พุทธบูรณาการเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนของกลุ่มสตรีแม่บ้านในสังกัดพัฒนาชุมชน อำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งมีวัตถุประสงค์คือ 1)เพื่อศึกษาระดับการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนของกลุ่มสตรีแม่บ้านในสังกัดพัฒนาชุมชนอำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักไตรสิกขากับการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนของกลุ่มสตรีแม่บ้าน ในสังกัดพัฒนาชุมชนอำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี 3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับนำหลักพุทธบูรณาการเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนของกลุ่มสตรีแม่บ้าน ในสังกัดพัฒนาชุมชนอำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี รูปแบบวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Method Research) โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quatitative Research) กับกลุ่มประชากรระดับปฏิบัติงานจำนวนจริงทั้งหมดจำนวน 132 คนที่สังกัดพัฒนาชุมชน และค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือที่นำไปทดลองใช้ เท่ากับ 0.919 วิเคราะห์ข้อมูลแบบสอบถามโดยโปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และใช้สถิติทดสอบสมมติฐานโดยใช้การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson Product-moment Correlation Coefficient)พร้อมทั้งวิจัยรูปแบบเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เป็นการสัมภาษณ์เชิงลึก (In- depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการแจกแบบสอบถามและการสัมภาษณ์กับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสําคัญที่ได้กําหนดไว้ทั้งหมดจํานวน 12 รูปหรือคน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนของกลุ่มสตรีแม่บ้านอำเภอหนองหญ้าไซตามหลักไตรสิกขา โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาตามหลักไตรสิกขาที่ค่าเฉลี่ยสูงคือ ด้านศีล รองลงมา ด้านสมาธิและต่ำสุดด้านปัญญา ส่วนระดับการพัฒนาเศรษฐกิจแบบพึ่งตนเอง โดยรวมอยู่ในระดับมาก พบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงได้แก่ด้านการสร้างจิตสำนึก รองลงมา ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม รองลงมาด้านการประสานวัฒนธรรม รองลงมา ด้านการร่วมกิจกรรม และต่ำสุดการพัฒนาแบบกลุ่มและการสร้างเครือข่าย 2) ความสัมพันธ์การนำหลัก พุทธบูรณาการเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนของกลุ่มสตรีแม่บ้านในสังกัดพัฒนาชุมชน อำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี โดยรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกในทิศทางเดียวกันอยู่ในระดับสูง 0.856 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.01ค่าความสัมพันธ์เรียงลำดับจากมากไปหาต่ำ โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสุดอยู่ในระดับสูง ได้แก่ ด้านการพัฒนาแบบกลุ่ม รองลงมาด้านการสร้างเครือข่าย รองลงมาด้านการร่วมกิจกรรม และด้านที่อยู่ในระดับปานกลางได้แก่ ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม รองลงมาด้านการประสานวัฒนธรรม และต่ำสุดด้านการสร้างจิตสำนึก 3) แนวทางการนำหลัก พุทธบูรณาการเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนของกลุ่มสตรีแม่บ้านในสังกัดพัฒนาชุมชน อำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี (1) ศีล (การส่งเสริมพัฒนาการรวมกลุ่มและการสร้างความโปร่งใส่ในการดำเนินงาน) การสร้างจิตนึกใน การประสานวัฒนธรรม ให้มีความต่อเนื่องมีความโปร่งใส และเน้นถึงความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่จำกัดโดยเฉพาะในด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (2) สมาธิ (การฝึกฝน การพัฒนาทักษะกลุ่มสตรีแม่บ้าน) ให้ความสำคัญในเรื่องการประสานวัฒนธรรมในองค์กรการดำเนินการประสานงานให้มีความชัดเจนโดยเฉพาะในเรื่องข้อบังคับการอนุรักษ์ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดโดยกระบวนการนำมาใช้ที่มีความคุ้มค่าการพัฒนาทักษะและกระบวนการผลิต (3) ปัญญา (การพัฒนาด้านความรู้ การนำความรู้ไปใช้และการสร้างสรรค์) เน้นการพัฒนาแบบกลุ่มและการประสานวัฒนธรรม(การประสานงานภายในองค์กร)และให้ความสำคัญกับการสร้างจิตสำนึก
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ขวัญกมล ดอนขวา.(2555). การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการ สํานักวิชาเทคโนโลยีสังคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุนารี.
ชญาน์นันท์ ศิริกิจเสถียร. การเสริมสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจชุมชนในการพัฒนาอาชีพของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนคนรักษ์แม่หนองหลวง จังหวัดกำแพงเพชร.รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการ (Proceeding) การประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 9 และระดับนานาชาติครั้งที่ 2 “วิทยาการจัดการวิชาการ 2020” 7 กุมภาพันธ์ 2563 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.
ทวี วัชระเกียรติศักดิ์.(2559). การสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจให้กับชุมชนโดยการพัฒนากลุ่มอาชีพในพื้นที่ องค์การบริหารส่วนตำบลพลสงคราม อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา, โปรแกรมวิชาการจัดการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
ณวิญ เสริฐผล.(2562). กระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนของชุมชนในจังหวัดพะเยา. คณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์,มหาวิทยาลัยพะเยา.
พุทธทาสภิกขุ.(2542). ธรรมโฆษณ : ขุมทรัพย์ทางปญญา, กรงเทพมหานคร : สุขภาพใจ.
พระธรรมปฎก (ประยุทธปยุตฺโต).(2541). ธรรมกับไทยในสถานการณ์ปัจจุบัน, กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ครุสภาลาดพร้าว.
พระครูเกษมธรรมสุนทร,(2561). การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนตามแนวกูฏทันตสูตร
ของชุมชนตำบลวังสวาบ อำเภอภูผาม่าน จังหวัดขอนแก่น, หลักสูตรปริญญาพุทธศาสตร
ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา,มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ประทิน แสงไทย.พระราชปริยัติกวีและพระมหาพรชัย สิริวโร. รูปแบบการเสริมสร้างพลังศักยภาพสตรีเพื่อพัฒนาชุมชนตามหลักพุทธธรรม, วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร ปีที่ 6 ฉบับที่ 4. ตุลาคม-ธันวาคม 2561.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.(2534). เอกสารการสอนชุดวิชาปัญหาการพัฒนาชนบทไทย. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ลักคณา โยคะวิสัยและจุมพล หนิมพานิช. การส่งเสริมบทบาทกลุ่มสตรีในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมในชุมชนท้องถิ่นของเทศบาล ตำบลกุดดู่ เทศบาลตำบลโนนสัง เทศบาลตำบลโคกศรี เทศบาลตำบลยางตลาด เทศบาลตำบลหนองหิน และเทศบาลตำบลกกกุง. วารสารรังสิตบัณฑิตศึกษาในกลุ่มธุรกิจและสังคมศาสตร์ ปี ที่ ๑ ฉบับที่ 2 เดือนมกราคม-มิถุนายน 2559.
ศักดา ภาคจันทึก.(2557).การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักไตรสิกขาของพระสังฆาธิการ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์, ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ศุภกร จันทราวุฒิกร.(2562). การศึกษาและพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมตามหลักไตรสิกขาเพื่อเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารและหัวหน้างานองค์กร, ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาประยุกต์ สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สุมน อมรวิวัฒน์.(2544). กระบวนการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ในชุมชนและธรรมชาติ. กรุงเทพมหานคร : ไทยวัฒนาพานิชย.
สังสิต พิริยะรังสรรค์.(2541).เศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองฉบับหมาดไทย: ประเทศยากจน ประชาชนมั่งคั่ง. ในเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง : แนวความคิดและยุทธศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : กระทรวงมหาดไทย กรมการปกครอง.
สนธยา พลศรี. (2547). ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน, (พิมพครั้งที่5). กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร.
สัญญา สัญญาวิวัฒน์.(2544). การพึ่งตนเองทางเศรษฐกิจในชนบท, กรุงเทพมหานคร : สภาวิจัยแห่งชาติ.
สำนักงานเกษตรอำเภอหนองหญ้าไซ, แผนพัฒนาการเกษตร, [ออนไลน์] แหล่งที่มา : https://www.jangngam.go.th/index.php?sub=economy, [ 26 กันยายน 2564].
สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.(2559). การพัฒนาระบบเศรษฐกิจและทุนชุมชน สู่ชุมชนเข้มแข็งจัดการตนเอง. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร : สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน).
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.(2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒.