สุภโร: คุณธรรมของพระธรรมทูตสายต่างประเทศในยุคปัจจุบัน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้จะนำเสนอแนวคิดเรื่อง สุภโร: คุณธรรมของพระธรรมทูตสายต่างประเทศ มีวัตถุประสงค์ 2 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาคุณธรรมในด้านการเป็นผู้เลี้ยงง่าย (สุภโร) พบว่า พระธรรมทูตในปัจจุบันควรมีคุณธรรมที่สำคัญ 3 ประการคือ (1) มีความมั่นใจในคุณค่า ความจริง ความดีงามของพระพุทธศาสนา (ปัญญา) (2) มีความประพฤติดี มีคุณธรรม มีความมั่นใจในวินัยของพระสงฆ์ (ศีล) (3) มีความมั่นคงทางด้านจิตใจ (สมาธิ) ซึ่งก็คือ ศีล สมาธิ ปัญญา โดยคุณธรรมที่พึงมีในเบื้องแรก คือ สุภโร เป็นผู้เลี้ยงง่ายและการประพฤติปฏิบัติตนให้เป็นผู้เลี้ยงง่าย และ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการสร้างคุณธรรมในด้านการเป็นผู้เลี้ยงง่าย (สุภโร) ประกอบด้วย 2 แนวทางคือ (1) การอบรมจิตให้เป็นผู้ที่มีความพอในความต้องการ เป็นการลดความโลภอันเป็นกิเลสพื้นฐานเบื้องต้น หากประพฤติปฏิบัติเพื่อการลดละความโลภให้น้อยลงก็จะทำให้คุณธรรมด้านอื่นๆ มีเพิ่มขึ้น (2) การสมาทานธุดงค์ ซึ่งจะก่อให้เกิดคุณประโยชน์ เป็นการขัดเกลากิเลส ทำให้เป็นคนมักน้อย สันโดษ เกิดความสงัด ลดการสั่งสมกิเลส เร่งการปรารภความเพียรและทำให้เป็นผู้เลี้ยงง่าย (สุภโร)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ส่งมาขอรับการตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ จะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น รวมทั้งผู้เขียนจะต้องคำนึงถึงจริยธรรมการวิจัย ไม่ละเมิดหรือคัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง ซึ่งทางวารสารฯ ได้กำหนดความซ้ำของผลงาน ด้วยโปรแกรม CopyCat เว็บ Thaijo ในระดับ ไม่เกิน 25%
ในกรณีที่ บทความวิจัยมีกระบวนการวิจัยเกี่ยวข้องกับมนุษย์ ผู้นิพนธ์จะต้องส่งหลักฐานการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์มาประกอบการลงตีพิมพ์ด้วยจึงจะได้รับการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสาร
ผู้เขียนบทความจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเสนอบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ รวมทั้งระบบการอ้างอิงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ โดยรวมทั้งทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์และวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
References
กัลยาณมิตร. (2566). กรณียเมตตสูตร. แหล่งที่มา https://kalyanamitra.org/th/article_detail.php?i=16198 สืบค้นเมื่อ 14 พ.ค. 2567.
ชมรมธรรมธารา. (2565). บาลีวันละคำ. แหล่งที่มา https://dhamtara.com/?p=9847 สืบค้นเมื่อ 19 พ.ค. 2567.
พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระจันทบุรีนฤนาท. (2537). ปทานุกรม บาลี ไทย อังกฤษ สันสกฤต. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2558). ธุดงค์: ทำอะไร ที่ไหน เพื่ออะไร. นครปฐม: วัดญาณเวศกวัน.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2558). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 23. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ผลิธัมม์.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2558). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 30. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ผลิธัมม์.
พระพุทธโฆสเถระ. (2556). คัมภีร์วิสุทธิมรรค. แปลและเรียบเรียงโดย สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร). พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพมหานคร: ธนาเพรส.
พระสุทัศน์ กตสาโร (ประทุมแก้ว). (2557). ศึกษารูปแบบการปฏิบัติธุดงควัตรในสังคมไทย. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มูลนิธิชัยพัฒนา. (2567). เศรษฐกิจพอเพียง. แหล่งที่มาhttps://www.chaipat.or.th/publication/publish-document/sufficiency-economy.html สืบค้นเมื่อ 19 พ.ค. 2567.