ดีเกร์ฮูลู: การสืบทอดวัฒนธรรมศิลปะการแสดง กรณีศึกษาชุมชนบ้านดูกู ตำบลบาเจาะ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบของการแสดงดีเกร์ฮูลู และศึกษาวิธีการสืบทอดดีเกร์ฮูลูชุมชนบ้านดูกู ตำบลบาเจาะ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับดีเกร์ฮูลูในเขตบ้านดูกู ตำบลบาเจาะ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส จำนวน 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 11 คน และกลุ่มที่ 2 ผู้ให้ข้อมูลรอง จำนวน 5 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง ใช้แบบสัมภาษณ์และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมเพื่อใช้สำรวจข้อมูล การเก็บข้อมูลภาคสนาม โดยวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบของการแสดงดีเกร์ฮูลูชุมชนบ้านดูกู พบว่า จะประกอบด้วย 1.1) ผู้แสดง ที่จะทำหน้าที่แสดง 1.2) ลูกคู่ที่ทำหน้าที่บรรเลงดนตรีและมีลูกคู่ที่ทำหน้าที่ร่ายรำมือ 1.3) เครื่องดนตรีที่ใช้ในการบรรเลงดนตรี 1.4) เพลงที่ใช้ขับร้องเพื่อประกอบการแสดงให้สมบูรณ์ และ 1.5) การแต่งกายของการแสดงดีเกร์ฮูลูที่สามารถเพิ่มสีสันของการแสดง 2) วิธีการสืบทอดดีเกร์ฮูลูชุมชนบ้านดูกู 2.1) ด้านการสะสมวัฒนธรรม การสะสมวัฒนธรรมจะต้องเกิดจากคนรุ่นเก่า ๆ เก็บสะสมเครื่องดนตรีหรืออุปกรณ์ การแต่งกาย เพลง และเทคนิคการขับร้อง เพื่อให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้ 2.2) ด้านการสืบต่อทางวัฒนธรรม นำคณะดีก์ฮูลูไปแสดงยังโรงเรียนหรือแสดงให้เยาวชนรุ่นใหม่ได้ดู เพื่อให้เยาวชนรุ่นใหม่ได้เห็นคุณค่าของวัฒนธรรมที่ดีงาม 2.3) ด้านการปรับปรุงและเผยแพร่วัฒนธรรม เป็นการนำวัฒนธรรมมาปรับปรุงเพื่อให้เข้ากับยุคสมัยปัจจุบัน ทำให้การแสดงน่าสนใจ และนำวัฒนธรรมในชุมชนไปเผยแพร่ยังต่างประเทศ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ชนาวี ดลรุ้ง และคณะ. (2560). การสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมบุญสงกรานต์ เพื่อพัฒนาการศึกษาตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา. วารสารชุมชนวิจัย, 1(3), 95-109.
ณัฎฐาพร หอมแช่ม. (2548). ลิเกฮูลู:กรณีศึกษาคณะอาเนาะป อุมาร์ อาเนาะปูยู อำเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี. ใน (วิทยานิพนธ์ศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชามานุษยดุริยางควิทยา). บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ทะนงศักดิ์ วิกุล. (2547). การศึกษาการรับรู้ของชุมชนต่อคุณค่ามรดกทางวัฒนธรรมในเขตเมืองกรณีศึกษา เขตเทศบาลนครลําปาง. กรุงเทพมหานคร: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
เปรมสิรี ศักดิ์สูง และคณะ. (2550). ลิเกฮูล: การศึกษาเชิงประวัติรูปแบบและการพัฒนาศักยภาพ. ใน (รายงานการวิจัย). สำนักงานคณะกรรมการแห่งชาติ กระทรวง วัฒนธรรม.
พลอยภัทรา ตระกูลทองเจริญ. (2557). การศึกษาความตระหนักในการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม ผ่านกระบวนการการมีส่วนร่วมกรณีศึกษา: หมู่บ้านศาลาแดงเหนือ เชียงรากน้อย. ใน (วิทยานิพนธ์สถาปัตยกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรมภาย). บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
พิณทิพย์ ขาวปลื้ม. (2556). การสืบทอดวัฒนธรรมปี่พาทย์มอญใน อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. ใน (วิทยานิพนธ์ศิลปกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชามานุษยดุริยางควิทยา). บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ยะพา เจะนิ และคณะ. (2557). บทบาทเพลงพื้นบ้านดิเกร์ฮูลูในการเสริมสร้างสันติสุขในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. ใน (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
สรรเกียรติ กุลเจริญ. (2558). การเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรมท้องถิ่น: ศึกษากรณีงานประเพณีสงกรานต์พระประแดง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ. ใน (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาไทย). บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยบูรพา.
สุธี เทพสุทริวงค์. (2546). วิถีและพลังของลิเกฮูลูในจังหวัดปัตตานีปัตตานี. ใน (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.
อ้อมดาว ลอยสุวรรณ. (2559). บทบาทของดิเกร์ฮูลูต่อการพัฒนาในจังหวัดยะลา. ใน (วิทยานิพนธ์วารสารศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสื่อสารมวลชน). บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์.
อุษณีย์ ธุวโชติ และคณะ. (2556). วัฒนธรรมอาหารไทย: ภาคใต้. นนทบุรี : สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหาผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์.