พระสงฆ์กับการสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคม

Main Article Content

พระครูสิริธรรมาภิรัต
พระวิสุทธวรกิจ

บทคัดย่อ

         ประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่มีความเชื่อและปฏิบัติตามแนวแห่งหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาช้านานจนทำให้เกิดการพัฒนาการจากรุ่นสู่รุ่น ปัจจุบันถึงแม้สังคมโลก จะเปลี่ยนแปลงแต่การปฏิบัติตามแนวทางแห่งหลักธรรมของพระพุทธศาสนา ก็ยังปรากฎให้เห็นอยู่เนื่อง ๆ ซึ่งหากกล่าวถึงพระสงฆ์กับการสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมก็ขอยกตัวอย่างพระมหาเถระ 2 รูป ได้แก่ รูปที่ 1 หลวงพ่อพุทธทาส และหลวงตามหาบัว ซึ่งหลวงพ่อพุทธทาส ได้ก่อตั้ง  สวนโมกข์ ช่วงแรกสวนโมกข์นั้นไม่ต่างจากป่าช้าที่มีสภาพรกร้าง แต่เมื่อหนังสือพิมพ์ที่ท่านได้จัดทำขึ้นเริ่มเผยแพร่ทำให้มีผู้อ่านมากขึ้น สวนโมกข์จึงเป็นที่รู้จัก และเริ่มมีผู้คนหลั่งไหลเข้ามาเพื่อปฏิบัติธรรม และผลงานด้านการเขียนหนังสือธรรมะอีกมากมายหลายเล่มที่เป็นประโยชน์และสร้างคุณค่าต่อสังคม รูปที่ 2 หลวงตามหาบัว เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางทั้งในและนอกประเทศ จากการที่ท่านได้ดำเนินการทอดผ้าป่าทองคำและเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ ภายใต้ชื่อ “โครงการผ้าป่าช่วยชาติ โดยหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน” เพื่อใช้เป็นทุนสำรองของประเทศไทย หลวงตามหาบัวเป็นพระมหาเถระที่สงเคราะห์ธรรมะ แก่พระภิกษุ สามเณรรวมไปถึง ฆราวาสมาโดยตลอด ซึ่งท่านช่วยเหลือทั้ง ด้านวัตถุสิ่งของ ทั้งจตุปัจจัยไทยทาน เพื่อเป็นประโยชน์แก่ส่วนรวม หลวงตาได้ตั้งปณิธานในการสงเคราะห์โลกไว้ว่า “พอตื่นขึ้น สิ่งแรกที่คิดถึงก่อนอื่นก็คือเรื่องการช่วยโลก ไม่มีแม้แต่น้อยที่คิดถึงเรื่องตัวเอง พระช่วยโลกไม่ได้ใครเล่าจะช่วยได้...” ตลอดชีวิตของหลวงตาได้สงเคราะห์สังคมเพื่อมุ่งเน้นสร้างจิตภาวนาให้เกิดขึ้นเท่านั้น

Article Details

How to Cite
พระครูสิริธรรมาภิรัต, & พระวิสุทธวรกิจ. (2021). พระสงฆ์กับการสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคม. วารสาร มจร เพชรบุรีปริทรรศน์, 1(1), 1–17. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JPR/article/view/253027
บท
บทความวิชาการ

References

ชลวิทย์ เจียรจิตต์. (2558). ศาสนากับการพัฒนา. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

นลินทิพย์ ภัคศรีกุลกำธร. (2550). พระมหาสมปอง ตาลปุตฺโต ผู้ส่งบุญดิลิเวอรี่. เรียกใช้เมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2561 จาก https://positioningmag.com/9924

พระครูวินัยธรจักรี ศรีจารุเมธีญาณ และคณะ. (2559). บทบาทพระสงฆ์ไทยในสังคมยุคโลกาภิวัตน. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 4(1), 275-287.

พระมหาสุรชัย สุรทสฺสี. (2556). ธรรมประกาศโนบาย. เรียกใช้เมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2561 จาก https://www.watprayoon.com/main.php?url=book_view&id=30

พระโยธกา บุญมาวงษา และสัญญา สะสอง. (2561). วิเคราะห์เรื่องสื่อบุคคลในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา. วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา , 9(2), 40-53.

ภัทรดนัย สุศิวะ. (2561). หน้าที่ชาวพุทธและมารยาทชาวพุทธ. เรียกใช้เมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2561 จาก https://sites.google.com/site/class23102/phra-thrrm-wi-suththi-mngkhl

วัดญาณเวศกวัน. (2550). พระพุทธศาสนาเพื่อสันติภาพของโลก. เรียกใช้เมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2561 จาก https://www.watnyanaves.net/th/book_detail/656

สำนักบริหารยุทธศาสตร์ กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน 1. (2558). ข้อมูลท่องเที่ยว 4 จังหวัดภาคกลางตอนบน 1. เรียกใช้เมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2561 จาก http://www.osmnorthcentral1.go.th/travel/detail/11

news. (2554). ตั้ง พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต ป.ธ.9 ศาสตราจารย์ ดร. ราชบัณฑิต) เป็น กรรมการมหาเถรสมาคม. เรียกใช้เมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2561 จาก http://jeibasang-news.blogspot.com/2011/