วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS <p><strong>วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ </strong></p> <p><strong>(Journal of Bovorn Multi-Education and Human Social Sciences : JOB_EHS )</strong></p> <div id="content"> <div id="journalDescription"> <p class="a" align="left"><strong><span lang="TH"><span style="vertical-align: inherit;">จัดทำดัชนีใน </span><a title="ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย: ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงไทย (TCI)" href="https://www.kmutt.ac.th/jif/public_html/" target="_blank" rel="noopener"><img title="tci" src="https://www.tci-thaijo.org/public/site/images/tci_admin/tci.png" alt="tci" width="90" height="35" border="0" /></a></span></strong></p> </div> </div> <p><strong>วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์</strong></p> <p><strong>(Journal of Bovorn Multi-Education and Human Social Sciences : JOB_EHS )</strong></p> <p><strong>ISSN 2730-3233 (Online)</strong></p> <p><strong>นโยบายและขอบเขตการตีพิมพ์ : </strong></p> <p>มีนโยบายรับตีพิมพ์บทความในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสตร์ ครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ ศิลปศาสตร์ สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ และสาขาวิชาสหวิทยาการอื่นๆ</p> <p>บทความที่ส่งมาขอรับการตีพิมพ์จะต้องไม่เคยตีพิมพ์ หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น ผู้เขียนบทความจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเสนอบทความในวารสารอย่างเคร่งครัด โดยอ้างอิงตามรูปแบบของ APA (นาม-ปี) รวมถึงเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของวารสารฯ และเป็นบทความที่ไม่มีความหลายมากกว่า 25% ตามที่ถนนในโปรแกรม CopyCat ในเว็บ Thaijo2</p> <p>ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารฯ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ โดยไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของวารสารฯ</p> <p><strong>กระบวนการพิจารณาบทความ : </strong></p> <p>บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ทุกบทความจะต้องผ่านการพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญ 2 แบบ คือ</p> <p>แบบที่ 1 บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ทุกบทความจะต้องผ่านการพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญอย่างน้อย 2 ท่าน ต่อ 1 บทความ แบบผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แต่งไม่ทราบชื่อกันและกัน (double-blind review)</p> <p>แบบที่ 2 บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ทุกบทความจะต้องผ่านการพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญอย่างน้อย 3 ท่าน ต่อ 1 บทความ แบบผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แต่งไม่ทราบชื่อกันและกัน (double-blind review)</p> <p><strong>ประเภทของบทความ : </strong></p> <p>วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ เปิดรับตีพิมพ์ประเภทของบทความ คือ บทความวิจัย (Research Article) และบทความวิชาการ (Original Article)</p> <p><strong>ภาษาที่รับตีพิมพ์ :</strong></p> <p>วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ เปิดรับบทความที่เป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ</p> <p><strong>กำหนดออก : </strong></p> <p>วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ มีกำหนดออกตีพิมพ์ 3 ฉบับ ต่อปี (ราย 4 เดือน) ดังนี้</p> <p>ฉบับที่ 1 เดือน มกราคม - เมษายน (กำหนดออก เดือนเมษายน)</p> <p>ฉบับที่ 2 เดือน พฤษภาคม - สิงหาคม (กำหนดออก เดือนสิงหาคม)</p> <p>ฉบับที่ 3 เดือน กันยายน - ธันวาคม (กำหนดออก เดือนธันวาคม)</p> <p><strong><span style="vertical-align: inherit;">การตีพิมพ์บทความ</span></strong></p> <p><span style="vertical-align: inherit;">ผู้แต่งบทความจะตรวจสอบความสมบูรณ์ของบทความตามข้อแนะนำสำหรับผู้แต่งใน กรณีที่ไม่ปฏิบัติตามระเบียบของวารสารฯ กองบรรณาธิการวารสาร ขอสงวนสิทธิ์ในการปฏิเสธการตีพิมพ์และไม่คืนเงิน ในกรณีเทียบเคียง ดังนี้</span></p> <p><span style="vertical-align: inherit;">1. บทความของท่านมีความหลายมากกว่า 25% ตามที่ถนนในโปรแกรม CopyCat ในเว็บ Thaijo2</span></p> <p><span style="vertical-align: inherit;">2. ผู้แต่งไม่ปฏิบัติตามรูปแบบที่วารสารกำหนด</span></p> <p><span style="vertical-align: inherit;">3. บทความไม่ผ่านการอ่านประเมินของผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) </span></p> <p><span style="vertical-align: inherit;">4. ผู้แต่งไม่แก้ไขบทความตามข้อเสนอที่กองบรรณาธิการได้แจ้งในระบบตามระยะเวลาที่กำหนด</span></p> th-TH <p>บทความที่ส่งมาขอรับการตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ จะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น รวมทั้งผู้เขียนจะต้องคำนึงถึงจริยธรรมการวิจัย ไม่ละเมิดหรือคัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง ซึ่งทางวารสารฯ ได้กำหนดความซ้ำของผลงาน ด้วยโปรแกรม CopyCat เว็บ Thaijo ในระดับ ไม่เกิน 25%</p> <p>ในกรณีที่ บทความวิจัยมีกระบวนการวิจัยเกี่ยวข้องกับมนุษย์ ผู้นิพนธ์จะต้องส่งหลักฐานการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์มาประกอบการลงตีพิมพ์ด้วยจึงจะได้รับการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสาร</p> <p>ผู้เขียนบทความจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเสนอบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ รวมทั้งระบบการอ้างอิงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ โดยรวมทั้งทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์และวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์</p> ukitchock@gmail.com (พระครูปลัดสุรวุฒิ สิริวฑฺฒโก (อุกฤษโชค), ดร.) sukpinya.im@gmail.com (ดร.ศุขภิญญา ศรีคำไทย) Thu, 29 Aug 2024 11:18:47 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การเรียนรู้ประวัติศาสตร์พุทธชินราชศึกษา https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/279284 <p>การเรียนรู้ประวัติศาสตร์พุทธชินราชศึกษาโดยผู้สอนจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ 2 วิธี คือ 1) การเรียนรู้ที่เน้นครู/ผู้สอนเป็นศูนย์กลาง จัดเป็นการสอนแบบบอกความรู้ ให้ความรู้แก่นักเรียน โดยการอธิบาย/บอกให้จดบันทึกการทดสอบ/พิสูจน์ความรู้ที่ได้ หรือทำแบบฝึกหัด 2) การเรียนรู้ที่เน้นเด็ก/นักเรียนเป็นศูนย์กลาง สร้างองค์ความรู้ โดยครูจัดสถานการณ์ให้นักเรียนศึกษา ค้นคว้า ทดลอง หรือปฏิบัติกิจกรรมเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง ภายใต้การจัดสถานการณ์การเรียนรู้ของครูที่กระตุ้นให้สงสัยใคร่รู้ คิดหาคำตอบ ลงมือปฏิบัติ และค้นพบคำตอบด้วยตนเองจากองค์ความรู้ในพื้นที่หรือท้องถิ่นของตนเองด้วยการศึกษาประวัติศาสตร์พุทธชินราชศึกษา โดยสามารถนำหลักพุทธธรรมทางพุทธศาสนามาส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมตามประวัติศาสตร์พุทธชินราชศึกษาในการดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุข</p> พระครูใบฎีกาธนู ธนวฑฺฒโน (เนียมวงศ์), สายรุ้ง บุบผาพันธ์ , นิเวศน์ วงศ์สุวรรณ Copyright (c) 2024 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/279284 Thu, 29 Aug 2024 00:00:00 +0700 การจัดการเรียนการสอนตามกรอบแนวคิด TPACK เพื่อส่งเสริมผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/280399 <p class="0127" style="text-indent: 49.6pt;">TPACK <span lang="TH">เป็นแนวคิดการจัดการเรียนการสอนที่จำเป็นในศตรวรรษที่ 21 ด้วยการนำเทคโนโลยีเข้าสู่ชั้นเรียน โดยครูต้องมีความรู้ตามกรอบแนวคิดที่มีองค์ประกอบหลัก 3 ส่วนคือ ความรู้ด้านเนื้อหา ความรู้ด้านการสอน และความรู้ด้านเทคโนโลยี ผนวกเข้ากันเป็นองค์รวม เพื่อใช้ในการจัดการเรียนรู้มีความน่าสนใจ และมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ยังมีความรู้ใหม่ที่เกิดจากความสัมพันธ์กันในแต่ละคู่ ได้แก่ ความรู้ด้านเทคโนโลยีผนวกกับความรู้ด้านเนื้อหา ความรู้ด้านเทคโนโลยีผนวกกับความรู้ด้านการสอน และความรู้ด้านการสอนผนวกกับความรู้ด้านเนื้อหา เมื่อความรู้ทั้งหมดถูกนำมาผนวกกันจึงหมายถึง ความรู้ในการจัดการเรียนการสอนด้วยเนื้อหาโดยการนำเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งครูต้องเข้าใจความสัมพันธ์ของความรู้ในแต่ละด้าน และนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม การจัดการเรียนการสอนตามกรอบแนวคิด </span>TPACK <span lang="TH">จึงต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ เพราะต้องใช้เทคนิคหลายประการ คือจะต้องมีความรู้ในเนื้อหาวิชาการ ความรู้ในตัวผู้เรียน กระบวนการสอน การเลือกใช้วิธีการสอนให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีและสื่ออุปกรณ์การสอน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้เรียน สอดคล้องกับแนวคิดการจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง แสวงหาและสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง เน้นการทำงานเป็นทีม บูรณาการหลายๆ วิชาเข้าด้วยกัน โดยมีครูเป็นผู้อำนวยความสะดวก มีรูปแบบการสอนที่หลากหลาย เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้ได้เรียนรู้อย่างเต็มศักยภาพ </span></p> มนตรา ลิ้มสกุลวานิจ , พระมหาญาณวัฒน์ ฐิตวฑฺฒโน , พระมหาวีรวิชญ์ ตนฺติปาโล (สัตตารัมย์) , พระมหาศุชัยกรณ์ สิทฺธิเมธี (อาลากุล) , พระมหากฤติพิสิฐ กิตฺติธมฺโม (จ่าพันธุ์) , ศุขภิญญา ศรีคำไทย , ณัฐนิชา ปัญญ์นิภา , มนัสนันท์ บุญปู่ Copyright (c) 2024 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/280399 Thu, 29 Aug 2024 00:00:00 +0700 คุณประโยชน์ของพระไตรปิฎก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/280422 <p>พระไตรปิฎกเป็นคัมภีร์ที่รวบรวมหลักคำสั่งสอนของพระพุทธศาสนาไว้ทั้งหมดมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี ที่สืบค้นได้อย่างขัดเจนเป็นจริง ทำให้ชาวพุทธทุกคน รวมทั้งคนในศาสนาอื่นได้ศึกษาความเป็นมาของพระพุทธศาสนาได้อย่างกว้างขวางและเข้าใจดียิ่งขึ้น แม้ว่าจะไม่ได้เกิดในสมัยพุทธกาลก็ตาม และเราก็สามารถเชื่อได้อย่างมั่นใจว่าคำสอนต่างๆ ที่ปรากฏในพระไตรปิฎกนั้นเป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าผู้ตรัสรู้เองโดยชอบเป็นบรมครูยิ่งใหญ่สุดของโลก การศึกษาพระไตรปิฎกจึงก่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจและปฏิบัติถูกต้องตามหลักการของพระพุทธศาสนา ทั้งในด้านการฝึกกาย ฝึกใจและการสร้างสรรค์ปัญญา รวมทั้งการนำพาตนเองให้หลุดพ้นจากความทุกข์ได้อย่างแท้จริง หลักการความรู้ แนวทางการปฏิบัติเป็นความจริงแท้ตามหลักธรรมชาติจึงเหมาะสมกับมนุษย์ทุกคนไม่ใช่เพียงแค่พุทธศาสนิกชนเท่านั้น ที่จะนำไปปฏิบัติได้ แต่คนทุกเชื้อชาติทุกศาสนาก็สามารถเรียนรู้และนำไปปฏิบัติได้เช่นกัน ความรู้ที่มีอยู่ในพระไตรปิฎกเปิดโอกาสกว้างให้มนุษย์ทุกคนเข้ามาศึกษาได้อย่างเต็มที่ได้อย่างเสมอภาคอย่างเท่าเทียมกันเพื่อสร้างความสุขสันติให้แก่โลกอย่างมั่นคงและยั่งยืน</p> อำนาจ บัวศิริ , พระมหาญาณวัฒน์ ฐิตวฑฺฒโน Copyright (c) 2024 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/280422 Thu, 29 Aug 2024 00:00:00 +0700 การไกล่เกลี่ยประนีประนอมยอมความในคดีอาญา https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/272735 <p>การไกล่เกลี่ยประนีประนอมยอมความในคดีอาญาเป็นรูปแบบหนึ่งของกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ เป็นวิธีการระงับข้อพิพาทรูปแบบหนึ่งซึ่งมีขั้นตอนปฏิบัติเป็นกระบวนการโดยมีผู้ไกล่เกลี่ยเป็นคนกลางเข้าจัดกระบวนการ และช่วยเหลือแนะนำคู่กรณีในการเจรจาให้สามารถแก้ไขปัญหา และหาทางออกเป็นผลลัพธ์ที่พึงพอใจด้วยกันทั้งสองฝ่าย โดยการไกล่เกลี่ยถือเป็นการระงับข้อพิพาททางเลือก มีหลักการเป็นเป้าหมายที่สำคัญคือ แก้ปัญหา ฟื้นฟูความสัมพันธ์ และเยียวยาความเสียหาย ซึ่งทำให้ได้ทางออกในการแก้ปัญหาที่คู่กรณีทั้งสองฝ่ายพึงพอใจ จึงเหมาะสมนำมาใช้กับคดีอาญาไม่ร้ายแรงที่สามารถเยียวยาความเสียหายแก่ผู้เสียหายและสร้างจิตสำนึกแก่ผู้กระทำความผิดได้ โดยพิจารณาตามอัตราโทษที่กฎหมายกำหนดไว้เพื่อให้คดีที่เข้าสู่การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทสอดคล้องกับหลักการไกล่เกลี่ยในคดีอาญาให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน</p> จาตุรงค์ สรนุวัตร Copyright (c) 2023 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/272735 การจัดการเรียนการสอนของครูในยุคเทคโนโลยีสมัยใหม่ตามหลักพุทธธรรม https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/280680 <p>การจัดการเรียนการสอนของครูในยุคเทคโนโลยีสมัยใหม่ ตามหลักพุทธธรรม เป็นสิ่งที่ผู้สอนต้องตระหนักเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลกและความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ที่ส่งผลต่อการเรียนรู้และการดำเนินชีวิตของผู้เรียน ผู้สอนจึงต้องเตรียมพร้อมในการจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาผู้เรียนได้มีความรู้ ความสามารถ และทักษะที่จำเป็นสำหรับการดำเนินชีวิตในศตวรรษที่ 21 ดังนั้น การจัดการเรียนรู้ตามหลักพุทธธรรมจึงเป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน การที่ผู้สอนจะจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพและเกิดสัมฤทธิ์ผลต่อผู้เรียนได้นั้น ผู้สอนจะต้องมีองค์ความรู้ทางพุทธธรรม สามารถบูรณาการหลักธรรมในการจัดการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสม รวมถึงสร้างสภาพแวดล้อมหรือสถานการณ์ ในชั้นเรียน ให้เอื้อต่อการเรียนรู้เพื่อให้สามารถดำเนินการจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p> <p>หลักพุทธธรรมที่นำมาบูรณาการกับการจัดการเรียนรู้ คือ หลักไตรสิกขา ถือเป็นการศึกษาที่มุ่งพัฒนาแบบองค์รวมทั้งด้านร่างกาย สังคม จิตใจ และปัญญา เพื่อพัฒนาเยาวชนให้เติบโตไปเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพและคุณธรรม เป็นพลเมืองดี ครูต้องมีความรู้ พัฒนาทักษะต่างๆ ให้ทันต่อสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนไปอย่างไม่หยุดยั้ง และนำหลักพุทธธรรมมาบูรณาการเข้ากับการจัดเรียนการสอนได้เป็น “ORN MODEL” กล่าวคือ O = Connection what is learned จัดสภาพแวดล้อมให้เกื้อหนุนต่อการเรียนรู้ เชื่อมโยงความรู้เก่าและความรู้ใหม่ แล้วนำเข้าสู่บทเรียน เพื่อส่งเสริมการพัฒนาด้านพฤติกรรมและสังคม (ศีล) , R = Reflection กระตุ้นให้ผู้เรียนมีสมาธิ ศึกษาเนื้อหาอย่างตั้งใจ โดยจัดกิจกรรมที่กระตุ้นให้ผู้เรียนคิด ค้นคว้า ซักถาม วิเคราะห์ ทำกิจกรรมร่วมกัน ฝึกปฏิบัติ มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เรียนนำเอาความรู้ใหม่นำมาใช้สร้างองค์ความรู้ ส่งเสริมการพัฒนาด้านจิตใจอารมณ์ (สมาธิ), N = Inovative spirit สรุปผลการเรียนรู้ สาระที่ได้และสิ่งที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ ส่งเสริมให้มีการสร้างนวัตกรรม (ปัญญา)</p> นฤภัค สันป่าแก้ว Copyright (c) 2024 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/280680 Thu, 29 Aug 2024 00:00:00 +0700 ความเป็นผู้บริหารมืออาชีพตามหลักพุทธธรรม สำหรับผู้บริหารสถานศึกษา ในยุคดิจิทัลดิสรับชั่น https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/275434 <p>ผู้บริหารสถานศึกษามีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อความสำเร็จหรือความล้มเหลวของการจัดการศึกษา เป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนการจัดการศึกษาอย่างแท้จริง คนในองค์กรมีความคาดหวังต่อผู้บริหาร คือ การมีคุณธรรม คือ หลักพรหมวิหาร 4 และหลักทศพิธราชธรรม รวมถึงเป็นผู้มีคุณสมบัติที่รู้จักในบทบาทและปฏิบัติงานในหน้าที่ของตนเองอย่างเต็มที่ มีภาวะผู้นำ มีวิสัยทัศน์ มีเหตุผลและความถูกต้อง เป็นนักคิดนักวิเคราะห์ มีเมตตาธรรม รอบรู้ เก่ง ดี มีความสุขและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ ส่งผลให้สถานศึกษามีคุณภาพและนำไปสู่การพัฒนาที่ดีขึ้น โดยนำองค์กรทางการศึกษาสู่ยุคดิจิทัลดิสรัปชั่น ได้แก่ กลยุทธ์ดิจิทัลที่เหมาะสม การทำงานที่เป็นระบบดิจิทัล รูปแบบอัตโนมัติ และมีความยืดหยุ่นมากขึ้น บุคลากระมีความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมได้อย่างต่อเนื่อง มีเทคโนโลยีเป็นกุญแจสู่สำคัญของการปรับเปลี่ยนองค์กรทางการศึกษาสู่ยุคดิจิทัลดิสรัปชั่น การจัดการงบประมาณมีความคล่องตัว โปร่งใส ตรวจสอบได้ เกิดประโยชน์สูงสุดต่อสถานศึกษา มีวัฒนธรรมองค์กรสนับสนุนให้องค์กรเกิดความโปร่งใส เป็นพลวัต การเพิ่มขีดความสามารถ ปรับเปลี่ยนทัศนคติเพื่อสร้างโอกาสดิจิทัลมากที่สุดและเกิดความคุ้มค่า</p> น้ำอ้อย สุนทรพฤกษ์ Copyright (c) 2024 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/275434 Thu, 29 Aug 2024 00:00:00 +0700 การบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศตามหลักอิทธิบาท 4 ในศตวรรษที่ 21 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/274829 <p>บทความวิชาการฉบับบนี้เป็นเรื่องการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศตามหลักอิทธิบาท 4 ในศตวรรษที่ 21 เป็นการบริหารสถานศึกษาโดยใช้กระบวนการและหลักการบริหารสู่ความเป็นเลิศ ประกอบด้วย 5 ขั้นตอนดังนี้ 1) การวางแผน 2) การจัดองค์การ 3) การบังคับบัญชาสั่งการ 4) การประสานงาน และ 5) การควบคุม ในการบริหารสถานศึกษาให้เป็นเลิศได้นั้น ผู้บริหารต้องมีทักษะและมีคุณลักษะที่สอดคล้องกับศตวรรษที่ 21 ส่วนในด้านครูสอนจะต้องมีคุณลักษณะและมีการปรับเปลี่ยนบทบาทหน้าที่ของตนเองให้แตกต่างจากเดิมไปสู่บทบาทของครูผู้สอนในศตวรรษที่ 21 นอกจากนี้จะต้องพัฒนาด้านผู้เรียน ให้มีคุณภาพตามทักษะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 คือทักษะ 3R8C และสิ่งสำคัญคือผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน และผู้เรียน ต้องนำหลักพุทธธรรม คือหลักอิทธิบาท 4 ประกอบด้วย ฉันทะคือความพอใจ วิริยะคือความเพียรพยายาม จิตตะคือมีจิตใจมุ่งมั่น ฝักใฝ่ และวิมังสาคือไตร่ตรอง พิจารณาใคร่ควรอย่างรอบครอบ นำมาใช้ในการบริหารสถานศึกษา การสอน และการเรียน จะทำให้ประสบความสำเร็จและส่งผลให้สถานศึกษาก้าวสู่ความเป็นเลิศในทีสุด</p> สุภัสสรา วันทมาตย์ , ลำพอง กลมกูล , พระมหาญาณวัฒน์ ฐิตวฑฺฒโน Copyright (c) 2024 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/274829 Thu, 29 Aug 2024 00:00:00 +0700 บทบาทการส่งเสริมการศึกษาสงเคราะห์ของพระครูภาวนาอินทวงศ์ (เฉลียว อินฺทวํโส) https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/277906 <p>บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการปฏิบัติในบทบาทการส่งเสริมการศึกษาสงเคราะห์ของพระครูภาวนาอินทวงศ์ (เฉลียว อินฺทวํโส) 2) เพื่อเปรียบเทียบการปฏิบัติของประชาชนต่อบทบาทการส่งเสริมการศึกษาสงเคราะห์ของพระครูภาวนาอินทวงศ์ (เฉลียว อินฺทวํโส) โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะต่อบทบาทการส่งเสริมการศึกษาสงเคราะห์ของพระครูภาวนาอินทวงศ์ (เฉลียว อินฺทวํโส) มีระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยในส่วนของการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือเก็บข้อมูลภาคสนามจากประชาชนในตำบลดอนทราย อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี จำนวน 384 คน วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้โดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที ค่าเอฟ วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และในส่วนของการวิจัยเชิงคุณภาพมีการวิเคราะห์เอกสาร และใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลภาคสนามจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 รูปหรือคน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบทผลการวิจัยพบว่า 1) บทบาทการส่งเสริมการศึกษาสงเคราะห์ของพระครูภาวนาอินทวงศ์ (เฉลียว อินฺทวํโส) โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านการสงเคราะห์ให้เด็กและประชาชนได้รับการศึกษาในสถานศึกษาของรัฐหรือเอกชนตามแผนการศึกษาแห่งชาติ อยู่ในระดับมาก รองลงมา ได้แก่ ด้านการจัดการศึกษาเป็นโรงเรียนตามแผนการศึกษาแห่งชาติ อยู่ในระดับมาก ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ ด้านการสงเคราะห์เกื้อกูลแก่การศึกษา สถาบันการศึกษา หรือบุคลากรทางการศึกษา อยู่ในระดับปานกลาง 2) ผลการเปรียบเทียบระดับการปฏิบัติที่มีต่อบทบาทการส่งเสริมการศึกษาสงเคราะห์ของพระครูภาวนาอินทวงศ์ (เฉลียว อินฺทวํโส) พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ วุฒิการศึกษาสามัญ อาชีพ และรายได้ มีผลให้ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อบทบาทการส่งเสริมการศึกษาสงเคราะห์ของพระครูภาวนาอินทวงศ์ (เฉลียว อินฺทวํโส) โดยภาพรวม ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย ส่วนด้านอายุ มีผลให้ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อบทบาทการส่งเสริมการศึกษาสงเคราะห์ของพระครูภาวนาอินทวงศ์ (เฉลียว อินฺทวํโส) โดยภาพรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยยะสำคัญที่ 0.05 จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย 3) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะสำหรับพัฒนาบทบาทการส่งเสริมการศึกษาสงเคราะห์ของพระครูภาวนาอินทวงศ์ (เฉลียว อินฺทวํโส) พบว่า ภาครัฐและภาคคณะสงฆ์ยังขาดการสนับสนุนช่วยเหลือ และปฏิรูปการศึกษาที่สอดคล้องกับสภาพสังคมและเศรษฐกิจไทยซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการศึกษา พระสงฆ์ยังมีน้อยและมีข้อจำกัดร่วมเป็นกรรมการบริหารสถานศึกษา เมื่อเปรียบเทียบกับสัดส่วนของจำนวนคณะกรรมการทั้งหมดทำให้การขับเคลื่อนด้วยกลไกลทางคณะสงฆ์ไม่ได้รับการผลักดันในการศึกษาเท่าที่ควร ส่วนข้อเสนอแนะ ได้แก่ ภาครัฐและภาคคณะสงฆ์ควรให้การสนับสนุน และมีการปฏิรูประบบการศึกษาที่สอดคล้องกับสภาพสังคมและเศรษฐกิจไทยซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาทางการศึกษาทั้งของภาครัฐและของคณะสงฆ์</p> พระชยพล กลฺยาโณ (คีรี) , พระครูวาทีวรวัฒน์ , พระมหากังวาล ธีรธมฺโม Copyright (c) 2024 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/277906 Thu, 29 Aug 2024 00:00:00 +0700 ศึกษาสภาพการบริหารสถานศึกษาสมรรถนะสูงของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/277715 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการบริหารสถานศึกษาสมรรถนะสูงของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักการศึกษา ผู้บริหาร พนักงานครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนสังกัดเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี ใช้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 260 คน คำนวณจากการเปิดตารางขนาดกลุ่มตัวอย่างของ Krejcie &amp; Morgan เครื่องมือการวิจัยคือแบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพการบริหารสถานศึกษาสมรรถนะสูงของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี ลักษณะเป็นแบบสอบถามความคิดเห็นแปรค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ คือ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า สภาพการบริหารสถานศึกษาสมรรถนะสูงของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการมีวัฒนธรรมองค์กร ด้านการสร้างองค์กรเครือข่าย ด้านการบริหารเชิงกลยุทธ์ ด้านการมีหลักการบริหารที่ดีและถูกต้อง และด้านการมีเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ตามลำดับ</p> ภัทรวดี เข้มแข็ง, ระวิง เรืองสังข์ , ลำพอง กลมกูล Copyright (c) 2024 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/277715 Thu, 29 Aug 2024 00:00:00 +0700 รูปแบบการบริหารงานบุคคลตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เขต 3 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/278219 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นของการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เขต 3 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารงานบุคคลตามหลักสัปปุริสธรรม 7 และ 3) เพื่อประเมินรูปแบบการบริหารงานบุคคลตามหลักสัปปุริสธรรม 7 เป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้กลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริหารและครูโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เขต 3 จำนวน 196 รูป/คน สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ และการจัดสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ มีเครื่องมือในการวิจัยคือแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบการสนทนากลุ่ม และทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการจำเป็นของการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เขต 3 อันดับที่ 1 คือ การสรรหาและบรรจุแต่งตั้ง รองลงมาคือ การเสริมสร้างประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการ วินัยและการรักษาวินัย การออกจากราชการ และการวางแผนอัตรากำลังและกำหนดตำแหน่ง ตามลำดับ 2) การพัฒนารูปแบบการบริหารงานบุคคลตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เขต 3 องค์ประกอบด้วยหลักการ แนวคิด วัตถุประสงค์ เนื้อหา การบูรณาการด้วยหลักสัปปุริสธรรม 7 และผลลัพธ์ที่คาดหวัง และ 3) การประเมินรูปแบบการบริหารงานบุคคลตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เขต 3 พบว่า มีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก</p> พระปลัดชัยรัตน์ ปิยสีโล (เกตุสุวรรณ์) , เกษม แสงนนท์ , สมศักดิ์ บุญปู่ Copyright (c) 2024 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/278219 Thu, 29 Aug 2024 00:00:00 +0700 มาตรการป้องกันปัญหาอาชญากรรมกับนักท่องเที่ยวที่เข้าพักโรงแรม ในเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/270861 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหามาตรการป้องกันปัญหาทางอาชญากรรมที่เกิดขึ้นกับนักท่องเที่ยวที่เข้าพักโรงแรมในเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ แบ่งเป็น 4 กลุ่มด้วยการเลือกแบบเจาะจง ประกอบด้วย หน่วยงานภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน และผู้ประกอบการโรงแรม 15 คน มีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) มาตรการป้องกันอาชญากรรมด้านปัจจัยส่วนบุคคลของนักท่องเที่ยว ได้แก่ การประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารให้กับนักท่องเที่ยว และการอบรมให้ความรู้กับพนักงานโรงแรมให้มีความรู้ในการป้องกันอาชญากรรม 2) มาตรการป้องกันอาชญากรรมจากสภาพแวดล้อมหรือลดช่องโอกาส ได้แก่ การควบคุมยานพาหนะในเขตพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวด้วยการจำกัดความเร็วและเวลาวิ่งของรถยนต์, การติดตั้งกล้องวงจรปิดและไฟส่องสว่างในพื้นที่,การใช้เจ้าหน้าที่สายตรวจลงตรวจพื้นที่และการควบคุมการเข้าออกพื้นที่ 3) มาตรการป้องกันอาชญากรรมด้านผู้กระทำความผิดหรืออาชญากร ได้แก่ การใช้มาตรการเชิงรุกในการป้องกันอาชญากรรม 4) มาตรการป้องกันอาชญากรรมด้านองค์กรที่เกี่ยวข้องในการป้องกันอาชญากรรม ได้แก่ การบังคับใช้กฎหมายของแต่ละหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเข้มงวด การเพิ่มจุดบริการให้กับนักท่องเที่ยวและประชาชน 5) มาตรการป้องกันอาชญากรรมด้านเครือข่ายในพื้นที่ ได้แก่ การสร้างเครือข่ายจิตอาสาในพื้นที่ช่วยเป็นหูเป็นตาในการป้องกันอาชญากรรม และการส่งเสริมอาชีพให้กับชุมชน</p> พลอยริญญา ภัทรอิ่มอ้วน, ปัณณธร หอมบุญมา Copyright (c) 2024 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/270861 การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันอาชญากรรม ในเขตพื้นที่ตำบลยี่ล้น อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/275025 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาถึงระดับการการรับรู้ข่าวสารอาชญากรรมของประชาชนในการป้องกันอาชญากรรม ในเขตพื้นที่ตำบลยี่ล้น อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง 2) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันอาชญากรรม ในเขตพื้นที่ตำบลยี่ล้น อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง 3) เพื่อเปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมในการป้องกันอาชญากรรมของประชาชนในการป้องกันอาชญากรรม ในเขตพื้นที่ตำบลยี่ล้น อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง โดยมีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ตำบลยี่ล้น อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง จำนวน 365 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว โดยการทดสอบแอลเอสดี และสถิติถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการการรับรู้ข่าวสารอาชญากรรมของประชาชนในการป้องกันอาชญากรรม ในเขตพื้นที่ตำบลยี่ล้น อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง อยู่ในระดับมาก 2) ระดับการมีส่วนร่วมในการป้องกันอาชญากรรม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากที่สุด พบว่า อันดับ 1 ได้แก่ ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ อันดับ 2 ได้แก่ ด้านการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการ และอันดับ 3 ได้แก่ ด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผล ตามลำดับ 3) ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพแตกต่างกัน มีระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันอาชญากรรมในเขตพื้นที่ตำบลยี่ล้น อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง แตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และการรับรู้ข่าวสารอาชญากรรมแตกต่างกันมีอิทธิพลต่อระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันอาชญากรรมในเขตพื้นที่ตำบลยี่ล้น อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> จรณินท์ ศรีฉ่ำ , ปัญณธร หอมบุญมา Copyright (c) 2024 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/275025 Thu, 29 Aug 2024 00:00:00 +0700 รูปแบบการบริหารวัดสู่ความเป็นเลิศในประเทศไทย https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/277897 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารวัดในประเทศไทย 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารวัดสู่ความเป็นเลิศในประเทศไทย 3) เพื่อเสนอรูปแบบการบริหารวัดสู่ความเป็นเลิศในประเทศไทย เป็นการวิจัยแบบผสานวิธีมีขั้นตอนการวิจัย 3 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาสภาพการบริหารวัดในประเทศไทย ใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างที่พระสังฆาธิการ 396 รูป วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2) พัฒนารูปแบบ ด้วยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 23 รูป วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการสังเคราะห์เนื้อหา และ 3) เสนอรูปแบบ ด้วยการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ 9 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารวัดในประเทศไทยในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้านพบว่ามีสภาพการบริหารวัดอยู่ในระดับมาก 1 ด้านคือการเผยแผ่ มีสภาพการบริหารวัดอยู่ในระดับปานกลาง 5 ด้าน คือ การปกครอง ศาสนศึกษา ศึกษาสงเคราะห์ และสาธารณสงเคราะห์ 2) การพัฒนารูปแบบการบริหารวัดสู่ความเป็นเลิศในประเทศไทย ประกอบด้วยวิสัยทัศน์ พันธกิจ รูปแบบ และ 3) รูปแบบการบริหารวัดสู่ความเป็นเลิศในประเทศไทยเป็นการกำหนดรูปแบบการบริหารวัดสู่ความเป็นเลิศที่สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์การปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนา พ.ศ. 2561 ประกอบด้วย (1) วิสัยทัศน์ คือ พุทธศาสน์มั่นคง ดำรงศีลธรรม นำสังคมสันติสุขอย่างยั่งยืน (2) พันธกิจ เพื่อทำให้วิสัยทัศน์บรรลุผลได้ต้องดำเนินการตามพันธกิจของคณะสงฆ์ 6 ด้าน คือ การปกครอง ศาสนศึกษา ศึกษาสงเคราะห์ ด้านเผยแผ่ สาธารณูปการ สาธารณสงเคราะห์ (3) รูปแบบ มีองค์ประกอบด้วย 6 รูปแบบตามพันธกิจชองคณะสงฆ์</p> พระมหาวิเชียร วชิรธมฺโม , อินถา ศิริวรรณ , พีรวัฒน์ ชัยสุข Copyright (c) 2024 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/277897 Thu, 29 Aug 2024 00:00:00 +0700 ACADEMIC ADMINISTRATION GUIDELINES FOR IMPROVING TEACHING CHINESE WRITING THROUGH GAMIFICATION FOR VOCATIONAL HIGH SCHOOL STUDENTS https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/272492 <p>The objectives of this research were: 1) To investigate problems and needs of academic administration for improving teaching Chinese writing through gamification. 2) To develop guidelines of academic administration for improving teaching Chinese writing through gamification. The sample groups were 333 students, 24 teachers and 5 school administrators obtained through stratified random sampling at Taishun vocational education center as a case study. The research instruments were questionnaires with 20 questions for 5 rating scales for students, teachers and school administrators and set of questions for focus group discussion. The questions were reviewed and checked by three experts and the methodology of valuation used was the IOC. The statistics used for analyzing data including frequencies, percentages, means, and standard deviations. The results indicated that: 1) Students think that the game-based learning of Chinese writing needs to improve writing ability is in the “Highest” level. Teachers think that gamification to teach Chinese writing needs to improve students' writing efficiency is in the “Highest” level. School administrators think that gamification teaching Chinese writing needs to have enough equipment in the classroom is in the “Highest” level. 2) The Development guidelines of academic administration in Chinese writing through gamification improving teaching in vocational high school comprises of 5 parts. The guidelines include 1) Using the gamification for teaching Chinese writing 2) Improving students’ interest to learn Chinese writing well by using gamification 3) Motivation students to improve their Chinese writing ability efficiently 4) Management assessment methods for gamification teaching Chinese writing 5) using equipment to help their Chinese writing.</p> Zhang Meiqi, Nithipatara Balsiri , Kitpinit Usahol , Wannapa Phopli , Samith Jueajinda , Narongpon Aulpaijidkul Copyright (c) 2024 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/272492 ความรับผิดทางอาญาและพระธรรมวินัยของพระภิกษุ : ศึกษากรณีพระภิกษุกระทำความผิดฐานฉ้อโกง https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/279290 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และวิวัฒนาการของพระพุทธบัญญัติปาราชิกสิกขาบทที่ 2 กรณีพระภิกษุกระทำความผิดฐานฉ้อโกง และกฎหมายสงฆ์ที่เกี่ยวข้อง 2) ศึกษาประมวลกฎหมายอาญา และกฎหมายที่เกี่ยวข้องในเรื่องความผิดฐานฉ้อโกง รวมทั้งกฎหมายต่างประเทศที่เกี่ยวข้อง 3) วิเคราะห์เปรียบเทียบความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญาและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธบัญญัติปาราชิก สิกขาบทที่ 2 และ 4) เสนอแนะแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดจากพระภิกษุกระทำความผิดฐานฉ้อโกง ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาเอกสาร เก็บรวบรวมข้อมูลและทำการวิเคราะห์ข้อมูลจากการสังเคราะห์ และเปรียบเทียบข้อมูลในเชิงพรรณนา เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อสรุปและข้อเสนอแนะ ผลการวิจัยพบว่า 1) พระพุทธบัญญัติปาราชิกสิกขาบทที่ 2 กรณีพระภิกษุกระทำความผิดฐานฉ้อโกง มีบัญญัติไว้อยู่ข้อหนึ่ง กล่าวคือ ทุติยปาราชิกกัณฑ์ ว่าด้วยปาราชิกสิกขาบทที่ 2 “ห้ามภิกษุถือเอาของที่เจ้าของไม่ได้ให้ ตั้งแต่ราคา 5 มาสกขึ้นไป” หากภิกษุรูปใดฝ่าฝืนจะต้องอาบัติปาราชิก อันเป็นอาบัติหนักที่สุด มีมูลเหตุเริ่มต้นจากพระภิกษุฉ้อโกงทรัพย์คือไม้ของหลวงเพื่อนำมาสร้างกุฎีของตน โดยใช้วาจาคำพูดหลอกลวงเจ้าพนักงานรักษาไม้ของหลวงด้วยข้อความอันเป็นเท็จ ปัจจุบันมหาเถรสมาคมมีอำนาจในการตรากฎเถรสมาคม ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 2) กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความผิดฐานฉ้อโกง ประกอบด้วย ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 341 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 342 เหตุแห่งการเพิ่มโทษในความผิดฐานฉ้อโกง และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343 ความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน 3) การเปรียบเทียบความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญาและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธบัญญัติปาราชิก สิกขาบทที่ 2 มีองค์ประกอบความผิดสอดคล้องกัน ยกเว้น เรื่องการกำหนดมูลค่าความเสียหาย กล่าวคือ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 และ มาตรา 343 ไม่มีการกำหนดมูลค่าความเสียหาย ส่วนในพุทธบัญญัติปาราชิก มีการกำหนดมูลค่าความเสียหายไว้ว่า ราคา 5 มาสก ขึ้นไป เป็นอาบัติปาราชิก และ ราคา 1 มาสก แต่ไม่ถึง 5 มาสก เป็นอาบัติทุกกฎ อีกประการหนึ่งที่มีความแตกต่างกัน คือ เรื่องการยอมความ กล่าวคือ ความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 สามารถยอมความได้ แต่หากเป็นความผิดฐานฉ้อโกงใน มาตรา 343 อันเป็นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนจะไม่สามารถยอมความได้ ส่วนในพระพุทธบัญญัติทุติยปาราชิก และอนุพุทธบัญญัติทุติยปาราชิก บัญญัติให้ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก หรืออาบัติทุกกฎ ตามมูลค่าความเสียหาย 4) เสนอแนวทางป้องกัน คือ กำหนดโทษทางอาญาที่จะนำมาใช้แก่ผู้ซึ่งปลอมตัวเป็นพระภิกษุหรือตัวพระภิกษุที่กระทำความผิดฐานฉ้อโกง</p> พระมหาอรรถพล ฐิตธมฺโม (โกมล), วรพจน์ ถนอมกุล , ประเสริฐ ลิ่มประเสริฐ Copyright (c) 2024 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/279290 Thu, 29 Aug 2024 00:00:00 +0700 กลยุทธ์การจัดการศึกษาตามหลักสาราณียธรรม 6 ของโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/277723 <p class="175"><span lang="TH">บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย</span> 2<span lang="TH">) พัฒนากลยุทธ์การจัดการศึกษาตามหลักสาราณียธรรม 6 และ 3) เสนอกลยุทธ์การจัดการศึกษาตามหลักสาราณียธรรม 6 ของโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ การวิจัยเชิงปริมาณมีกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหาร โรงเรียนสาขา โรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จำนวน 179 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามความคิดเห็น ประเมินค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าสถิติ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ </span>5 <span lang="TH">คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และใช้การสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ 10 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบการสนทนากลุ่ม โดยผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่ใช้ในการสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่มคัดเลือกด้วยวิธีเจาะจง และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับคือ ด้านการบริหาร ด้านนโยบาย ด้านวิชาการ ด้านบุคลากร และด้านการเงิน สภาพที่คาดหวัง ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับคือ ด้านการบริหาร ด้านนโยบาย ด้านการเงิน ด้านวิชาการ และด้านบุคลากร 2) การพัฒนากลยุทธ์การจัดการศึกษาตามหลักสาราณียธรรม 6 มี กลยุทธ์เชิงรุก กลยุทธ์เชิงป้องกัน กลยุทธ์เชิงแก้ไข และกลยุทธ์เชิงรับ 3) กลยุทธ์การจัดการศึกษาตามหลักสาราณียธรรม 6 ของโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ประกอบด้วย วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ กลยุทธ์ การขับเคลื่อนกลยุทธ์สู่การปฏิบัติ และเงื่อนไขความสำเร็จ สรุปเป็น “</span>S-IPEP”</p> พระมหาศุภชัย ปิยธมฺมชโย (ติวาปี), สมศักดิ์ บุญปู่ , ระวิง เรืองสังข์ Copyright (c) 2024 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/277723 Thu, 29 Aug 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ด้านพุทธศิลป์ตามหลักไตรสิกขาสำหรับนักเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/278568 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพการเรียนรู้ด้านพุทธศิลป์ของนักเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้ด้านพุทธศิลป์ตามหลักไตรสิกขาสำหรับนักเรียนประถมศึกษา 3) เพื่อประเมินกระบวนการเรียนรู้ด้านพุทธศิลป์ตามหลักไตรสิกขา เป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน สำหรับการวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ การจัดสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ มีเครื่องมือในการวิจัยคือแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบการสนทนากลุ่ม และทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา สรุปผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการเรียนรู้ด้านพุทธศิลป์ของนักเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 2) การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ด้านพุทธศิลป์ตามหลักไตรสิกขาสำหรับนักเรียนประถมศึกษา ประกอบด้วย (1) กำหนดเนื้อหา (2) กิจกรรมการเรียนรู้ด้านพุทธศิลป์ (3) การบูรณาการหลักไตรสิกขา (4) ผลลัพธ์การเรียนรู้ และ 3) ผลการประเมินกระบวนการเรียนรู้ด้านพุทธศิลป์ตามหลักไตรสิกขาสำหรับนักเรียนประถมศึกษา พบว่า ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก</p> ปราโมทย์ เมืองสังข์ , สมศักดิ์ บุญปู่ , บุญเชิด ชำนิศาสตร์ Copyright (c) 2024 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/278568 Thu, 29 Aug 2024 00:00:00 +0700 มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรน่า 2019 ภายใต้สิทธิมนุษยชนของผู้ต้องขังภายในเรือนจำจังหวัดอ่างทอง https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/271126 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรน่า 2019 และให้ได้มาซึ่งมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรน่า 2019 ภายใต้สิทธิมนุษยชนผู้ต้องขังภายในเรือนจำจังหวัดอ่างทอง เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี เริ่มต้นจากการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ด้วยการเลือกแบบเจาะจง ประกอบด้วย บุคลากรทางเรือนจำจังหวัดอ่างทอง ผู้นำชุมชน บุคลากรทางสาธารณสุข และนักวิชาการทางอาชญาวิทยา และกระบวนการยุติธรรม จำนวน 14 คน มีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา และตามด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ โดยการเก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างคือ เจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ นักกฎหมายทนายความ ญาติผู้ต้องขัง และเจ้าหน้าที่ศาล ที่มาติดต่อราชการภายในเรือนจำจังหวัดอ่างทอง จำนวน 328 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยคือแบบสอบถามที่สร้างขึ้นมาจากการวิเคราะห์เนื้อหาและสังเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์เชิงลึกผสมผสานกับการทบทวนวรรณกรรม แนวคิด ทฤษฏี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรน่า 2019 ภายใต้สิทธิมนุษยชนผู้ต้องขังภายในเรือนจำจังหวัดอ่างทองซึ่งประกอบไปด้วย 1) สภาพปัญหาที่เกิดจากสภาพแวดล้อม 2) สภาพปัญหาที่เกิดจากพฤติกรรมส่วนตัวของบุคคล 3) สภาพปัญหาที่เกิดจาก กรณีการรับผู้ต้องขังเข้าใหม่ ออกไปศาลหรือไปรักษาพยาบาลตามอาการ 4) สภาพปัญหาที่เกิดจากการมาติดต่อราชการต่างๆภายในเรือนจำของบุคคลภายนอก และ 5) สภาพปัญหาที่เกิดจากการทำกิจกรรมต่างๆภายในเรือนจำ สำหรับมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรน่า 2019 ภายใต้สิทธิมนุษยชนผู้ต้องขังภายในเรือนจำจังหวัดอ่างทอง จะประกอบไปด้วย 6 มาตรการ คือ 1) สภาพแวดล้อมความแออัดภายในเรือนจำ 2) พฤติกรรมส่วนตัวของบุคคล 3) การรับผู้ต้องขังเข้าใหม่ ออกไปศาลหรือไปรักษาพยาบาลตามอาการ 4) การมาติดต่อราชการต่างๆภายในเรือนจำของบุคคลภายนอก 5) ด้านการทำกิจกรรมต่างๆภายในเรือนจำ และ 6) เรื่องอื่นๆ เช่น การปล่อยตัวชั่วคราวเพื่อลดความแออัดภายในเรือนจำ กรณีผู้ต้องขังที่ป่วยเป็นโรคประจำตัว ซึ่งเป็นโรคที่เสี่ยงต่อการเสียชีวิตหากติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ผู้ต้องหา/ผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดี และผู้ต้องขังสูงวัยอายุ 60 ปี ขึ้นไป</p> ศักดิ์ชัย เจริญพร, ปัณณธร หอมบุญมา Copyright (c) 2024 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/271126 ศึกษาวิเคราะห์พิธีกรรมการกินอ้อผญาของชาวอำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/275300 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาและขั้นตอนพิธีกรรมการกินอ้อผญาของชาวอำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา 2) เพื่อศึกษาคุณค่าของการทำพิธีกรรมการกินอ้ออ้อผญาของชาวอำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา และ 3) เพื่อศึกษาวิเคราะห์หลักพระพุทธศาสนาในพิธีกรรมการกินอ้ออ้อผญาของชาวอำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพโดยศึกษาเอกสารและการสัมภาษณ์ผลการวิจัยพบว่า 1) พิธีกรรมการกินอ้อผญาของชาวอำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา มีประวัติความเป็นมา ซึ่งถือปฏิบัติสืบทอดกันมาแต่โบราณ เกิดจากการผสมผสานกันระหว่างความเชื่อและจารีตประเพณีดั้งเดิมกับความเชื่อทางพระพุทธศาสนา ซึ่งถูกบันทึกไว้ในปั๊บสา พิธีกรรมการกินอ้อผญาเป็นกุศโลบายเสริมสร้างกำลังใจ ลดความกังวล ลบปมด้อยในใจ โดยเชื่อว่าผู้ที่ดื่มกินจะมีสติปัญญาเฉลียวฉลาด เรียนรู้ได้รวดเร็ว มีความจำในการเรียนวิชาต่างๆ การกินอ้อผญาเป็นการสร้างเสริมภูมิพลังทางด้านจิตใจ ให้มีความเชื่อมั่นในสติปัญญาและความสามารถของตนเอง มีขั้นตอนพิธีกรรมแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน คือ การเตรียมวัสดุอุปกรณ์ และขั้นตอนการประกอบพิธีกินอ้อผญา 2) คุณค่าของการทำพิธีกรรมการกินอ้อผญา มี 5 ประการ คือ คุณค่าทางด้านจิตวิทยา, ด้านสังคม ด้านจารีตประเพณีและพิธีกรรม, ด้านเศรษฐกิจ, และด้านสิ่งแวดล้อม 3) หลักธรรมในทางพระพุทธศาสนาในพิธีกรรมการกินอ้อผญา คือ หลักคารวธรรม 6 ประการ ได้แก่ สัตถุคารวตา, ธัมมคารวตา, สังฆคารวตา, สิกขาคารวตา, อัปปมาทคารวตา, และปฏิสันถารคารวตา พิธีกรรมการกินอ้อผญาดังกล่าวยังคงมีความสำคัญต่อชาวอำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา ในปัจจุบัน เพราะสามารถเป็นทั้งจารีตประเพณีท้องถิ่นที่เป็นสัญลักษณ์ของการสร้างขวัญและกำลังใจในการเรียนรู้และแฝงไว้ด้วยหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่มีอยู่ในกระบวนการประกอบพิธีกรรม</p> พระศราวุฒิ สิริวุฑฺโฒ (แก้วนันทะ) , พระครูวรวรรณวิฑูรย์ , ชูชาติ สุทธะ Copyright (c) 2024 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/275300 Thu, 29 Aug 2024 00:00:00 +0700 การบริหารงานสารบรรณด้วยระบบสนับสนุนการบริหารจัดการสถานศึกษา ตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของโรงเรียนบ้านนา “นายกพิทยากร” จังหวัดนครนายก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/277900 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นในการบริหารงานสารบรรณด้วยระบบสนับสนุนการบริหารจัดการสถานศึกษาของโรงเรียนบ้านนา “นายกพิทยากร” ตำบลบ้านนา อำเภอบบ้านนา จังหวัดนครนายก 2) เพื่อศึกษาวิธีการบริหารงานสารบรรณด้วยระบบสนับสนุนการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักสังคหวัตถุ 4 3) เพื่อเสนอแนวทางการบริหารงานสารบรรณด้วยระบบสนับสนุนการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักสังคหวัตถุ 4 เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ประกอบด้วย 1) การวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามผู้บริหารและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 86 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น 2) การวิจัยเชิงคุณภาพ สัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 6 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการจำเป็นของการบริหารงานสารบรรณด้วยระบบสนับสนุนการบริหารจัดการสถานศึกษา พบว่า ความต้องการจำเป็นจากเรียงลำดับค่า PNImodified อันดับที่ 1 คือ ความสามารถของระบบ รองลงมา คือ ประสิทธิภาพในการทำงานของระบบ และพฤติกรรมของผู้ใช้งานระบบ 2) วิธีการบริหารงานสารบรรณด้วยระบบสนับสนุนการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักสังคหวัตถุ 4 ประกอบด้วย (1) ความสามารถของระบบ มีการแนบไฟล์ในระบบเหมาะสมมีประสิทธิภาพ มีการอบรมบุคลากรในการใช้งานในระบบอย่างต่อเนื่อง (2) ประสิทธิภาพในการทำงานของระบบ มีระบบสร้างความรวดเร็วในการทำงานให้แก่บุคลากร การเข้าถึงข้อมูลทันที (3) พฤติกรรมของผู้ใช้งานระบบ มีการสร้างรายงานและสถิติของผู้ใช้งานระบบสารบรรณ ช่วยให้มีการปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบ และ 3) แนวทางการบริหารงานสารบรรณด้วยระบบสนับสนุนการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักสังคหวัตถุ 4 ประกอบด้วย (1) ทาน การให้ ให้ความรู้ในการแนบไฟล์ในระบบให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ มีการอบรมบุคลากรในการใช้งานในระบบอย่างต่อเนื่อง (2) ปิยวาจา พูดจาอ่อนหวาน บุคลากรในองค์กรพูดคำสุภาพ สมานสามัคคี ส่งเสริมการใช้ระบบเพื่อสร้างบรรยากาศการทำงานที่ดี (3) อัตถจริยา บำเพ็ญประโยชน์ ร่วมกันใช้ระบบเพื่อสร้างความรวดเร็วในการทำงานให้แก่บุคลากร ส่งเสริมการเข้าถึงข้อมูลทันที (4) สมานัตตตา ทำตนเสมอต้นเสมอปลาย รายงานและสถิติของผู้ใช้งานระบบสนับสนุนการบริหารจัดการสถานศึกษา มีการวางแผนการพัฒนาระบบในอนาคต</p> พรภินันท์ สิริปรีดานนท์ , พีรวัฒน์ ชัยสุข , เผด็จ จงสกุลศิริ Copyright (c) 2024 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/277900 Thu, 29 Aug 2024 00:00:00 +0700 แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ตามหลักทุติยปาปณิกสูตรของผู้บริหารสถานศึกษาในกลุ่มสหวิทยาเขตสวนเทพรัตน์ทีปไท้เฉลิมพระเกียรติ จังหวัดปทุมธานี https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/279408 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพทักษะภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาในกลุ่มสหวิทยาเขตสวนเทพรัตน์ทีปไท้เฉลิมพระเกียรติ จังหวัดปทุมธานี 2) เพื่อศึกษาวิธีการพัฒนาทักษะภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ตามหลักทุติยปาปณิกสูตรของผู้บริหารสถานศึกษา และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาทักษะภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ตามหลักทุติยปาปณิกสูตรของผู้บริหารสถานศึกษา เป็นการวิจัยแบบผสมวิธีโดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริหารและครูจำนวน 248 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพใช้แบบสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 7 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพทักษะภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาโดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) วิธีการพัฒนาทักษะภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ตามหลักทุติยปาปณิกสูตรของผู้บริหารสถานศึกษา ประกอบด้วย (1) วิสัยทัศน์ การเปิดโอกาสให้บุคลากรได้ร่วมกำหนดเป้าหมายร่วมวางแผนงานของโรงเรียน ต้องพัฒนาคนให้มีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงาน (2) ความคิดสร้างสรรค์ การให้รู้จักการยอมรับมุมมองที่แตกต่าง (3) การสื่อสาร การพัฒนาทักษะการพูดความรู้ความเข้าใจในการสื่อสารที่แตกต่างของบุคคล (4) ทักษะความร่วมมือ การสร้างบรรยากาศการทำงานร่วมกันมีการกำหนดข้อปฏิบัติในการอยู่ร่วมกันในโรงเรียน และ 3) แนวทางการพัฒนาทักษะภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา เป็นการบูรณาการกับหลักทุติยปาปณิกสูตร ประกอบด้วย (1) วิสัยทัศน์ ผู้บริหารวิเคราะห์แนวโน้มทางการศึกษาและสร้างวิสัยทัศน์ของสถานศึกษาให้ชัดเจน (2) ความคิดสร้างสรรค์ ผู้บริหารพัฒนากลยุทธ์เปิดรับฟังความคิดเห็น การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด (3) การสื่อสาร ผู้บริหารพัฒนาทักษะทางด้านเทคโนโลยี รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงสนับสนุนเทคโนโลยีการสื่อสาร และสื่อสารให้ตรงประเด็น (4) ความร่วมมือ ผู้บริหารเปิดโอกาสให้มีส่วนร่วม ยอมรับข้อแตกต่างระหว่างบุคคล สร้างขวัญและกำลังใจ</p> แพรวพรรณ กองพิมพ์ , ลำพอง กลมกูล , สมศักดิ์ บุญปู่ Copyright (c) 2024 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/279408 Thu, 29 Aug 2024 00:00:00 +0700 ACADEMIC ADMINISTRATION GUIDELINES FOR IMPROVING TEACHING CHINESE WRITING THROUGH GAMIFICATION FOR VOCATIONAL HIGH SCHOOL STUDENTS https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/272568 <p>The objectives of this research were: 1) To investigate problems and needs of academic administration for improving teaching Chinese writing through gamification. 2) To develop guidelines of academic administration for improving teaching Chinese writing through gamification. The sample groups were 333 students, 24 teachers and 5 school administrators obtained through stratified random sampling at Taishun vocational education center as a case study. The research instruments were questionnaires with 20 questions for 5 rating scales for students, teachers and school administrators and set of questions for focus group discussion. The questions were reviewed and checked by three experts and the methodology of valuation used was the IOC. The statistics used for analyzing data including frequencies, percentages, means, and standard deviations. The results indicated that: 1) Students think that the game-based learning of Chinese writing needs to improve writing ability is in the “Highest” level. Teachers think that gamification to teach Chinese writing needs to improve students' writing efficiency is in the “Highest” level. School administrators think that gamification teaching Chinese writing needs to have enough equipment in the classroom is in the “Highest” level. 2) The Development guidelines of academic administration in Chinese writing through gamification improving teaching in vocational high school comprises of 5 parts. The guidelines include 1) Using the gamification for teaching Chinese writing 2) Improving students’ interest to learn Chinese writing well by using gamification 3) Motivation students to improve their Chinese writing ability efficiently 4) Management assessment methods for gamification teaching Chinese writing 5) using equipment to help their Chinese writing.</p> Zhang Jiaxuan, Nithipatara Balsiri , Kitpinit Usahol , Wannapa Phopli , Samith Jueajinda , Narongpon Aulpaijidkul Copyright (c) 2024 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/272568 การจัดการงานสาธารณูปการของคณะสงฆ์ ตำบลนางแก้ว อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/277801 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการจัดการงานสาธารณูปการของคณะสงฆ์ ตำบลนางแก้ว อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี 2) เพื่อเปรียบเทียบการจัดการงานสาธารณูปการของคณะสงฆ์ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลและ 3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และแนวทางการพัฒนาการจัดการงานสาธารณูปการของคณะสงฆ์ โดยมีระเบียบวิจัยคือการวิจัยแบบผสานวิธี โดยในส่วนของการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือเก็บข้อมูลภาคสนามจากประชาชนผู้มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่มีภูมิลำเนาในตำบลนางแก้ว อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี จำนวน 371 คน วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้โดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที ค่าเอฟ วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และในส่วนของการวิจัยเชิงคุณภาพมีการวิเคราะห์เอกสาร และใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลภาคสนามจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 รูป/คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา สรุปผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการจัดการงานสาธารณูปการของคณะสงฆ์ ตำบลนางแก้ว อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการก่อสร้างและบูรณปฏิสังขรณ์เสนาสนะอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านการดูแลรักษาและจัดการศาสนสมบัติของวัด และด้านการพัฒนาวัดอยู่ในระดับมาก 2) ผลการเปรียบเทียบการจัดการงานสาธารณูปการของคณะสงฆ์ ตำบลนางแก้ว อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ การศึกษา อาชีพ มีการจัดการงานสาธารณูปการของคณะสงฆ์ แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วนปัจจัยส่วนบุคคล คือ เพศ รายได้ มีการจัดการงานสาธารณูปการของคณะสงฆ์ ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ 3) ปัญหา อุปสรรค ในการจัดการงานสาธารณูปการของคณะสงฆ์ ตำบลนางแก้ว อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี พบว่า วัดขาดการวางแผนผังของวัด การสร้างถาวรวัตถุที่เหมาะสม ขาดบุคลากรที่มีความรู้ในการจัดทำบัญชีการเงินของวัด ขาดการวางแผนล่วงหน้าในการพัฒนาวัด ขาดการประชาสัมพันธ์ และขาดความร่วมมือกับหน่วยงาน องค์กร ชุมชน ในการพัฒนาวัดในด้านต่างๆ และข้อเสนอแนะ ได้แก่ วัดควรมีการวางแผนผังของวัด ในการสร้างถาวรวัตถุที่เหมาะสม วัดควรมีการขอความร่วมมือกับองค์กร หรือหน่วยงาน ที่สามารถช่วยเหลือให้ความรู้ความเข้าใจกับพระภิกษุ หรือบุคลากรที่ทำหน้าที่ในการจัดทำบัญชีการเงินของวัด ควรมีการวางแผนล่วงหน้าในการพัฒนาวัด มีการประชาสัมพันธ์ และหาความร่วมมือกับหน่วยงาน องค์กร ชุมชน ในการพัฒนาวัด และควรมีการพัฒนาพระภิกษุในวัดให้มีความรู้ในด้านต่างๆ</p> พระดำรงค์ สุปญฺโญ (ธุระวงศ์) , พระมหากังวาล ธีรธมฺโม , พระครูวิสุทธานันทคุณ Copyright (c) 2024 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/277801 Thu, 29 Aug 2024 00:00:00 +0700 รูปแบบการบริหารงานวิชาการตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ชลบุรี ระยอง https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/278601 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นของการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ชลบุรี ระยอง 3) เพื่อประเมินรูปแบบการบริหารงานวิชาการตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา เป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 381 คน และการวิจัยเชิงคุณภาพ ทำการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จัดสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ มีเครื่องมือในการวิจัยคือแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบการสนทนากลุ่ม และทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐานคือค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการจำเป็นของการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา อันดับที่ 1 คือ การวัดผลและประเมินผล รองลงมา คือ หลักสูตร สื่อการเรียนการสอน และการจัดการเรียนรู้ ตามลำดับ 2) รูปแบบการบริหารงานวิชาการตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา ประกอบด้วยหลักการ แนวคิด วัตถุประสงค์ เนื้อหา การบูรณาการด้วยหลักธรรมาภิบาล ผลลัพธ์ที่คาดหวัง และ 3) ผลการประเมินรูปแบบการบริหารงานวิชาการตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา พบว่า ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก สรุปองค์ความรู้การวิจัย คือ MG</p> วีรชญา วีระคำ , บุญเชิด ชำนิศาสตร์ , สมศักดิ์ บุญปู่ Copyright (c) 2024 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/278601 Thu, 29 Aug 2024 00:00:00 +0700 จิตลักษณะ จิตสังคม การกำหนดเป้าหมายในชีวิตตามหลักอิทธิบาท 4 ของนักเรียนในโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/271555 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับจิตลักษณะ 2) ศึกษาระดับจิตสังคม 3) ศึกษาระดับการนำหลักอิทธิบาท 4 ไปใช้ในการกำหนดเป้าหมายชีวิต และ 4) ศึกษาแนวทางการส่งเสริมจิตลักษณะ จิตสังคม และการนำหลักอิทธิบาท 4 ไปใช้ในการกำหนดเป้าหมายชีวิตของนักเรียนโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี คือ การวิจัยเชิงปริมาณ มีกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียน จำนวน 350 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพ มีผู้ให้ข้อมูลสำคัญเป็นอาจารย์ 4 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับจิตลักษณะ ภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ ความเชื่ออำนาจภายในตน ความเข้มแข็งในการมองโลก และการเห็นคุณค่าในตนเอง ตามลำดับ 2) ระดับจิตสังคม ภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ สัมพันธภาพในครอบครัว สัมพันธภาพระหว่างครูกับนักเรียน และสัมพันธภาพระหว่างเพื่อนกับเพื่อน ตามลำดับ 3) ระดับการนำหลักอิทธิบาท 4 ไปใช้ในการกำหนดเป้าหมายชีวิต ด้านที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านฉันทะ ด้านจิตตะ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง คือ ด้านวิมังสา ด้านวิริยะ 4) แนวทางการส่งเสริมจิตลักษณะ จิตสังคม และการนำหลักอิทธิบาท 4 ไปใช้ในการกำหนดเป้าหมายชีวิตของนักเรียนโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา คือ 1) ครูรับฟังและเข้าใจปัญหาของนักเรียนอย่างลึกซึ้ง จัดกิจกรรมให้นักเรียนได้มีโอกาสแสดงออกทางอารมณ์สังคม 2) ครูสร้างความอบอุ่นเป็นกันเอง สร้างความไว้วางใจ ให้คำปรึกษาที่ดีและเป็นประโยชน์ ซึ่งเป็นแนวทางที่จะทำให้นักเรียนเกิดความเชื่อมั่นในตัวเอง เข้มแข็ง และเห็นคุณค่าในตนเองมากขึ้น สามารถกำหนดเป้าหมายในชีวิตของตน และมีพลังให้บรรลุถึงเป้าหมายที่วางไว้</p> พระปลัดวิสุทธิวรรธน์ วรญาโณ, ชาติชาย พิทักษ์ธนาคม , พรทิพย์ วรรณวิโรจน์ Copyright (c) 2024 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/271555 ความต้องการจำเป็นภาวะผู้นำแบบบารมีของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/280634 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นภาวะผู้นำแบบบารมีของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างที่เป็นครูในสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร 6 กลุ่มเขต จำนวน 375 คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าความต้องการจำเป็น ผลการวิจัยพบว่า ความต้องการจำเป็นภาวะผู้นำแบบบารมีของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร มีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นอันดับที่ 1 คือ การสร้างแรงบันดาลใจ อันดับที่ 2 การกระตุ้นให้ใช้สติปัญญา อันดับ 3 การบำเพ็ญสั่งสมบารมี และอันดับ 4 การสร้างวิสัยทัศน์ เมื่อพิจารณาลำดับความต้องการจำเป็นภาวะผู้นำแบบบารมีของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร เป็นรายข้อ พบว่า มีระดับความต้องการจำเป็นอันดับที่ 1 คือ ผู้บริหารสถานศึกษาจัดเรียงลำดับความสำคัญของภารกิจที่ได้พิจารณาร่วมกันแล้ว เพื่อแสดงให้เห็นงานหลักด้านต่างๆ อันดับที่ 2 คือ ผู้บริหารสถานศึกษาระดมความคิดเรียงลำดับประเด็น แยกเป็นจุดแข็งจุดอ่อนของสถานศึกษา อันดับที่ 3 คือลักษณะผู้นำแบบบารมีด้านการเป็นแรงบันดาลใจมีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในงานของทีมบริหารด้านหัวหน้างาน ด้านเพื่อนร่วมงานและด้านรายได้ และอันดับสุดท้าย คือ ผู้บริหารสถานศึกษามอบหมายงานที่ท้าทายและมีคุณค่าแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาอยู่เสมอ</p> พระมหาไพรัช ปภสฺสโร (แก้วโก) , พระมหาญาณวัฒน์ ฐิตวฑฺฒโน , สมศักดิ์ บุญปู่ Copyright (c) 2024 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/280634 Thu, 29 Aug 2024 00:00:00 +0700 ศึกษาเปรียบเทียบเนื้อหาพระธรรมเทศนาพื้นเมือง เรื่อง มหาวิบากกับจูฬกัมมวิภังคสูตร https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/275301 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดและคติความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับธรรมเทศนาเรื่องมหาวิบาก ฉบับวัดศรีโคมคำ 2) เพื่อศึกษาหลักกรรมและสังสารวัฏตามแนวจูฬกัมมวิภังคสูตร และ 3) เพื่อเปรียบเทียบเนื้อหาพระธรรมเทศนาพื้นเมืองเรื่องมหาวิบาก ฉบับวัดศรีโคมคำ กับจูฬกัมมวิภังคสูตร การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเอกสาร ผลการวิจัยพบว่า 1) พระธรรมเทศนาพื้นเมืองเรื่องมหาวิบากนิยมใช้เทศน์ให้แก่ผู้ป่วยหนักและในงานศพ มีความเชื่อว่าเมื่อนิมนต์พระสงฆ์มาเทศน์ให้ผู้ป่วยหนักได้ฟังแล้ว ผู้ป่วยจะได้รับอานิสงส์ในการฟังพระธรรมเทศนา หากผู้ป่วยมีบุญที่จะมีอายุยืนยาว อาการป่วยก็จะดีขึ้นและหายป่วย ถ้าหากถึงแก่อายุขัยของผู้ป่วยแล้ว ผู้ป่วยก็จะจากไปด้วยอาการอันสงบ และเมื่อมีผู้เสียชีวิตก็มีการแสดงพระธรรมเทศนาเรื่องมหาวิบาก เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้ผู้เสียชีวิต โดยมีความเชื่อว่า ถ้าดวงวิญญาณของผู้เสียชีวิตยังเสวยผลวิบากในทางทุกขเวทนา การนิมนต์พระสงฆ์มาแสดงพระธรรมเทศนาเรื่องมหาวิบากก็จะทำให้ดวงวิญญาณพ้นจากทุกขเวทนาได้ 2) หลักความเชื่อเรื่องกรรมและสังสารวัฏที่ปรากฎในจูฬกัมมวิภังคสูตร มีหลักอยู่ว่าสัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน มีกรรมเป็นทายาท มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย กรรมย่อมจำแนกสัตว์ทั้งหลายให้เลวและดีต่างกัน โดยผลของกรรมดีและกรรมชั่วจะส่งผลให้เวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏและได้รับผลแตกต่างกันตามกรรมที่ทำ 7 คู่ ได้แก่ การมีอายุยืนและอายุสั้น การมีโรคมากและมีโรคน้อย การมีผิวพรรณดีและผิวพรรณทราม การมีอำนาจน้อยและมีอำนาจมาก ความยากจนและความร่ำรวย การมีชาติตระกูลต่ำและชาติตระกูลสูง และการเป็นคนโง่เขลากับการเป็นคนฉลาด เหล่านี้ล้วนเป็นผลมาจากกรรมที่ทำไว้ในอดีต 3) การเปรียบเทียบเนื้อหาธรรมเทศนาพื้นเมืองเรื่องมหาวิบากกับจูฬกัมมวิภังคสูตร พบว่า ความเชื่อหลักยังคงเป็นความเชื่อในกฎแห่งกรรม การเวียนว่ายตายเกิด ตามอำนาจผลของกรรมดีหรือชั่ว เพียงแต่อาจมีรายละเอียดที่แตกต่างกันบ้างในการรับผลของกรรมและสาเหตุที่ทำในอดีตและผลของกรรมในปัจจุบัน จำนวน 8 ประเภท เนื้อหาที่เหมือนกันในส่วนผลของกรรมในปัจจุบัน แต่เหตุที่ทำไว้ในอดีตต่างกัน จำนวน 4 คู่ 8 ประเภท นอกจากนั้น ยังมีเนื้อหาที่ปรากฏเฉพาะในพระธรรมเทศนาพื้นเมืองเรื่องมหาวิบาก ฉบับวัดศรีโคมคำ แต่ไม่ปรากฏในจูฬกัมมวิภังคสูตร จำนวน 18 ประเภท และเนื้อหาที่ปรากฏเฉพาะจูฬกัมมวิภังคสูตร จำนวน 3 ประเภท</p> พระปลัดอภิรักษ์ อินฺทวิสุทฺโธ (อินต๊ะสาร) , พระครูวรวรรณวิฑูรย์ , ชูชาติ สุทธะ Copyright (c) 2024 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/275301 Thu, 29 Aug 2024 00:00:00 +0700 GUIDELINES FOR ACADEMIC ADMINISTRATION IN VOLLEYBALL TEACHING TO PROMOTE EXCELLENCE IN SKILLS AND TECHNIQUES: A CASE STUDY OF CAPITAL UNIVERSITY OF PHYSICAL EDUCATION AND SPORTS IN CHINA https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/272534 <p>The objectives of this research were: 1) to study the current situation of academic administration in volleyball teaching to promote excellence in skills and techniques at Capital University of Physical Education and Sports in China; 2) to develop guidelines for academic administration in volleyball teaching to promote excellence in skills and techniques at Capital University of Physical Education and Sports in China. The population of this study was 386 staff members affiliated with physical education at Capital University of Physical Education and Sports. This includes 70 administrators and 316 teachers. The sample groups were divided into 2 groups: 1) 59 administrators and 173 teachers at Capital University of Physical Education and Sports; 2) 2 vice deans and 3 teachers from Capital University of Physical Education and Sports. The research instruments utilized in this study included questionnaires and a set of questions for conducting expert interview. The questionnaires were analyzed by using frequency, percentage, mean value and standard deviation; and the expert interview was analyzed by using content analysis. The findings indicated that: 1) the current situation of academic administration in volleyball teaching to promote excellence in skills and techniques at Capital University of Physical Education and Sports in China was at a high level, and 2) the guidelines for academic administration in volleyball teaching to promote excellence in skills and techniques at Capital University of Physical Education and Sports in China included 5 aspects; namely: 1) Curriculum development of educational institutions; 2) Educational supervision; 3) Innovative media and educational technology; 4) Research to improve educational quality and 5) Educational measurement and evaluation.</p> Mengyao Liu, Chanthwan Soonsawad , Phakanat Jantanawaranon Sompongtham , Samith Jueajinda , Nithipattara Balsiri , Wannapa Phopli , Narongpon Aulpaijidkul Copyright (c) 2024 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/272534 แนวทางการบริหารงานบุคคลตามหลักจักร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/279442 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงานบุคคลของผู้บริหาร 2) เพื่อศึกษาวิธีการบริหารงานบุคคลตามหลักจักร 4 และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการบริหารงานบุคคลตามหลักจักร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 เป็นการวิจัยเชิงผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริหารและครู จำนวน 313 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 5 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา ในภาพรวมมีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เพราะว่าผู้บริหารต้องให้ความสำคัญกับงานบริหารบุคคลของสถานศึกษาในด้านการจัดบุคคลเข้าปฏิบัติงาน การวางแผนงานบุคล การประเมินการปฏิบัติงาน และการพัฒนาบุคคล ตามลำดับของการบริหาร 2) วิธีการบริหารงานบุคคลตามหลักจักร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา เป็นการบูรณาการการบริหารงานบุคคล คือ การวางแผนงานบุคล การจัดบุคคลเข้าปฏิบัติงาน การพัฒนาบุคคล การประเมินการปฏิบัติงานกับหลักจักร 4 อันเป็นเหมือนวงล้อที่นำชีวิตไปสู่ความเจริญงอกงาม ดุจล้อรถที่หมุนนำรถไปสู่ที่หมาย 4 ประการ คือ 1) การอยู่ในท้องถิ่นที่เหมาะสม (ปฏิรูปเทสวาส) สถานที่เหมาะสม การอยู่ในท้องถิ่นที่เหมาะสมในการปฏิบัติหน้าที่การที่รับผิดชอบ 2) การคบสัตบุรุษ (สัปปุริสูปัสสยะ) คุณภาพของบุคคล การคบสัตบุรุษผู้มีความรู้ความสามารถดี 3) การตั้งตนไว้ชอบ (อัตตสัมมาปณิธิ) ความประพฤติของบุคคลต้องตั้งอยู่ในศีลธรรม การปฏิบัติของบุคคลในทางที่ดี 4) ประสบการณ์ของบุคคล (ปุพเพกตปุญญตา) ความเป็นผู้มีบุญได้กระทำไว้ก่อนเพื่อเป็นแนวทางให้ผู้บริหารสถานศึกษานำไปประยุกต์ใช้ในการบริหารบุคคล และ 3) แนวทางการบริหารงานบุคคลตามหลักจักร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา ประกอบด้วย (1) การวางแผนงานบุคคล ผู้บริหารควรประชุมวางแผนกำหนดคุณสมบัติของบุคลากร ให้ตรงตามความต้องการของสถานศึกษา คัดเลือกบุคลากรที่มีคุณธรรม มีประสบการณ์ปฏิบัติงานตรง ผู้บริหารควรมีการวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมภายในสถานศึกษากับความสามารถของบุคคล (2) การจัดเข้าปฏิบัติงานผู้บริหารควรมีการกำหนดคุณสมบัติให้ชัดเจนกับผู้ที่รับคัดเลือกเข้ามามีความรู้ ความสามารถ ความถนัด ตรงตามสายงานในการปฏิบัติหน้าที่ (3) การพัฒนาบุคคล ผู้บริหารควรจัดให้บุคลากรได้เข้าอบรมประชุม สัมมนา แลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนาตนเอง และอบรมคุณธรรมจริยธรรม เพื่อเสริมจุดแข็ง จุดด้อยของสถานศึกษาเพื่อที่จะนำมาพิจารณาพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น (4) การประเมินการปฏิบัติงาน ผู้บริหารควรมีการแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินงานบุคลากร ดำเนินการอย่างถูกต้องตามกฎเกณฑ์การประเมินการปฏิบัติงาน ด้วยความโปร่งใสและยุติธรรม</p> รัตนาภรณ์ จันภิรมย์ , พระสุรชัย สุรชโย , พระมหาญาณวัฒน์ ฐิตวฑฺฒโน Copyright (c) 2024 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/279442 Thu, 29 Aug 2024 00:00:00 +0700 แนวทางการบริหารงานงบประมาณตามหลักธรรมาภิบาลของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/277817 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงานงบประมาณของโรงเรียน 2) ศึกษาวิธีการบริหารงานงบประมาณตามหลักธรรมาภิบาลของโรงเรียน3) เพื่อเสนอแนวทางการบริหารงานงบประมาณตามหลักธรรมาภิบาลของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยเก็บข้อมูลแบบสอบถามจากกลุ่มอย่างผู้บริหารและครู จำนวน 186 คน ใช้สถิติวิเคราะห์ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหาจากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับวิธีการบริหารงานงบประมาณตามหลักธรรมาภิบาล จำนวน 5 คน ผลการวิจัย พบว่า 1) ผู้บริหารและครูมีความคิดเห็นต่อสภาพการบริหารงานงบประมาณของโรงเรียน โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านการจัดตั้งงบประมาณ ด้านการจัดสรรงบประมาณ ด้านการติดตามตรวจสอบประเมินผลการใช้จ่ายงบประมาณ และด้านการบริหารการเงิน บัญชี และสินทรัพย์ ตามลำดับความสำคัญ 2) ผลการวิธีการบริหารงานงบประมาณของโรงเรียนตามหลักธรรมาภิบาล มีวิธีการดังนี้ (1) หลักความรับผิดชอบ มีการประชุมกับผู้ใต้บังคับบัญชาให้รับผิดชอบเรื่องการเงินและงบประมาณชัดเจน (2) หลักการกระจายอำนาจ มีคำสั่งแต่งตั้งบุคลากรให้รับผิดชอบงบประมาณการเงิน (3) หลักการมีส่วนร่วม เปิดโอกาสผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มมีเข้าร่วมในการรับรู้กระบวนการจัดทำแผนปฏิบัติงานประจำปี (4) หลักประสิทธิภาพ มีแผนการใช้จ่ายงบประมาณชัดเจน มีตัวชี้วัด ในโครงการบริหารด้วยความโปร่งใส (5) หลักความเสมอภาค มีการจัดสรรงบให้มีความเท่าเทียมกัน โดยไม่มีการแบ่งแยกว่า ส่วนงานใดส่วนงานหนึ่งต้องได้มากกว่ากันจนทำให้เกิดการแตกแยกในองค์การ และ (6) หลักความโปร่งใส มีคณะกรรมการทำงานการจัดสรรงบประมาณให้ชัดเจนตรงไปตรงมาอย่างมีความโปร่งใสตรวจสอบได้ 3) แนวทางการบริหารงานงบประมาณตามหลักธรรมาภิบาลของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 ดังนี้ (1) หลักประสิทธิผล ต้องมีกระบวนการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ (2) หลักความรับผิดชอบ ควรมีการประชุมวางแผนกับผู้ใต้บังคับบัญชา (3) หลักการกระจายอำนาจ มีคำสั่งแต่งตั้งบุคลากรให้รับผิดชอบงบประมาณการเงิน (4) หลักการมีส่วนร่วม ควรเปิดโอกาสผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มมีเข้าร่วมในการรับรู้กระบวนการจัดทำแผนปฏิบัติงานประจำปี (5) หลักประสิทธิภาพ ต้องมีแผนการใช้จ่ายงบประมาณชัดเจนตรงตามตัวชี้วัดในโครงการด้วยความโปร่งใส (6) หลักความเสมอภาค ควรจัดสรรงบให้มีความเท่าเทียมกัน และ (7) หลักความโปร่งใส ควรมีการแต่งตั้งคณะกรรมการทำงานการจัดสรรงบประมาณให้ชัดเจนตรงไปตรงมาอย่างมีความโปร่งใสสามารถตรวจสอบได้</p> ณัฐกาลน์ ฤทธิจันทร์ , พระครูวิรุฬห์สุตคุณ , อินถา ศิริวรรณ , สุทิศ สวัสดี Copyright (c) 2024 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/277817 Thu, 29 Aug 2024 00:00:00 +0700 รูปแบบการจัดการความรู้การเทศน์มหาชาติ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/278611 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบการจัดการความรู้การเทศน์มหาชาติ2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้การเทศน์มหาชาติ 3) เพื่อประเมินรูปแบบการจัดการความรู้การเทศน์มหาชาติ เป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 175 คน การวิจัยเชิงคุณภาพทำการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ การจัดสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ มีเครื่องมือในการวิจัยคือแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบการสนทนากลุ่ม และทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐานคือค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาองค์ประกอบการจัดการความรู้การเทศน์มหาชาติ พบว่ามีความคิดเห็นในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับจากมากไปน้อย คือ การจัดเก็บความรู้ การเรียนรู้ การแสวงหาความรู้ การแลกเปลี่ยนความรู้ การกำหนดความรู้ ตามลำดับ 2) รูปแบบการจัดการความรู้การเทศน์มหาชาติ ประกอบด้วยหลักการ แนวคิดการจัดการความรู้ วัตถุประสงค์ เนื้อหา ขั้นตอน และผลลัพธ์ที่คาดหวัง และ 3) การประเมินรูปแบบการจัดการความรู้การเทศน์มหาชาติ พบว่า ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก สรุปองค์ความรู้การวิจัย คือ DM</p> พระมหาพงษ์เทพ ปภากโร (ล้อประเสริฐ) , สมศักดิ์ บุญปู่ , พระมหาสมบัติ ธนปญฺโญ Copyright (c) 2024 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/278611 Thu, 29 Aug 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่มีผลต่อผู้ต้องขังกระทำผิดวินัยของทัณฑสถานวัยหนุ่มพระนครศรีอยุธยา https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/271822 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อจะศึกษาสาเหตุของการกระทำผิดวินัยของผู้ต้องขังในทัณฑสถานวัยหนุ่มพระนครศรีอยุธยา และ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการป้องกันผู้ต้องขังกระทำผิดวินัยในทัณฑสถานวัยหนุ่มพระนครศรีอยุธยา รูปแบบการศึกษาใช้การวิจัยแบบผสานวิธี เริ่มต้นจากการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 2 กลุ่ม จำนวน 10 คน นำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา โดยการแยกแยะ และถอดประเด็นเนื้อหาที่สำคัญเพื่อนำไปสู่การสรุปผลวิจัย หลังจากนั้น จึงนำผลที่ได้ไปใช้เป็นแนวทางในการสร้างแบบสอบถามสำหรับใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ มีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ คือ แบบสอบถาม โดยมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.90 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) สาเหตุของการกระทำผิดวินัยผู้ต้องขังวัยหนุ่มพระนครศรีอยุธยา เกิดจาก 3 ปัจจัย ได้แก่ (1) ปัจจัยส่วนบุคคล ประกอบด้วย การไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ การขาดการยับยั้งใจ การขาดความดูแลเอาใจใส่และความสัมพันธ์ภายในครอบครัว (2) ปัจจัยสภาพแวดล้อม ประกอบด้วย กลุ่มเพื่อน เจ้าหน้าที่และเจ้าพนักงานไม่เพียงพอ (3) ปัจจัยภายในการรับรู้และแรงจูงใจ ประกอบด้วย ขาดการประชาสัมพันธ์สิทธิประโยชน์ และขาดแรงจูงใจ 2) แนวทางป้องกันผู้ต้องขังกระทำผิดวินัยในทัณฑสถานวัยหนุ่มพระนครศรีอยุธยา ประกอบด้วย 5 ด้าน ดังนี้ (1) ด้านการจำแนกลักษณะผู้ต้องขัง (2) ด้านการศึกษา (3) ด้านการบำบัดฟื้นฟู (4) ด้านเทคโนโลยี (5) ด้านสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ผู้ต้องขัง จากผลการวิจัยได้ข้อเสนอแนะ 5 ประการ คือ (1) ทัณฑสถานฯ ควรมีการจัดกิจกรรมนันทนาการสร้างความบันเทิงลดความเครียด (2) ทัณฑสถานฯ ควรลดความแออัดภายทัณฑสถานฯ ลดการแย่งชิงทรัพยากรระหว่างผู้ต้องขัง (3) ทัณฑสถานฯ ควรเพิ่มเทคโนโลยี นวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อลดภาระงานของเจ้าหน้าที่ (4) ทัณฑสถานฯ ควรให้โอกาสผู้ต้องขังที่กระทำผิดวินัยครั้งแรก (5) ทัณฑสถานฯ ควรเพิ่มบทลงโทษให้กับผู้ต้องขังที่กระทำผิดวินัยซ้ำซาก</p> อภิศักดิ์ เชื้อสาย, ปัณณธร หอมบุญมา Copyright (c) 2024 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/271822 การประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนวัดหินดาด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/280675 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนวัดหินดาด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3 โดยมีกลุ่มตัวอย่างตัวอย่างในการวิจัยด้วยการเลือกแบบเจาะจง คือ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสถานศึกษา ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองและนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 รวมทั้งสิ้น จำนวน 215 คน มีเครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถาม 3 ฉบับ ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สรุปผลการวิจัยพบว่า ผลการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนวัดหินดาด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุดและผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณารายด้านเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ ด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านผลผลิตของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านบริบทต่อการดำเนินงานตามโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านผลกระทบของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และด้านกระบวนการดำเนินงานตามโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก</p> ณัฐพล มิตรอารีย์ Copyright (c) 2024 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/280675 Thu, 29 Aug 2024 00:00:00 +0700 แนวทางการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามหลักพรหมวิหาร 4 ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยาเขต 2 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/275330 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาเพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียน 2) วิธีการพัฒนาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามหลักพรหมวิหาร 4 และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามหลักพรหมวิหาร 4 เป็นงานวิจัยแบบผสมผสานวิธี ประกอบด้วย 1) การวิจัยเชิงปริมาณด้วยการใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 175 รูป วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติเชิงพรรณา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2) การวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียน ในภาพรวมและทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด 2) วิธีการพัฒนาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามหลักพรหมวิหาร 4 เป็นการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน 5 ด้าน คือ การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล การคัดกรองนักเรียน การส่งเสริมและพัฒนานักเรียน การป้องกันและแก้ไขปัญหา การส่งต่อนักเรียน โดยบูรณาการกับหลักพรหมวิหาร 4 (1) เมตตา ความปรารถนาให้ผู้อื่นได้รับสุข (2) กรุณา ความปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ (3) มุทิตา ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี (4) อุเบกขา การรู้จักวางใจเป็นกลาง และ 3) แนวทางการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามหลักพรหมวิหาร 4 ได้แก่ (1) การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคลตามพรหมวิหาร 4 ประกอบด้วยครูมีความรักความปรารถนาดี มีความตั้งใจจริงที่จะช่วยเหลือ (2) การคัดกรองนักเรียนตามพรหมวิหาร 4 ประกอบด้วยครูให้อภัยและมองข้ามข้อเสียของนักเรียน ทำหน้าที่ดำเนินการคัดกรองโดยปราศจากอคติ (3) การส่งเสริมและพัฒนานักเรียนตามพรหมวิหาร 4 ประกอบด้วยครูส่งเสริมให้นักเรียนมีพัฒนาการทั้งทางด้านกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา (4) การป้องกันและแก้ไขปัญหาตามพรหมวิหาร 4 ประกอบด้วยการลดความเสี่ยงและแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้น โดยเน้นให้นักเรียนมีทักษะชีวิตและความสามารถในการแก้ไขปัญหาของตนเองและยินดีเมื่อนักเรียนผ่านพ้นปัญหา (5) การส่งต่อนักเรียนตามพรหมวิหาร 4 ประกอบด้วยพัฒนาคุณลักษณะให้ครูมีความเมตตา ตั้งใจทำระบบการส่งต่อนักเรียน มีใจเป็นกลางไม่ลำเอียง</p> จตุพร บัวระภา , สุทธิพงษ์ ศรีวิชัย , สมศักดิ์ บุญปู่ Copyright (c) 2024 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/275330 Thu, 29 Aug 2024 00:00:00 +0700 เทคนิคการจัดการงานสาธารณสงเคราะห์ของวัดดีบอน อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/277946 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับเทคนิคการจัดการงานสาธารณสงเคราะห์ของวัดดีบอน อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี (2) เปรียบเทียบระดับการปฏิบัติที่มีต่อเทคนิคการจัดการงานสาธารณสงเคราะห์ของวัดดีบอน โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) ศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะต่อเทคนิคการจัดการงานสาธารณสงเคราะห์ของวัดดีบอน ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยในส่วนของการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือเก็บข้อมูลภาคสนามจากประชาชนกลุ่มตัวอย่าง ในชุมชนดีบอน อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี จำนวน 307 คน วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้โดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที ค่าเอฟ วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และในส่วนของการวิจัยเชิงคุณภาพมีการวิเคราะห์เอกสาร และใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลภาคสนามจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 รูปหรือคน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท ผลการวิจัยพบว่า 1) เทคนิคการจัดการงานสาธารณสงเคราะห์ของวัดดีบอน อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี โดยภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านการเกื้อกูลสาธารณสมบัติสถานที่อันเป็นสาธารณสมบัติ และด้านการเกื้อกูลประชาชนหรือสรรพสัตว์ อยู่ในระดับมาก ส่วนด้านการดำเนินกิจการเพื่อช่วยเหลือเกื้อกูล อยู่ในระดับปานกลาง และด้านการช่วยเหลือเกื้อกูลกิจการของผู้อื่นเพื่อสาธารณประโยชน์ อยู่ในระดับปานกลาง 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อเทคนิคการจัดการงานสาธารณสงเคราะห์ของวัดดีบอน อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า อายุ มีผลให้ความคิดเห็นที่มีต่อระดับการปฏิบัติที่มีต่อเทคนิคการจัดการงานสาธารณสงเคราะห์ของวัดดีบอน อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี โดยภาพรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ การศึกษา อาชีพและรายได้ ไม่มีผลให้ระดับการปฏิบัติที่มีต่อเทคนิคการจัดการงานสาธารณสงเคราะห์ของวัดดีบอน อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี โดยภาพรวม ไม่แตกต่างกัน 3) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในเทคนิคการจัดการงานสาธารณสงเคราะห์ของวัดดีบอน อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี ได้แก่ จำนวนบุคลากรในการปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยงานรัฐ และชุมชนยังไม่เพียงพอกับภาระงาน ขาดการติดต่อประสานงานที่ดีกับหน่วยงานสาธารณสงเคราะห์ภายนอก ปัญหาด้านสังคมเศรษฐกิจมีจำนวนมากและซับซ้อนมากยิ่งขึ้น ข้อเสนอแนะในเทคนิคการจัดการงานสาธารณสงเคราะห์ของวัดดีบอน อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี ได้แก่ ควรเพิ่มและสรรคหาบุคลากร พร้อมทั้งเสริมทักษะองค์ความรู้แก่ในการปฏิบัติงานด้านงานสาธารณสงเคราะห์ให้เพียงพอและมีคุณภาพ และควรส่งเสริมการประสานงานและร่วมมือกันทำงานกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน (บวร) เพื่อสร้างเครือข่ายปฏิบัติงานร่วมกัน</p> พระครูวิภัชธรรมวิสิฐ (วิรัช วิรโช) , พระครูวิสุทธานันทคุณ , พระราชสมุทรวชิรโสภณ Copyright (c) 2024 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/277946 Thu, 29 Aug 2024 00:00:00 +0700 แนวทางการบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลตามหลักไตรสิกขาของสถานศึกษาในกลุ่มสหวิทยาเขตสวนเทพรัตน์ทีปไท้เฉลิมพระเกียรติ จังหวัดปทุมธานี https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/279673 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลของสถานศึกษา 2) เพื่อศึกษาวิธีการบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลตามหลักไตรสิกขาของสถานศึกษา และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลตามหลักไตรสิกขาของสถานศึกษา เป็นการวิจัยแบบผสานวิธีโดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างที่เป็นครูและผู้บริหาร จำนวน 234 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 6 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลของสถานศึกษา โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุดทั้ง 4 ด้าน 2) วิธีการบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลตามหลักไตรสิกขาของสถานศึกษา เป็นการประยุกต์การบริหารสถานศึกษา คือ การบริหารงานวิชาการ การบริหารงานงบประมาณ การบริหารงานบุคคล และการบริหารงานทั่วไป บูรณาการกับหลักไตรสิกขา 3 คือ ผู้บริหารและบุคลากรควรได้รับการอบรมพัฒนากาย วาจา (ศีล) พร้อมการพัฒนายกระดับของจิตให้สูงขึ้นในการบริหาร (สมาธิ) และพัฒนาสู่ระบบนวัตกรรมยุคดิจิทัลบูรณาการสู่การพัฒนากระบวนการของปัญญา (ปัญญา) เพื่อเป็นแนวทางการบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลตามหลักไตรสิกขา และ 3) แนวทางการบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลตามหลักไตรสิกขาของสถานศึกษา เป็นการบริหารมีการกำหนดปฏิทินการดำเนินงานอย่างเป็นระบบการบริหารงานวิชาการและนำนวัตกรรมดิจิทัลมาวิเคราะห์ข้อมูลการบริหารงานวิชาการ การบริหารงานงบประมาณ ต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของศีล การบริหารงานบุคคล และการบริหารงานทั่วไปให้สอดคล้องกับกับกระบวนการของปัญญาเพื่อพัฒนาสู่การพัฒนาจิตตามหลักไตรสิกขาควบคู่กับนวัตกรรมดิจิทัลในการบริหารสถานศึกษา</p> สันติ คำสอน , พระครูภัทรธรรมคุณ , ณัชชา อมราภรณ์ Copyright (c) 2024 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/279673 Thu, 29 Aug 2024 00:00:00 +0700 การมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมในเขตพื้นที่รับผิดชอบของสถานีตำรวจภูธรวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/273842 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมในเขตพื้นที่รับผิดชอบของสถานีตำรวจภูธรวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง 2) เปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมในเขตพื้นที่รับผิดชอบของสถานีตำรวจภูธรวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล รวมถึงความรู้ความเข้าใจในการป้องกันอาชญากรรม 3) ศึกษาแนวทางในการส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมในเขตพื้นที่รับผิดชอบของสถานีตำรวจภูธรวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้นำชุมชนในเขตพื้นที่รับผิดชอบของสถานีตำรวจภูธรวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง ประกอบด้วย กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน จำนวน 210 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ผลการวิจัยพบว่า 1) การมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมโดยรวมอยู่ในระดับมาก การมีส่วนร่วมในการสนับสนุน วางแผน และการดำเนินการอยู่ในระดับมากเช่นกัน ส่วนการมีส่วนร่วมในด้านการประเมินผลอยู่ในระดับปานกลาง 2) ผู้นำชุมชนที่มี เพศ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา และประสบการณ์เกี่ยวกับอาชญากรรมแตกต่างกัน มีส่วนร่วมในการป้องกอันอาชญากรรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เว้นแต่ผู้นำชุมชนที่มีอายุแตกต่างกัน มีส่วนร่วมในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สำหรับความรู้ความเข้าใจในการป้องกันอาชญากรรมมีความสัมพันธ์เชิงบวก กล่าวคือมีความรู้ความเข้าใจในการป้องกันอาชญากรรมในระดับมาก และ 3) แนวทางการส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนรวมของผู้นำชุมชนประกอบด้วย (1) ส่งเสริมให้ผู้นำชุมชนตระหนักถึงการติดตามและคอยสอดส่องอาชญากร (2) ส่งเสริมให้ผู้นำชุมชนมีความกล้าในการแสดงความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะเกี่ยวกับผลการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม (3) ส่งเสริมให้ผู้นำชุมชนมีส่วนร่วมในการชมเชย หรือให้กำลังใจแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม (4) เพิ่มแรงจูงใจโดยการให้ค่าตอบแทน รางวัล หรือมอบเกียรติบัตรให้แก่ผู้มีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานด้านป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม และ (5) ให้ความรู้ในการใช้สื่อออนไลน์และเทคโนโลยีในการติดต่อสื่อสาร ประสานงาน รวมถึงติดตามประเมินผลการทำงาน เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้นำชุมชนปฏิบัติงานร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น</p> ศุภกิจ เอี่ยมวิจารณ์, ปัณณธร หอมบุญมา Copyright (c) 2024 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/273842 การบริหารสถานศึกษาตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/277826 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นของการบริหารงานสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เพื่อศึกษาวิธีการบริหารงานสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา 3) เพื่อเสนอแนวทางการบริหารงานตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 ซึ่งมีรูปแบบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี เชิงปริมาณใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ผู้บริหารและครู จำนวน 121 คน สถิติที่ใช้คือค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าความต้องการจำเป็น และเชิงคุณภาพใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง (Semi-structured-interview) ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 5 รูป/คน สถิติที่ใช้เป็นแบบวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพความต้องการจำเป็นของการบริหารงานสถานศึกษา ของผู้บริหารสถานศึกษา ในสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 โดยภาพรวม พบว่าความต้องการจำเป็นที่มีความต้องการมากที่สุด เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการบริหารงานทั่วไป (PNImodified =0.193) ด้านการบริหารงานวิชาการ (PNImodified=0.190) ด้านการบริหารงานบุคคล (PNImodified =0.180) และด้านการบริหารงานงบประมาณ (PNImodified =0.162) 2) ผลการศึกษาวิธีการบริหารสถานศึกษา ตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 มีดังนี้ 2.1) ด้านการบริหารงานทั่วไป มีการส่งเสริมการประสานงานกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลข่าวสารได้อย่างรวดเร็ว 2.2) ด้านการบริหารงานวิชาการ ผู้บริหารสถานศึกษาควรส่งเสริมการแก้ปัญหาในการจัดการเรียนการสอนด้วยการให้ครูผู้สอนทำวิจัยในชั้นเรียน เพื่อแก้ปัญหาผู้เรียน มีการส่งเสริมการพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีในการจัดการศึกษา 2.3) ด้านการบริหารงานบุคคล มีกำหนดแผนงานบุคลากรทำงานให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาการศึกษา มีการสรรหาและบรรจุแต่งตั้งบุคลากรที่เชี่ยวชาญในแต่ละด้าน 2.4) ด้านการบริหารงานงบประมาณ จัดให้มีการจัดทำแผนการประมาณรายรับรายจ่ายอย่างเหมาะสม มีการแต่งตั้งผู้รับผิดชอบในการจัดระบบการบริหารการเงิน บัญชี และพัสดุ ที่ชัดเจน มีการจัดทำบัญชี การตรวจสอบและควบคุมดูแลการใช้จ่ายให้เป็นไปอย่างเหมาะสม หากใช้หลักพรหมวิหาร 4 มาประยุกต์ใช้ในการบริหารงานจะนำไปสู่การบริหารงานที่มีประสิทธิภาพตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ 3) แนวทางการพัฒนาการบริหารสถานศึกษา ตามหลักพรหมวิหาร 4 ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการบริหารงานวิชาการ ส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียน พัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ภายในสถานศึกษา ด้านการบริหารงานงบประมาณ จัดทำแผนการประมาณรายรับรายจ่ายอย่างเหมาะสม มีการแต่งตั้งผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน มีระบบการตรวจสอบการใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพตามแผนปฏิบัติการ มีการติดตามและการตรวจสอบการใช้งบประมาณอย่างเที่ยงตรงและโปร่งใส ด้านการบริหารงานบุคคล กำหนดแผนงานบุคลากรทำงานให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาการศึกษา มีการสรรหาและบรรจุแต่งตั้งบุคลากรที่เชี่ยวชาญในแต่ละด้าน มีการจัดทำระบบทะเบียนประวัติข้าราชการครูและบุคลากร ด้านการบริหารงานทั่วไป ส่งเสริมการประสานงานกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลข่าวสารอย่างรวดเร็ว ตามองค์ความรู้</p> นภารัตน์ กุลสิริรัตกุล, พีรวัฒน์ ชัยสุข , อินถา ศิริวรรณ , สุทิศ สวัสดี Copyright (c) 2024 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/277826 Thu, 29 Aug 2024 00:00:00 +0700 การสร้างขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานด้วยหลักพรหมวิหาร 4 ของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/278777 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพขวัญกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่ของครู 2) เพื่อศึกษาวิธีการสร้างขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานด้วยหลักพรหมวิหาร 4 ของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 3) เพื่อเสนอแนวทางการสร้างขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานด้วยหลักพรหมวิหาร 4 เป็นการวิจัยแบบผสานวิธีโดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างที่เป็นเป็นครู จำนวน 302 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 5 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพขวัญกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่ของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) วิธีสร้างขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 ทั้ง 7 ด้าน คือ สภาพการทำงาน ความมั่นคงปลอดภัย ความมีสัมพันธภาพ สวัสดิการ การยอมรับนับถือความสำเร็จ ความก้าวหน้า โดยบูรณาการตามหลักพรหมวิหาร 4 และ 3) แนวทางการสร้างขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานด้วยหลักพรหมวิหาร 4 ประกอบด้วย (1) สภาพการทำงาน มอบงานให้ตรงความถนัดและความสามารถให้คำปรึกษา (2) สวัสดิการ จัดสวัสดิการให้ครูมีแรงจูงใจในอาชีพมี (3) ความมั่นคงปลอดภัย ส่งเสริมให้ครูได้รับความคุ้มครองดูแล (4) ความก้าวหน้า ส่งเสริมให้ครูมีความเจริญก้าวหน้าในอาชีพ (5) การยอมรับนับถือ ส่งเสริมให้ผู้ร่วมงานและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องให้ได้ความเคารพนับถือ (6) ความมีสัมพันธภาพ ส่งเสริมการทำงานเป็นทีมโดยยึดหลักความถูกต้อง (7) ความสำเร็จ สนับสนุนให้ครูสำเร็จตามเป้าหมายด้วยความจริงใจ</p> กันต์ศักดิ์ ยศศรี , สุทธิพงษ์ ศรีวิชัย , สุทิศ สวัสดี Copyright (c) 2024 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/278777 Thu, 29 Aug 2024 00:00:00 +0700 มาตรการไกล่เกลี่ยคดีอาญาในชั้นศาลศึกษาเฉพาะคดีความผิดอันยอมความได้ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/272004 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการไกล่เกลี่ยคดีอาญาความผิดอันยอมความได้ และ 2) เพื่อค้นหามาตรการไกล่เกลี่ยคดีอาญาในชั้นศาลศึกษาเฉพาะคดีความผิดอันยอมความได้ ซึ่งการศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้พิพากษา กลุ่มทนายความ กลุ่มผู้ประนีประนอม และกลุ่มคู่ความ โดยพิจารณาเลือกผู้ให้ข้อมูลหลักแบบเฉพาะเจาะจง ทั้งนี้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และการวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษา พบว่า 1) ปัญหาและอุปสรรคในการไกล่เกลี่ยคดีอาญาความผิดอันยอมความได้ ประกอบด้วย (1) ปัญหาด้านความพร้อมของเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ จำนวนเจ้าหน้าที่มีน้อย ไม่เพียงพอ และขาดเทคนิคด้านการไกล่เกลี่ยคดีอาญาความผิดอันยอมความได้ (2) ปัญหาด้านทุนทรัพย์ของคดี ได้แก่ ผู้ไกล่เกลี่ยไม่อธิบายให้เห็นถึงความเสียหายที่แท้จริง ผู้ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยขาดความเชี่ยวชาญเฉพาะ (3) ปัญหาด้านผู้ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ย ได้แก่ ขาดความรู้ ความเข้าใจเทคนิคในการไกล่เกลี่ย ขาดการอบรม ขาดการประเมินความรู้ของเจ้าหน้าที่ งบประมาณในการบริการจัดการด้านการไกล่เกลี่ยมีน้อย (4) ปัญหาด้านความพร้อมของสถานที่ ได้แก่ สถานที่หรือห้องไกล่เกลี่ยมีไม่เพียงพอและขาดความเป็นส่วนตัว มีบรรยากาศเป็นทางการเกินไป 2) มาตรการไกล่เกลี่ยคดีอาญาในชั้นศาลศึกษาเฉพาะคดีความผิดอันยอมความได้ ประกอบด้วย (1) มาตรการด้านความพร้อมเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ควรเพิ่มเจ้าหน้าที่ จัดให้มีการอบรม สัมมนาทางวิชาการ จัดทำตัวอย่างการไกล่เกลี่ย หรือเพิ่มหลักสูตรการอบรม เปิดเสวนาหรือเปิดสภากาแฟ (2) มาตรการด้านทุนทรัพย์ของคดี ได้แก่ ผู้ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยต้องอธิบายให้คู่ความเห็นถึงความเสียหาย ความได้เปรียบและเสียเปรียบ คดีที่มีทุนทรัพย์สูงควรจัดให้ผู้พิพากษาเข้าทำการไกล่เกลี่ย ควรจัดให้ผู้ไกล่เกลี่ยที่มีความชำนาญทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยแยกตามจำนวนทุนทรัพย์ (3) มาตรการด้านผู้ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ย ได้แก่ ควรจัดและเพิ่มให้มีการอบรม สัมมาเป็นประจำ ควรจัดให้มีการจัดทำคู่มือการไกล่เกลี่ย ควรทำการประเมินความรู้บุคลากร เปิดรับสมัครเฉพาะคนที่มีความรู้ด้านกฎหมายมาทำหน้าที่เท่านั้น และรัฐบาลควรสนับสนุนงบประมาณให้เพียงพอ (4) มาตรการด้านความพร้อมของสถานที่ ได้แก่ ควรเพิ่มสถานที่ไกล่เกลี่ยและควรจัดให้มีห้องไกล่เกลี่ยให้เหมาะสม จัดสถานที่ไกล่เกลี่ยให้เป็นสถานที่ปิด มีความเป็นพื้นที่ส่วนตัวมากที่สุด ควรจัดสถานที่ให้มีบรรยากาศคล้ายคลึงกับร้านกาแฟ (คาเฟ่) เพื่อลดความกดดันและสร้างบรรยากาศที่ดี</p> สุรศักดิ์ ธานีรัตน์, ปัณณธร หอมบุญมา Copyright (c) 2024 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/272004 แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วมตามหลักฆราวาสธรรม 4 ของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนในกลุ่มสามัคคีธรรม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/275391 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนในกลุ่มสามัคคีธรรม 2) เพื่อศึกษาวิธีการพัฒนาภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วมตามหลักฆราวาสธรรม 4 และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วมตามหลักฆราวาสธรรม 4 เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี คือ 1) การวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามประชากรในการวิจัยที่เป็นผู้บริหารและครูโรงเรียนในกลุ่มสามัคคีธรรม จำนวน 113 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ 2) การวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 5 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนในกลุ่มสามัคคีธรรมในภาพรวมมีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด และมีรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุดทั้ง 4 ด้าน 2) วิธีการพัฒนาภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วมตามหลักฆราวาสธรรม 4 เป็นการบูรณาการภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วม 4 ด้าน คือ การร่วมวิเคราะห์วิธีการปฏิบัติงาน การร่วมวางแผนบริหาร การร่วมพัฒนาสถานศึกษา การร่วมกำกับติดตามและประเมินผล กับหลักฆราวาสธรรม 4 คือ (1) สัจจะคือความจริง (2) ทมะคือการฝึกฝน (3) ขันติคือความอดทน (4) จาคะคือความเสียสละ เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้บริหารสถานศึกษานำไปประยุกต์ใช้ในการบริหารสถานศึกษา และ 3) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วมตามหลักฆราวาสธรรม 4 ประกอบด้วย (1) การพัฒนาภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วมด้านการร่วมวิเคราะห์วิธีการปฏิบัติงาน คือ ผู้บริหารเปิดใจรับฟังความคิดเห็นอย่างจริงใจ ฝึกทักษะแก้ปัญหา กำหนดแผนงานด้วยความเสียสละ (2) การพัฒนาภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วมด้านการร่วมวางแผนบริหาร คือ ผู้บริหารเป็นแบบอย่างที่ดีมีความซื่อสัตย์สุจริต จัดระบบการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ (3) การพัฒนาภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วมด้านการร่วมพัฒนาสถานศึกษา คือ ผู้บริหารเปิดใจรับฟังความคิดเห็น ฝึกฝนทักษะคำถาม พัฒนาสถานศึกษาด้วยความเสียสละ (4) การพัฒนาภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วมด้านการร่วมกำกับติดตามและประเมินผล คือ ผู้บริหารติดตามประเมินผลการพัฒนาบุคลากร กำหนดตัวชี้วัดที่ชัดเจน อดทนความยากลำบากในการรวบรวมข้อมูล เสียสละความสุขส่วนตัว</p> ปรางชมพู บุญชม , สุทธิพงษ์ ศรีวิชัย , พระมหาญาณวัฒน์ ฐิตวฑฺฒโน Copyright (c) 2024 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/275391 Thu, 29 Aug 2024 00:00:00 +0700 การบริหารจัดการวัดของเจ้าอาวาสในเขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลเขาชะงุ้ม อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/277947 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการบริหารจัดการวัดของเจ้าอาวาสในเขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลเขาชะงุ้ม อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี 2) เปรียบเทียบการบริหารจัดการวัดของเจ้าอาวาส โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) ศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะต่อการบริหารจัดการวัดของเจ้าอาวาส มีระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยในส่วนของการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือเก็บข้อมูลภาคสนามจากประชาชนกลุ่มตัวอย่างในตำบลเขาชะงุ้ม อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี จำนวน 384 คน วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้โดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที ค่าเอฟ วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และในส่วนของการวิจัยเชิงคุณภาพมีการวิเคราะห์เอกสาร และใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลภาคสนามจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 รูป/คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารจัดการวัดของเจ้าอาวาสในเขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลเขาชะงุ้ม อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรีโดยภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านเป็นธุระในการศึกษาอบรมและสั่งสอนพระธรรมวินัยแก่บรรพชิตและคฤหัสถ์ อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ ด้านปกครองและสอดส่องให้บรรพชิตและคฤหัสถ์ที่มีที่อยู่หรือพำนักอาศัยอยู่ในวัดนั้นปฏิบัติตามพระธรรมวินัย กฎมหาเถรสมาคม ข้อบังคับ ระเบียบหรือคำสั่งของมหาเถรสมาคม อยู่ในระดับปานกลาง 2) ผลการเปรียบเทียบการบริหารจัดการวัดของเจ้าอาวาส โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลของประชาชน ได้แก่ เพศ มีผลให้ความคิดเห็นที่มีต่อการบริหารจัดการวัดของเจ้าอาวาส โดยภาพรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และปัจจัยส่วนบุคคลของประชาชน ได้แก่ อาชีพ มีผลให้ความคิดเห็นที่มีต่อการบริหารจัดการวัดของเจ้าอาวาส โดยภาพรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนปัจจัยส่วนบุคคลของประชาชน ได้แก่ อายุ การศึกษา และรายได้ มีผลให้ความคิดเห็นที่มีต่อการบริหารจัดการวัดของเจ้าอาวาส โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน 3) ปัญหาอุปสรรค พบว่า สภาพสังคมเศรษฐกิจไม่ดีส่งผลให้การก่อสร้างบูรณปฏิสังขรณ์เสนาสนะของวัดไม่ก้าวหน้า คฤหัสถ์ที่อาศัยอยู่ในวัดบางวัดนำปัญหาทางสังคมและยาเสพติดมาแพร่หลายในวัด และวัดยังขาดบุคลากรในการส่งเสริมการศึกษาแก่พระภิกษุสามเณร พร้อมยังขาดการดูแลรักษาเสนาสนะให้พร้อมใช้ ส่วนข้อเสนอแนะควรกำหนดแผนการก่อสร้างหรือบูรณปฏิสังขรณ์อาคารเสนาสนะตามความที่เหมาะสมควรประสานเจ้าหน้าที่รัฐ และเพิ่มความเข้มงวดเป็นพิเศษเกี่ยวกับการดูแลความประพฤติของคฤหัสถ์ที่อาศัยอยู่ในวัดควรส่งเสริมสนับสนุนด้านบุคลากรด้านการศึกษาทั้งพระภิกษุและสามเณรควรส่งเสริมการดูเสนาสนะตามหลักการของ “วัด 5ส.”</p> พระครูภาวนาคุณาธาร (สุชิน คุณธโร) , พระราชสมุทรวชิรโสภณ , พระครูวิสุทธานันทคุณ Copyright (c) 2024 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/277947 Thu, 29 Aug 2024 00:00:00 +0700 แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาสารเสพติดตามหลักมิตรแท้ 4 ในสถานศึกษาสหวิทยาเขตวิลาดอุดมไทรอินราชา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/279674 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการป้องกันและแก้ไขปัญหาสารเสพติดในสถานศึกษา 2) เพื่อศึกษาวิธีการป้องกันและแก้ไขปัญหาสารเสพติดตามหลักมิตรแท้ 4 และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาสารเสพติดตามหลักมิตรแท้ 4 เป็นการวิจัยแบบผสานวิธีโดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริหารและครู จำนวน 159 คน ใช้สถิติวิเคราะห์ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 6 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการป้องกันและแก้ไขปัญหาสารเสพติดในสถานศึกษาสหวิทยาเขตวิลาดอุดมไทรอินราชา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกเป็นรายด้านมีสภาพการปฏิบัติอยู่ในระดับมากทั้ง 5 ด้าน 2) วิธีการป้องกันและแก้ไขปัญหาสารเสพติดตามหลักมิตรแท้ 4 เป็นการประยุกต์หลักการป้องกันตามมาตรการ คือ มาตรการป้องกัน มาตรการค้นหา มาตรการรักษา มาตรการเฝ้าระวัง มาตรการบริหารจัดการ เพื่อบูรณาการกับหลักมิตรแท้ 4 ประกอบด้วยมิตรมีอุปการะ มิตรร่วมทุกข์ร่วมสุข มิตรแนะนำประโยชน์ และมิตรมีความรักใคร่ และ 3) แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาสารเสพติดตามหลักมิตรแท้ 4 ประกอบด้วย (1) จัดตั้งเครือข่ายทางการศึกษาเพื่อเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันยาเสพติด ประสานงานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับปัญหายาเสพติดในโรงเรียน (2) มาตรการค้นหา ประเมินสถานการณ์ด้านการแพร่ระบาดของยาเสพติดทั้งในและนอกสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง (3) มาตรการรักษา นำนักเรียนกลุ่มติดยาเสพติดเข้าสู่การบำบัดตามความสมัครใจ และให้กำลังใจกับผู้ที่เคยใช้สารเสพติด (4) จัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการส่งเสริมการเรียนรู้ให้ผู้เรียนปลอดยาเสพติด เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้คุณโทษของยาเสพติด (5) มีการวางแผนการป้องกันยาเสพติดไว้ในกิจกรรมของโรงเรียน และการเรียนการสอนทุกรายวิชา</p> บุญสิตา รอดม่วง , สุทธิพงษ์ ศรีวิชัย , พระครูภัทรธรรมคุณ Copyright (c) 2024 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/279674 Thu, 29 Aug 2024 00:00:00 +0700 รูปแบบการป้องกันอาชญากรรมเกี่ยวกับทรัพย์ของนักท่องเที่ยวในเขตพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/274137 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาการเกิดอาชญากรรมเกี่ยวกับทรัพย์ของนักท่องเที่ยวในเขตพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา และ 2) ศึกษารูปแบบในการป้องกันอาชญากรรมเกี่ยวกับทรัพย์ของนักท่องเที่ยวในเขตพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา มีวิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสมผสาน โดยการวิจัยเชิงคุณภาพ มีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 16 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักท่องเที่ยวในเขตพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา จำนวน 400 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความคิดเห็นต่อรูปแบบในการป้องกันอาชญากรรมเกี่ยวกับทรัพย์ของนักท่องเที่ยวในเขตพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ที่มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.98 และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) อาชญากรรมเกี่ยวกับทรัพย์ของนักท่องเที่ยวในเขตพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ได้แก่ การวิ่งราวทรัพย์ การลักทรัพย์ลักษณะเก็บของได้ไม่ส่งคืนเจ้าของ การลักทรัพย์ในที่พัก การชิงทรัพย์ การลักทรัพย์ลักษณะล้วงกระเป๋า และการลวงขายสินค้า ด้านสาเหตุที่ทำให้นักท่องเที่ยวตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมเกี่ยวกับทรัพย์ ได้แก่ นักท่องเที่ยวไปในสถานที่เสี่ยง นักท่องเที่ยวไม่ระมัดระวังทรัพย์สินของตน สถานที่ท่องเที่ยวไม่มีกล้องวงจรปิด นักท่องเที่ยวเดินทางในเวลากลางคืน มีนักท่องเที่ยวรวมตัวกันเป็นจำนวนมาก จึงเป็นเป้าหมายของมิจฉาชีพ และสภาพเศรษฐกิจใม่ดีทำให้คนตัดสินใจก่อเหตุ ด้านสภาพแวดล้อมที่เป็นสาเหตุทําให้นักท่องเที่ยวตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมเกี่ยวกับทรัพย์ ได้แก่ สถานที่ที่มีมุมอับสายตา สถานที่เปลี่ยว ห่างไกลผู้คน สถานที่ที่ไม่มีแสงสว่างตอนกลางคืน ไม่มีกล้องวงจรปิด มีต้นไม้ขึ้นรก และสถานที่กว้างใหญ่ทำให้เจ้าหน้าที่ดูแลไม่ทั่วถึง ด้านการบังคับใช้กฎหมายสําหรับการป้องกันอาชญากรรมเกี่ยวกับทรัพย์ ได้แก่ โทษของอาชญากรรมเกี่ยวกับทรัพย์ไม่มากพอที่จะทำให้ผู้ก่อเหตุกลัว ด้านการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ภาครัฐในการป้องกันอาชญากรรมที่เกี่ยวกับทรัพย์ ได้แก่ เจ้าหน้าที่น้อยแต่มีพื้นที่รับผิดชอบเยอะทำให้การดูแลไม่ทั่วถึง การประสานงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ดีพอ ยังไม่มีการร่วมมือกันแบบบูรณาการ เจ้าหน้าที่ไม่เข้มงวด เจ้าหน้าที่ทำงานแบบตั้งรับ ไม่ทำงานเชิงรุก และเจ้าหน้าที่ไม่สามารถเข้าระงับเหตุได้ทันมีความล่าช้าในการปฏิบัติงาน และ 2) รูปแบบในการป้องกันอาชญากรรมเกี่ยวกับทรัพย์ของนักท่องเที่ยวในเขตพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ (1) การบังคับใช้กฎหมาย (2) การจัดการสภาพแวดล้อม (3) การสื่อสารให้ความรู้ (4) ชุมชนสัมพันธ์ และ (5) การมีส่วนร่วมระหว่างหน่วยงาน</p> ณัฐวุฒิ ชัยรัตน์ , ปัณณธร หอมบุญมา Copyright (c) 2024 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/274137 แนวทางการพัฒนาการประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามหลักอิทธิบาท 4 ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/277856 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของสถานศึกษา 2) เพื่อศึกษาวิธีการพัฒนาการประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามหลักอิทธิบาท 4 และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาการประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามหลักอิทธิบาท 4 ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามครูโรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 123 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิจัยเชิงคุณภาพสัมภาษณ์ผู้บริหาร จำนวน 5 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านการควบคุมคุณภาพ ด้านการตรวจสอบ และด้านการประเมินคุณภาพ ตามลำดับ 2) วิธีการพัฒนาการประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามหลักอิทธิบาท 4 ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 ได้แก่ ผู้บริหารต้องสร้างความรู้และทัศนคติที่ดีต่อการทำงาน กำหนดนโยบายร่วมกันมีมาตรการส่งเสริมพัฒนาคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาที่กำหนดไว้ แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอ ใช้วิธีการตรวจสอบที่สร้างสรรค์และเป็นกัลยาณมิตรที่ดี 3) แนวทางการพัฒนาการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาตามหลักอิทธิบาท 4 ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เขต 1 ประกอบด้วยผู้บริหารและครูรักในงานประกัน ปฏิบัติงานด้วยความสมัครใจ มีความรับผิดชอบและมุ่งหวังผลสำเร็จของงาน ทำงานด้วยความสุข ร่วมกันพิจารณาแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นเพื่อให้งานสำเร็จลุล่วงตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพทำให้สถานศึกษาเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน และทำให้องค์กรมีประสิทธิภาพ</p> กาญจนะ พุดซ้อน , พระสุรชัย สุรชโย , บุญเชิด ชำนิศาสตร์ Copyright (c) 2024 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/277856 Thu, 29 Aug 2024 00:00:00 +0700 การบริหารสถานศึกษาตามหลักพละ 4 ของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพที่ 6 จังหวัดปทุมธานี https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/278949 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นในการบริหารสถานศึกษา 2) เพื่อศึกษาวิธีการบริหารสถานศึกษาตามหลักพละ 4 ของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพที่ 6 จังหวัดปทุมธานี และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการบริหารสถานศึกษาตามหลักพละ 4 เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 175 คน สถิติที่ใช้คือค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าความต้องการจำเป็น และการวิจัยเชิงคุณภาพใช้แบบสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 5 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการจำเป็นในการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพที่ 6 จังหวัดปทุมธานี พบว่า ลำดับที่ 1 คือ บริหารงานบุคคล และอันดับที่ 2 มี 3 ด้าน คือ บริหารงานวิชาการ บริหารงานงบประมาณ และบริหารงานทั่วไป 2) วิธีการบริหารสถานศึกษาตามหลักพละ 4 เป็นการบูรณาการการบริหารสถานศึกษา 4 ด้านกับหลักพละ 4ประกอบด้วย (1) การบริหารงานวิชาการ ผู้บริหารส่งเสริมการปฏิบัติหน้าที่ของผู้สอนด้วยความเสียสละ (กำลังการสงเคราะห์) ความเอาใจใส่ต้องการความสำเร็จของงานโดยไม่ท้อถอย (กำลังความเพียร) (2) การบริหารงานงบประมาณ ผู้บริหารมีความรู้ในเรื่องการจัดทำแผนที่ตอบสนองนโยบายและวัตถุประสงค์ของสถานศึกษา (กำลังความรู้) มีความเพียรพยายามในการทำงานให้ประสบความสำเร็จ (กำลังความเพียร) ปฏิบัติหน้าที่การงานด้วยความเป็นสุจริต (กำลังความสุจริต) รับฟังความคิดเห็นของผู้ร่วมงานด้วยความช่วยเหลือกัน (สังคหพละ กำลังการสงเคราะห์) (3) การบริหารงานบุคคล ผู้บริหารส่งเสริมการเรียนรู้ของบุคลากร (กำลังความรู้) ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค (กำลังความเพียร) ส่งเสริมบุคลากรให้ความช่วยเหลือและสร้างขวัญกำลังใจในการทำงาน (กำลังการสงเคราะห์) (4) การบริหารงานทั่วไป ผู้บริหารให้ความช่วยเหลือครูและบุคลากรทางการศึกษา (กำลังสงเคราะห์) พัฒนาโรงเรียนตามกฎระเบียบมีหลักฐาน (กำลังความสุจริต) และ 3) แนวทางการบริหารสถานศึกษาตามหลักพละ 4 ประกอบด้วย (1) ส่งเสริมการปฏิบัติหน้าที่ของผู้สอนด้วยความเสียสละ เห็นประโยชน์ของผู้เรียนเป็นสำคัญ ปฏิบัติหน้าที่การงานด้วยความรักความเอาใจใส่ต้องการความสำเร็จของงานโดยไม่ท้อถอย เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการศึกษา (2) จัดทำแผนให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ที่ตอบสนองนโยบายและวัตถุประสงค์ของสถานศึกษา เพียรพยายามในการทำงานของตนเองให้ประสบความสำเร็จ ปฏิบัติหน้าที่การงานด้วยความเป็นสุจริต ยึดระเบียบ มีความซื่อสัตย์ ประพฤติดีประพฤติชอบด้วยด้วยการกระทำมีความเป็นธรรม (3) ส่งเสริมการเรียนรู้ของบุคลากรเพื่อให้บุคลากรได้พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง พัฒนาตนเองอยู่เสมอ ส่งเสริมให้บุคลากรมีประสิทธิภาพในการทำงาน ให้ความช่วยเหลือในการทำงาน ยกย่องชื่นชม และสร้างขวัญกำลังใจในการทำงาน (4) ส่งเสริมให้ความช่วยเหลือในการรับฟังความคิดเห็นของครูและบุคลากรทางการศึกษา ระดมทรัพยากรในการพัฒนาโรงเรียนต้องเป็นไปตามกฎและระเบียบมีหลักฐาน สรุปองค์ความรู้การวิจัยคือ ETPR Model</p> มณฐกานต์ ทองนวล , พระครูภัทรธรรมคุณ , พีรวัฒน์ ชัยสุข Copyright (c) 2024 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/278949 Thu, 29 Aug 2024 00:00:00 +0700 การจัดกิจกรรมแนะแนวที่บูรณาการหลักอานาปานสติเพื่อส่งเสริมการจัดการความเครียดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดสระเกศ กรุงเทพมหานคร https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/272242 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาวะความเครียดของนักเรียนโรงเรียนวัดสระเกศ กรุงเทพมหานคร 2) พัฒนากิจกรรมการแนะแนวโดยใช้หลักอานาปานสติสำหรับนักเรียนโรงเรียนวัดสระเกศ กรุงเทพมหานคร และ 3) ศึกษาผลการใช้กิจกรรมการแนะแนวโดยใช้หลักอานาปานสติสำหรับนักเรียนโรงเรียนวัดสระเกศ กรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามและชุดกิจกรรมกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักเรียน จำนวน 13 คน เลือกแบบเจาะจง และการใช้แบบประเมินคุณภาพของแผนกิจกรรมแนะแนวที่บูรณาการหลักอานาปานสติกับผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 คน เลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาวะความเครียดของนักเรียนโรงเรียนวัดสระเกศ กรุงเทพมหานคร อยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงลำดับ คือ ด้านการสร้างแรงจูงใจกับตนเอง ด้านการจัดการกับอารมณ์ของตนเอง ด้านการรู้สึกและเข้าใจผู้อื่น ด้านการตระหนักรู้ในตนเอง และด้านการมีทักษะทางสังคม ตามลำดับ 2) การพัฒนากิจกรรมการแนะแนวโดยใช้หลักอานาปานสติสำหรับนักเรียนโรงเรียนวัดสระเกศ กรุงเทพมหานคร อยู่ในระดับเหมาะสมมาก คือ ด้านการจัดกิจกรรมแนะแนว ด้านสื่อประกอบการจัดกิจกรรมแนะแนว และด้านประโยชน์ที่ได้รับจากการจัดกิจกรรมแนะแนว 3) ผลการใช้กิจกรรมการแนะแนวโดยใช้หลักอานาปานสติสำหรับนักเรียนโรงเรียนวัดสระเกศ กรุงเทพมหานครหลังจัดกิจกรรมแนะแนวที่บูรณาการหลักอานาปานสติ นักเรียนมีความเครียดลดลง มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน</p> พระมหาประสิทธิ์ สิทฺธิญาโณ (เวชประมูล), พระปลัดสรวิชญ์ อภิปญฺโญ , พระมหาสมบูรณ์ สุธมฺโม , พรทิพย์ วรรณวิโรจน์ , ทัศนีย์ มงคลรัตน์ Copyright (c) 2024 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/272242 การจัดการงานศาสนศึกษาแผนกธรรมของคณะสงฆ์อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/277949 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการจัดการงานศาสนศึกษาแผนกธรรมของคณะสงฆ์อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี 2) เปรียบเทียบระดับปฏิบัติการที่มีต่อการจัดการงานศาสนศึกษาแผนกธรรม โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) ศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะต่อการจัดการงานศาสนศึกษาแผนกธรรม มีระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยในส่วนของการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือเก็บข้อมูลภาคสนามจากพระสงฆ์กลุ่มตัวอย่างในอำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี จำนวน 277 รูป วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้โดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที ค่าเอฟ วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และในส่วนของการวิจัยเชิงคุณภาพมีการวิเคราะห์เอกสาร และใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลภาคสนามจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 รูป/คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดการงานศาสนศึกษาแผนกธรรมของคณะสงฆ์เมือง จังหวัดราชบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านสถานที่และสิ่งแว้ดล้อม ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ ด้านสื่อการเรียนการสอน 2) ผลการเปรียบเทียบการจัดการงานศาสนศึกษาแผนกธรรมของคณะสงฆ์เมือง จังหวัดราชบุรี โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า สถานภาพ มีผลให้ความคิดเห็นที่มีต่อการจัดการงานศาสนศึกษาแผนกธรรมของคณะสงฆ์อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วนปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ และพรรษา มีผลให้ความคิดเห็นที่มีต่อการจัดการงานศาสนศึกษาแผนกธรรมของคณะสงฆ์อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และปัจจัยส่วนบุคคลของพระภิกษุ วุฒิการศึกษาสามัญ และด้านวุฒิการศึกษาพระปริยัติธรรม มีผลให้ความคิดเห็นที่มีต่อการจัดการงานศาสนศึกษาแผนกธรรมของคณะสงฆ์อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี ไม่แตกต่างกัน 3) ปัญหา อุปสรรค พบว่า ครูสอนพระปริยัติธรรมบางรูปบางสำนักยังขาดการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยบางสำนักเรียนขาดแคลนสื่อการสอนทันสมัย เช่น คอมพิวเตอร์ โปรเจคเตอร์ เป็นต้น บางสำนักเรียนยังขาดการวัดผลและประเมินผลด้วยแบบทดสอบระหว่างเรียนหรือหลังจบบทเรียน และบางสำนักเรียนขาดแคลนงบประมาณสำหรับจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์การศึกษาให้เพียงพอต่อจำนวนผู้เรียน ส่วนข้อเสนอแนะ พบว่า คณะสงฆ์ควรจัดการนิเทศอบรมเทคนิคการสอนแก่ครูสอนพระปริยัติธรรม โดยมุ่งให้ความสำคัญของผู้เรียนเป็นหลัก ทุกสำนักเรียนควรสนับสนุนปรับใช้สื่อการสอนที่ทันสมัยเพื่อสร้างความสนใจของผู้เรียน สำนักเรียนควรส่งเสริมให้มีการทำแบบทดสอบก่อนเรียน-ระหว่างเรียน-หลังจบบทเรียน และคณะสงฆ์ควรสนับสนุนงบประมาณสำหรับจัดซื้อวัสดุหรืออุปกรณ์การศึกษาตามจำนวนผู้เรียนอย่างเพียงพอ</p> พระครูวินัยธรพิชิตศักดิ์ สุทฺธิจาโค (สระเกษ) , พระครูวาทีวรวัฒน์ , พระมหากังวาล ธีรธมฺโม Copyright (c) 2024 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/277949 Thu, 29 Aug 2024 00:00:00 +0700 แนวทางการเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยา https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/270807 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์การเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยา 2) นำเสนอแนวทางการเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เป็นการวิจัยเชิงผสานวิธี วิธีดำเนินการแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์การเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในศตวรรษที่ 21 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ครู จำนวน 307 คน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยา ปีการศึกษา 2565 ซึ่งกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยการใช้สูตรของทาโร ยามาเน และใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ แบ่งชั้นตาม 16 อำเภอของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ 2) นำเสนอแนวทางการเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยา โดยผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 7 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น ผลการวิจัยพบว่า 1) ครูมีความคิดเห็นต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานในภาพรวมต่อสภาพปัจจุบันอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์อยู่ในระดับมากที่สุด 2) แนวทางการเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในศตวรรษที่ 21 องค์ประกอบที่มีความต้องการจำเป็นมากที่สุด คือ วิธีการปกครองผู้บังคับบัญชาในด้านการเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ครูในการปฏิบัติตนและปฏิบัติงาน ซึ่งผู้วิจัยได้แนวทางจากการสัมภาษณ์ ดังนี้ ผู้บริหารควรมีหลักเกณฑ์ที่เหมาะสม สอดคล้องกับจรรยาบรรณ คุณธรรม จริยธรรม วางท่าที่ วาจา การแต่งกายให้ถูกต้องเหมาะสม มีความสามารถในการแก้ปัญหา มีความรับผิดชอบในการทำงานและพัฒนางานของตนเองอย่างต่อเนื่อง ดูแลเอาใจใส่สนับสนุนการปฏิบัติงานของครู การจัดอบรมพัฒนาครูในการปฏิบัติและปฏิบัติงาน เน้นให้ครูรู้หน้าที่และความรับผิดชอบ เป็นผู้นำในการใช้เทคโนโลยีต่างๆ ในการบริหารจัดการทั้งด้านการปฏิบัติงานและการปฏิบัติตน</p> ชนพล รุจิขวัญ, วีรภัทร ภัทรกุล Copyright (c) 2024 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/270807 แนวทางการพัฒนาภาพลักษณ์ตามหลักสามัคคีธรรมของโรงเรียนกลุ่มบ้านชัยพัฒนา อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/279706 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นการพัฒนาภาพลักษณ์ของโรงเรียนกลุ่มบ้านชัยพัฒนา อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2) เพื่อศึกษาวิธีการพัฒนาภาพลักษณ์ตามหลักสามัคคีธรรมของโรงเรียนกลุ่มบ้านชัยพัฒนา อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาภาพลักษณ์ตามหลักสามัคคีธรรมของโรงเรียนกลุ่มบ้านชัยพัฒนา อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามผู้บริหารและครู จำนวน 175 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น และการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการพัฒนาภาพลักษณ์ พบว่า สภาพปัจจุบันโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง สภาพพึงประสงค์โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด และความต้องการจำเป็นจากเรียงลำดับค่า PNI<sub>modified </sub>จากมากไปหาน้อย คือ อันดับที่ 1 ลักษณะของโรงเรียน รองลงมา ได้แก่ ค่านิยมและจรรยาบรรณของโรงเรียน ชื่อเสียงของโรงเรียน อัตลักษณ์ของโรงเรียน ตามลำดับ 2) วิธีการพัฒนาภาพลักษณ์ตามหลักสามัคคีธรรมของโรงเรียนกลุ่มบ้านชัยพัฒนา อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พบว่า ด้านลักษณะของโรงเรียน โรงเรียนมีการจัดสรรอาคารสถานที่ในการจัดการเรียนการสอนที่เพียงพอ และมีความปลอดภัย จัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนและท้องถิ่น มีอาคารเอนกประสงค์ ห้องสมุด ห้องคอมพิวเตอร์และสื่อการสอนที่ทันสมัย เก็บค่าธรรมเนียมการศึกษาโดยมีความเหมาะสมกับสภาวการณ์ปัจจุบัน ด้านค่านิยมและจรรยาบรรณของโรงเรียน ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษาวางตัวเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับนักเรียน มีภาวะผู้นำ ใจกว้าง รับฟังความคิดเห็นของผู้ปกครองและชุมชน ด้านชื่อเสียงของโรงเรียน นักเรียนที่สำเร็จการศึกษาเป็นนักเรียนที่มีคุณภาพ ได้รับการยอมรับจากสังคม มีความกล้าแสดงออก มีความประพฤติดี ได้รับการชื่นชมจากผู้ปกครอง ด้านอัตลักษณ์ของโรงเรียน เครื่องแบบนักเรียนมีความสุภาพเรียบร้อย มีรูปแบบสวยงามสะดุดตา และ 3) แนวทางการพัฒนาภาพลักษณ์ตามหลักสามัคคีธรรมของโรงเรียนกลุ่มบ้านชัยพัฒนา อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประกอบด้วย (1) ด้านลักษณะของโรงเรียน ใช้หลักการที่ทุกคนคิด พูด ทำ ด้วยความเมตตามุ่งดีมุ่งเจริญต่อกัน ผู้บริหารและครูพูดคุยและแบ่งปันความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาโรงเรียน สร้างพื้นที่สำหรับการเสนอแนวทางและความคิดที่สามารถนำเข้ามาในการบริหารจัดการ (2) ด้านค่านิยมและจรรยาบรรณของโรงเรียน ประสานเครือข่ายทางการศึกษาทั้งภาครัฐ เอกชน และผู้ปกครองในการการส่งเสริมทักษะทางจริยธรรมและพฤติกรรม ผู้บริหาร ครู นักเรียนประพฤติปฏิบัติตนอยู่ในความสุจริต ในกฎกติกาและในระเบียบแบบแผนโดยเท่าเทียมเสมอกัน (3) ด้านชื่อเสียงของโรงเรียน ปลูกฝังให้ที่แต่ละคนต่างช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ประสานงาน ประสานประโยชน์กันให้งานที่ทำสำเร็จผล สร้างเครือข่ายเพื่อประสานงานร่วมกันในการช่วยเหลือโรงเรียน เช่น ไลน์กลุ่ม เฟสกลุ่ม เพื่อส่งเสริมกิจการของโรงเรียน (4) ด้านอัตลักษณ์ของโรงเรียน ผู้บริหาร ครู และผู้ปกครองควรร่วมมือกันเพื่อสร้างความตระหนักในชุมชนเกี่ยวกับความสำคัญของมารยาทและพฤติกรรมที่เรียบร้อยแก่เด็ก ใช้สื่อออนไลน์ประชาสัมพันธ์ผ่านเว็ปไซต์ของโรงเรียน เพจ facebook line สื่อสังคมออนไลน์เกี่ยวกับการแต่งกายหรือเครื่องแบบของโรงเรียน</p> สมชัย มังคละ , สุทธิพงษ์ ศรีวิชัย , ยุทธวีร์ แก้วทองใหญ่ Copyright (c) 2024 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/279706 Thu, 29 Aug 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาการปกครองคณะสงฆ์อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/277868 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการพัฒนาการปกครองคณะสงฆ์อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี 2) เปรียบเทียบระดับการปฏิบัติที่มีต่อการพัฒนาการปกครองคณะสงฆ์ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) ศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะต่อการพัฒนาการปกครองคณะสงฆ์ เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยในส่วนของการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือเก็บข้อมูลภาคสนามจากพระสงฆ์กลุ่มตัวอย่างในอำเภอโพธาราม จังหวัดเพชรบุรี จำนวน 257 รูป วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้โดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที ค่าเอฟ วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และในส่วนของการวิจัยเชิงคุณภาพมีการวิเคราะห์เอกสาร และใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลภาคสนามจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 รูปหรือคน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาการปกครองคณะสงฆ์อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลางและอยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านประสิทธิภาพอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ ด้านการปรับตัวอยู่ในระดับปานกลาง 2) ผลการเปรียบเทียบระดับการปฏิบัติที่มีต่อการพัฒนาการปกครองคณะสงฆ์อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า สถานภาพ อายุ พรรษา และวุฒิการศึกษาสามัญ มีผลให้ความคิดเห็นที่มีต่อการพัฒนาการปกครองคณะสงฆ์อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี โดยภาพรวม แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 0.05 จึงยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้ ส่วนวุฒิการศึกษานักธรรม มีผลให้ความคิดเห็นที่มีต่อการพัฒนาการปกครองคณะสงฆ์อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี โดยภาพรวม ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ 3) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ พบว่า ปัญหา อุปสรรค ได้แก่ คณะสงฆ์ในอำเภอโพธารามยังขาดการวิเคราะห์และแนวทางแก้ไขปัญหาทางสังคมเศรษฐกิจในสถานการณ์ปัจจุบันอันเป็นอุปสรรคในการพัฒนาการปกครองของคณะสงฆ์ในปัจจุบัน และคณะสงฆ์อำเภอโพธารามยังมีสำนักสงฆ์ที่จัดตั้งขึ้นใหม่ ยังมีปัญหาทั้งด้านสถานที่ ด้านบุคลากร และขัดแย้งกับระบบกฎหมายของคณะสงฆ์กับฝ่ายบ้านเมือง ส่วนข้อเสนอแนะ ได้แก่ คณะสงฆ์ในอำเภอโพธารามควรมีแผนงานการวิเคราะห์วางระบบระเบียบแนวทางป้องกันปัญหาทางสังคมเศรษฐกิจในสถานการณ์ปัจจุบันเพื่อพัฒนาคณะสงฆ์ และควรส่งเสริมทักษะและส่งเสริมองค์ความรู้ให้บุคลากรของคณะสงฆ์เพื่อให้มีความพร้อมในการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ตลอดจนคณะสงฆ์อำเภอโพธารามควรเร่งสำนักสงฆ์ยกขึ้นเป็นวัดให้ถูกต้องทั้งทางฝ่ายคณะสงฆ์และฝ่ายบ้านเมือง พร้อมพัฒนาทั้งด้านสถานที่ ด้านบุคลากร เพื่อรองรับการพัฒนางานบริหารจัดการกิจการของคณะสงฆ์อำเภอโพธาราม</p> พระครูพัฒนวิหารธรรม (สวัสดิ์ ปวฑฺฒโน) , พระครูวิสุทธานันทคุณ , พระราชสมุทรวชิรโสภณ Copyright (c) 2024 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/277868 Thu, 29 Aug 2024 00:00:00 +0700