การส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ด้านคุณธรรมจริยธรรม โดยใช้กิจกรรม“มือบน” ของนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
คำสำคัญ:
คุณลักษณะอันพึงประสงค์, คุณธรรมจริยธรรม, กิจกรรม”มือบน”บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ด้านคุณธรรมจริยธรรมของนักศึกษาโดยใช้กิจกรรม “มือบน” ของนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาวิจัย คือ นักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จำนวน 140 คน โดยใช้วิธีการเฉพาะเจาะจง ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้เครื่องมือ คือแบบสอบถาม (Questionnaire) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า การส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ด้านคุณธรรมจริยธรรมด้วยกิจกรรม “มือบน” ของนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา อยู่ในระดับมาก (= 4.34 ) ข้อเสนอแนะในการสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักศึกษา ควรส่งเสริมให้นักศึกษาดำเนินการจัดกิจกรรมที่มีความหลากหลายและสอดคล้องกับหลักธรรมของอัลกุรอานและอัลหะดิษ โดยเน้นการบูรณาการกับศาสตร์วิชาที่ศึกษาในหลักสูตร ควรส่งเสริมให้นักศึกษาลงพื้นที่ในชุมชนเพื่อศึกษาสภาพปัญหาในชุมชน เพื่อสร้างเครือข่ายการทำงานภาคประชาสังคม และฝึกการทำงานเพื่อสังคมให้มากยิ่งขึ้น และหลักสูตรควรจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมเพื่อให้นักศึกษาได้จัดโครงการพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมให้กับสังคมได้อย่างสม่ำเสมอ
References
เชค ศอฟียุรเราะฮมาน อัล-มุบาร็อกฟูรีย์. (2558). ตัฟซีร อิบนุกาษีร เล่ม 1 (ซากีรีน บุญมาเลิศ, แปล). กรุงเทพฯ: ออฟเซต.
ประโชติจันทวมิล . (2555). การส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรม นักเรียน โรงเรียนนวมนิทราชินูทิศ หอวัง นนทบุรี อำเภอ ปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิตการบริหารการศึกษา. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พรนิภา จันทร์น้อย. (2560). รูปแบบกิจกรรมการพัฒนาพฤติกรรมทางจริยธรรมของนักศึกษา ในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนตามคุณลักษณะบัณฑิตอุดมคติไทย. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่.
มูฮำหมัด ซุลฟิการ. (2559). ซะกาตในคัมภีร์กุรอานและซุนนะฮฺจากมุมมองสมัยใหม่, บรรจง บินกาซัน (แปล). กรุงเทพมหานคร: อัลอามีน
มนูศักดิ์ โต๊ะเถื่อน และนิเลาะ แวอุเซ็ง. (2010). แนวคิดและแนวทางการปลูกฝังจริยธรรมในอิสลาม. วารสาร AL-NUR บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยอิสลามยะลา, 6(11), 69-83.
วัชระ สํวโร. (2558). การพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมนักเรียนโรงเรียนวัดรังสิต สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต ๑ จังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิตการบริหารการศึกษา. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
สมาคมนักเรียนเก่าอาหรับประเทศไทย. (2556). พระมหาคัมภีร์อัลกุรอาน พร้อมความหมายเป็นภาษาไทย. กรุงเทพ: สมาคมนักเรียนเก่าอาหรับ.
สุรางค์ โค้วตระกูล. (2556). จิตวิทยาการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพมหานคร: จุลาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, (ม.ป.ป.), พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒ และแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ ๒ พ.ศ.๒๕๔๕ (ม.ป.พ.): ผู้แต่ง.
อิมาม มุสลิม. (2558). ฮะดิษเศาะฮีฮฺ มุสลิม ฉบับย่อ เล่มที่ 1 (บรรจง บินกาซัน, แปล). กรุงเทพฯ: ออฟเซ็ต.
อิบรอฮีม ณรงค์รักษาเขต. (2558). ปรัชญาการศึกษาอิสลาม. สงขลา: บันลือการพิมพ์.
อิสมาอีลลุฏฟี จะปะกียา. (2015). มุอัลลิม ร็อบบานีย์ ครูผู้สร้างประชาชาติ. (ม.ป.พ.) มหาวิทยาลัยฟาฏอนี สมาคมเครือข่ายโรงเรียนคุณภาพอัสสลาม.
อับดุลลอฮฺ นาศิฮ อุลวาน. (2553). เลี้ยงลูกด้วยอิสลาม (อัล-มุสลิมาต, แปล). กรุงเทพ: ศูนย์ส่องทางธรรม.
ฮูซีน อับดุลรามัน. (2559). เอกสารประกอบการสอนรายวิชาจริยธรรมและบุคลิกภาพมุสลิม, คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
Basri Hasan. (2014). Filsafah Pendidikan Islam. Bandung: Pustaka Setia.
Quraish Shihab. (2018). Wawasan Al-Quran. Bandung: Mizan.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความทุกเรื่อง ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารอิสลามศึกษาเป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของคณะวิทยาการอิสลาม กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้มีการอ้างอิงแสดงที่มา