https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/issue/feed วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ 2023-12-25T22:48:54+07:00 พระครูปลัดสุรวุฒิ สิริวฑฺฒโก (อุกฤษโชค), ดร. [email protected] Open Journal Systems <p><strong>วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ </strong></p> <p><strong>(Journal of Bovorn Multi-Education and Human Social Sciences : JOB_EHS )</strong></p> <div id="content"> <div id="journalDescription"> <p class="a" align="left"><strong><span lang="TH"><span style="vertical-align: inherit;">จัดทำดัชนีใน </span><a title="ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย: ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงไทย (TCI)" href="https://www.kmutt.ac.th/jif/public_html/" target="_blank" rel="noopener"><img title="tci" src="https://www.tci-thaijo.org/public/site/images/tci_admin/tci.png" alt="tci" width="90" height="35" border="0" /></a></span></strong></p> </div> </div> <p>วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์</p> <p>(Journal of Bovorn Multi-Education and Human Social Sciences : JOB_EHS )</p> <p>ISSN 2730-3233 (Online)</p> <p>มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแหล่งเผยแพร่ผลงานวิชาการ โดยเปิดรับบทความที่เป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสตร์ ครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ ศิลปศาสตร์ สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ และสาขาวิชาสหวิทยาการอื่นๆ</p> https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/271319 การจัดการเรียนรู้เชิงรุก: การสร้างแรงบันดาลใจและเพิ่มพูนทักษะของผู้เรียนในกระบวนการเรียนการสอน 2023-08-31T20:45:52+07:00 บงกชรัตน์ ภูวันนา [email protected] บงกชกร ศุภเกษร [email protected] รณชัย ภูวันนา [email protected] <p>การเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning, AL) เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการปรับปรุงระบบการศึกษาให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและกระบวนการเรียนรู้ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน ไม่เพียงแค่เพิ่มคุณค่าให้กับกระบวนการเรียนรู้ แต่ยังช่วยส่งเสริมพลังทักษะทางทัศนคติ การแก้ไขปัญหา และความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น ผ่านการใช้เครื่องมือต่างๆ เช่น การประเมินตนเอง แผนผังแนวคิด และการประเมินโดยเพื่อนร่วมเรียน ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียนได้รับการเรียนรู้ที่มีคุณภาพและสอดคล้องกับความต้องการของสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม ยังพบว่ามีอุปสรรคและความท้าทายในกระบวนการ AL ซึ่งผู้สอนสามารถจัดการข้อจำกัดเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการวางแผนและออกแบบกิจกรรม การจัดการเวลา การเรียนรู้ของผู้เรียน การปรับตัวของผู้สอน รวมถึงการเตรียมการและทรัพยากรเพื่อให้การนำเสนอ AL เข้ากับความต้องการและสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ในสมัยที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จึงสรุปได้ว่าแนวคิดของ AL เป็นสิ่งสำคัญและมีผลสำคัญในการสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ที่มีคุณค่าและช่วยพัฒนาทักษะของผู้เรียนให้เติบโตและพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ ด้วยแนวคิดและเครื่องมือที่เสนอในบทความนี้ เราสามารถสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ที่มีคุณค่าและส่งผลให้ผู้เรียนเติบโตและพัฒนาทักษะที่จำเป็นในสังคมของอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพและความสุข</p> 2023-12-25T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/273984 ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษา 2023-12-19T18:17:49+07:00 ณัฐพล มิตรอารีย์ [email protected] พระมหาสมบัติ ธนปญฺโญ [email protected] สิน งามประโคน [email protected] <p>ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษาเป็นการรวมตัว ร่วมมือร่วมใจ และร่วมเรียนรู้ร่วมกันของครู ผู้บริหาร และนักการศึกษา บนพื้นฐานความสัมพันธ์แบบกัลยาณมิตร มีวิสัยทัศน์ คุณค่า เป้าหมาย และภารกิจร่วมกันโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง พบเอง เห็นเอง และเปลี่ยนประสบการณ์และพฤติกรรมด้วนตนเอง พิจารณาองค์ประกอบด้านความแตกต่างระหว่างบุคคลโดยมีกระบวนการจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษาด้วยขั้นตอนง่ายๆ การวางแผนด้วยความร่วมมือ การกำหนดความคาดหวังในระดับสูง เริ่มต้นจากจุดเล็กๆ ศึกษาและใช้ข้อมูล วางแผนเพื่อความสำเร็จ นำสู่สาธารณะรวมถึงฝึกฝนร่างกายและหล่อเลี้ยงสมองให้แก่ผู้เรียนพัฒนาผู้เรียนตามความรู้ความสามารถของตนเองต่อไป</p> 2023-12-25T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/270956 การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเชิงรุกในงานสาธารณสงเคราะห์ของพระครูพิศิษฎ์ประชานาถ (แดง นนฺทิโย) 2023-12-16T03:00:41+07:00 พระใบฏีกามงคล ปญฺญฺาทีโป [email protected] พระครูวิสุทธานันทคุณ [email protected] พระสมุทรวชิรโสภณ [email protected] <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปและปัญหาอุปสรรในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเชิงรุกในงานสาธารณสงเคราะห์ของคณะสงฆ์ไทย 2) เพื่อศึกษาวิธีการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเชิงรุกในงานสาธารณสงเคราะห์ของพระครูพิศิษฎ์ประชานาถ (แดง นนฺทิโย) วัดอินทาราม อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเชิงรุกในงานสาธารณสงเคราะห์ ของพระครูพิศิษฎ์ประชานาถ (แดง นนฺทิโย) วัดอินทาราม อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและจากผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 17 รูป/คน โดยสัมภาษณ์เจาะลึก เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนาความ ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพทั่วไปในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเชิงรุกในงานสาธารณสงเคราะห์ของของคณะสงฆ์ไทย เป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนกิจการในฝ่ายพุทธจักรเพื่อประสานกับฝ่ายอาณาจักร ในการร่วมมือร่วมแรงกัน พัฒนาชุมชนให้มีความเจริญ ได้ให้การช่วยเหลือเกื้อกูลด้วยความตั้งใจและให้เกิดความเป็นธรรมเป็นประโยชน์ ที่เกิดแก่ชุมชนต้องมีความรอบรู้ และรอบคอบในการช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่น เพื่อสาธารณประโยชน์ให้เกิดในวงกว้าง มีช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนในหมู่บ้าน หรือสังคมตามความสามารถ การประสานความช่วยเหลือให้ความสะดวกหรือการบริการประชาชน แก้ไขข้อขัดข้องความเดือดร้อน ที่เมื่อคราวที่ประชาชนหรือชุมชนได้รับความลำบากและต้องการความช่วยเหลือ 2) แนวทางการพัฒนาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเชิงรุกในงานสาธารณสงเคราะห์ของพระครูพิศิษฎ์ประชานาถ (แดง นนฺทิโย) วัดอินทาราม อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ประสานความร่วมมือในทุกภาคส่วนของสังคม และต้องประมวลข้อปัญหาและอุปสรรค เพื่อที่จะได้สังเคราะห์ปัญหาที่มีอยู่ตกผลึกความคิด วางกรอบแนวทางการพัฒนา และต้องมีความต่อเนื่องในการพัฒนา มีระบบของการวางแผนงานที่ดี โดยวางแผนเรื่องการจัดการแผนทุกหน้าที่ให้เกิดความสมดุลตามวัตถุประสงค์ หรือเป้าหมายที่วางไว้ มีการวางแผนที่มีความร่วมมือและการร่วมใจของคนในชุมชน ในแนวทางและแนวความคิดและการปฏิบัติที่ต้องสอดคล้องไปในแนวทางเดียวกัน เป็นแกนหลักในการประสานความสามัคคีของคนในชุมชน และหน่วยงานหรือองค์กรที่เกี่ยวข้อง มีความรู้และความเข้าใจในบริบทต่างๆ ของชุมชนและประชาชนทั่วไป เป็นการกำหนดแผนการพัฒนาให้ สอดคล้องกับความเป็นจริงได้อย่างตรงจุดตรงประเด็น 3) แนวทางการพัฒนาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเชิงรุกในงานสาธารณสงเคราะห์ของ พระครูพิศิษฎ์ประชานารถ (แดง นนฺทิโย) วัดอินทาราม อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ประสานความร่วมมือในทุกภาคส่วนของสังคม และต้องประมวลข้อปัญหาและอุปสรรค เพื่อที่จะได้ สังเคราะห์ปัญหาที่มีอยู่ตกผลึกความคิด วางกรอบแนวทางการพัฒนา และต้องมีความต่อเนื่องใน การพัฒนา มีระบบของการวางแผนงานที่ดี โดยวางแผนเรื่องการจัดการแผนทุกหน้าที่ให้เกิดความ สมดุลตามวัตถุประสงค์ หรือเป้าหมายที่วางไว้ มีการวางแผนที่มีความร่วมมือและการร่วมใจของคน ในชุมชน ในแนวทางและแนวความคิดและการปฏิบัติที่ต้องสอดคล้องไปในแนวทางเดียวกัน เป็น แกนหลักในการประสานความสามัคคีของคนในชุมชน และหน่วยงานหรือองค์กรที่เกี่ยวข้อง มี ความรู้และ ความเข้าใจในบริบทต่างๆ ของชุมชนและประชาชนทั่วไป เป็นการกำหนดแผนการ พัฒนาให้ สอดคล้องกับความเป็นจริงได้อย่างตรงจุดตรงประเด็น</p> 2023-12-25T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/269870 แนวทางการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเองของนิสิตระดับปริญญาตรีในยุคดิจิทัล มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 2023-06-28T20:23:24+07:00 ณัฐวัตร เรืองวิทยาวงศ์ [email protected] สุทธิพงษ์ ศรีวิชัย [email protected] สิน งามประโคน [email protected] <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง 2) เพื่อศึกษาวิธีการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง 3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเองของนิสิตระดับปริญญาตรีในยุคดิจิทัล มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี คือ การวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนิสิตระดับปริญญาตรี 382 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิจัยเชิงคุณภาพใช้แบบสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 6 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก รายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน คือ ด้านตัวผู้สอน ด้านวิธีการจัดการการเรียนรู้ ด้านบทเรียน ด้านสภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้ และด้านตัวผู้เรียน ตามลำดับ 2) วิธีการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง คือ ผู้เรียนเป็นคนบริหารจัดการด้วยตัวเอง จัดทำสมุดบันทึกส่วนตัวเพื่อใช้บันทึกข้อมูล กำหนดโครงการเรียนรู้รายบุคคล กำหนดวิธีการรายงาน/บันทึกการสะท้อนการเรียนรู้ของตนเอง จัดสิ่งแวดล้อมทางกายภาพในมหาวิทยาลัยให้เหมาะสม 3) แนวทางการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเองของนิสิตระดับปริญญาตรีในยุคดิจิทัล มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย คือ ให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง มุ่งมั่น ตั้งใจจริง มีวินัย ควบคุมบริหารจัดการด้วยตัวเอง กำหนดสิ่งที่ต้องการเรียนรู้ แสวงหาแหล่งความรู้ มีวิธีการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสม มีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้และผู้สอนที่เป็นกัลยาณมิตรช่วยพัฒนาทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง ส่งเสริมอัตลักษณ์บัณฑิตมหาวิทยาลัย ศรัทธาอุทิศตนเพื่อพระพุทธศาสนาเป็นศาสนทายาทที่ดี</p> 2023-12-25T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/270627 การยอมรับผู้กระทำความผิดคดียาเสพติดกลับคืนสู่สังคม : ศึกษากรณีจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2023-12-15T02:36:22+07:00 สิทธิศักดิ์ ฉิมฉลอง [email protected] ธาตรี มหันตรัตน์ [email protected] <p>บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยและสาเหตุการยอมรับผู้กระทำความผิดคดียาเสพติดของคนในสังคม และ 2) เปรียบเทียบปัจจัยการยอมรับผู้กระทำความผิดคดียาเสพติดของคนในสังคม กลุ่มตัวอย่างคือประชาชนที่อาศัยอยู่ภายในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 400 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกตัวอย่างสุ่มแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม มีค่าค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.81 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการทดสอบที ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยการยอมรับผู้กระทำความผิดคดียาเสพติดของคนในสังคม ด้านเพศ อายุ อาชีพ การศึกษา ประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมไม่ได้มีผลต่อการยอมรับผู้กระทำความผิด มีเพียงประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดเท่านั้นที่มีผลต่อการยอมรับ สาเหตุการยอมรับผู้กระทำความผิดของกลุ่มตัวอย่าง ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ผู้กระทำความผิดคดียาเสพติด เมื่อได้รับการลงโทษจากกระบวนการยุติธรรมแล้วกลับตัวเป็นคนดีได้ รองลงมา คือ คนในสังคมไม่ควรตีตราหรือประทับตราผู้กระทำความผิดคดียาเสพติด เมื่อได้รับการลงโทษและได้รับการแก้ไขฟื้นฟูแล้ว และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ยาเสพติดเป็นสิ่งไม่ดี เป็นอันตรายต่อชีวิต คนรอบข้างและสังคม 2) เมื่อเปรียบเทียบปัจจัยการยอมรับผู้กระทำความผิดคดียาเสพติดของคนในสังคม ผู้กระทำความผิดเพศหญิง ผู้กระทำความผิดที่เป็นเด็กและเยาวชน ความผิดฐานเสพยาเสพติด ผู้กระทำความผิดครั้งแรก ผู้กระทำความผิดที่ได้รับการฟื้นฟูได้รับการยอมรับจากคนในสังคม นโยบายของรัฐหรือกฎหมายที่เปลี่ยนแปลงไป และการนำเสนอของสื่อมีอิทธิพลต่อการยอมรับผู้กระทำความผิดคดียาเสพติดของคนในสังคมแตกต่างกันอย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05</p> 2023-12-25T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/269993 ศักยภาพพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนสังกัดอำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี 2023-12-16T03:05:44+07:00 พระครูปลัดโกวิท โกวิโท [email protected] พระครูสังฆรักษ์ทรงพรรณ ชยทตฺโต [email protected] พระสมุทรวชิรโสภณ [email protected] <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับศักยภาพพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนสังกัดอำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี 2) เพื่อเปรียบเทียบศักยภาพพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนสังกัดอำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะสำหรับพัฒนาศักยภาพพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนสังกัดอำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยใช้แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณจากกลุ่มตัวอย่างนักเรียน 363 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที ค่าเอฟ วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิจัยเชิงคุณภาพมีการวิเคราะห์เอกสาร ใช้แบบสัมภาษณ์ ในการเก็บข้อมูลภาคสนามจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 9 ท่าน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับศักยภาพพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนสังกัดอำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี ในภาพรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก ทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านมนุษยสัมพันธ์ ด้านความคิดรวบยอด และด้านเทคนิควิธี 2) ผลการเปรียบเทียบศักยภาพพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนสังกัดอำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ สังกัดโรงเรียน และอาชีพผู้ปกครอง มีความคิดเห็นที่มีต่อศักยภาพพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนสังกัดอำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วนปัจจัยส่วนบุคคล คือ รายได้ผู้ปกครอง มีความคิดเห็นที่มีต่อศักยภาพพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนสังกัดอำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี โดยภาพรวม ไม่แตกต่างกัน 3) ปัญหา อุปสรรค ได้แก่ พระสอนศีลธรรมขาดเทคนิคการสอนผู้เรียน สอนแบบท่องจำและสอนแบบบรรยายมากเกินไป ขาดโต้ตอบตั้งข้อคำถามกับผู้เรียน ไม่มีการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ ขาดการประเมินการสอนและการเรียนรู้ ขาดวิธีสอนการเรียนรู้ให้ผู้เรียนเกิดทักษะในการใช้ความคิดมากกว่าจดจำ ขาดวิธีสอนในการประยุกต์หลักธรรมที่ส่งเสริมการความคิดรวบยอด ส่วนข้อเสนอแนะ ได้แก่ ควรพัฒนาพระสอนศีลธรรมเกี่ยวกับเทคนิควิธีการจัดการเรียนการสอน การประเมินผลการสอน การนิเทศการสอน การสอนเพื่อแก้ปัญหา ทักษะการคิดเป็น และการนำหลักธรรมไปประยุกต์ในการสอน</p> 2023-12-25T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/270948 การปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมของพระสงฆ์แก่ นักเรียนโรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดราชบุรี 2023-12-16T02:46:41+07:00 พระภูกิจ ภูริสีโล [email protected] พระมหากังวาล ธีรธมฺโม [email protected] พระครูวาทีวรวัฒน์ [email protected] <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมของพระสงฆ์แก่ นักเรียนโรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดราชบุรี 2) เพื่อเปรียบความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมของพระสงฆ์แก่นักเรียนโรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดราชบุรี โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม 3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมของพระสงฆ์แก่นักเรียนโรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดราชบุรี ระเบียบการวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยในส่วนของการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือเก็บข้อมูลภาคสนามจากนักเรียนมัธยมปลาย โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดราชบุรี จำนวน 216 คน วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้โดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที ค่าเอฟ วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และในส่วนของการวิจัยเชิงคุณภาพมีการวิเคราะห์เอกสาร และใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลภาคสนามจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 รูป/คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมของพระสงฆ์แก่ นักเรียนโรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดราชบุรี โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก มี่ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.41 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมของพระสงฆ์ มากทั้ง 8 ด้าน คือ (1) ความขยัน (2) ความประหยัด (3) ความซื่อสัตย์ (4) ความมีวินัย (5) ความสุภาพ (6) ความสะอาด (7) ความสามัคคี และ (8) ความมีน้ำใจ และด้านความมีน้ำใจมีค่าเฉลี่ยสูงสุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.41 ด้านความประหยัดต่ำสุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากกับ 4.08 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมของพระสงฆ์แก่นักเรียนโรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดราชบุรี โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล คือ เพศ ผลการเรียน อาชีพผู้ปกครอง และผู้ปกครองมีรายได้ มีความคิดเห็นที่มีต่อการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมของพระสงฆ์ แก่นักเรียนโรงเรียเบญจมราชูทิศ จังหวัดราชบุรี โดยภาพรวม ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย 3) ปัญหาอุปสรรคที่มีต่อการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมของพระสงฆ์แก่นักเรียน โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดราชบุรี พบว่า นักเรียนไม่มีความกระตือรือร้นในการทำกิจกรรมต่างๆ ไม่มีการวางแผนในการจับจ่ายใช้สอยสิ่งของต่างๆอย่างรู้คุณค่า นักเรียนมีการช่วยเหลือเพื่อนฝูงในทางที่ผิด เช่น การให้ลอกการบ้าน การบ้านนักเรียนบางคนไม่มีการวางแผนในการทำการบ้านและบางกลุ่มไม่ทำการบ้านมาส่งในห้องเรียน ดังนั้น จึงมีข้อเสนอแนะเพื่อการส่งเสริมการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมของพระสงฆ์แก่นักเรียน โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดราชบุรี คือ ครูพระสงฆ์แลผู้ปรกครอง ต้องมีการร่วมมือในการปลูกฝังให้นักเรียนมีพฤติกรรมความประพฤติ ให้มีคุณลักษณะทั้งแปดด้านทั้งในโรงเรียนและอยู่ที่บ้าน และพระสงฆ์ควรนำหลักธรรมมาประยุกต์ใช้ให้สามารถไปใช้ในชีวิตประจำวันได้โดยเน้นถึงความเข้าใจของนักเรียนการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมต้องให้มีความทันยุคสมัยในปัจจุบันให้เห็นคุณค่าถึงความสำคัญความจำเป็นในการใช้หลักธรรมในการดำเนินชีวิตให้สามารถอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข</p> 2023-12-25T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/270957 การมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง : กรณีศึกษาชุมชนดอนกรวย อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี 2023-12-16T02:57:58+07:00 พระใบฎีกาสนธยา ธมฺมวโร [email protected] พระครูวิสุทธานันทคุณ [email protected] พระสมุทรวชิรโสภณ [email protected] <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง : กรณีศึกษาชุมชนดอนกรวย อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง : กรณีศึกษาชุมชนดอนกรวย อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) ศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง : กรณีศึกษาชุมชนดอนกรวย อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยในส่วนของการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือเก็บข้อมูลภาคสนามจากประชาชน (อายุ 18 ปีขึ้นไป) อาศัยอยู่ในหมู่ที่ 3 บ้านชายราง ชุมชนตำบลดอนกรวย อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี จำนวน 293 คน วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้โดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และในส่วนของการวิจัยเชิงคุณภาพมีการวิเคราะห์เอกสาร และใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลภาคสนามจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 รูปหรือคน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท ผลการวิจัยพบว่า 1) การมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง : กรณีศึกษาชุมชนดอนกรวย อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.14 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านความพอประมาณอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.17 ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ ด้านเงื่อนไขคุณธรรม อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.12 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง : กรณีศึกษาชุมชนดอนกรวย อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี โดยจำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ พบว่าไม่แตกต่างกันทุกด้านซึ่งปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ 3) ปัญหาและอุปสรรคต่อการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง : กรณีศึกษาชุมชนดอนกรวย อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี พบว่า ประชาชนในชุมชนส่วนใหญ่มีรายได้น้อยไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิตมีรายจ่ายมกกว่ารายรับทำให้ต้องกู้หนี้ยืมสินมาใช้ทั้งในระบบและนอกระบบผู้นำชุมชนแต่ละคนมักมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันซึ่งทำให้งานที่เกี่ยวข้องกับส่วนร่วมของชุมชนมีการพัฒนาช้าในบางอย่างความมีเหตุผลของผู้นำชุมชนไม่เหมือนกันการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจในชุมชนซึ่งทำ ให้ความพร้อมเพียงในการพัฒนาชุมชนบางอย่างไม่รงตัวกันในการบริหารงานต่างๆ ขาดผู้เชียวชาญการให้คำแนะนำในการพัฒนาและความรู้ด้านต่างๆ ทำให้การพัฒนาไม่ดีพอ และข้อเสนอแนะต่อการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง : กรณีศึกษาชุมชนดอนกรวย อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี พบว่า ส่งเสริมอบรมให้ความรู้กับประชาชนในชุมชนให้มีการใช้จ่ายในการดำรงชีวิตภายในกรอบรายได้ของตนเอง และหลีกเลี่ยงการเสียค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันไปกับสิ่งของที่ไม่จำเป็น การพิจารณาแก้ไขบัญหาอย่างถูกวิธีและรู้จักให้อภัยซึ่งกันและกันเมื่อเกิดบัญหาเล็กน้อยภายในชุมชน ปลูกฝังให้คนในชุมชนมีการใช้จ่ายอย่างประหยัด ความชื่อสัตย์สุจริต มีความเอื้อเฟื้อเพื่อแผ่ ให้โอกาสกับผู้ที่เคยทำพลาดรณรงค์ให้คนในชุมชนเข้าวัดปฏิบัติธรรม และเปิดโอการให้คนในชุมชนได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชุมชน</p> 2023-12-25T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/271020 การมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครูภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด 19 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 2023-12-18T09:53:31+07:00 ช่อมาลัย คงศิริ [email protected] พระครูกิตติญาณวิสิฐ (ธนา กิตติญาโณ) [email protected] พระสุรชัย สุรชโย [email protected] <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการของครู 2) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครูภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด 19 และ 3) เพื่อเสนอการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครูภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด 19 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย 1) การวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามครูในโรงเรียนสังกัดโรงเรียนสังกัดสำนักงานประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 จำนวน 320 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2) การวิจัยเชิงคุณภาพ สัมภาษณ์กลุ่มผู้บริหาร ครู ผู้ปกครอง จำนวน 6 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารงานวิชาการของครูภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด 19 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทั้ง 4 ด้าน คือ สื่อการเรียนการสอน วัดผลและประเมินผลการศึกษา หลักสูตร และการจัดการเรียนรู้ 2) การศึกษาการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครูภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด 19 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 มีการกระชับหลักสูตร ปรับให้สอดคล้องกับสถานการณ์โควิด-19 และสื่อสารให้ผู้เกี่ยวข้อง ผู้มีส่วนร่วมทุกภาคส่วนทราบ เน้นการเรียนรู้ที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ใหม่อย่างต่อเนื่องและท้าทาย เตรียมความพร้อมด้านการเรียนรู้ของเด็กตามวัยและสอดคล้องกับพัฒนาการด้านสังคม อารมณ์ และสติปัญญาและความพร้อมของนักเรียนและผู้ปกครองแต่ละคน เลือกใช้สื่อที่เหมาะกับนักเรียน และความพร้อมของผู้ปกครอง ยกระดับการประเมินเพื่อการพัฒนาเพื่อไม่ให้เด็กเสียโอกาสพัฒนาความรู้และทักษะ ครูเปิดโอกาสให้เด็กย้อนคิดถึงกระบวนการเรียนของตนเอง 3) แนวทางการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครูภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด 19 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 การมีส่วนร่วมพัฒนาหลักสูตรให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม กระชับหลักสูตร สื่อสารให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ เปิดโอกาสให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องร่วมวาง สำรวจความพร้อมของนักเรียนและผู้ปกครอง จัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับระดับความสามารถในการเรียนรู้ของผู้เรียนสนับสนุนด้านสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีในการพัฒนาการเรียนการสอน พัฒนาตนเองในการใช้สื่ออีเล็กทรอนิกส์ เลือกใช้สื่อที่เหมาะกับนักเรียน และความพร้อมของผู้ปกครอง ส่งเสริมให้ครูจัดทำแผนภูมิแสดงความก้าวหน้าทางการเรียน ประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลายและยืดหยุ่น ยกระดับการประเมินเพื่อการพัฒนา</p> 2023-12-25T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/271063 สภาพการจัดการศึกษาของเด็กปฐมวัยเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน 2023-12-18T20:05:20+07:00 ชูสกุล อาจมังกร [email protected] พระครูโอภาสนนทกิตติ์ [email protected] บุญเชิด ชำนิศาสตร์ [email protected] <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการจัดการศึกษาของเด็กปฐมวัยเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้สอบถามผู้บริหารและครูโรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 162 คน มีเครื่องมือการวิจัยคือแบบสอบถาม และทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการวิจัย คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สรุปผลการวิจัยพบว่า สภาพการจัดการศึกษาของเด็กปฐมวัยเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนผลการวิจัยพบว่า สภาพการจัดการศึกษาของเด็กปฐมวัยเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ทั้ง 4 ด้านโดยภาพรวมผู้บริหารและครูโรงเรียน ประถมศึกษา สังกัดเอกชนจังหวัดเพชรบูรณ์มีความคิดเห็นต่อสภาพการจัดการศึกษาของเด็กปฐมวัยเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนอยู่ในระดับมากเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยคือ ด้านพัฒนาการด้านสังคม ด้านพัฒนาการด้านอารมณด้านพัฒนาการด้านสติปัญญา และด้านพัฒนาการด้านร่างกายเด็กมีการใช้กล้ามเนื้อใหญ่ มีการรักษาสุขภาพ อนามัยส่วนตน และมีการใช้กล้ามเนื้อเล็ก มีสุนทรียภาพ ดนตรี มีการเห็นอกเห็นใจผู้อื่น และมีการแสดงออกทางอารมณ์ การเห็นอกเห็นใจผู้อื่น มีการมีปฏิสัมพันธ์ มีวินัย มีส่วนร่วม และบทบาทสมาชิกของสังคม และมีการยอมรับในความเหมือนและความแตกต่างระหว่างบุคคล มีเจตคติทีดีต่อการเรียนรู้ มีการคิดรวบยอดการคิดเชิงเหตุผล การตัดสินใจและ แก้ปัญหา และมีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์</p> 2023-12-25T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/270946 ประสิทธิภาพการบริหารจัดการโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา : กรณีศึกษาโรงเรียนอนุบาลวัดโชติทายการามสงเคราะห์ อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี 2023-12-16T02:49:55+07:00 พระธีรวัชร์ มุตฺตจิตฺโต [email protected] พระสมุทรวชิรโสภณ [email protected] พระครูวิสุทธานันทคุณ [email protected] <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับประสิทธิภาพในการบริหารจัดการโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา : กรณีศึกษาโรงเรียนอนุบาลวัดโชติทายการามสงเคราะห์ อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี 2) เพื่อศึกษาศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการบริหารจัดการโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา : กรณีศึกษาโรงเรียนอนุบาลวัดโชติทายการามสงเคราะห์ อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะต่อประสิทธิภาพในการบริหารจัดการโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา : กรณีศึกษาโรงเรียนอนุบาลวัดโชติทายการามสงเคราะห์ อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยในส่วนของการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือเก็บข้อมูลภาคสนามจากผู้บริหาร ครู บุคลากร และเจ้าหน้าที่ โรงเรียนอนุบาลวัดโชติทายการามสงเคราะห์ จำนวน 137 คน วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้โดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และในส่วนของการวิจัยเชิงคุณภาพมีการวิเคราะห์เอกสาร และใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลภาคสนามจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 รูปหรือคน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพการบริหารจัดการโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา: กรณีศึกษา โรงเรียนอนุบาลวัดโชติทายการามสงเคราะห์ อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.15 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านการพัฒนาบุคลากร อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.23 ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ ด้านการประเมินผลการปฏิบัติงาน อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.09 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ โรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา : กรณีศึกษาโรงเรียนอนุบาลวัดโชติทายการามสงเคราะห์ อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี โดยจำแนกตามเพศ อายุ วุฒิการศึกษา พบว่าไม่แตกต่างกันทุกด้านซึ่งปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ และกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุงานต่างกันมีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) ปัญหาและอุปสรรคต่อประสิทธิภาพในการบริหารจัดการโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา : กรณีศึกษาโรงเรียนอนุบาลวัดโชติทายการามสงเคราะห์ อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี พบว่า การลาออกของครูในช่วงภาคการศึกษาหรือ ปีการศึกษา เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการ ซึ่งทำให้โรงเรียนหาบุคลากรไม่ทัน ต้องให้ครูที่อยู่ทำการสอนแทนชั่วคราว บุคลากร ไม่เพียงพอ ขาดบุคลากรด้านพระพุทธศาสนา ในการจัดกิจกรรมทางศาสนา ครูใช้เวลากับการเตรียมสอนและการอยู่ในชั้นเรียนน้อยลง เพราะต้องทำงานเอกสารและทำการประเมิน งบประมาณสำหรับเป็นค่าตอบแทนของครูผู้สอนน้อย ผู้ณครูหรือบุคลากรภายในโรงเรียนยังให้ความร่วมมือได้ไม่เต็มที่ในการทำงานเป็นกลุ่มหรือเป็นทีม บริหารยังให้ความสำคัญกับการจูงใจครูในโรงเรียนน้อยไม่ว่าจะเป็นเรื่องเงินเดือนและสวัสดิการและความก้าวหน้าทางอาชีพตลอดจนสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน</p> 2023-12-25T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/270000 การพัฒนาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ในอำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี 2023-12-16T02:55:34+07:00 พระอธิการสมบุญ อภิปุณโณ [email protected] พระครูวิสุทธานันทคุณ [email protected] พระสมุทรวชิรโสภณ [email protected] <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ในอำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี 2) เพื่อเปรียบเทียบการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ในอำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการพัฒนาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ในอำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยในส่วนของการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือเก็บข้อมูลภาคสนามจากพระสงฆ์ในอำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี จำนวน 256 รูป วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้โดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที ค่าเอฟ วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และในส่วนของการวิจัยเชิงคุณภาพมีการวิเคราะห์เอกสาร และใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลภาคสนามจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 ท่าน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ในอำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี โดยภาพรวม มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุดทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านเทคนิคและวิธีการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ด้านคุณสมบัตินักเผยแผ่พระพุทธศาสนา และด้านนโยบายและหลักการในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา 2) ผลการเปรียบเทียบการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ในอำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล คือ อายุ พรรษา และระยะเวลาที่สังกัดคณะสงฆ์อำเภอโพธาราม มีความคิดเห็นที่มีต่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ในอำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่สถิติ 0.001 จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย ส่วนปัจจัยส่วนบุคคล คือ วุฒิการศึกษาสามัญ มีความคิดเห็นที่มีต่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ในอำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย 3) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการพัฒนาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ในอำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี พบว่า ปัญหา อุปสรรค ได้แก่ พระสงฆ์ไม่มีความรู้หลักธรรมอย่างแตกฉาน ขาดการนำสื่อเทคโนโลยีออนไลน์มาเป็นเครื่องมือ ขาดการสนับสนุนจากภาครัฐ ไม่มีแบบแผนที่ชัดเจน สอนให้เชื่อที่ผิดจากหลักพระพุทธศาสนา และข้อเสนอแนะ ได้แก่ ควรคัดเลือกพระสงฆ์ที่มีความดำรงตนตามสมณภาวะและธรรมวินัย มีความเสียสละ มีความรู้ความสามารถ มีจิตเมตตา ไม่เห็นแก่ลาภยศ พูดจาให้น่าเลื่อมใส ควรพัฒนาพระสงฆ์นักเผยแผ่ให้เข้าใจหลักธรรมและศาสนพิธีอย่างแตกฉาน ทำการเผยแผ่ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่เข้าใจง่ายทันเหตุการณ์ มีวิธีการเผยแผ่แก่กลุ่มคนในทุกเพศทุกวัย ควรวางแผนการเผยแผ่ตามนโยบายปฏิรูปศาสนาของมหาเถรสมาคม</p> 2023-12-25T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/271112 แนวทางการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา ในยุคปกติวิถีใหม่ 2023-12-18T23:33:51+07:00 รุ่งนภา คำเทศ [email protected] พระครูกิตติญาณวิสิฐ [email protected] พระมหาสมบัติ ธนปญฺโญ [email protected] <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาในยุคปกติวิถีใหม่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง 2) เพื่อศึกษาวิธีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาในยุคปกติวิถีใหม่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง 3) เพื่อเสนอแนวทางการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาในยุคปกติวิถีใหม่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี คือ 1) การวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริหารและครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง จำนวน 292 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ 2) การวิจัยเชิงคุณภาพ การสัมภาษณ์ผู้บริหาร จำนวน 5 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาในยุคปกติวิถีใหม่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง ในภาพรวมอยู่ในระดับมากทั้ง 5 ด้าน โดยเรียงจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ด้านการพัฒนาและใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ด้านการพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา ด้านการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในและมาตรฐานการศึกษา และด้านการวัดผลประเมินผลและดำเนินการเทียบโอนผลการเรียน 2) ผลการศึกษาวิธีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาในยุคปกติวิถีใหม่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง ส่งเสริมให้ครูนำเทคโนโลยีสารสนเทศในงานวิชาการทั้ง 5 ด้าน โดยการจัดอบรมครูให้มีความรู้เกี่ยวกับโปรแกรมการวัดผลประเมินผล การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการจัดเก็บข้อมูล และช่วยในการสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านระบบประกันคุณภาพภายในและมาตรฐานการศึกษา การนำข้อมูลสารสนเทศมาใช้ในการจัดทำ ปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนในปัจจุบันยุคปกติวิถีใหม่ การส่งเสริมสนับสนุนการสร้างสื่อออนไลน์ บทเรียนสำเร็จรูป การใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยใช้ในการพัฒนาและใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา และพัฒนากระบวนการเรียนรู้ในยุคปกติวิถีใหม่ 3) แนวทางการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาในยุคปกติวิถีใหม่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง โดยการพัฒนาที่ตัวบุคลากรให้มีความรู้ทักษะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศให้สอดคล้องกับยุคปกติวิถีใหม่ การจัดอบรมให้ครูได้มีทักษะในการใช้เทคโนโลยี การนำโปรแกรมประยุกต์มาใช้ในงานวิชาการ การประยุกต์ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์และระบบงานออนไลน์มาช่วยในการจัดเก็บข้อมูลในการวัดผลและประเมินผล การใช้สื่อและการสร้างสื่อออนไลน์ แอพลิเคชันเกมส์การเรียนรู้ บทเรียนสำเร็จรูป นำเทคโนโลยีมาใช้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ทันสมัยเพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้ในยุคปกติวิถีใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p> 2023-12-25T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/270947 การจัดการอนุรักษ์โบราณสถานของวัดเจติยาราม อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี 2023-12-16T02:44:07+07:00 พระปลัดปัญญา อุตฺตมวํโส [email protected] พระครูวิสุทธานันทคุณ [email protected] พระมหากังวาล ธีรธมฺโม [email protected] <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการจัดการอนุรักษ์โบราณสถานของวัดเจติยาราม อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการจัดการอนุรักษ์โบราณสถานของวัดเจติยาราม อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม และ 3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะการจัดการอนุรักษ์โบราณสถานของวัดเจติยาราม อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยในส่วนของการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือเก็บข้อมูลภาคสนามจากประชาชน (อายุ 18 ปีขึ้นไป) อาศัยอยู่ที่บ้านเจดีย์หัก หมู่ที่ 3 ตำบลเจดีย์หัก อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี จำนวน 357 คน วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้โดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และในส่วนของการวิจัยเชิงคุณภาพมีการวิเคราะห์เอกสาร และใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลภาคสนามจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 รูปหรือคน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท ผลการวิจัยพบว่า 1) ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการจัดการอนุรักษ์โบราณสถานของวัดเจติยาราม อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.18 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ การให้ความรู้ในการอนุรักษ์โบราณสถาน โบราณวัตถุแก่ประชาชน อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.2 ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ ความร่วมมือในการอนุรักษ์โบราณสถาน โบราณวัตถุกับหน่วยงานราชการ อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.11 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อการจัดการอนุรักษ์โบราณสถานของวัดเจติยาราม อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี โดยจำแนกตามเพศ อายุ อาชีพ พบว่าไม่แตกต่างกันทุกด้านซึ่งปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ และประชาชนที่มีระดับการศึกษาต่างกันมีความคิดเห็น แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) ปัญหาและอุปสรรคต่อการจัดการอนุรักษ์โบราณสถานของวัดเจติยาราม อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี พบว่า บุคลากรในชุมชนขาดความเข้าใจความรู้และหลักการอนุรักษ์ดูแลรักษาโบราณสถาน โบราณวัตถุของวัด ขาดบุคลากรที่เข้ามาดูแลรักษาทำความสะอาด กำจัดวัชพืชและขยะในแหล่งโบราณสถาน โบราณวัตถุ พระสงฆ์ที่สอนในโรงเรียนไม่ได้ปลูกฝังจิตสำนึกความเป็นจิตสาธารณะในการอนุรักษ์โบราณสถานโบราณวัตถุให้แก่นักเรียน ขาดความร่วมมือกันกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในการป้องกันผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมที่จะเกิดขึ้นกับแหล่งโบราณสถาน และข้อเสนอแนะต่อการจัดการอนุรักษ์โบราณสถานของวัดเจติยาราม อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี พบว่า ควรจัดให้มีการอบรมด้านการอนุรักษ์แก่พระสงฆ์และคนในชุมชนในพื้นที่แหล่งโบราณสถาน มอบหมายหรือจัดคนดูแลรักษาโบราณสถาน โบราณวัตถุดำเนินการเผยแผ่ความรู้ด้านการอนุรักษ์ในเทศกาลต่างๆ ปลูกจิตสำนึกในการอนุรักษ์ให้แก่นักเรียนในสถานศึกษาให้ข้อมูลข่าวสารการอนุรักษ์แก่ประชาชนผ่านทางวิทยุชุมชนและสร้างความเข้าใจถึงความสำคัญของโบราณสถานโบราณวัตถุที่มีอยู่ภายในวัด สร้างความร่วมมือกันระหว่างชุมชน ภาครัฐ และเอกชน มีการสนับสนุนงบประมาณที่จำเป็นในการบูรณะ</p> 2023-12-25T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/270632 แนวทางการป้องกันการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังทัณฑสถานวัยหนุ่มพระนครศรีอยุธยา 2023-12-15T02:33:37+07:00 ธนากร ถีติปริวัตร [email protected] ธาตรี มหันตรัตน์ [email protected] <p>บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสาเหตุการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังผู้ต้องขังทัณฑสถานวัยหนุ่มพระนครศรีอยุธยา และ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการป้องกันการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังทัณฑสถานวัยหนุ่มพระนครศรีอยุธยา เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ได้แก่แบบสอบถาม โดยมีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 200 คน มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.90 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) สาเหตุการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังทัณฑสถานวัยหนุ่มพระนครศรีอยุธยา ประกอบด้วย ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมภายในและปัจจัยภายนอกเรือนจำ ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมภายในเรือนจำ ได้แก่ หลักสูตรการศึกษาภายในเรือนจำไม่เหมาะสม วิทยากรผู้สอนสำหรับการฝึกอาชีพไม่เหมาะสม การอบรมและฟื้นฟูจิตใจไม่เพียงพอ สำหรับปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมภายนอก ได้แก่ ความสัมพันธ์ภายในครอบครัว บิดามารดาหรือบุคคลในครอบครัวไม่ดูแลเอาใจใส่และให้การอบรมสั่งสอน ความสัมพันธ์ในกลุ่มเพื่อน ส่วนใหญ่ใช้เวลาว่างทำกิจกรรมกับกลุ่มเพื่อนเสมอ ความร่วมมือระหว่างชุมชน คนในชุมชนรู้ว่าท่านเคยต้องโทษมาก่อน การได้รับการสงเคราะห์หลังพ้นโทษ ต้องการได้รับการอนุเคราะห์ค่าใช้จ่ายในการเดินทางกลับภูมิลำเนา 2) แนวทางการป้องกันการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังทัณฑสถานวัยหนุ่มพระนครศรีอยุธยา ได้แก่ (1) สร้างความเข้าใจต่อสังคมภายนอกให้ยอมรับผู้ต้องขังและจัดหางานให้กับผู้ต้องขังหลังพ้นโทษ (2) ให้ผู้ต้องขังได้รับการศึกษาเพิ่มเติมขณะต้องโทษ (3) ประสานหน่วยงานในชุมชนให้ชุมชนเป็นแหล่งปลอดอบายมุขและยาเสพติด (4) ฝึกอบรมวิชาชีพให้กับผู้ต้องขังให้ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน (5) อบรมและฟื้นฟูจิตใจให้กับผู้ต้องขัง เช่น เชิญผู้นำทางศาสนาต่างๆ เข้ามาให้ความรู้เพื่อส่งเสริมให้กระทำความดี</p> 2023-12-25T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/270340 กลยุทธ์การสื่อสารองค์กรของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยในยุคดิสรัปชั่น 2023-12-16T04:13:34+07:00 ประวิทย์ ชัยสุข [email protected] ระวิง เรืองสังข์ [email protected] เกษม แสงนนท์ [email protected] <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการสื่อสารองค์กรของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยในยุคดิสรัปชั่น 2) เพื่อพัฒนากลยุทธ์การสื่อสารองค์กรของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยในยุคดิสรัปชั่น 3) เพื่อเสนอกลยุทธ์การสื่อสารองค์กรของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยในยุคดิสรัปชั่น เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาเอกสาร สัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหารจำนวน 7 รูป/คน สนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ ศึกษาเอกสาร สัมภาษณ์ วิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ จำนวน 265 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเอกสาร ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และการวิเคราะห์ทางสถิติ คือ ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สรุปผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการสื่อสารองค์กร จุดแข็ง การเผยแพร่ข่าวสารข้อมูล ได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง น่าเชื่อถือ บุคลากรได้รับการพัฒนาระบบการสื่อสารข้อมูล จุดอ่อน คือ การพัฒนาบุคลากรให้เกิดความเข้าใจงานสื่อสารประชาสัมพันธ์ ไม่เพียงพอต่อภาระงานหลัก โอกาส คือ เทคโนโลยีมีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว อุปสรรค คือ เครือข่ายอินเตอร์เน็ตยังไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่ 2) การพัฒนากลยุทธ์การสื่อสารองค์กรมี 4 องค์ คือ วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ กลยุทธ์ย่อย ในภาพรวมพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านความถูกต้อง อยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ ด้านความเป็นประโยชน์ ด้านความเหมาะสม ด้านความเป็นไปได้ ตามลำดับ 3) กลยุทธ์การสื่อสารองค์กร มีองค์ประกอบคือ วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ กลยุทธ์ย่อย คือ (1) กลยุทธ์ผลิตสื่อประชาสัมพันธ์ ได้แก่ จัดทำสื่อโซเชียลมีเดีย ผลิตสื่อนิทรรศการเคลื่อนที่ (2) กลยุทธ์เผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ได้แก่ ประชาสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร พัฒนาการสื่อสารให้ความรู้แก่บุคลากรภายในองค์กร (3) กลยุทธ์สร้างเครือข่ายสนับสนุนประชาสัมพันธ์เผยแพร่แก่บุคลากรหน่วยงานภายนอก ได้แก่ กำหนดอัตลักษณ์ เอกลักษณ์ พัฒนาสารสนเทศการประชาสัมพันธ์ (4) กลยุทธ์ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของบุคลากรด้านสื่อสารองค์กรให้มีคุณภาพทั้งส่วนกลางส่วนภูมิภาค ได้แก่ วิพากษ์แผนการประชาสัมพันธ์และการพัฒนาการสื่อสารภายใน พัฒนาศักยภาพเครือข่ายนักประชาสัมพันธ์</p> 2023-12-25T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/271113 สภาพการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 2023-12-18T22:12:59+07:00 สาริณี อาษา [email protected] บุญเชิด ชำนิศาสตร์ [email protected] พีรวัฒน์ ชัยสุข [email protected] <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 เป็นการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารและครูโรงเรียน จำนวน 331 คน เครื่องมือการวิจัยคือแบบสอบถาม และทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า สภาพการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 โดยภาพรวมผู้บริหารและครูมีความคิดเห็นต่ออยู่ในระดับมากเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยคือ ด้านการมีส่วนร่วมในการมีส่วนร่วมในขั้นตอนรับผลประโยชน์จากการบริหาร ด้านการมีส่วนร่วมในการควบคุม ติดตาม และประเมินผลการทำงานและนำผลกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ด้านการมีส่วนร่วมในการวางนโยบาย หรือแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรมเพื่อลดและแก้ไขปัญหา ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในการจัดหรือปรับปรุงระบบการบริหารทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และปฏิบัติงานให้บรรลุตามเป้าหมาย และด้านมีส่วนร่วมในการรับรู้ การคิด ศึกษา และค้นคว้า หาปัญหาและสาเหตุของปัญหาตลอดจนความต้องการของ ชุมชน ร่วมกิจกรรมด้วยความเต็มใจ ร่วมจัดหรือปรับปรุงในระบบการบริหารงานพัฒนาให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และร่วมตัดสินใจในการใช้ทรัพยากรที่มีจำกัดให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม</p> 2023-12-25T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/270427 การศึกษาแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาประวัติพระพุทธศาสนาของนิสิตชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 2023-12-15T03:43:15+07:00 มณฑกานต์ แป้นกลม [email protected] ชาติชาย พิทักษ์ธนาคม [email protected] พระสมุห์โชคดี วชิปญฺโญ [email protected] พรทิพย์ วรรณวิโรจน์ [email protected] <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์1) เพื่อศึกษาแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาประวัติพระพุทธศาสนาของนิสิตชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 2) เพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมแรงจูงใจทางการเรียนวิชาประวัติพระพุทธศาสนาของนิสิตชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี คือ การวิจัยเชิงปริมาณ มีกลุ่มตัวอย่างที่เป็น คือ นิสิตชั้นปีที่ 1 จำนวน 196 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพ มีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ นิสิตและอาจารย์ จำนวน 12 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาประวัติพระพุทธศาสนาของนิสิตชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) แนวทางการส่งเสริมแรงจูงใจทางการเรียนวิชาประวัติพระพุทธศาสนาของนิสิตชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ประกอบด้วย ด้านความกล้าเสี่ยง/กล้าตัดสินใจทางการเรียน ด้านความขยันและตั้งใจใฝ่เรียนรู้ ด้านความรับผิดชอบตนเองทางการเรียน ด้านการมีส่วนร่วมและร่วมมือ ด้านความอดทนทางการทำงาน ด้านการรู้จักวางแผนทางการเรียน</p> 2023-12-25T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/270633 แนวทางการพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขังด้านการศึกษาทัณฑสถานวัยหนุ่มพระนครศรีอยุธยา 2023-12-15T02:31:14+07:00 ศิวเรศ สุภู่อ่อน [email protected] ธาตรี มหันตรัตน์ [email protected] <p>บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดปัญหาการพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขังด้านการศึกษา และ 2) เสนอแนวทางการพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขังด้านการศึกษาทัณฑสถานวัยหนุ่มพระนครศรีอยุธยา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้ต้องขัง จำนวน 240 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามเชิงปริมาณ ได้ค่าความเชื่อมั่นปัจจัยภายในเท่ากับ 0.93 วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดปัญหาการพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขังด้านการศึกษา ประกอบด้วยด้านปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกทัณฑสถานฯ ด้านปัจจัยภายใน ได้แก่ระยะเวลาต้องโทษมีผลต่อการตัดสินใจในการไม่เข้ารับการศึกษา หลักสูตรที่เปิดสอนไม่ตรงตามความต้องการ อาคาร สถานที่สำหรับจัดการศึกษาไม่เหมาะสมคนกลุ่มใหญ่ไม่เข้ารับการศึกษาจึงทำให้เข้ารับการศึกษาตามคนกลุ่มใหญ่ สำหรับด้านปัจจัยภายนอก ได้แก่ เชื่อว่าสถานประกอบการไม่รับผู้เคยมีประวัติต้องโทษเข้าทำงานแม้จะมีวุฒิการศึกษา สังคมภายนอกมองผู้พ้นโทษเป็นคนไม่ดีไม่สามารถกลับตัวเป็นคนดีได้ หลังพ้นโทษไม่มีช่องทางการประกอบอาชีพ ขาดการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการศึกษาขณะต้องโทษแก่สังคมภายนอกจึงทำให้ไม่เข้ารับการศึกษาขณะต้องโทษ 2) แนวทางการพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขังด้านการศึกษา ประกอบด้วย ควรมีการประสานไปยังหน่วยงานภายนอกเพื่อเพิ่มช่องทางการประกอบอาชีพ มีการให้ความรู้และสร้างความเข้าใจกับสังคมภายนอกมากยิ่งขึ้น เปิดสอนในหลักสูตรที่ตรงตามความต้องการของผู้ต้องขัง ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการศึกษาขณะต้องโทษให้สังคมภายนอกได้รับรู้มากยิ่งขึ้น ประสานงานกับสถานประกอบการเพื่อให้ความรู้แก่ผู้ต้องขังถึงเกณฑ์ต่างๆ ในการรับเข้าทำงาน มีการอบรมให้ความรู้ผู้ต้องขังอย่างทั่วถึงในเรื่องความสำคัญของการศึกษา ปรับปรุงอาคารสถานที่สำหรับจัดการศึกษาให้มีความเหมาะสมมีสิ่งอำนวยความสะดวกเพียงพอต่อการศึกษา การจัดการศึกษาต้องคำนึงถึงกำหนดโทษของผู้ต้องขังที่มีระยะเวลาแตกต่างกันตามลักษณะคดี</p> 2023-12-25T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/273875 การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนว Active Learning ในรายวิชาฟิสิกส์ เรื่อง สมบัติทางกายภาพของสสาร ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้แนวทางการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ตามเทคนิคของโพลยา 2023-12-15T03:35:40+07:00 เพ็ญสุดา มังกร [email protected] <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนว Active Learning ในรายวิชาฟิสิกส์ เรื่องสมบัติทางกายภาพของสสาร ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้แนวทางการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ตามเทคนิคของโพลยา ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนว Active Learning ในรายวิชาฟิสิกส์ เรื่องสมบัติทางกายภาพของสสาร ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้แนวทางการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ตามเทคนิคของโพลยา และ 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนและหลังการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนว Active Learning ในรายวิชาฟิสิกส์ เรื่องสมบัติทางกายภาพของสสาร ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้แนวทางการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ตามเทคนิคของโพลยา โดยกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ชลบุรี ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 3 ห้องเรียน รวมจำนวนทั้งสิ้น 72 คน ที่ผู้ศึกษาค้นคว้าได้รับผิดชอบในการสอน มีเครื่องมือที่ใช้ศึกษา ได้แก่ 1) แผนจัดการเรียนรู้ จำนวน 12 แผน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติที่ใช้ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าซี (Z-test) แบบ One group และการทดสอบค่าซี (Z-test) แบบไม่อิสระจากกัน (Dependent) ผลการศึกษาพบว่า1) การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนว Active Learning ในรายวิชาฟิสิกส์ เรื่องสมบัติทางกายภาพของสสาร ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้แนวทางการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ตามเทคนิคของโพลยา มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์คือ 86.30/84.49 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 80/80 2) ดัชนีประสิทธิผล มีค่าเท่ากับ 0.6925 ซึ่งแสดงว่าผู้เรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น 0. 6925 หรือคิดเป็นร้อยละ 69.25 และ 3) ผลการเปรียบเทียบคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</p> 2023-12-25T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์