การพัฒนารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อเสริมสร้างการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี

Main Article Content

ดนยา แย้มภู่

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อเสริมสร้างการจัดการเรียนรู้เชิงรุก 2) สร้างและตรวจสอบรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อเสริมสร้างการจัดการเรียนรู้เชิงรุก 3) ทดลองใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อเสริมสร้างการจัดการเรียนรู้เชิงรุก 4) ประเมินความเหมาะสมและความเป็นประโยชน์ในการนำไปปฏิบัติของรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อเสริมสร้างการจัดการเรียนรู้เชิงรุก กลุ่มเป้าหมาย คือ ครู กศน. จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t ผลวิจัย 1) สภาพปัจจุบันชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพอยู่ในระดับปานกลาง และการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูอยู่ในระดับมาก 2) ผลการสร้างรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อเสริมสร้างการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู พบว่า ความถูกต้องอยู่ในระดับมาก ความเป็นไปได้และการประเมินคู่มือการใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อเสริมสร้างการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูอยู่ในระดับมากที่สุด 3) ผลการทดลองใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อเสริมสร้างการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู พบว่า ก่อนการอบรม อยู่ในระดับมาก และหลังการอบรม อยู่ในระดับมากที่สุด 4) ความเหมาะสมในการนำไปปฏิบัติของรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อเสริมสร้างการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูอยู่ในระดับมาก และความเป็นประโยชน์ในการนำไปปฏิบัติของรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อเสริมสร้างการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

How to Cite
แย้มภู่ ด. (2023). การพัฒนารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อเสริมสร้างการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี. วารสาร มจร เพชรบุรีปริทรรศน์, 6(1), หน้า 18 – 33. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JPR/article/view/264051
บท
บทความวิจัย

References

กชภัทร์ สงวนเครือ. (2562). โปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกตามแนวทาง

สะเต็มศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.ปริญญาการศึกษาดุษฎี บัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

การศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง (2560-2564). กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). คู่มือการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล. กรุงเทพฯ :

สกสค.

กิ่งแก้ว ภูทองเงิน. (2561). รูปแบบการพัฒนาครูตามแนวคิดชุมชนการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างจิต

สาธารณะของนักเรียน ระดับประถมศึกษา. ปริญญานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขา หลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น. (2559).

การวิจัยสำหรับครู. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น,

. (2559). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10 กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

พิณสุดา สิริธรังศรี. (2559). รายงานการวิจัยและพัฒนา เรื่อง รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษา

ขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพ ฯ : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2558). การอุดมศึกษากับสังคมไทย. กรุงเทพฯ : วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัย

ธุรกิจบัณฑิตย์.

มินตรา ลายสนิทเสรีกุล, และปิยพงษ์ สุเมตติกุล. (2557). “กลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาสู่การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพของสถานศึกษามัธยมศึกษาในสหวิทยาเขตเบญจบูรพา. กรุงเทพมหานคร”. วารสาร OJED. 9 (3) : 392-406.

วิจารณ์ พานิช .(2556). ครูเพื่อศิษย์สร้างห้องเรียนกลับทาง. กรุงเทพฯ : เอสอาร์พริ้นติ้งแมสโปรดักส์จำกัด.

สิริพร ปาณาวงษ์. (2556). “การพัฒนาสมรรถนะครูนักวิจัยเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

ชุมชนคนต้นน้ำเจ้าพระยา สำหรับนักศึกษาครูมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์”. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 10,1-16.

สุภัทรา ภูษิตรัตนาวลี. (2560). ศึกษาการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกสำหรับคณาจารย์

วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้.ปริญญานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการวิจัยพฤติกรรม ศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

หทัยชนก พรรคเจริญ, และคนอื่น ๆ. (2561). เทคนิคการสุ่มตัวอย่างและการประมาณค่า. กรุงเทพฯ : กลุ่มระเบียบวิธีสถิติ สำนักนโยบายและวิชาสถิติ สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

อำนาท เหลือน้อย. (2561). รูปแบบการบริหารจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ

ของสถานศึกษามาตรฐานสากล. ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

Stoll L. (2010). Professional learning community. New York, NY:Open university

Press.