประชากร วัยทำงานในตำบลมวกเหล็ก อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี. วารสารพยาบาลทหารบก, 23(1), 437-445.

จารุวรรณ แหลมไธสง และคณะ. (2562). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อทางเดินหายใจของผู้ดูแลเด็กปฐมวัยในศูนย์เด็กเล็ก กรุงเทพมหานคร. วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 33(1), 1-19.

จิราพร บาริศรี และคณะ. (2563). พฤติกรรมการปองกันโรคโควิด-2019 (COVID -2019) ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏรอยเอ็ด. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 6(6), 38-45.

ธานี กล่อมใจ และคณะ. (2563). ความรู้และพฤติกรรมของประชาชนเรื่องการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ใหม่ 2019. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุข และการศึกษา, 21(2), 29-39.

นารีมะห์ แวปูเตะ และคณะ. (2564). พฤติกรรมการป้องกันโรคจากไวรัสโคโรนา 2019 ของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา. วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน, 3 (2), 31-39.

ภัคณัฐ วีรขจร และคณะ. (2563). การรับรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (covid19) ของกำลังพลที่ปฏิบัติงานสายแพทย์ ศูนย์อำนวยการแพทย์ จังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 3(3), 106-117.

รังสรรค์โฉมยา และกรรณิกา พันธ์ศร. (2563). ความตระหนักเกี่ยวกับพฤติกรรมการป้องกันการติดต่อโรคไวรัสโคโรนาสาย พันธุ์ใหม่ (โควิด-19): การเปรียบเทียบระหว่างวัย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 39(6), 71-82.

สุภาภรณ์ วงธิ. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดสุโขทัย. ใน (วิทยานิพนธ์หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุข). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร.

Atchison, C. J., et al. (2020). Perceptions and behavioral responses of the general public during the covid-19 pandemic: A cross-sectional survey of uk adults. London: Imperial College London.

Taghrir, M. H., et al. (2020). Covid-19and iranian medical students; asurvey on their related-knowledge, preventive behaviors and risk perception. Archives of Iranian medicine, 23(4), 249-254.