วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS
<p><strong>วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ </strong></p> <p><strong>(Journal of Bovorn Multi-Education and Human Social Sciences : JOB_EHS )</strong></p> <div id="content"> <div id="journalDescription"> <p class="a" align="left"><strong><span lang="TH"><span style="vertical-align: inherit;">จัดทำดัชนีใน </span><a title="ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย: ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงไทย (TCI)" href="https://www.kmutt.ac.th/jif/public_html/" target="_blank" rel="noopener"><img title="tci" src="https://www.tci-thaijo.org/public/site/images/tci_admin/tci.png" alt="tci" width="90" height="35" border="0" /></a></span></strong></p> </div> </div> <p><strong>วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์</strong></p> <p><strong>(Journal of Bovorn Multi-Education and Human Social Sciences : JOB_EHS )</strong></p> <p><strong>ISSN 2730-3233 (Online)</strong></p> <p><strong>นโยบายและขอบเขตการตีพิมพ์ : </strong></p> <p>มีนโยบายรับตีพิมพ์บทความในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสตร์ ครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ ศิลปศาสตร์ สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ และสาขาวิชาสหวิทยาการอื่นๆ</p> <p>บทความที่ส่งมาขอรับการตีพิมพ์จะต้องไม่เคยตีพิมพ์ หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น ผู้เขียนบทความจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเสนอบทความในวารสารอย่างเคร่งครัด โดยอ้างอิงตามรูปแบบของ APA (นาม-ปี) รวมถึงเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของวารสารฯ และเป็นบทความที่ไม่มีความหลายมากกว่า 25% ตามที่ถนนในโปรแกรม CopyCat ในเว็บ Thaijo2</p> <p>ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารฯ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ โดยไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของวารสารฯ</p> <p><strong>กระบวนการพิจารณาบทความ : </strong></p> <p>บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ทุกบทความจะต้องผ่านการพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญ 2 แบบ คือ</p> <p>แบบที่ 1 บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ทุกบทความจะต้องผ่านการพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญอย่างน้อย 2 ท่าน ต่อ 1 บทความ แบบผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แต่งไม่ทราบชื่อกันและกัน (double-blind review)</p> <p>แบบที่ 2 บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ทุกบทความจะต้องผ่านการพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญอย่างน้อย 3 ท่าน ต่อ 1 บทความ แบบผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แต่งไม่ทราบชื่อกันและกัน (double-blind review)</p> <p><strong>ประเภทของบทความ : </strong></p> <p>วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ เปิดรับตีพิมพ์ประเภทของบทความ คือ บทความวิจัย (Research Article) และบทความวิชาการ (Original Article)</p> <p><strong>ภาษาที่รับตีพิมพ์ :</strong></p> <p>วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ เปิดรับบทความที่เป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ</p> <p><strong>กำหนดออก : </strong></p> <p>วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ มีกำหนดออกตีพิมพ์ 3 ฉบับ ต่อปี (ราย 4 เดือน) ดังนี้</p> <p>ฉบับที่ 1 เดือน มกราคม - เมษายน (กำหนดออก เดือนเมษายน)</p> <p>ฉบับที่ 2 เดือน พฤษภาคม - สิงหาคม (กำหนดออก เดือนสิงหาคม)</p> <p>ฉบับที่ 3 เดือน กันยายน - ธันวาคม (กำหนดออก เดือนธันวาคม)</p> <p><strong><span style="vertical-align: inherit;">การตีพิมพ์บทความ</span></strong></p> <p><span style="vertical-align: inherit;">ผู้แต่งบทความจะตรวจสอบความสมบูรณ์ของบทความตามข้อแนะนำสำหรับผู้แต่งใน กรณีที่ไม่ปฏิบัติตามระเบียบของวารสารฯ กองบรรณาธิการวารสาร ขอสงวนสิทธิ์ในการปฏิเสธการตีพิมพ์และไม่คืนเงิน ในกรณีเทียบเคียง ดังนี้</span></p> <p><span style="vertical-align: inherit;">1. บทความของท่านมีความหลายมากกว่า 25% ตามที่ถนนในโปรแกรม CopyCat ในเว็บ Thaijo2</span></p> <p><span style="vertical-align: inherit;">2. ผู้แต่งไม่ปฏิบัติตามรูปแบบที่วารสารกำหนด</span></p> <p><span style="vertical-align: inherit;">3. บทความไม่ผ่านการอ่านประเมินของผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) </span></p> <p><span style="vertical-align: inherit;">4. ผู้แต่งไม่แก้ไขบทความตามข้อเสนอที่กองบรรณาธิการได้แจ้งในระบบตามระยะเวลาที่กำหนด</span></p>
วัดหนองบัวหิ่ง
th-TH
วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
2730-3233
<p>บทความที่ส่งมาขอรับการตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ จะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น รวมทั้งผู้เขียนจะต้องคำนึงถึงจริยธรรมการวิจัย ไม่ละเมิดหรือคัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง ซึ่งทางวารสารฯ ได้กำหนดความซ้ำของผลงาน ด้วยโปรแกรม CopyCat เว็บ Thaijo ในระดับ ไม่เกิน 25%</p> <p>ในกรณีที่ บทความวิจัยมีกระบวนการวิจัยเกี่ยวข้องกับมนุษย์ ผู้นิพนธ์จะต้องส่งหลักฐานการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์มาประกอบการลงตีพิมพ์ด้วยจึงจะได้รับการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสาร</p> <p>ผู้เขียนบทความจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเสนอบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ รวมทั้งระบบการอ้างอิงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ โดยรวมทั้งทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์และวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์</p>
-
ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมตามหลักความดีสากลของผู้บริหารสถานศึกษา
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/284270
<p>บทความนี้เป็นการนำเสนอภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมตามหลักความดีสากลของผู้บริหารสถานศึกษา อันเป็นการบริหารที่ต้องอาศัยบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาที่แสดงออกถึงภาวะผู้นำในสถานศึกษามีคุณลักษณะตามบรรทัดฐานที่ดีของสังคม มีคุณธรรมจริยธรรม และมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างพลิกโฉมฉับพลันของโลก โดยพิจารณาจากองค์ประกอบของภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมและเพื่อความสอดคล้องกับวิถีชาวพุทธ 4 องค์ประกอบที่สำคัญ ประกอบด้วย 1) ความไว้วางใจ ความเชื่อมั่นและไว้ใจในเจตนา การกระทำและการแสดงออกในทิศทางที่เหมาะสมของผู้ร่วมงาน 2) ความรับผิดชอบ การยอมรับผลที่เกิดขึ้นจาการปฏิบัติงานในขอบเขตอำนาจหน้าที่ 3) ความซื่อสัตย์ ความโปร่งใสในการบริหารงาน ยึดมั่นในจรรยาบรรณวิชาชีพ 4) ความเคารพ การให้เกียรติและเห็นความสำคัญของคนอื่น รับฟังความคิดเห็นและแสดงความเชื่อมั่นไว้วางใจ เพื่อบูรณากับหลักความดีสากล 5 ประการ ประกอบด้วย 1) ความสะอาด 2) ความเป็นระเบียบ 3) ความสุภาพ 4) การตรงต่อเวลา 5) การมีสมาธิ อันเป็นคุณลักษณะพื้นฐานที่มนุษย์ทุกคนต้องมี เป็นข้อปฏิบัติทางกาย วาจา ใจ เบื้องต้น เพื่อพัฒนาตนเองให้มีคุณภาพ และพัฒนาสังคมให้มีความเจริญงอกงาม และอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข จะทำให้กาย วาจา ใจสะอาดบริสุทธิ์ เพื่อนำพาองค์กรสถานศึกษาก้าวไปสู่การเปลี่ยนแปลงตามกระแสโลกาภิวัตน์ในยุคปัจจุบันนี้</p>
พระไพบูลย์ พุทฺธิธโช (วงษ์แหวน)
Copyright (c) 2024 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-31
2024-12-31
5 3
677
687
-
แนวทางการพัฒนาตน : มุมมองตามหลักพระพุทธศาสนา
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/284087
<p>บทความเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาตนตามหลักพระพุทธศาสนาโดยมีเครื่องมือที่สำคัญคือช่วยกันสร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าและการแก้ปัญหาของประเทศ เพราะปัญหาชาติเกิดจากตนด้วยเหตุนี้การจะแก้ปัญหาใดๆ ต้องเริ่มจากตนเป็นประการสำคัญ กรณีตัวอย่างพระพุทธองค์ทรงเป็นต้นแบบการพัฒนาตนเองจนเป็นครูต้นแบบของมนุษย์และเทวดาในการพิสูจน์ความจริงในการศึกษาค้นหาความจริง การพัฒนาตนจะต้องเพิ่มพูนสมรรถภาพ ความคิด การกระทำ ความสามารถ ความรู้ ความชำนาญ ตลอดจนสร้างทัศนะคติที่ดีด้วยการฝึกอบรม ด้วยเหตุนี้ การพัฒนาตนที่พระพุทธเจ้าทรงใช้หลักการบัญญัติกฎระเบียบที่เรียกว่าพระธรรมวินัยให้เหมาะสมกับสถานะของแต่ละคน เช่น พระสงฆ์ให้มีศีล 227ข้อ ภิกษุณีมี ศีล 331 ข้อ สามเณรมี ศีล 10 ข้อ และฆราวาสมีศีล 5 ข้อ เป็นพื้นฐานในการพัฒนาตนให้มีความสุขด้วยการบูรณาการหลักสัปปุริธรรม 7 ได้แก่ ธัมมัญญุตา เป็นผู้รู้จักเหตุ อัตถัญญุตา เป็นผู้รู้จักผล อัตตัญญุตา เป็นผู้รู้จักตน มัตตัญญุตา เป็นผู้รู้จักประมาณ กาลัญญุตา เป็นผู้รู้จักกาล ปริสัญญุตา เป็นผู้รู้จักบริษัท และปุคคลัญญุตา เป็นผู้รู้จักบุคคล ในการเป็นอยู่ร่วมกันในสังคมด้วยความเอื้อเฟื้อซึ่งกันและกันแล้วสังคมและประเทศชาติจะมีความสงบสุขทั่วหน้ากัน</p>
พระครูปลัดรัตน์ ฐิตคุโณ
สิน งามประโคน
พระสุรชัย สุรชโย
Copyright (c) 2024 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-31
2024-12-31
5 3
688
694
-
ความกลมกลืนของชีวิตและงานตามหลักอิทธิบาท 4
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/284271
<p>บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแนวทางการปฏิบัติงานตามแนวคิดความกลมกลืนของชีวิตและงานกับหลักอิทธิบาท 4 ที่เป็นการปฏิบัติงานที่เกิดขึ้นในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ซึ่งพบว่า ลักษณะของงานที่ยืดหยุ่นและมีอิสระมากกว่ารูปแบบเดิมนั้น อาจจะทำให้เกิดผลกระทบต่อองค์กรและผู้ปฏิบัติในระยะยาว ดังนั้น การนำหลักอิทธิบาท 4 ซึ่งเป็นหลักธรรมที่ช่วยกำกับการปฏิบัติงานจะสร้างประโยชน์ให้งานมีความสำเร็จไปได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย 4 ประการหลัก ประกอบด้วย 1) ฉันทะ ความพอใจ การสร้างแรงจูงใจให้พนักงานทำงานจากที่บ้าน เช่น การให้รางวัล การสร้างชุมชนออนไลน์ 2) วิริยะ ความพากเพียร การวางแผนการทำงาน การกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน การติดตามผลการทำงาน 3) จิตตะ การคิดเพื่อหาวิธีการ การใช้เครื่องมือในการจัดการเวลา การฝึกสมาธิเพื่อเพิ่มสมาธิในการทำงาน 4) วิมังสา การไตร่ตรอง การประเมินผลการทำงานอย่างสม่ำเสมอ การปรับปรุงวิธีการทำงาน หากปฏิบัติได้ตามนี้แม้จะมีรูปแบบการใช้ชีวิตหรือการปฏิบัติงานที่เปลี่ยนไป แต่การปฏิบัติงานตาม 4 ประการหลักนี้ก็จะยังคงดำเนินไปต่อไปสู่ความสำเร็จที่ยั่งยืน</p>
อนิสา สังข์เจริญ
Copyright (c) 2024 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-31
2024-12-31
5 3
695
703
-
สุภโร: คุณธรรมของพระธรรมทูตสายต่างประเทศในยุคปัจจุบัน
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/284084
<p>บทความนี้จะนำเสนอแนวคิดเรื่อง สุภโร: คุณธรรมของพระธรรมทูตสายต่างประเทศ มีวัตถุประสงค์ 2 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาคุณธรรมในด้านการเป็นผู้เลี้ยงง่าย (สุภโร) พบว่า พระธรรมทูตในปัจจุบันควรมีคุณธรรมที่สำคัญ 3 ประการคือ (1) มีความมั่นใจในคุณค่า ความจริง ความดีงามของพระพุทธศาสนา (ปัญญา) (2) มีความประพฤติดี มีคุณธรรม มีความมั่นใจในวินัยของพระสงฆ์ (ศีล) (3) มีความมั่นคงทางด้านจิตใจ (สมาธิ) ซึ่งก็คือ ศีล สมาธิ ปัญญา โดยคุณธรรมที่พึงมีในเบื้องแรก คือ สุภโร เป็นผู้เลี้ยงง่ายและการประพฤติปฏิบัติตนให้เป็นผู้เลี้ยงง่าย และ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการสร้างคุณธรรมในด้านการเป็นผู้เลี้ยงง่าย (สุภโร) ประกอบด้วย 2 แนวทางคือ (1) การอบรมจิตให้เป็นผู้ที่มีความพอในความต้องการ เป็นการลดความโลภอันเป็นกิเลสพื้นฐานเบื้องต้น หากประพฤติปฏิบัติเพื่อการลดละความโลภให้น้อยลงก็จะทำให้คุณธรรมด้านอื่นๆ มีเพิ่มขึ้น (2) การสมาทานธุดงค์ ซึ่งจะก่อให้เกิดคุณประโยชน์ เป็นการขัดเกลากิเลส ทำให้เป็นคนมักน้อย สันโดษ เกิดความสงัด ลดการสั่งสมกิเลส เร่งการปรารภความเพียรและทำให้เป็นผู้เลี้ยงง่าย (สุภโร)</p>
พระครูสังฆกิจวิริยะ (วิจิตรศักดิ์)
พระมหาสุเทพ สุวฑฺฒโน (เหลาทอง)
Copyright (c) 2024 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-31
2024-12-31
5 3
704
712
-
แนวทางการพัฒนาวัดให้เป็นแหล่งเรียนรู้วัฒนธรรมไทย
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/284082
<p>บทความนี้เสนอแนวทางในการพัฒนาวัดให้เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้วัฒนธรรมไทยที่ครอบคลุมหลากหลายมิติ ทั้งวัฒนธรรมที่จับต้องได้ เช่น สถาปัตยกรรม เครื่องใช้ และศิลปกรรม ตลอดจนวัฒนธรรมที่ไม่มีรูปธรรม เช่น ภาษา พิธีกรรม และคติความเชื่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคติธรรมทางพระพุทธศาสนาที่เป็นรากฐานสำคัญของสังคมไทย การศึกษาค้นคว้าพบว่า วัดมีศักยภาพในการถ่ายทอดองค์ความรู้ทางวัฒนธรรมให้แก่คนในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น การจัดนิทรรศการ การบรรยาย และการอบรม เพื่อส่งเสริมให้เกิดความเข้าใจและเห็นคุณค่าในมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ โดยบทความนี้เน้นย้ำถึงบทบาทสำคัญของวัดในฐานะแหล่งเรียนรู้วัฒนธรรมไทย โดยชี้ให้เห็นว่าวัดไม่ได้เป็นเพียงสถานที่สำหรับประกอบพิธีกรรมทางศาสนาเท่านั้น แต่ยังเป็นแหล่งรวมขององค์ความรู้ทางวัฒนธรรมที่หลากหลายมิติ ทั้งในเชิงวัตถุและนามธรรม ได้แก่ 1) วัฒนธรรมในเชิงวัตถุที่พบในวัด (1) สถาปัตยกรรม วัด อุโบสถ (2) ศิลปะ พระพุทธรูป โรงเรียน (3) วัตถุประจำวัน เครื่องแต่งกาย เครื่องใช้ (4) ผลงานศิลปกรรม จิตรกรรม ประติมากรรม และ 2) วัฒนธรรมในเชิงนามธรรมที่สืบทอดผ่านวัด (1) ภาษาและสัญลักษณ์ ภาษาที่ใช้ในพิธีกรรม สัญลักษณ์ทางศาสนา (2) พิธีกรรม พิธีแต่งงาน ขึ้นบ้านใหม่ ศพ ซึ่งมักผูกโยงกับความเชื่อทางศาสนา (3) ค่านิยมและความเชื่อ ความเชื่อเรื่องการทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ค่านิยมในการดำเนินชีวิต (4) ทัศนคติ การยอมรับสิ่งที่ถูกผิด มาตรฐานในการตัดสินใจ</p> <p>แนวทางการพัฒนาวัดให้เป็นแหล่งเรียนรู้วัฒนธรรม 1) มีพระสงฆ์หรือวิทยากรที่มีความรู้ คอยให้คำแนะนำเกี่ยวกับวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ 2) ตระหนักถึงคุณค่าทางวัฒนธรรม ทั้งในระดับชุมชน สังคม และประเทศชาติ 3) บูรณาการองค์ความรู้ ทั้งทางวัตถุ จิตใจ ความเชื่อ และคติธรรม 4) ส่งเสริมให้วัดเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ จัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรม เช่น การสอนภาษาบาลี สอนทำอาหารพื้นเมือง หรือจัดนิทรรศการเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ท้องถิ่น</p> <p>สรุปได้ว่า วัดเป็นมากกว่าสถานที่ทางศาสนา แต่ยังเป็นคลังความรู้ทางวัฒนธรรมที่สำคัญ การส่งเสริมให้วัดเป็นแหล่งเรียนรู้ จะช่วยสืบทอดวัฒนธรรมไทยให้คงอยู่สืบไป และทำให้คนในชุมชนมีความรู้ความเข้าใจในวัฒนธรรมของตนเองมากยิ่งขึ้น</p>
พระปลัดเกื้อกูล สุภนนฺโท
สิน งามประโคน
พระสุรชัย สุรชโย
Copyright (c) 2024 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-31
2024-12-31
5 3
713
722
-
พุทธวิธีการบริหารวิชาการในสถานศึกษา
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/284272
<p>บทความนี้ ผู้เขียนนำเสนอพุทธวิธีการบริหารวิชาการในสถานศึกษาซึ่งเป็นแนวทางการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา เป็นแนวคิดการนำหลักพุทธธรรม คือ อิทธิบาท 4 (ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา) เพื่อบูรณาการกับการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา รวมถึงการครองงาน ครองตนตามแนวพุทธธรรม ผู้บริหารสถานศึกษาในยุคปัจจุบันต้องมีรูปแบบกลยุทธ์ในการบริหารจัดการการศึกษาควบคู่กับคุณธรรม จริยธรรม เป็นพื้นฐาน เพื่อปรับเปลี่ยนทิศทางวิธีการคิดและการบริหารจัดการแบบใหม่ให้สอดคล้องและทันต่อการเปลี่ยนแปลง โดยผู้นำระดับสูงขององค์กรหรือผู้บริหารสถานศึกษา เป็นบุคคลที่ต้องมีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงต่อการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาในทุกขั้นตอน โดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง พัฒนาผู้เรียนให้มีประสิทธิภาพทั้งด้านความรู้ความสามารถ คุณธรรมจริยธรรม และการคิดเป็นทำเป็น เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้เรียนสามารถนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด</p>
ชนากร ศาสตร์สกุล
บุญเชิด ชำนิศาสตร์
พระมหาญาณวัฒน์ ฐิตวฑฺฒโน
Copyright (c) 2024 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-31
2024-12-31
5 3
723
732
-
แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำยุคดิจิทัลตามหลักพุทธธรรมของผู้บริหารสำนักศาสนศึกษาแผนกธรรมสนามหลวงในเขตปกครองคณะสงฆ์ ภาค 1
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/282007
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสำนักศาสนศึกษา 2) เพื่อศึกษาวิธีการพัฒนาภาวะผู้นำยุคดิจิทัลตามหลักพุทธธรรมของผู้บริหารสำนักศาสนศึกษา และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำยุคดิจิทัลตามหลักพุทธธรรมของผู้บริหารสำนักศาสนศึกษา เป็นการวิจัยแบบผสมวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 205 รูป ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 6 รูป ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสำนักศาสนศึกษา ในภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทั้ง 5 ด้าน คือ ด้านการสนับสนุนการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ด้านการสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการวัดและประเมินผลด้านจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ด้านการสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในด้านการบริหารงาน และด้านการมีภาวะผู้นำและวิสัยทัศน์เทคโนโลยีดิจิทัล ตามลำดับ 2) วิธีการพัฒนาภาวะผู้นำยุคดิจิทัลตามหลักพุทธธรรมของผู้บริหารสำนักศาสนศึกษา ประกอบด้วย (1) ด้านการมีภาวะผู้นำและวิสัยทัศน์เทคโนโลยีดิจิทัล ผู้บริหารมีการสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการพัฒนาสำนักศาสนศึกษา กำหนดแนวทางและยุทธศาสตร์ที่ชัดเจนในการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้าสู่กระบวนการการเรียนรู้ พัฒนาอุปกรณ์และโครงสร้างพื้นฐาน พัฒนาบุคลากร (2) ด้านการสนับสนุนการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ผู้บริหารมีการส่งเสริมการพัฒนาวิชาชีพด้านการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลให้กับครูและบุคลากร จัดอบรมและสัมมนาเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (3) ด้านจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ผู้บริหารมีการดำเนินการให้เกิดความเสมอภาคในการเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัลในสำนักศาสนศึกษา (4) ด้านการสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในด้านการบริหารงาน ผู้บริหารตรวจสอบความพึงพอใจของครูและบุคลากรต่อการให้บริการด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของสำนักศาสนศึกษา (5) ด้านการสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการวัดและประเมินผล ผู้บริหารมีการประเมินการสอนโดยใช้ระบบเทคโนโลยีดิจิทัลของครู มีตัวชี้วัดประสิทธิภาพการสอน และ 3) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำยุคดิจิทัลตามหลักพุทธธรรมของผู้บริหารสำนักศาสนศึกษา ประกอบด้วย (1) พหุสสุตา (ฟังและการเรียนรู้) การฟังและการเรียนรู้เทคโนโลยีโดยการฟังและทำความเข้าใจความต้องการ สนับสนุนการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการวัดและประเมินผล ให้คำแนะนำที่มีประสิทธิภาพและการติดตาม ประเมินการสอนโดยใช้ระบบเทคโนโลยีดิจิทัลของครู (2) ธตา (ทรงจำแม่นยำ) ทรงจำแม่นยำจับหลักหรือสาระได้ ทรงจำความไว้แม่นยำในข้อปฏิบัติและจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ดำเนินการให้เกิดความเสมอภาคในการเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัลในสำนักศาสนศึกษา (3) วจสา ปริจิตา (เข้าใจและการปฏิบัติได้จริง) เข้าใจและการปฏิบัติได้จริงเข้าใจความต้องการในการพัฒนาวิชาชีพด้านการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลให้กับครูและบุคลากร สนับสนุนการเรียนการสอน (4) มนสานุเปกขิตา (วิเคราะห์) วิเคราะห์ความพึงพอใจของครูและบุคลากรด้านเทคโนโลยีดิจิทัล สนับสนุนการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในด้านการบริหารงาน (5) ทิฏฐิยา สุปฏิวิทธา (สังเคราะห์และการประยุกต์) สังเคราะห์และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการพัฒนาร่วมกับการมีภาวะผู้นำและวิสัยทัศน์เทคโนโลยีดิจิทัล</p>
พระครูใบฎีกาอิทธิพล กิตฺติพโล (พรหมมาพันธุ์)
สุทธิพงษ์ ศรีวิชัย
สิน งามประโคน
Copyright (c) 2024 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-31
2024-12-31
5 3
1
17
-
รูปแบบการศึกษาสงเคราะห์ตามหลักพุทธธรรมของพระสังฆาธิการ ในเขตปกครองคณะสงฆ์ ภาค 2
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/283616
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นการศึกษาสงเคราะห์ของพระสังฆาธิการ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการศึกษาสงเคราะห์ตามหลักพุทธธรรม และ 3) เพื่อประเมินรูปแบบการศึกษาสงเคราะห์ตามหลักพุทธธรรมของพระสังฆาธิการ เป็นการวิจัยแบบผสมวิธีระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างที่เป็นพระสังฆาธิการในเขตการปกครองคณะสงฆ์ ภาค 2 จำนวน 297 รูป และกลุ่มเป้าหมายจำนวน 15 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพใช้แบบสัมภาษณ์และแบบการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการความจำเป็นการศึกษาสงเคราะห์ของพระสังฆาธิการ ในภาพรวม คือ 0.786 ด้านที่มีความต้องการจำเป็นอันดับที่ 1 คือ ด้านการศึกษาสงเคราะห์ของคณะสงฆ์ในปัจจุบัน อันดับที่ 2 คือ ด้านการศึกษาสงเคราะห์ต่อผู้ที่ด้อยโอกาส อันดับที่ 3 คือ ด้านการศึกษาสงเคราะห์ในโรงเรียน อันดับที่ 4 คือ ด้านการพัฒนาวัดให้เป็นศูนย์กลางของการศึกษาลดละเลิกสิ่งเสพติดและอบายมุข 2) รูปแบบการศึกษาสงเคราะห์ตามหลักพุทธธรรมของพระสังฆาธิการในเขตปกครองคณะสงฆ์ ภาค 2 เป็นรูปแบบเชิงข้อความ ประกอบด้วยหลักการ แนวคิด วัตถุประสงค์ เนื้อหา บูรณาการหลักพรหมวิหาร 4 กระบวนการจัดการ ผลลัพธ์ที่คาดหวัง และ 3) ผลการประเมินรูปแบบการศึกษาสงเคราะห์ตามหลักพุทธธรรมของพระสังฆาธิการในเขตปกครองคณะสงฆ์ ภาค 2 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านความเป็นประโยชน์ ด้านความเป็นไปได้ และด้านความเหมาะสม ตามลำดับ</p>
พระอธิการชยุต เตชธมฺโม (สุขธรรมา)
สมศักดิ์ บุญปู่
เกษม แสงนนท์
Copyright (c) 2024 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-31
2024-12-31
5 3
18
28
-
แนวทางการส่งเสริมการทำงานเป็นทีมบุคลากรตามหลักพุทธธรรมของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/283950
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการทำงานเป็นทีมบุคลากร 2) เพื่อศึกษาวิธีการส่งเสริมการทำงานเป็นทีมของบุคลากรตามหลักพุทธธรรม และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการส่งเสริมการทำงานเป็นทีมบุคลากรตามหลักพุทธธรรม เป็นการวิจัยแบบผสมวิธีโดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างที่เป็นครู จำนวน 291 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 5 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการทำงานเป็นทีมของบุคลากรของโรงเรียน ในภาพรวมมีสภาพการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านมีสภาพการปฏิบัติอยู่ในระดับมากทั้ง 5 ด้าน คือ ด้านสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกลุ่ม ด้านการติดต่อสื่อสารที่ดี ด้านบทบาทที่สมดุล ด้านวัตถุประสงค์ที่สอดคล้องกับเป้าหมาย ด้านการเปิดเผยและเผชิญหน้า ตามลำดับ 2) วิธีการส่งเสริมการทำงานเป็นทีมของบุคลากรตามหลักพุทธธรรม เป็นการนำการทำงานเป็นทีมบุคลากรของโรงเรียน ทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ ด้านบทบาทที่สมดุล ด้านวัตถุประสงค์ที่สอดคล้องกับเป้าหมาย ด้านวัตถุประสงค์ที่สอดคล้องกับเป้าหมาย ด้านการติดต่อสื่อสารที่ดี และด้านสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกลุ่ม เพื่อบูรณาการกับตามหลักพุทธธรรม คือ หลักสาราณียธรรม 6 ประการ และ 3) แนวทางการส่งเสริมการทำงานเป็นทีมบุคลากรตามหลักพุทธธรรม (สาราณียธรรม 6) ประกอบด้วย (1) เมตตากายกรรม การประพฤติปฏิบัติดีเป็นการสร้างสัมพันธภาพที่ดี และมีความรู้สึกที่ดีกับทีมงานทุกคน (2) เมตตาวจีกรรม ตั้งสัตย์วาจาว่าการสื่อสารด้วยพูดที่สร้างสรรค์ในทีมช่วยให้สำเร็จในการทำงานอย่างดียิ่งขึ้น (3) เมตตามโนกรรม การมีจิตใจที่โอบอ้อมอารีย์ (4) สาธารณโภคิตา การแบ่งปันลาภที่ได้มากับทีมงาน (5) สีลสามัญญตา การรักษาศีลบริสุทธิ์ในทีมงานคือ การมีจิตใจที่เป็นกุศลในทีมงานเพื่อให้มีคุณธรรม (6) ทิฏฐิสามัญญตา มีความเห็นร่วมกันกับทีมงาน เป็นสิ่งที่สำคัญในการสร้างความสามัคคีในทีมงาน</p>
รพีพร อ่อนชัย
สุทธิพงษ์ ศรีวิชัย
พระครูภาวนาวุฒิบัณฑิต
Copyright (c) 2024 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-31
2024-12-31
5 3
29
41
-
แนวทางการบริหารงานบุคคลในยุคดิจิทัลตามหลักอคติ 4 ของสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดอ่างทอง
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/284007
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงานบุคคลในยุคดิจิทัล 2) เพื่อศึกษาวิธีการบริหารงานบุคคลในยุคดิจิทัล และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการบริหารงานบุคคลในยุคดิจิทัลตามหลักอคติ 4 ของสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดอ่างทอง เป็นการวิจัยแบบผสมวิธีโดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามประชากรในการวิจัยทั้งหมด จำนวน 141 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 5 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารงานบุคคลในยุคดิจิทัลของสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้ จังหวัดอ่างทอง ในภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทั้ง 5 ด้าน คือ ด้านการสรรหาและบรรจุแต่งตั้ง ด้านวินัยและการรักษาวินัย ด้านการวางแผนอัตรากำลังและกำหนดตำแหน่ง ด้านการเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ และด้านการออกจากราชการ ตามลำดับ 2) วิธีการการบริหารงานบุคคลในยุคดิจิทัลตามหลักอคติ 4 ประกอบด้วย (1) ด้านการวางแผนอัตรากำลังและกำหนดตำแหน่ง มีการการวิเคราะห์อย่างเป็นระบบเกี่ยวกับกำลังคนโดยปราศจากความลำเอียง (2) ด้านการสรรหาและการบรรจุแต่งตั้ง มีปฏิบัติตามขั้นตอนไม่รักหรือชอบตกไปฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจนเกิดอคติ (3) ด้านการเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ มีการส่งให้ไปการฝึกอบรมการพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับนวัตกรรมยุคดิจิทัล (4) ด้านวินัยและการรักษาวินัย การสร้างความเข้าใจเรื่องของกฎระเบียบและค่านิยมที่ถูกต้องแก่ บุคลากรทุกคน (5) ด้านการออกจากราชการ มีกระบวนการในการพิจารณาบทลงโทษก่อนเพื่อให้ได้ปรับปรุงพฤติกรรมไว้ก่อน ก่อนให้ออกจากราชการ และ 3) แนวทางการบริหารงานบุคคลในยุคดิจิทัลตามหลักอคติ 4 ของสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดอ่างทอง ประกอบด้วย (1) การวางแผนอัตรากำลังและกำหนดตำแหน่ง ผู้บริหารต้องมีความอดทนในการจัดการสภาพปัญหาความขาดแคลนอัตรากำลัง จัดทำแผนการบริหารกำลังคน พยายามบริหารจัดการกำลังคนที่มีอยู่ในองค์กรให้เกิดประโยชน์สูงสุด (2) การสรรหาและการบรรจุแต่งตั้งให้ปราศจากอคติ (3) การเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการผู้บริหารให้ความยุติธรรมกับทุกคนคอยแนะนำให้คำปรึกษายกย่องเชิดชูเกียรติครูทุกคน (4) วินัยและการรักษาวินัย สร้างความเข้าใจเรื่องของกฎระเบียบและค่านิยมที่ถูกต้องแก่บุคลากรทุกคน (5) การออกจากราชการ มีขั้นตอนและกระบวนการในการพิจารณาบทลงโทษก่อนเพื่อให้ได้ปรับปรุงพฤติกรรมก่อนให้ออกจากราชการ</p>
ประภาพร ประวัติวิไล
พระครูกิตติญาณวิสิฐ
ยุทธวีร์ แก้วทองใหญ่
Copyright (c) 2024 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-31
2024-12-31
5 3
42
54
-
แนวทางการบริหารงบประมาณตามหลักฆราวาสธรรม 4 ของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/283915
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นการบริหารงบประมาณของผู้บริหาร 2) เพื่อศึกษาวิธีการบริหารงบประมาณตามหลักฆราวาสธรรม 4 3) เพื่อเสนอแนวทางการบริหารงบประมาณตามหลักฆราวาสธรรม 4 เป็นการวิจัยแบบผสมวิธีโดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบกลุ่มตัวอย่างการวิจัย จำนวน 120 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความต้องการจำเป็น (PNI) และการวิจัยเชิงคุณภาพใช้แบบสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 5 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการจำเป็นของการบริหารงบประมาณ ด้านที่มีความต้องการจำเป็นอันดับที่ 1 คือ การจัดทำและเสนอของบประมาณ รองลงมา คือ การตรวจสอบติดตามประเมินผลรายงานผลการใช้จ่ายและผลการดำเนินงาน ด้านการระดมทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา ด้านการบริหารการเงิน และการบริหารบัญชี ด้านการบริหารพัสดุและทรัพย์สิน ตามลำดับ 2) วิธีการบริหารงบประมาณตามหลักฆราวาสธรรม 4 เป็นการบริหารงบประมาณทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ 1) การจัดทำและเสนอของบประมาณ 2) การบริหารการเงินและการบริหารบัญชี 3) การบริหารพัสดุและทรัพย์สิน 4) การระดมทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา 5) การตรวจสอบติดตามประเมินผล รายงานผลการใช้จ่ายและผลการดำเนินงาน โดยบูรณาการตามหลักฆราวาสธรรม 4 ได้แก่ 1) สัจจะ สัตย์ซื่อแก่กัน 2) ทมะ รู้จักข่มจิตของตน 3) ขันติ อดทน 4) จาคะ สละแบ่งปันแก่ผู้อื่นที่ควรให้ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการบริหารงบประมาณในสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และ 3) แนวทางการบริหารงบประมาณตามหลักฆราวาสธรรม 4 ประกอบด้วย (1) การจัดทำแผนงบประมาณ เพื่อให้ทราบถึงแผนการใช้จ่ายและเป้าหมายที่กำหนดไว้ (2) ระบบการบริหารการเงินและบัญชี กำหนดเป้าหมายทางการเงินและการวางแผนการใช้ทรัพยากรเงินให้เหมาะสมกับเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ การควบคุมการเงินตรวจสอบและควบคุมการใช้จ่าย (3) ระบบการบริหารพัสดุและทรัพย์สิน คือ การวางแผนการจัดซื้อจัดจ้าง บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับทรัพย์สินทั้งหมดของสถานศึกษาอย่างถูกต้องและเป็นระบบ (4) การเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณชน เปิดเผยข้อมูลการระดมทรัพยากรและทุนเพื่อการศึกษา วางแผนและกำหนดเป้าหมายในการระดมทรัพยากรสำหรับการศึกษา (5) การติดตามประเมินผลงบประมาณ การตรวจสอบ ติดตามกระบวนการที่ใช้ทางการเงินและบัญชีดำเนินงานมีประสิทธิภาพ มุ่งเน้นไปที่ความถูกต้อง โปร่งใส และเชื่อถือได้ของข้อมูล</p>
นภาพร เกษสร
พีรวัฒน์ ชัยสุข
อินถา ศิริวรรณ
Copyright (c) 2024 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-31
2024-12-31
5 3
55
68
-
แนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการตามหลักพละ 4 ของกลุ่มเมืองชัยพระเจ้าตาก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/282650
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการ 2) เพื่อศึกษาวิธีการบริหารงานวิชาการตามหลักพละ 4 และ 3) เพื่อเสนอแนวทางพัฒนาการบริหารงานวิชาการตามหลักพละ 4 เป็นการวิจัยแบบผสมวิธีโดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามประชากรในการวิจัยทั้งหมด จำนวน 76 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 5 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารงานวิชาการของกลุ่มเมืองชัยพระเจ้าตาก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในภาพรวมมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้านที่มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด 3 ด้าน คือ ด้านวัดผลประเมินผล ด้านการเรียนการสอน ด้านกิจกรรมส่งเสริมการเรียนการสอน และมีรายด้านที่มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก 2 ด้าน คือ ด้านการบริหารหลักสูตร ด้านสื่อการเรียนการสอน ตามลำดับ 2) วิธีการบริหารงานวิชาการตามหลักพละ 4 มีดังนี้ (1) หลักสูตร ผู้บริหารมีความรู้ความสามารถมีความเพียรพยายามในการปรับปรุงหลักสูตรและทำงานกับครูอย่างมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ (2) การเรียนการสอน ผู้บริหารให้ครูมีการจัดทำแผนการเรียนการสอนและครูมีความเพียรในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนล่วงหน้าทำให้กิจกรรมการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากขึ้น (3) สื่อการเรียนการสอน ครูแต่ละท่านมีความรู้ความสามารถในการผลิตสื่อการสอนและมีความขยันผลิตสื่อที่มีประสิทธิ ทันสมัยและใช้เทคโนโลยีเข้ามามีส่วนร่วมทำให้สื่อเหมาะสมกับผู้เรียนและผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี (4) กิจกรรมส่งเสริมการเรียนการสอน ผู้บริหารส่งเสริมกิจกรรมการเรียนการสอนเน้นกิจกรรมแบบ Active Learning เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผู้เรียนได้ปฏิบัติและลงมือทำ ผู้สอนเป็นผู้คอยอำนวยความสะดวก และสังคหพละเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กับผู้เรียนคอยชี้แนะให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้มาก (5) วัดผลและประเมินผล ครูควรมีวิธีการวัดและประเมินผลที่หลากหลายและเหมาะสมกับเนื้อหาและมีเกณฑ์การวัดการประเมินอย่างชัดเจน โดยการวัดผลและประเมินผลมีการประเมินผลอย่างโปร่งใสและเป็นไปตามเกณฑ์ และ 3) แนวทางพัฒนาการบริหารงานวิชาการตามหลักพละ 4 ประกอบด้วย (1) หลักสูตร ผู้บริหารมีความรู้ความสามารถในการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรให้มีประสิทธิภาพต่อสถานศึกษา (2) การเรียนการสอน ครูผู้สอนมีความรู้ความสามารถและขยันหมั่นเพียรในการจัดทำแผนการสอนทำให้การเรียนการสอนการเตรียมพร้อมอยู่ตลอดเวลาทำให้มีกิจกรรมในห้องเรียนมีประสิทธิภาพ (3) สื่อการเรียนการสอน ครูผู้สอนผลิตสื่อการสอนที่ครอบคลุมกับรายวิชาและเป็นสื่อการเรียนการสอนที่มีความน่าใจและทันสมัยเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้เรียน (4) กิจกรรมส่งเสริมการเรียนการสอน ครูมีการจัดการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยกิจกรรม Active Learning ครูจะคอยเป็นผู้อำนวยความสะดวกให้แก่ผู้เรียน (5) การวัดผลและประเมินผล ครูทำเกณฑ์แบบประเมินที่หลากหลายจึงสามารถวัดผลประเมินผลได้อย่างถูกต้องและชัดเจนมีการประเมินผลที่หลากหลายและเป็นธรรม</p>
ณัฐติชา เขียวสด
เผด็จ จงสกุลศิริ
เกษม แสงนนท์
Copyright (c) 2024 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-31
2024-12-31
5 3
69
81
-
แนวทางการบริหารงานบุคคลในศตวรรษที่ 21 ตามหลักพุทธธรรมของผู้บริหาร ในโรงเรียนกลุ่มบูรพาบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/283766
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงานบุคคลในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหาร 2) เพื่อศึกษาวิธีการบริหารงานบุคคลในศตวรรษที่ 21 ตามหลักพุทธธรรม และ 3) เพื่อแนวทางการบริหารงานบุคคลในศตวรรษที่ 21 ตามหลักพุทธธรรม เป็นการวิจัยแบบผมนวิธีโดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามประชากรทั้งหมดในการวิจัยที่เป็นผู้บริหารและครู จำนวน 115 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารงานบุคคลในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหาร ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และรายด้านอยู่ในระดับมากทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านการพัฒนาบุคลากร ด้านการสรรหาบุคลากร ด้านการประเมินผลการปฏิบัติงานบุคลากร และด้านการวางแผน ตามลำดับ 2) วิธีการบริหารงานบุคคลในศตวรรษที่ 21 ตามหลักพุทธธรรม เป็นการประยุกต์การบริหารงานบุคลากร 4 ด้าน คือ การวางแผน การสรรหาบุคลากร การพัฒนาบุคลากร การประเมินผลการปฏิบัติงานบุคลากร กับหลักพุทธธรรม คือ หลักพรหมวิหาร 4 ได้แก่ (1) เมตตา ความรัก (2) กรุณา สงสาร (3) มุทิตา แสดงความยินดี (4) อุเบกขา วางตัวเป็นกลาง เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการบริหารงานบุคคลในศตวรรษที่ 21 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ 3) แนวทางการการบริหารงานบุคคลในศตวรรษที่ 21 ตามหลักพุทธธรรม ประกอบด้วย (1) การพัฒนาบุคลากรจัดมีการสัมมนาทางวิชาการในการการพัฒนาองค์ความรู้แก่บุคลากรเพื่อสร้างขวัญกำลังใจในการทำงาน (2) การสรรหาบุคลากร ควรจัดหาบุคลากรตรงตามสายงานปฏิบัติหน้าที่เกิดประสิทธิผลสูงสุดในการปฏิบัติงาน (3) การประเมินผลการปฏิบัติงานบุคลากร ควรกำหนดเกณฑ์การประเมินผลการปฏิบัติงานให้บุคลากรทราบล่วงหน้า โดยยึดระเบียบเป็นพื้นฐาน และควรนำผลการประเมินการปฏิบัติงานบุคลากรมาใช้เป็นแนวทางในการวางแผนพัฒนาบุคลากรให้ดียิ่งขึ้น (4) การวางแผน ควรสรรหาบุคลากรที่มีความสามารถมาปฏิบัติงานเพื่อทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย หรือหัวหน้าการใส่ใจในการดูแลลูกน้องเสมือนหนึ่งสมาชิกในครอบครัว</p>
โรจนะ ถวัลย์พงศ์เลิศ
พระครูวิรุฬห์สุตคุณ
พระครูภาวนาวุฒิบัณฑิต
Copyright (c) 2024 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-31
2024-12-31
5 3
82
93
-
ภาวะผู้นำตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของครูและบุคลากรทางการศึกษากลุ่มโรงเรียนสหวิทยาเขตเรือหลวงภาชีนุสรณ์ พระนครศรีอยุธยา
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/281819
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำที่พึงประสงค์ของครูและบุคลากรทางการศึกษา 2) เพื่อศึกษาวิธีการพัฒนาภาวะผู้นำตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของครูและบุคลากรทางการศึกษา และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของครูและบุคลากรทางการศึกษา เป็นการวิจัยแบบผสมวิธีโดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างที่เป็นครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 175 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 6 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำที่พึงประสงค์ของครูและบุคลากรทางการศึกษา ในภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านคุณลักษณะทางนิสัยส่วนตัว ด้านคุณลักษณะทางสังคม ด้านคุณลักษณะทางด้านบุคลิกภาพ และด้านคุณลักษณะทางด้านร่างกาย ตามลำดับ 2) วิธีการพัฒนาภาวะผู้นำตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของครูและบุคลากรทางการศึกษา เป็นการพัฒนาภาวะผู้นำ 4 ประการ ได้แก่ คุณลักษณะทางด้านร่างกาย คุณลักษณะทางด้านบุคลิกภาพ คุณลักษณะทางนิสัยส่วนตัวคุณลักษณะทางสังคม บูรณาการตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ได้แก่ (1) ธัมมัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักเหตุ (2) อัตถัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักผล (3 ) อัตตัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักตน (4) มัตตัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักประมาณ (5) กาลัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักกาลเวลา (6) ปริสัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักชุมชน (7) ปุคคลปโรปรัญญุตา ความเป็นผู้รู้บุคคล เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษากลุ่มโรงเรียนในสหวิทยาเขตเรือหลวงภาชีนุสรณ์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และ 3) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของครูและบุคลากรทางการศึกษาก ประกอบด้วย 1) คุณลักษณะทางด้านร่างกาย ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อบำรุงร่างกาย รักษาสมดุลระหว่างการทำงานและการพักผ่อนให้เพียงพอ วางแผนเวลาให้เหมาะสมระหว่างการทำงานและการพักผ่อน 2) คุณลักษณะทางด้านบุคลิกภาพ สร้างความเข้าใจและเห็นคุณค่าในตนเอง ยอมรับความสามารถและข้อบกพร่องของตนเอง พัฒนาทักษะและความสามารถของตนอย่างต่อเนื่องเชื่อมั่นในการทำงานของตนเอง มีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนรู้และการพัฒนาพัฒนาทักษะการสื่อสาร 3) คุณลักษณะทางนิสัยส่วนตัว เป็นตัวอย่างที่ดีในเรื่องการประหยัดมัธยัสถ์เป็นแบบอย่างในการพัฒนาตนเอง ให้กำลังใจและสนับสนุนนักเรียนให้มีความมั่นใจและยอมรับความท้าทาย 4) คุณลักษณะทางสังคม เข้าร่วมการประชุมชุมชน ช่วยเหลือในกิจกรรมสังคมที่มีประโยชน์สำหรับชุมชนสร้างความเข้าใจ เพื่อให้สามารถเป็นแบบอย่างในการแก้ไขปัญหาสนับสนุนการทำงานร่วมกับผู้ปกครอง นักเรียน และสมาชิกในชุมชนเพื่อสร้างสัมพันธภาพที่แข็งแรงและความเข้าใจ</p>
ปรัชญา เจริญสุข
พระสุรชัย สุรชโย
ลำพอง กลมกูล
Copyright (c) 2024 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-31
2024-12-31
5 3
94
107
-
แนวทางการพัฒนาทักษะการสื่อสารตามหลักพุทธธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/284010
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นของทักษะการสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เพื่อศึกษาวิธีการพัฒนาทักษะการสื่อสารตามหลักพุทธธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาทักษะการสื่อสารตามหลักพุทธธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา เป็นการวิจัยแบบผสมวิธีโดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างที่เป็นครู จำนวน 331 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความต้องการจำเป็น และการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์จากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการจำเป็นของทักษะการสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 มีความต้องการจำเป็น PNImodified อยู่ระหว่าง 0.235-0.173 โดยภาพรวม PNImodified =0.210 ด้านที่มีความต้องการจำเป็นอันดับที่ 1 คือ ความสม่ำเสมอต่อเนื่องกัน อันดับที่ 2 คือ ความน่าเชื่อถือและช่องทางการสื่อสาร อันดับที่ 3 คือ ความสามารถของผู้รับสาร และลำดับสุดท้าย คือ ความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อม 2) วิธีการพัฒนาทักษะการสื่อสารตามหลักพุทธธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา เป็นการพัฒนาทักษะการสื่อสารตามหลักพุทธธรรม คือ สัปปุริสธรรม 7 ประการ ประกอบด้วยด้านธัมมัญญุตา มี 6 วิธี อัตถัญญุตา มี 5 วิธี ด้านอัตตัญญุตา มี 5 วิธี มัตตัญญุตามี 3 วิธี กาลัญญุตามี 4 วิธี ปริสัญญุตา มี 3 วิธี ด้านปุคคลปโรปรัญญุตา มี 5 วิธี และ 3) แนวทางการพัฒนาทักษะการสื่อสารตามหลักพุทธธรรม (หลักปุริสธรรม 7) ของผู้บริหารสถานศึกษา ประกอบด้วย (1) ธัมมัญญุตา การแสดงออกถึงความต้องการขององค์กร วิสัยทัศน์ ค่านิยมองค์กรแต่บุคลากร ใช้ภาษาที่เหมาะกับผู้ฟัง มีการแก้ปัญหาและควรคิดอย่างสร้างสรรค์ มองโลกในแง่ดีตามความเป็นจริง และชัดเจนสามารถเข้าใจได้ง่าย (2) อัตถัญญุตา การกำหนดรายงานความก้าวหน้าและความเคลื่อนไหวในการปฏิบัติงานตามเป้าหมายสื่อสารอย่างชัดเจนกับผู้ใต้บังคับบัญชา (3) อัตตัญญุตา การพูดให้ถูกต้องตามกาลเทศะ มีความเสมอต้นเสมอปลาย (4) มัตตัญญุตา การสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้อื่น มีบทบาทสำคัญในการทำให้ของบุคลากรของสถานศึกษา มีความเชื่อมั่นในองค์กร (5) กาลัญญุตา การพูดสร้างความรู้สึกหรือแรงบันดาลใจอย่างต่อเนื่อง (6) ปริสัญญุตา การมีอิทธิพลและโน้มน้าวใจได้ มีส่วนร่วมของบุคลากรของสถานศึกษา (7) ปุคคลปโรปรัญญุตา การเปิดโอกาสให้บุคลากรได้แสดงความคิดเห็นแก้ไขและติดสินใจร่วมกัน</p>
รตนพร โชติทวีศักดิ์ศรี
พระครูสังฆรักษ์จักรกฤษณ์ ภูริปญฺโญ
ระวิง เรืองสังข์
Copyright (c) 2024 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-31
2024-12-31
5 3
108
119
-
การวิเคราะห์การได้มาซึ่งที่ดินของวัดหรือที่ธรณีสงฆ์ กรณีศึกษาทายาททวงคืนที่ดินที่เจ้ามรดกยกให้แก่วัด
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/279748
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการได้มาซึ่งที่ดินของวัดหรือธรณีสงฆ์ของวัดตามหลักพระธรรมวินัย 2) ศึกษาการได้มาซึ่งที่ดินของวัดหรือธรณีสงฆ์ของวัดตามหลักประมวลกฎหมายที่ดินและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง 3) ศึกษาวิธีการได้มาซึ่งที่ดินของวัดหรือที่ธรณีสงฆ์เปรียบเทียบกับที่สาธารณะตามประมวลกฎหมายที่ดิน กฎหมายสงฆ์ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง 4) เสนอแนวทางป้องกันแก้ไขปัญหาการได้มาซึ่งที่ดินของวัดกรณีทายาททวงคืนที่ดินที่เจ้ามรดกยกให้แก่วัด งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาเอกสาร เก็บรวบรวมข้อมูลและทำการวิเคราะห์ข้อมูลจากการสังเคราะห์ และเปรียบเทียบข้อมูลในเชิงพรรณนา เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อสรุปและข้อเสนอแนะ ผลการวิจัยพบว่า 1) ในสมัยพุทธกาลการถวายที่ดินเพื่อสร้างวัดกระทำเพียงวาจาก็ถือว่า การยกที่ดินการสร้างวัดถวายได้สำเร็จลุล่วงแล้ว 2) การได้มาซึ่งที่ดินของวัดตามกฎหมาย ได้แก่ การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ก่อนใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน การได้กรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายที่ดิน และการได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 3) ที่ดินที่เจ้าของอุทิศให้วัดหรือธรณีสงฆ์ ถ้าไม่ได้มีการจดทะเบียนเป็นหนังสือต่อพนักงานเจ้าหน้าที่วัดจะต้องเข้าไปทำประโยชน์โดยการถือครองปรปักษ์ตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด ที่ดินถึงจะตกเป็นของวัดหรือธรณีสงฆ์ได้ ส่วนที่ดินที่เจ้าของอุทิศให้เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ประเภทอุทิศโดยปริยายจะตกเป็นเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินโดยทันที โดยมิต้องทำเป็นหนังสือจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ 4) เสนอให้มีการพิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติ ข้อ 4 คือ ที่วัดและที่ธรณีสงฆ์ที่ประชาชนอุทิศให้แก่วัดในพระพุทธศาสนา เพื่อป้องกัน แก้ไขปัญหาการได้มาซึ่งที่ดินของวัด มิให้มีปัญหาการตีความอีกต่อไป</p>
กะเชณ มุสิการุณ
ประเสริฐ ลิ่มประเสริฐ
ประมาณเลิศ อัจฉริยปัญญากุล
Copyright (c) 2024 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-31
2024-12-31
5 3
120
130
-
รูปแบบการบริหารงานวิชาการตามหลักอิทธิบาท 4 ในโรงเรียนเอกชนนอกระบบ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/284201
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอรูปแบบการบริหารงานวิชาการตามหลักอิทธิบาท 4 ในโรงเรียนเอกชนนอกระบบ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นการวิจัยแบบผสมวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างที่เป็นครูจากโรงเรียนเอกชนนอกระบบ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 265 คน ใช้แบบประเมินกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 15 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 15 คน การจัดสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการบริหารงานวิชาการตามหลักอิทธิบาท 4 ในโรงเรียนเอกชนนอกระบบ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พบว่า องค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัยได้สร้างรูปแบบการบริหารงานวิชาการตามหลักอิทธิบาท 4 ในโรงเรียนเอกชนนอกระบบ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตามองค์ประกอบของรูปแบบเชิงข้อความ คือ 1) หลักการ 2) แนวคิด 3) วัตถุประสงค์ 4) เนื้อหา 5) การบูรณาการด้วยหลักอิทธิบาท 4 6) ผลลัพธ์ที่คาดหวัง ส่วนผลการประเมินรูปแบบการบริหารงานวิชาการตามหลักอิทธิบาท 4 ในโรงเรียนเอกชนนอกระบบ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และรายด้านอยู่ในระดับมากทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านความเป็นประโยชน์ ด้านความเป็นไปได้ ด้านความเหมาะสม ตามลำดับ โดยสรุปเป็นองค์ความรู้การวิจัย คือ MI</p>
คณิตพงศ์ พิมพ์มีลาย
ลำพอง กลมกูล
สมศักดิ์ บุญปู่
Copyright (c) 2024 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-31
2024-12-31
5 3
131
139
-
แนวทางการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานครูของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 ตามหลักพรหมวิหาร 4
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/283719
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพแรงจูงใจในการปฏิบัติงานครูของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 และ 2) เพื่อหาแนวทางการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานครูของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 ตามหลักพรหมวิหาร 4 เป็นการวิจัยแบบผสมวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริหารและข้าราชการครู จำนวน 308 คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้างทำการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา สรุปผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพแรงจูงใจในการปฏิบัติงานครูของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 โดยภาพรวมมีสภาพอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านมีสภาพอยู่ในระดับมากทุกด้าน คือ ด้านความสำเร็จในการทำงาน ด้านความก้าวหน้าในตำแหน่ง ด้านลักษณะงาน ด้านการยอมรับนับถือ และด้านความรับผิดชอบ ตามลำดับ และ 2) แนวทางการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานครูของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 ตามหลักพรหมวิหาร 4 ประกอบด้วย (1) การผลักดันตนเอง ผู้บริหารสถานศึกษาควรให้คำชี้แนะในการเตรียมความพร้อมคอยช่วยเหลืออย่างใกล้ชิด (2) การเก็บข้อมูลและสรุปการทำงาน ผู้บริหารสถานศึกษาควรกำหนดข้อมูลและตัวชี้วัดของการเก็บข้อมูลการทำงานอย่างชัดเจนเพื่อสนับสนุนครูใช้เครื่องมือหลากหลายในการเก็บข้อมูลการทำงาน (3) การสร้างกำลังใจในการทำงาน ผู้บริหารสถานศึกษาควรเชื่อใจให้โอกาสให้ครูทำงานอิสระและเต็มความสามารถสร้างความสัมพันธ์กับผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างจริงใจ (4) การปฏิบัติงานอย่างเต็มความรู้ความสามารถ ผู้บริหารสถานศึกษาควรสนับสนุนความคิดสร้างสรรค์ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและเปิดโอกาสให้ครูเพิ่มประสบการณ์และทักษะในการปฏิบัติอย่างเท่าเทียม (5) การกำหนดจำนวนบุคลากรให้เหมาะสมกับปริมาณงาน ผู้บริหารสถานศึกษาควรประเมินปริมาณงานและจำนวนบุคลากรให้เหมาะสม (6) การกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของครู ผู้บริหารสถานศึกษาควรสนับสนุนครูให้ใช้วิธีการสอนที่หลากหลายเพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างหลากหลายและมีความสุข (7) การปฏิบัติงานให้สำเร็จตามเป้าหมาย ผู้บริหารสถานศึกษาควรส่งเสริมและสนับสนุนครูให้มีส่วนร่วมในการทำงานร่วม และเปิดโอกาสให้พูดความคิดเห็นอย่างเท่าเทียม (8) การจัดระบบการปฏิบัติงาน ผู้บริหารสถานศึกษาควรกำหนดนโยบายการดำเนินงานอย่างชัดเจนให้ครูได้ปฏิบัติงานอย่างถูกต้องและมีความสุขในการทำงาน (9) การเลื่อนตำแหน่งที่สูงขึ้น ผู้บริหารสถานศึกษาควรเตรียมความพร้อมและสนับสนุนครูในการเดินทางสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้นและการสนับสนุนในการเข้าถึงข้อมูลเพื่อพัฒนาทักษะการทำงานของครูอย่างเท่าเทียมและยุติธรรม (10) การสนับสนุนการศึกษาต่อในระดับที่สูง ผู้บริหารสถานศึกษาควรส่งเสริมครูให้เห็นความสำคัญของการศึกษาต่อประโยชน์และโอกาสในการเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ</p>
ณิชนันทน์ ไชยขันแก้ว
พระมหาอุดร อุตฺตโร
สุวัฒน์ แจ้งจิต
Copyright (c) 2024 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-31
2024-12-31
5 3
140
153
-
แนวทางการพัฒนาการบริหารงานทั่วไปตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนกลุ่มเสมาท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/283787
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงานทั่วไปของบุคลากรทางการศึกษา 2) เพื่อศึกษาวิธีการบริหารงานทั่วไปตามหลักสังคหวัตถุ 4 และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการบริหารงานทั่วไปตามหลักสังคหวัตถุ 4 เป็นการวิจัยแบบผสมวิธีโดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามประชากรทั้งหมดในการวิจัย จำนวน 121 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 6 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารงานทั่วไปตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนกลุ่มเสมาท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก โดยเรียงจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านงานกิจการนักเรียน ด้านกลุ่มงานอาคารสถานที่ ด้านกลุ่มงานความสัมพันธ์กับชุมชน ด้านงานธุรการ ตามลำดับ 2) วิธีการบริหารงานทั่วไปตามหลักสังคหวัตถุ 4 เป็นการนำหลักการบริหารงานทั่วไปประกอบด้วยด้านกลุ่มงานอาคารสถานที่ ด้านงานธุรการ ด้านงานกิจการนักเรียน ด้านกลุ่มงานความสัมพันธ์กับชุมชน บูรณาการตามหลักสังคหวัตถุ 4 ได้แก่ (1) ทาน การให้เสียสละ (2) ปิยวาจา การพูดจาด้วยถ้อยคำที่ไพเราะจริงใจ (3) อัตถจริยา การทำประโยชน์ส่วนร่วม (4) สมานัตตตา การประพฤติเสมอต้นเสมอปลาย และ 3) แนวทางการพัฒนาการบริหารงานทั่วไปตามหลักสังคหวัตถุ 4 ประกอบด้วย (1) ด้านทาน ผู้บริหารสถานศึกษาให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ร่วมงาน ส่งเสริมและสนับสนุนให้กำลังใจช่วยแนะนำแนวทางแก้ไขปัญหา มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ (2) ด้านปิยวาจา ผู้บริหารสถานศึกษาไม่พูดส่อเสียด เหน็บแนม หรือคำหยาบคาย ควรพูดชี้แจงอธิบายเหตุผลอย่างเหมาะสมด้วยความจริงใจ (3) ด้านอัตถจริยา ผู้บริหารสถานศึกษาช่วยเหลือด้วยความเต็มใจ ยินดีและพร้อมรับฟังปัญหาและให้คำปรึกษา เป็นแบบอย่างที่ดี (4) ด้านสมานัตตตา ผู้บริหารสถานศึกษารบริหารงานมชัดเจนตรวจสอบได้ มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีแนะนำส่งเสริมผู้ใต้บังคับบัญชาในสิ่งที่เป็นประโยชน์ มีความเป็นกลาง มีความยุติธรรม</p>
อภิชาติ ธรรมเภรี
ผด็จ จงสกุลศิริ
ยุทธวีร์ แก้วทองใหญ่
Copyright (c) 2024 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-31
2024-12-31
5 3
154
165
-
แนวทางการบริหารงานวิชาการตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษาพิเศษเขตการศึกษา 6 สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/166-178
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการบริหารงานวิชาการตามหลักสังคหวัตถุ 4 2) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษาพิเศษเขตการศึกษา 6 ตามสังคหวัตถุ 4 และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษาพิเศษเขตการศึกษา 6 ตามสังคหวัตถุ 4 เป็นการวิจัยแบบผสมวิธีโดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 186 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบแบบที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวน (Analysis of Variance : ANOVA) และการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 5 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารงานวิชาการตามหลักสังคหวัตถุ 4 ในภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด และรายด้านมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุดทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านสมานัตตตา (หลักสูตร) ด้านทาน (กระบวนการเรียนรู้) ด้านอัตถจริยา (งานประกันคุณภาพ) ด้านปิยวาจา (พัฒนาสื่อ) ตามลำดับ 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ ข้าราชการครูและบุคลากร ที่มีต่อการบริหารงานวิชาการตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษาพิเศษเขตการศึกษา 6 จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า เพศ ระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารงานวิชาการตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษาพิเศษเขตการศึกษา 6 โดยรวมไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 3) แนวทางการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษาพิเศษเขตการศึกษา 6 ตามสังคหวัตถุ 4 โดยการบริหารงานวิชาการมีความจำเป็นที่จะนำเอาหลักสังคหวัตถุ 4 มาเป็นกรอบแนวทางในการบริหารจัดการ ประกอบด้วย (1) การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 คือ ทาน (2) การพัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 คือ ปิยวาจา (3) การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ข้อที่สาม คือ อัตถจริยา (4) การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 คือ ด้านสมานัตตตา ควรนำมาเป็นกรอบแนวทางในการบริหารงานวิชาการเพื่จะพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษาและหลักสูตรท้องถิ่น สร้างและพัฒนานวัตกรรมที่มีกิจกรรมที่หลากหลายให้ผู้เรียนได้รับองค์ความรู้ ส่งเสริม พัฒนา และปรับปรุงเกณฑ์การวัดผลและประเมินผลให้เหมาะสม ผลิตและพัฒนาสื่อนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้ที่เน้นทักษะและกระบวนการ และพัฒนา งานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ประโยชน์ มีความเป็นกลาง ยุติธรรม รับฟังคำวิพากษ์วิจารณ์ และข้อเสนอแนะของผู้ใต้บังคับบัญชา</p>
สุภรัฐ มั่นธรรม
พระครูสังฆรักษ์จักรกฤษณ์ ภูริปญฺโญ
ทองดี ศรีตระการ
Copyright (c) 2024 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-31
2024-12-31
5 3
166
178
-
แนวทางการพัฒนาการปฏิบัติตนตามหลักเบญจศีลของครูโรงเรียนสังกัดเทศบาล จังหวัดสมุทรปราการ
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/282763
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการปฏิบัติตนของครู 2) เพื่อศึกษาวิธีการพัฒนาการปฏิบัติตนตามหลักเบญจศีลของครู และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาการปฏิบัติตนตามหลักเบญจศีลของครู เป็นการวิจัยแบบผสมวิธีโดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 255 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 6 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการปฏิบัติตนของครูโรงเรียนสังกัดเทศบาล จังหวัดสมุทรปราการ ในภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทั้ง 5 ด้าน คือ ด้านจรรยาบรรณต่อสังคม ด้านจรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ ด้านจรรยาบรรณต่อตนเอง ด้านจรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ และด้านจรรยาบรรณต่อวิชาชีพ ตามลำดับ 2) วิธีการพัฒนาการปฏิบัติตนตามหลักเบญจศีลของครู เป็นการประยุกต์หลักเบญจศีลกับการปฏิบัติตนของครู ประกอบด้วย (1) จรรยาบรรณต่อตนเองด้วยหลักเบญจศีล ข้อที่ 5 เว้นจากการน้ำเมา เว้นจากสิ่งเสพติดให้โทษ (2) จรรยาบรรณต่อวิชาชีพด้วยหลักเบญจศีล ข้อที่ 3 เว้นจากการประพฤติผิดในกาม เว้นจากการล่วงละเมิดสิ่งที่ผู้อื่นรักใคร่หวงแหน (3) จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการด้วยหลักเบญจศีล ข้อที่ 1 เว้นจากการฆ่า การประทุษร้ายกัน (4) จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพด้วยหลักเบญจศีล ข้อที่ 4 เว้นจากการพูดเท็จ โกหก หลอกลวง (5) จรรยาบรรณต่อสังคมด้วยหลักเบญจศีล ข้อที่ 2 คือ เว้นจากการถือเอาของที่ผู้อื่นมิได้ให้ และ 3) แนวทางการพัฒนาการปฏิบัติตนตามหลักเบญจศีลของครู ประกอบด้วย(1) จรรยาบรรณต่อตนเอง ครูมีการพัฒนาวินัยในตนเองอยู่เสมอ กำหนดเป้าหมายที่เป็นไปได้และมีความท้าทายในการทำงาน รับผิดชอบต่อการดำเนินงานของตนเอง โดยไม่หลีกเลี่ยงหรือหาข้ออ้าง พัฒนานิสัยที่เป็นประจำ (2) จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ รักษาชื่อเสียงและปกป้องศักดิ์ศรีแห่งวิชาชีพ มีความซื่อสัตย์ในการทำงานและต่อเนื่อง ปฏิบัติตามกฎระเบียบและนโยบายของสถานศึกษา (3) จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ ทักษะ และนิสัยที่ถูกต้องดีงามแก่ศิษย์ด้วยความบริสุทธิ์ใจ สร้างสภาพแวดล้อมที่กระตุ้นการเรียนรู้ มีเครื่องมือการเรียนรู้ ให้กิจกรรมหรือโครงการที่มีความท้าทายและน่าสนใจ (4) จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ สร้างความสามัคคี สร้างการเข้าใจและความรู้เกี่ยวกับนักเรียน ให้นักเรียนทำงานร่วมกันในกิจกรรม สร้างโอกาสให้นักเรียนแสดงความคิดเห็นให้พื้นที่ในการแสดงความคิด (5) จรรยาบรรณต่อสังคม ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีในการอนุรักษ์หรือพัฒนาสิ่งแวดล้อม สร้างการตระหนักและการกระทำที่เป็นประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม สร้างโปรแกรมการเรียนรู้ที่เน้นความยั่งยืน สร้างโอกาสให้นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่เน้นการประหยัดพลังงาน</p>
ศิรประภา นักทำนา
พระครูภัทรธรรมคุณ
ทองดี ศรีตระการ
Copyright (c) 2024 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-31
2024-12-31
5 3
179
193
-
การพัฒนาชุมชนตามหลักสังคหวัตถุธรรมของวัดลิ้นช้าง อำเภอหนองหญ้าปล้อง จังหวัดเพชรบุรี
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/280522
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาหลักการการพัฒนาชุมชนตามหลักสังคหวัตถุธรรม 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการพัฒนาชุมชนตามหลักสังคหวัตถุธรรม โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการพัฒนาชุมชนตามหลักสังคหวัตถุธรรมของวัดลิ้นช้าง เป็นการวิจัยแบบผสมวิธีโดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามประชากรทั้งหมดในการวิจัย จำนวน 276 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที ค่าเอฟ วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) หลักการพัฒนาชุมชนตามหลักสังคหวัตถุธรรมของวัดลิ้นช้าง อำเภอหนองหญ้าปล้อง จังหวัดเพชรบุรี ในภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด คือ ด้านสมานัตตตา การประพฤติตนเสมอต้นเสมอปลาย และรายด้านมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก 3 ด้าน คือ ด้านทาน การให้การเสียสละ ด้านปิยวาจา การพูดด้วยถ้อยคำที่ไพเราะจริงใจ ด้านอัตถจริยา การสงเคราะห์ประโยชน์ส่วนรวม ตามลำดับ 2) ผลการเปรียบเทียบการพัฒนาชุมชนตามหลักสังคหวัตถุธรรมของวัดลิ้นช้าง โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ ต่างกัน มีการพัฒนาชุมชนตามหลักสังคหวัตถุธรรมของวัดลิ้นช้าง โดยภาพรวมแตกต่างกันจึงยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้ ส่วนปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ การศึกษา อาชีพ และรายได้ ต่างกันมีผลให้ประชาชนมีความคิดเห็นต่อการพัฒนาชุมชนตามหลักสังคหวัตถุธรรมของวัดลิ้นช้างโดยภาพรวม ไม่แตกต่างกันจึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ และ 3) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ ในการพัฒนาชุมชนตามหลักสังคหวัตถุธรรม (1) ปัญหา อุปสรรค คือ จำนวนของผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเพิ่มจำนวนมากขึ้นทำให้ได้รับการช่วยเหลือไม่ทั่วถึง มีการใช้ถ้อยคำที่ไม่สุภาพ ขาดความสำรวมในบางครั้ง (2) ข้อเสนอแนะ คือ การสำรวจข้อมูลผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือให้ครอบคลุม เว้นการใช้คำพูดที่ไม่สุภาพ และรักษาสมณะสารูป การวางตัวให้เหมาะสมกับทุกสถานที่</p>
พระวรัญญู วรปญฺโญ (รอดประจง)
พระครูวาทีวรวัฒน์
พระมหากังวาล ธีรธมฺโม
Copyright (c) 2024 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-31
2024-12-31
5 3
194
208
-
ประสิทธิภาพการบริหารจัดการของหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลคลองข่อย อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/280172
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการบริหารจัดการของหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับปฏิบัติการที่มีต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการของหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะต่อการบริหารจัดการของหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล เป็นการวิจัยแบบผสมวิธีโดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 370 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที ค่าเอฟ วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพการบริหารจัดการของหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลคลองข่อย อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี ในภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้านมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก คือ ด้านการจัดกิจกรรมการฝึกอบรมประชาชน และรายด้านมีความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง 2 ด้าน คือ ด้านการดำเนินกิจการเพื่อช่วยเหลือเกื้อกูลประชาชน ด้านการบริหารการเงิน พัสดุ และครุภัณฑ์ ตามลำดับ 2) ผลการเปรียบเทียบประสิทธิภาพการบริหารจัดการของหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลคลองข่อย โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า เพศ อายุ การศึกษา มีผลให้ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการ โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย ส่วนด้านอาชีพและรายได้ มีผลให้ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการ โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน และ 3) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะต่อการบริหารจัดการของหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล (1) ปัญหา อุปสรรค คือ คณะสงฆ์ขาดการอบรมส่งเสริมพัฒนาบุคลากร ขาดการจัดทำแผนงบประมาณสนับสนุนสงเคราะห์ชุมชน ขาดการเปิดโอกาสให้ภาครัฐและประชาชนมีส่วนร่วมปฏิบัติงานของหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล (2) ข้อเสนอแนะ คือ คณะสงฆ์ควรสนับสนุนให้การอบรมพัฒนาบุคลากรและให้ความสำคัญบุคลากรในฐานะทรัพยากรที่ทรงคุณค่า ควรพัฒนางานในหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล ควรให้การสนับสนุนและพัฒนากลุ่มงานที่มีอยู่ในชุมชนอย่างยั่งยืน ควรเพิ่มประสิทธิภาพการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อลดช่องว่างงานของคนในชุมชน</p>
พระครูสังฆรักษ์สุเทพ สุเทโว (ชูชีพ)
พระครูวาทีวรวัฒน์
พระมหากังวาล ธีรธมฺโม
Copyright (c) 2024 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-31
2024-12-31
5 3
209
222
-
แนวทางการพัฒนาการทำงานเป็นทีมตามหลักสาราณียธรรม 6 ของครูกลุ่มโรงเรียนวังคชสาร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/283776
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการทำงานเป็นทีมของครู 2) เพื่อศึกษาวิธีการพัฒนาการทำงานเป็นทีมตามหลักสาราณียธรรม 6 และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาการทำงานเป็นทีมตามหลักสาราณียธรรม 6 เป็นการวิจัยแบบผสมวิธีโดยการวิจัยเขิงปริมาณใช้แบบสอบถามประชากรทั้งหมดในการวิจัย จำนวน 170 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ คือ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 6 คนวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการทำงานเป็นทีมของครูกลุ่มโรงเรียนวังคชสาร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด 4 ด้าน คือ ด้านการมีปฏิสัมพันธ์ ด้านการไว้วางใจซึ่งกันและกัน ด้านเป้าหมายของทีม ด้านการยอมรับนับถือ และรายด้านอยู่ในระดับมาก คือ ด้านการสื่อสาร ตามลำดับ 2) วิธีการพัฒนาการทำงานเป็นทีมตามหลักสาราณียธรรม 6 มีวิธีการดังนี้ (1) การไว้วางใจซึ่งกัน ครูมีการสร้างสัมพันธ์เพื่อให้เกิดความไว้วางใจต่อกันเข้าไปช่วยด้วยกำลังกายมีไมตรีจิตต่อกันทางวาจาด้วยปรารถนาดีต่อกัน ยิ้มแย้มแจ่มใสต่อกัน ปฏิบัติให้มีความบริสุทธิ์ให้เกียรติต่อความคิดของเพื่อนร่วมงาน (2) การสื่อสาร มีบุคลิกภาพที่ดีมีการสื่อสารดี ด้วยวาจาสุภาพมีความน่าเชื่อถือมีความรักต่อกัน รู้จักแบ่งกันกินแบ่งกันใช้ ประพฤติดีงามและมีทัศนคติของตัวให้เข้ากับคนหมู่มาก (3) เป้าหมายของทีม ร่วมกันวางแผนการทำงานด้วยความเต็มใจให้ความเคารพนับถือกัน รับฟังความคิดเห็นของทีมงานของสมาชิกในทีม (4) การยอมรับนับถือ การสร้างการยอมรับนับถือต้องเริ่มจากการนับถือกันด้วย ร่วมกันพูดคุยกันเพื่อแก้ปัญหาที่ให้การยอมรับหัวหน้าทีมและร่วมสุขร่วมทุกข์กันด้วยกัน (5) การมีปฏิสัมพันธ์ ควรเข้าไปสร้างความสัมพันธ์ทางกายที่ดีกับสมาชิกกับเพื่อนด้วยความเต็มใจสานสัมพันธ์อันดีและเชื่อมั่น และ 3) แนวทางการพัฒนาการทำงานเป็นทีมตามหลักสาราณียธรรม 6 ประกอบด้วย (1) การไว้วางใจซึ่งกันและกัน ครูควรเคารพในการทำหน้าที่ ทำงานตามที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มกำลัง ให้คำแนะนำ ให้กำลังใจผู้ร่วมงาน และร่วมกันชำระเงินสวัสดิการสำหรับการจัดกิจกรรม (2) การสื่อสาร ครูควรสื่อสารด้วยความเคารพ ใช้วาจาสุภาพมีเหตุผลและสื่อสารอย่างไม่มีอคติ (3) เป้าหมายของทีม ครูร่วมมือในการทำงานตามมติของทีมพูดอย่างสร้างสรรค์คิดทำแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์แก่กัน ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน ให้ความเคารพสิทธิของกันและกัน (4) การยอมรับนับถือ ครูควรยอมรับในความแตกต่างของผู้อื่น พูดจาด้วยคำสุภาพ ยอมรับฟังความคิดเห็นต่างของผู้อื่นเมื่อมีความคิดต่างจากผู้อื่น อาจต้องปรับทัศนคติของตนเองด้วย (5) การมีปฏิสัมพันธ์ ครูควรให้ความช่วยเหลือกับเพื่อนร่วมงาน แสดงน้ำใจ ยิ้มแย้มแจ่มใสมองในแง่มุมที่ดีรู้จักการแบ่งปัน เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และไม่วางอำนาจเบียดเบียนผู้อื่น</p>
มาริสา มุกดาดวง
เผด็จ จงสกุลศิริ
]อินถา ศิริวรรณ
Copyright (c) 2024 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-31
2024-12-31
5 3
223
236
-
ความต้องการจำเป็นภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/284239
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เป็นการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยที่เป็นครูในสถานศึกษา จำนวน 357คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนีความต้องการจำเป็น (PNI<sub>Modified</sub>) ผลการวิจัยพบว่า ความต้องการจำเป็นภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ในภาพรวมมีดัชนีความต้องการจำเป็น (PNI<sub>Modified</sub>) อยู่ระหว่าง 0.055-0.069องค์ประกอบที่มีความต้องการจำเป็นสูงที่สุด คือ ความมีจินตนาการ รองลงมา คือ ความยืดหยุ่น ความสามารถในการแก้ปัญหา และความมีวิสัยทัศน์ ตามลำดับ</p>
กุสุมา ยี่ภู่
อินถา ศิริวรรณ
พระมหาญาณวัฒน์ ฐิตวฑฺฒโน
Copyright (c) 2024 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-31
2024-12-31
5 3
237
244
-
แนวทางป้องกันการกระทำความผิดของผู้ต้องขังหญิงเรือนจำจังหวัดอ่างทอง
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/280895
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาถึงสาเหตุการกระทำความผิดของผู้ต้องขังหญิงเรือนจำจังหวัดอ่างทอง และ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการป้องกันการกระทำความผิดของผู้ต้องขังหญิงเรือนจำจังหวัดอ่างทอง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ต้องขังหญิงที่ถูกคุมขังอยู่ภายในแดนหญิงเรือนจำจังหวัดอ่างทอง จำนวน 120 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 1 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) สาเหตุการกระทำความผิดของผู้ต้องขังหญิงเรือนจำจังหวัดอ่างทอง ประกอบด้วย (1) สาเหตุด้านพฤติกรรมส่วนบุคคล โดยภาพรวมอยู่ในระดับน้อย ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านอุปนิสัยส่วนตัว เป็นคนที่ชอบดื่มสุราและใช้ยาเสพติด รองลงมา คือ ด้านความเครียดวิตกกังวล เป็นคนที่มีความเครียดอยู่เสมอ (2) สาเหตุด้านสภาพแวดล้อม โดยภาพรวมอยู่ในระดับน้อย ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านสภาพแวดล้อมบริเวณที่พักอาศัยก่อนต้องโทษที่พักอาศัยอยู่ใกล้แหล่งมั่วสุมยาเสพติดและการพนัน รองลงมา คือ ด้านสภาพในชุมชนก่อนต้องโทษ ชุมชนที่อยู่มีการซื้อขายยาเสพติด (3) สาเหตุด้านครอบครัว โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านความสัมพันธ์ภายในครอบครัว เวลามีปัญหามักจะปรึกษาหรือขอคำแนะนำจากครอบครัวไม่ได้ รองลงมา คือ ด้านสถานภาพทางครอบครัว ครอบครัวแยกกันอยู่คนละทิศคนละทาง (4) สาเหตุด้านเศรษฐกิจ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการว่างงาน บิดา มารดา หรือคนในครอบครัวไม่มีรายได้/ไม่มีอาชีพเป็นหลัก รองลงมา คือ ด้านความยากจน รายได้ของตนและครอบครัวไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่าย 2) แนวทางป้องกันการกระทำความผิดของผู้ต้องขังหญิงเรือนจำจังหวัดอ่างทอง (1) ทางเรือนจำควรให้ผู้ต้องขัง ผ่อนคลายความเครียด เช่น กีฬา นันทนาการ ดนตรีบำบัด ควรให้มีการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพที่ดี การโภชนาการที่ดีเพื่อลดความเครียดที่เกิดจากการเจ็บป่วย รวมถึงการมีนักจิตวิทยาให้คำปรึกษากับผู้ต้องขังก่อนพ้นโทษ (2) ควรให้มีการจัดตั้งศูนย์รับแจ้งเบาะแสเมื่อพบการกระทำความผิดภายในชุมชน (3) ควรให้หน่วยงานด้านสาธารณสุขร่วมกันกับชุมชน ส่งเสริมป้องกันความรุนแรงในครอบครัวจัดอบรมเรียนรู้การควบคุมอารมณ์การระบายความเครียด ควรให้หน่วยงานด้านการส่งเสริมสุขภาพจิต เข้ามาดูแลปัญหาทางด้านจิตใจของผู้หญิงที่เกิดจากความรุนแรงในครอบครัว (4) เรือนจำควรประสานงานกับหน่วยงานภายนอกเพื่อให้รองรับผู้ต้องขังเข้าทำงานภายหลังพ้นโทษ และทางเรือนจำควรจัดอบรมฝึกวิชาชีพให้ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน นำความรู้ที่ได้ไปประกอบอาชีพได้จริง และรัฐควรจัดหาแหล่งงานให้มีความมั่นคง</p>
เตชินี เตชะรัตน์
ธาตรี มหันตรัตน์
Copyright (c) 2024 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-31
2024-12-31
5 3
245
256
-
ความต้องการจำเป็นภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/284262
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างที่เป็นครูในสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 370 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนีความต้องการจำเป็น ผลการวิจัยพบว่า ความต้องการจำเป็นภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร ในภาพรวมมีดัชนีความต้องการจำเป็น อยู่ระหว่าง 0.052-0.076 องค์ประกอบที่มีความต้องการจำเป็นอันดับที่ 1 คือ ความตระหนักรู้ รองลงมา คือ ความมองการณ์ไกล ความรับผิดชอบ ความอ่อนน้อมถ่อมตน และความมุ่งมั่นพัฒนาบุคคล ตามลำดับ</p>
มนตรา ลิ้มสกุลวานิจ
สมศักดิ์ บุญปู่
พระมหาญาณวัฒน์ ฐิตวฑฺฒโน
Copyright (c) 2024 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-31
2024-12-31
5 3
257
264
-
แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำยุคดิจิทัลตามหลักพุทธธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาลพบุรี
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/281576
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถาน 2) เพื่อศึกษาวิธีการพัฒนาภาวะผู้นำยุคดิจิทัลตามหลักพุทธธรรม และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำยุคดิจิทัลตามหลักพุทธธรรม เป็นการวิจัยแบบผสมวิธีด้วยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 285 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความต้องการจำเป็น และการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 6 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการจำเป็นภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาลพบุรี ในภาพรวมมีค่าดัชนี PNImodified คือ 0.406 และด้านที่มีความต้องการจำเป็นอันดับที่ 1 คือ ด้านการบริหารงานโดยใช้ข้อมูลสารสนเทศ รองลงมา คือ ด้านการมีจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านการมีวิสัยทัศน์ดิจิทัล และอันดับสุดท้าย คือ ด้านการส่งเสริมการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนการสอน 2) วิธีการพัฒนาภาวะผู้นำยุคดิจิทัลตามหลักพุทธธรรม เป็นการพัฒนาภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาประกอบด้วยด้านการมีวิสัยทัศน์ดิจิทัล ด้านการบริหารงานโดยใช้ข้อมูลสารสนเทศ ด้านการส่งเสริมการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนการสอน ด้านการมีจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ บูรณาการตามหลักพุทธธรรม คือ หลักทุติยปาปณิกสูตร ได้แก่ (1) จักขุมา ผู้นำที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล (2) วิธูโร ผู้นำที่จัดการธุระได้ดีมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน (3) นิสสยสัมปันโน ผู้นำที่มีมนุษยสัมพันธ์ดี และ 3) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำยุคดิจิทัลตามหลักพุทธธรรม ประกอบด้วย (1) ความเป็นผู้มีจักขุมา (วิสัยทัศน์กว้าง) ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์การบริหารงาน มีการสื่อสารและความสามารถในการเป็นผู้นำ (2) ความผู้มีวิธูโร (เชี่ยวชาญปฏิบัติ) ผู้บริหารมีความเชี่ยวชาญในด้านการบริหารมีความเป็นผู้นำ แสวงหาความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างสม่ำเสมอ จัดการข้อมูลนักเรียนและบุคลากร นำระบบบริหารสารสนเทศ จัดระบบบริหารจัดการทรัพยากรบุคคล จัดระบบตารางเรียนออนไลน์และระบบจัดการกิจกรรมโรงเรียน (3) ความเป็นผู้มีนิสสยสัมปันโน (มนุษยสัมพันธ์ดี) ผู้บริหารมีมนุษยสัมพันธ์ดีกับเพื่อนร่วมงาน เชี่ยวชาญใช้โปรแกรมหรือแพลตฟอร์มการสื่อสารออนไลน์ จัดการความปลอดภัย ใช้ระบบความปลอดภัยเพื่อปกป้องข้อมูล สร้างเครือข่ายการทำงานด้วยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ</p>
อดิศักดิ์ ทิพย์สุวรรณ
บุญเชิด ชำนิศาสตร์
พระสุรชัย สุรชโย
Copyright (c) 2024 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-31
2024-12-31
5 3
265
277
-
แนวทางการพัฒนาศักยภาพการปฏิบัติงานตามหลักภาวนา 4 ของบุคลากรในสถานศึกษา กลุ่มโรงเรียนบูรพาบางปะอิน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/283883
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการปฏิบัติงานของบุคลากร 2) เพื่อศึกษาวิธีการพัฒนาศักยภาพการปฏิบัติงานตามหลักภาวนา 4 และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาศักยภาพการปฏิบัติงานตามหลักภาวนา 4 เป็นการวิจัยแบบผสมวิธีโดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามประชากรทั้งหมดในการวิจัยที่เป็นผู้บริหารสถานศึกษาครูผู้สอน จำนวน 115 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 5 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการปฏิบัติงานของบุคคลากรในสถานศึกษา กลุ่มโรงเรียนบูรพาบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านอยู่ในระดับมากทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านการประเมินการพัฒนาศักยภาพ ด้านการดำเนินการพัฒนาศักยภาพ ด้านการพัฒนาศักยภาพ ด้านการวางแผนการพัฒนาศักยภาพ ตามลำดับ 2) วิธีการพัฒนาศักยภาพการปฏิบัติงานตามหลักภาวนา 4 เป็นการนำการปฏิบัติงานของบุคลากร ประกอบด้วยการวางแผนการพัฒนาศักยภาพ การดำเนินการพัฒนาศักยภาพ การประเมินการพัฒนาศักยภาพ การพัฒนาศักยภาพ เพื่อบูรณาการตามหลักภาวนา 4 ประกอบด้วย (1) กายภาวนา การฝึกอบรมกาย (2) สีลภาวนา การฝึกอบรมศีล (3) จิตภาวนา การฝึกอบรมจิตใจ (4) ปัญญาภาวนา การฝึกอบรมปัญญา และ 3) แนวทางการพัฒนาศักยภาพการปฏิบัติงานตามหลักภาวนา 4 ประกอบด้วย (1) การวางแผนการพัฒนาศักยภาพ การวางแผนพัฒนาศักยภาพบุคลากรในด้านที่ตรงตามความต้องกางของแต่ละคน (2) การดำเนินการพัฒนาศักยภาพ การจัดการดำเนินการพัฒนาศักยภาพบุคลากรให้สอดคล้องกับความต้องการการพัฒนาของบุคลากรเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อบุคลากร รวมทั้งสถานศึกษา (3) การประเมินการพัฒนาศักยภาพ การประเมินการพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้วยวิธีการอย่างยุติธรรม เที่ยงตรง เท่าเทียมกัน (4) การพัฒนาศักยภาพ การประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากรในสถานศึกษาเป็นระยะๆ เพื่อพัฒนาศักยภาพในการปฏิบัติงานของตนเอง สามารถนำมาใช้พัฒนาสถานศึกษา</p>
ธนวัฒน์ จันทน์สุคนธ์
พระครูวิรุฬห์สุตคุณ
พีรวัฒน์ ชัยสุข
Copyright (c) 2024 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-31
2024-12-31
5 3
278
287
-
แนวทางการบริหารงบประมาณตามหลักธรรมาภิบาลสำหรับสถานศึกษาในเขตอำเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/283857
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาอุปสรรคด้านการบริหารงบประมาณของสถานศึกษา 2) เพื่อศึกษาวิธีการบริหารงบประมาณตามหลักธรรมาภิบาล และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการบริหารงบประมาณตามหลักธรรมาภิบาล เป็นการวิจัยผสมวิธีโดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริหารและครูผู้สอน จำนวน 172 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 5 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัญหาอุปสรรคด้านการบริหารงบประมาณของสถานศึกษา เขตอำเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก และรายด้านมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านบริหารการเงิน ด้านบริหารพัสดุทรัพย์สิน และด้านบริหารบัญชี ตามลำดับ 2) วิธีการบริหารงบประมาณตามหลักธรรมาภิบาล (1) สถานศึกษาต้องมีแผนการบริหารการเงินที่ชัดเจนสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าหมายการบริหารการเงินการจัดทำบัญชีและรายงานการเงินที่ถูกต้อง ครบถ้วน ตรงต่อเวลา (2) บริหารการเงินอย่างมีประสิทธิภาพ ประหยัด คุ้มค่า มีระบบการควบคุมภายในตรวจสอบโปร่งใส และ (3) นำเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารการเงินและพัฒนาระบบบริหารความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มีมาตรการป้องกันความเสี่ยง และพัฒนาทักษะบุคลากร ฝึกอบรมให้ความรู้การเงิน และระเบียบการบริหารการเงินแก่บุคลากรผู้รับผิดชอบ และ 3) แนวทางการบริหารงบประมาณตามหลักธรรมาภิบาล (1) ด้านบริหารการเงิน สถานศึกษาต้องจัดทำแผนการใช้งบประมาณ มีวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย ชัดเจน การพัฒนาระบบติดตาม ตรวจสอบการใช้งบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ และจัดอบรมให้ความรู้ ความเข้าใจระเบียบข้อบังคับการใช้งบประมาณแก่บุคลากร (2) ด้านบริหารบัญชี สถานศึกษาควรพัฒนาระบบบัญชีให้ถูกต้อง ครบถ้วน ตรงต่อเวลา จัดทำรายงานทางการเงินที่ถูกต้อง ครบถ้วน ตรงต่อเวลาและเก็บรักษาเอกสารหลักฐานทางการเงินอย่างครบถ้วน ตรวจสอบได้ (3) ด้านบริหารพัสดุและสินทรัพย์ สถานศึกษาควรจัดทำแผนพัสดุและสินทรัพย์ชัดเจน และระบบการจัดซื้อจัดจ้างให้มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้จากการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุ ให้มีประสิทธิผล คุ้มค่า ประหยัด มีประสิทธิภาพตอบสนองความต้องการของนักเรียน ผู้ปกครอง มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนบริหาร</p>
วาสนา ปานฉิม
เกษม แสงนนท์
บุญเชิด ชำนิศาสตร์
Copyright (c) 2024 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-31
2024-12-31
5 3
288
298
-
แนวทางการบริหารสถานศึกษาโดยใช้กระบวนการเทียบเคียงสมรรถนะ (Benchmarking) สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 1 ตามหลักสัปปุริสธรรม 7
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/283666
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารสถานศึกษาโดยใช้กระบวนการเทียบเคียงสมรรถนะ (Benchmarking) สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 1 และ 2) เพื่อหาแนวทางการบริหารสถานศึกษาโดยใช้กระบวนการเทียบเคียงสมรรถนะ (Benchmarking) สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 1 ตามหลักสัปปุริสธรรม 7 การวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและข้าราชการครู จำนวน 291 คน และสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิธีวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารสถานศึกษาโดยใช้กระบวนการเทียบเคียงสมรรถนะ (Benchmarking) สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 1 โดยภาพรวมมีสภาพการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า มีระดับสภาพการปฏิบัติอยู่ในระดับมากทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านการเปรียบเทียบทั่วไป รองลงมา คือ ด้านการเปรียบเทียบกับคู่แข่งขัน ด้านการเปรียบเทียบตามหน้าที่ และด้านการเปรียบเทียบภายในองค์กร ตามลำดับ และ 2) แนวทางการบริหารสถานศึกษาโดยใช้กระบวนการเทียบเคียงสมรรถนะ (Benchmarking) สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 1 ตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่ ด้านที่ 1 การเปรียบเทียบกับคู่แข่งขัน ควรเลือกสถานศึกษาที่ดีเป็นต้นแบบ นำผลการดำเนินการมาพัฒนาสถานศึกษา วิเคราะห์ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค เทียบกับโรงเรียนต้นแบบ เพื่อวางแผนพัฒนาการดำเนินงาน ศึกษาหลักการบริหารองค์กร และบริการวิชาการ เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการในปีต่อไป ด้านที่ 2 การเปรียบเทียบภายในองค์กร ควรวิเคราะห์ปัญหาของการทำงาน เพื่อหาสาเหตุของปัญหาและวางแผนการดำเนินงาน รวมถึงการประเมินการปฏิบัติงานเพื่อวางแผนการพัฒนาบุคลากรและงานฝ่ายต่างๆ ในองค์กร เพื่อบรรลุผลสำเร็จและส่งเสริมพัฒนาบุคลากรในองค์กรและส่งเสริมงานฝ่ายต่างๆ ในองค์กรด้วยการศึกษาดูงานโรงเรียนต้นแบบและการฝึกอบรมในระยะเวลาเหมาะสม ด้านที่ 3 การเปรียบเทียบตามหน้าที่ ควรวิเคราะห์ความต้องการและพัฒนาบุคลากรในสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมความสามารถ ตอบสนองเหตุการณ์ปัจจุบัน วางแผนการดำเนินงานเพื่อปรับปรุงการปฏิบัติตามจุดประสงค์ขององค์กร สร้างความสามัคคีและช่วยเหลือในการปฏิบัติงานด้วยความร่วมมือของบุคลากรและชุมชน และด้านที่ 4 การเปรียบเทียบทั่วไป ควรนิเทศติดตามการใช้หลักสูตรในการจัดการเรียนการสอนเพื่อเข้าใจและแก้ไขปัญหา และนำมาใช้ในการวางแผนการดำเนินงานขององค์กร โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลของครู ผู้เรียน และการจัดการเรียนการสอน โดยใช้หลักสูตรท้องถิ่นในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เข้าถึงชุมชนและมีส่วนร่วมของชุมชน</p>
พิมพ์ชนก แพงไตร
สุวัฒน์ แจ้งจิต
วรกฤต เถื่อนช้าง
Copyright (c) 2024 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-31
2024-12-31
5 3
299
312
-
แนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการโดยใช้หลักธรรมปาปณิกธรรม 3 ของโรงเรียนในกลุ่มพระราชวังบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/284015
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นของแนวทางในการพัฒนาการบริหารงานวิชาการ 2) เพื่อพัฒนาวิธีการบริหารงานวิชาการตามหลักปาปณิกธรรม 3 ของผู้บริหารโรงเรียน และ 3) เพื่อเสนอแนวทางในการพัฒนาการบริหารงานวิชาการตามหลักปาปณิกธรรม 3 ของผู้บริหาร โรงเรียน เป็นการวิจัยแบบผสมวิธีโดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริหารและครู 122 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน PNImodified และการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 5 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการจำเป็นการบริหารงานวิชาการ ในภาพรวม PNImodified = 0.32 มีความต้องการจำเป็น PNImodified อยู่ระหว่าง 0.31 - 0.33 ด้านที่มีความต้องการจำเป็นอันดับที่ 1 คือ การดำเนินการในการจัดการเรียนรู้ ลำดับที่ 2 คือ การประเมินผลในการพัฒนาการบริหารงานวิชาการ และลำดับที่ 3 คือ การวางแผนในการพัฒนาการบริหารงานวิชาการ ตามลำดับ 2) วิธีการบริหารงานวิชาการตามหลักปาปณิกธรรม 3 เป็นการนำหลักการบริหารวิชาการ 3 คือ การวางแผนในการพัฒนาการบริหารงานวิชาการ การดำเนินการในการจัด การประเมินผลในการพัฒนาการบริหารงานวิชาการ กับหลักปาปณิกธรรม 3 คือ (1) จักขุมา เป็นผู้บริหารที่มีวิสัยทัศน์ มีความรอบคอบ มีเหตุผล และมีปัญญามองการณ์ไกล (2) วิธูโร เป็นผู้บริหารที่จัดการบริหารสถานศึกษาได้ดีด้วยความเชี่ยวชาญ (3) นิสสยสัมปันโน เป็นผู้บริหารที่มีมนุษยสัมพันธ์และเป็นผู้บริหารต้นแบบอย่างที่ดี และ 3) แนวทางในการพัฒนาการบริหารงานวิชาการตามหลักปาปณิกธรรม 3 ของผู้บริหารโรงเรียน ประกอบด้วย (1) หลักจักขุมา คือ ผู้บริหารต้องมีวิสัยทัศน์ที่ดี ในการบริหารงานวิชาการ ดังนี้ กำหนดเป้าหมายการพัฒนา รู้จักผู้เรียนรายบุคคล มอบหมายงานครูตามความถนัด จัดทำแผนปฏิบัติการ (2) หลักวิธูโร คือ ผู้บริหารต้องมีการจัดการที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ในการบริหารงานวิชาการ ดังนี้ ผู้บริหารสำรวจการเรียนรู้ มอบหมายงานครูตามความถนัด จัดการเรียนรู้ที่ทันสมัย จัดกิจกรรมบูรณาการกับการเรียนรู้ กระตุ้นให้ผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ (3) หลักนิสสยสัมปันโน คือ ผู้บริหารต้องมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ในการบริหารงานวิชาการ ดังนี้ ผู้บริหารมีการติดต่อประสานงานกับชุมชน จัดการเรียนรู้ได้ตรงกับความต้องการของผู้เรียนแก้ปัญหาร่วมกันในการจัดการเรียนรู้ กำหนดเกณฑ์ในการนิเทศ ประเมินการปฏิบัติงาน</p>
เรืองศักดิ์ บุญเรือง
ลำพอง กลมกูล
พระครูภาวนาวุฒิบัณฑิต
Copyright (c) 2024 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-31
2024-12-31
5 3
313
323
-
รูปแบบการบริหารบุคคลยุควิถีชีวิตใหม่ตามหลักธรรมาภิบาล สำหรับผู้บริหารกลุ่มโรงเรียนอำเภอบางไทร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/283579
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารบุคคลยุควิถีชีวิตใหม่ สำหรับผู้บริหารกลุ่มโรงเรียนอำเภอบางไทร 2) เพื่อศึกษารูปแบบการบริหารบุคคลยุควิถีชีวิตใหม่ตามหลักธรรมาภิบาล 2 และ 3) เพื่อเสนอรูปแบบการบริหารบุคคลยุควิถีชีวิตใหม่ตามหลักธรรมาภิบาล สำหรับผู้บริหารกลุ่มโรงเรียนอำเภอบางไทร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 เป็นการวิจัยแบบผสมวิธี การวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามประชากรในการวิจัยที่เป็นผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำนวน 160 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารบุคคลยุควิถีชีวิตใหม่ สำหรับผู้บริหารกลุ่มโรงเรียนอำเภอบางไทร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 โดยภาพรวมมีสภาพการบริหารอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านมีสภาพการบริหารอยู่ในระดับมากทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านการวางแผนอัตรากำลังและกำหนดตำแหน่ง ด้านการประเมินผลการปฏิบัติงาน ด้านการเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ และด้านวินัยและการรักษาวินัย ตามลำดับ 2) รูปแบบการบริหารบุคคลยุควิถีชีวิตใหม่ตามหลักธรรมาภิบาล สำหรับผู้บริหารกลุ่มโรงเรียนอำเภอบางไทร เป็นการนำหลักการบริหารบุคคลวิถีชีวิตใหม่บูรณาการกับหลักธรรมาภิบาล (1) ด้านวินัยและการรักษาวินัย ผู้บริหารส่งเสริมให้มีกฎระเบียบที่ต้องรักษาวินัยโดยเคร่งครัดเสมอ กำหนดโทษผิดวินัย การต้องอุทิศเวลาให้แก่สถานศึกษา ผู้บริหารปฏิบัติตนเป็นตัวอย่างในการปฏิบัติตามกฎระเบียบของโรงเรียน (2) ด้านการเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ ผู้บริหารกำหนดวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนในการประเมินผลการปฏิบัติงาน ฝึกอบรมเพื่อเตรียมความพร้อมเรื่องความสามารถของบุคลากรสำหรับการเลื่อนตำแหน่งที่สูงขึ้น ส่งเสริมการพัฒนาครูให้พัฒนาทักษะและความรู้การสอน (3) ด้านการประเมินผลการปฏิบัติงาน ผู้บริหารวางแผนและบริหารเวลาเพื่อให้งานเสร็จตามเวลาที่กำหนด ชี้แจงข้อมูลการประเมินให้บุคลากรทราบอย่างเป็นทางการ ศึกษาลักษณะพิเศษของครูและนักเรียน (4) ด้านการวางแผนอัตรากำลังและกำหนดตำแหน่ง ผู้บริหารกำหนดแผนงานบุคลากรไว้ในแผนยุทธศาสตร์ของสถานศึกษา จัดระบบการวิเคราะห์ปริมาณงานของบุคลากรอย่างเหมาะสม สำรวจสภาพทรัพยากรบุคคล ทำการสำรวจความต้องการทรัพยากรบุคคลและการวิเคราะห์ความสามารถของบุคคลในองค์กร และ 3) รูปแบบการบริหารบุคคลยุควิถีชีวิตใหม่ตามหลักธรรมาภิบาล สำหรับผู้บริหารกลุ่มโรงเรียนอำเภอบางไทร ประกอบด้วยชื่อรูปแบบ วัตถุประสงค์ หลักการตามหลักในการบริหารงานบุคคลซึ่งเป็นแนวทางที่ทำให้ผู้บริหารสามารถบริหารงานโดยยึดหลักธรรมาภิบาล ได้แก่ หลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักการมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบ หลักความคุ้มค่า เป็นการบริหารจัดการเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดด้วยวิธีการตามการบริหารงานบุคคล 4 ด้าน เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ของการนำรูปแบบไปใช้ วางแผนปฏิบัติงาน การควบคุม กำกับดูแลเกี่ยวกับฝ่ายบริหารงานบุคคลของโรงเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ</p>
ไชยธร ชาวเหนือ
ลำพอง กลมกูล
เกษม แสงนนท์
Copyright (c) 2024 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-31
2024-12-31
5 3
324
337
-
แนวทางการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดนครสวรรค์ ตามหลักอริยสัจ 4
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/283738
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา และ 2) เพื่อหาแนวทางการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดนครสวรรค์ ตามหลักอริยสัจ 4 เป็นการวิจัยแบบผสมวิธี โดยวิธีวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 136 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 รูป/คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดนครสวรรค์ ในภาพรวมมีสภาพการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านมีสภาพการดำเนินงานอยู่ในระดับมากทั้ง 3 ด้าน คือ การพัฒนาคุณภาพ การประเมินคุณภาพ และการติดตาม ตรวจสอบ ตามลำดับ และ 2) แนวทางการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดนครสวรรค์ ตามหลักอริยสัจ 4 ประกอบด้วย (1) การประเมินคุณภาพ ผู้บริหารควรสร้างความเชื่อมั่นและกระตุ้นกำลังใจให้กับบุคลากรในการให้ความสำคัญกับงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โดยการส่งเสริมการเรียนรู้และความเข้าใจในงานดังกล่าว นอกจากนี้ ควรกำหนดนโยบายการบริหารที่ชัดเจนและยืดหยุ่นเหมาะสม และสร้างทีมงานที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาและปรับปรุงงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา มีการนิเทศและให้คำแนะนำในการปฏิบัติงาน รวมถึงการตรวจสอบและรายงานความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง (2) การติดตาม ตรวจสอบ ผู้บริหารต้องสร้างความเข้าใจและความเชื่อมั่นให้กับบุคลากรเกี่ยวกับความสำคัญของงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา การส่งเสริมการมีส่วนร่วมและความรับผิดชอบในการตรวจสอบและปรับปรุงอย่างต่อเนื่องในทุกด้านของการดำเนินงานจะช่วยสร้างสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนการพัฒนาและปรับปรุงอย่างมีประสิทธิภาพในสถานศึกษา (3) การพัฒนาคุณภาพ ผู้บริหารต้องชี้แจงความสำคัญของงานประกันคุณภาพและสร้างทีมงานที่มีส่วนร่วมในการติดตามและปรับปรุงคุณภาพการศึกษา การส่งเสริมการมีส่วนร่วมและความรับผิดชอบในการตรวจสอบและปรับปรุงทุกด้านของการดำเนินงานจะเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการพัฒนาและปรับปรุงอย่างต่อเนื่องในสถานศึกษา</p>
ราตรี ศรีธรรมมา
อานนท์ เมธีวรฉัตร
พระมหาอุดร อุตฺตโร
Copyright (c) 2024 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-31
2024-12-31
5 3
338
349
-
การส่งเสริมศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน ในเขตบางบอนของพระสงฆ์วัดนินสุขาราม กรุงเทพมหานคร
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/280135
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการส่งเสริมศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน 2) เพื่อเปรียบเทียบการส่งเสริมศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน โดยจำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล และ 3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการส่งเสริมศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน เป็นการวิจัยแบบผสมวิธีโดการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 164 คน วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้โดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) การส่งเสริมศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนในเขตบางบอนของพระสงฆ์ ในภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทั้ง 5 ด้าน คือ ด้านการส่งเสริมพัฒนาครูและบุคลากรเพื่อพัฒนาคุณภาพ ด้านการส่งเสริมสนับสนุนและประสานเครือข่ายเพื่อร่วมจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ด้านการจัดและส่งเสริมสนับสนุนพัฒนาแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านการจัดการพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอย่างมีคุณภาพเพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้คู่ความคิด ดำเนินชีวิตได้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ด้านมุ่งเน้นการบริหารจัดการองค์กรให้มีประสิทธิภาพตามหลักธรรมมาภิบาล ตามลำดับ 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อการส่งเสริมศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และภูมิลำเนา พบว่าไม่แตกต่างกันทุกด้าน ซึ่งปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ และ 3) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการส่งเสริมศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน (1) ปัญหา อุปสรรค คือ ภาคีเครือข่ายไม่ให้ความร่วมมือในการเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนาในด้านงบประมาณ และวัสดุอุปกรณ์ คณะกรรมการหรือผู้ที่เกี่ยวข้องไม่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง การจัดการเรียนการสอ ไม่สามารถพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาได้เต็มที่ การจัดหาหนังสือเรียนขาดความคุ้มค่าขาดคุณภาพไม่ทั่วถึงเพียงพอ ผู้เรียนเมื่อจบหลักสูตรขาดการนำความรู้ไปประกอบอาชีพหรือต่อยอดอาชีพเดิม (2) ข้อเสนอแนะ คือ ส่งเสริมกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตเชิงรุกที่หลากหลายทันสมัยสร้างสรรค์ต่อเนือง และตอบสนองความต้องการของประชาชนและชุมชน มีการฝึกอาชีพการส่งเสริมการเรียนรู้เสริมสร้างกระบวนการประชาธิปไตย จัดให้มีระบบการประสานงานเพื่อสนับสนุนให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงแหล่งทุน ปลูกฝังให้คนในชุมชนมีการใช้จ่ายอย่างประหยัด</p>
พระครูสมุห์กำแพง ชยานนฺโท (ชำนาญไพร)
พระมหากังวาล ธีรธมฺโม
พระครูวาทีวรวัฒน์
Copyright (c) 2024 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-31
2024-12-31
5 3
350
362
-
สภาพการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสิงห์บุรี
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/284203
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสิงห์บุรี เป็นการวิจัยเชิงปริมาณโดยการใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริหารและครู จำนวน 269 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า สภาพการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสิงห์บุรี ในภาพรวมมีสภาพการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านมีสภาพการปฏิบัติอยู่ในระดับมากทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านการบริหารและการจัดการ ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และด้านคุณภาพของผู้เรียน ตามลำดับ</p>
ประภาพรรณ พูลเจริญศิลป์
พระมหาญาณวัฒน์ ฐิตวฑฺฒโน
ลำพอง กลมกูล
Copyright (c) 2024 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-31
2024-12-31
5 3
363
371
-
แนวทางการบริหารงานวิชาการในยุคดิจิทัลตามหลักวุฒิธรรม 4 ของโรงเรียนในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/283843
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการในยุคดิจิทัลของโรงเรียน 2) เพื่อศึกษาวิธีการบริหารงานวิชาการในยุคดิจิทัลตามหลักวุฒิธรรม 4 และ 3) เพื่อเสนอแนวทางในการส่งเสริมการบริหารงานวิชาการในยุคดิจิทัลตามหลักวุฒิธรรม 4 ของโรงเรียนในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง เป็นการวิจัยแบบผสมวิธีโดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริหารและครูจำนวน 181 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 6 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารงานวิชาการในยุคดิจิทัลของโรงเรียน โดยภาพรวมมีสภาพการบริหารอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านมีด้านที่มีสภาพการบริหารอยู่ในระดับมาก คือ ด้านการวางแผนงานด้านวิชาการตามลำดับ ด้านการนิเทศการศึกษา/การติดตาม ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ และด้านที่มีระดับสภาพการบริหารอยู่ในระดับปานกลาง คือ ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านการพัฒนาหลักสูตร ด้านการวัดผล ประเมินผล และด้านการพัฒนาและใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ตามลำดับ 2) วิธีการบริหารงานวิชาการในยุคดิจิทัลตามหลักวุฒิธรรม 4 ประกอบด้วย (1) ผู้บริหารจะต้องกำหนดจุดมุ่งหมายและเป้าหมายของสถานศึกษาเพื่อเป็นทิศทางในการทำงาน (2) ผู้บริหารจะต้องทำการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง หลักสูตรสถานศึกษาอิงตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน (3) ผู้บริหารจะต้องกำหนดให้ครูจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ ให้สอดคล้องกับหน่วยการเรียนรู้โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ (4) ผู้บริหารจะต้องส่งเสริมบุคลากรใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้ออนไลน์และมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ (5) ผู้บริหารจะต้องกำหนดระเบียบการวัดและประเมินผลของสถานศึกษาอย่างหลากหลาย (6) ผู้บริหารจะต้องส่งเสริมให้ครูจัดบรรยากาศสภาพแวดล้อม สื่อการเรียน และอำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียน 7) ผู้บริหารจะต้องจัดการนิเทศภายในและภายนอกสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง และ 3) แนวทางในการส่งเสริมการบริหารงานวิชาการในยุคดิจิทัลตามหลักวุฒิธรรม 4 ประกอบด้วย (1) สัปปุริสังเสวะ การคบผู้มีความรู้และประพฤติดี ผู้บริหารต้องมีการสร้างเครือข่ายในการการวางแผนงานด้านวิชาการ เพื่อกำหนดจุดมุ่งหมายและเป้าหมายของสถานศึกษา (2) สัทธัมมัสสวนะ การเอาใจใส่ในการแสวงหาความรู้ ผู้บริหารส่งเสริมให้ครูได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญและฝ่ายวิชาการเกี่ยวกับวิธีการพัฒนาหลักสูตรให้เหมาะกับบริบทโรงเรียน และพัฒนาการใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้ออนไลน์ (3) โยนิโสมนสิการ การไตร่ตรองอย่างรอบคอบก่อนลงมือปฏิบัติ ผู้บริหารและฝ่ายวิชาการพิจารณาแผนการจัดการเรียนรู้ทุกกลุ่มสาระอย่างรอบคอบร่วมกับใช้สื่อการเรียนการสอนและแหล่งเรียนรู้ออนไลน์ (4) ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ การปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ ผู้บริหารกำหนดระเบียบการวัดและประเมินผลของสถานศึกษาและนำผลการประเมินไปใช้แก้ไขปัญหาการเรียนรู้ของผู้เรียน และจัดทำระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาและฝ่ายวิชาการ จัดทำระบบบริหารและสารสนเทศเพื่อรายงานคุณภาพการศึกษาประจำปีโดยใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์</p>
ปัทมพร ทรัพย์วโรบล
เกษม แสงนนท์
ลำพอง กลมกูล
Copyright (c) 2024 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-31
2024-12-31
5 3
372
389
-
แนวทางพัฒนาการดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาลพบุรี
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/281457
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของครู 2) เพื่อศึกษาวิธีการดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามหลักสังคหวัตถุ 4 และ 3) เพื่อเสนอแนวทางพัฒนาการดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามหลักสังคหวัตถุ 4 เป็นการวิจัยแบบผสมวิธีโดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 377 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความต้องการจำเป็น และการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 6 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการจำเป็นการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาลพบุรี ในภาพรวม คือ 0.450 ความต้องการจำเป็นรายด้าน อันดับที่ 1 คือ ด้านการส่งเสริมและพัฒนานักเรียน รองลงมาคือ ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ด้านการส่งต่อนักเรียน ด้านการป้องกันช่วยเหลือและแก้ไขนักเรียน และด้านการคัดกรองนักเรียน ตามลำดับ 2) วิธีการดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามหลักสังคหวัตถุ 4 เป็นการนำหลักการดูแลช่วยเหลือนักเรียน 5 ประการ ได้แก่ (1) การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล (2) การคัดกรองนักเรียน (3) การส่งเสริมและพัฒนานักเรียน (4) การป้องกันช่วยเหลือและแก้ไขนักเรียน (5) การส่งต่อนักเรียน บูรณาการกับหลักสังคหวัตถุ 4 ประการ ได้แก่ (1) ทาน ให้ปันน้ำใจ (2) ปิยวาจา พูดจาจับใจ (3) อัตถจริยา สงเคราะห์กันไป (4) สมานัตตตา เสมอต้นเสมอปลาย และ 3) แนวทางพัฒนาการดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามหลักสังคหวัตถุ 4 ประกอบด้วย (1) ทาน ให้ปันน้ำใจ ให้นักเรียนแสดงออกถึงความคิด ให้คำปรึกษา ให้การสนับสนุนที่เหมาะสมต่อนักเรียน จัดหลักสูตรอบรมที่เน้นการพัฒนาทักษะให้คำแนะนำและติดตามการแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่อง ให้การช่วยเหลือนักเรียนทันทีเมื่อเกิดปัญหา (2) ปิยวาจา พูดจาจับใจ จัดกิจกรรมสัมภาษณ์เพื่อทำความรู้จักกับนักเรียน มีพูดจาด้วยถ้อยคำที่ไพเราะอ่อนหวาน ทำให้นักเรียนอยากพูดปัญหาและร่วมหาแนวทางแก้ไขปัญหา ใช้วาจาแนะนำสั่งสอนความรู้และประสบการณ์ที่มีแก่นักเรียนเพื่อสร้างบรรยากาศเรียนรู้ที่ปลอดภัยและสร้างสรรค์ (3) อัตถจริยา สงเคราะห์กันไป ทำความเข้าใจเกี่ยวกับสภาพครอบครัว ขอความยินยอมจากผู้ปกครองหรือนักเรียนก่อนดำเนินการคัดกรอง ให้ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่เสียสละ จัดกิจกรรมเสริมสร้างทักษะการดำรงชีวิต ทำงานร่วมกับผู้ปกครองด้วยกำลังกาย กำลังความคิด กำลังใจ (4) สมานัตตตา เสมอต้นเสมอปลาย มีการวางแผนการบริหารเชิงระบบอย่างเป็นขั้นตอน ติดตามความก้าวหน้าในการเรียนรู้ของนักเรียน ประเมินผลการป้องกันช่วยเหลือและแก้ไขปัญหา ทบทวนและประเมินมาตรการที่ถูกใช้ วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อทำนายปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เสียสละตนเองด้วยแรงกาย แรงใจ แรงสติปัญญา ปฏิบัติต่อนักเรียนอย่างสม่ำเสมอ</p>
จิรภัทร ทองศักดิ์
พระครูภัทรธรรมคุณ
บุญเชิด ชำนิศาสตร์
พระสุรชัย สุรชโย
Copyright (c) 2024 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-31
2024-12-31
5 3
390
401
-
การบริหารจัดการสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดราชบุรี แห่งที่ 7 วัดนาหนอง อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/280512
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการบริหารจัดการสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดราชบุรี แห่งที่ 7 วัดนาหนอง 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับปฏิบัติการที่มีต่อการบริหารจัดการสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดราชบุรี แห่งที่ 7 วัดนาหนอง โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม และ 3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการบริหารจัดการสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดราชบุรี แห่งที่ 7 วัดนาหนอง เป็นการวิจัยแบบผสมวิธีโดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 285 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที ค่าเอฟ วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการบริหารจัดการสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดราชบุรี แห่งที่ 7 วัดนาหนอง อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี ในภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านมีความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลางทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านสถานที่ ด้านการจัดการ ด้านบุคลากร ตามลำดับ 2) ผลการเปรียบเทียบการบริหารจัดการสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดราชบุรี แห่งที่ 7 วัดนาหนอง อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า เพศ อายุ วุฒิการศึกษา และรายได้ มีความคิดเห็นที่มีต่อการบริหารจัดการสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดราชบุรี แห่งที่ 7 วัดนาหนอง โดยภาพรวม ไม่แตกต่างกันจึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย ส่วนปัจจัยส่วนบุคคล ด้านอาชีพ มีความคิดเห็นที่มีต่อการบริหารจัดการสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดราชบุรี แห่งที่ 7 วัดนาหนอง โดยภาพรวม แตกต่างกัน อย่างมีนัยยสำคัญที่ 0.05 จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย และ 3) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการบริหารจัดการสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดราชบุรี แห่งที่ 7 วัดนาหนอง (1) ปัญหา อุปสรรค คือ สถานที่พักของผู้ปฏิบัติธรรมมีแมลงและสัตว์ที่จะมารบกวนสมาธิ วิทยากรใช้ภาษาถ้อยคำในการบรรยายธรรมเป็นคนรุ่นใหม่ การสอนธรรมใช้ถ้อยคำเร็วไปและใช้ศัพท์สมัยใหม่ผสมไม่เหมาะสม ขาดการประชาสัมพันธ์กิจกรรมโครงการต่างๆ ของสำนักตามสื่อต่างๆ สมาชิกใหม่ที่เข้ามาร่วมปฏิบัติธรรมไม่รับรู้ข่าวสาร (2) ข้อเสนอแนะ คือ วิทยากรสำนักปฏิบัติธรรมใช้ปรับปรุงภาษาถ้อยคำในการบรรยายธรรม เหมาะสมควรแก่ผู้รับฟัง และสำนักปฏิบัติธรรมควรเพิ่มการประชาสัมพันธ์กิจกรรมโครงการของสำนักตามสื่อต่างๆ อย่างทั่วถึง เพื่อจะได้สมาชิกใหม่เข้ามาร่วมกิจกรรมปฏิบัติธรรมเพิ่มขึ้น</p>
พระสมุห์นพพล อติพโล
พระมหากังวาล ธีรธมฺโม
พระครูวาทีวรวัฒน์
Copyright (c) 2024 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-31
2024-12-31
5 3
402
415
-
แนวทางการพัฒนาการจัดการศึกษาโดยอาศัยความร่วมมือด้วยพลังบวร ตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของโรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายเมืองชัยพระเจ้าตาก
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/283079
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันด้านความร่วมมือในการจัดการศึกษาโดยอาศัยความร่วมมือด้วยพลังบวร 2) เพื่อศึกษาวิธีการบริหารความร่วมมือในการจัดการศึกษาโดยอาศัยความร่วมมือด้วยพลังบวร ตามหลักสังคหวัตถุ 4 และ 3) เพื่อเสนอแนวทางในการบริหารความร่วมมือในการจัดการศึกษาโดยอาศัยความร่วมมือด้วยพลังบวร ตามหลักสังคหวัตถุ 4 เป็นการวิจัยแบบผสมวิธีโดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามประชากรทั้งหมดในการวิจัย จำนวน 76 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 5 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันด้านความร่วมมือในการจัดการศึกษาโดยอาศัยความร่วมมือด้วยพลังบวร ในภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก และรายด้านมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทั้ง 4 ด้าน คือ การบริหารงบประมาณ การบริหารทั่วไป การบริหารวิชาการ การบริหารบุคคล ตามลำดับ 2) วิธีการบริหารความร่วมมือในการจัดการศึกษาโดยอาศัยความร่วมมือด้วยพลังบวร ตามหลักสังคหวัตถุ 4 เป็นการนำหลักการบริหารความมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา 4 ด้าน ได้แก่ การบริหารวิชาการ การบริหารงบประมาณ การบริหารบุคคล การบริหารทั่วไป บูรณาการกับหลักสังคหวัตถุ 4 ได้แก่ 1) ทาน การให้ 2) ปิยวาจา วาจาอันเป็นที่รัก 3) อัตถจริยา การประพฤติประโยชน์ 4) สมานัตตตา การวางตนสม่ำเสมอ และ 3) แนวทางการพัฒนาการจัดการศึกษาโดยอาศัยความร่วมมือด้วยพลังบวร ตามหลักสังคหวัตถุ 4 ประกอบด้วย (1) การบริหารวิชาการ ผู้บริหารควรเป็นผู้นำ เป็นผู้ประสานงาน นำพาบ้าน วัด และโรงเรียนในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา เปิดโอกาสให้แต่ละภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการให้ความรู้ และในการเป็นแหล่งเรียนรู้ภายในชุมชน (2) การบริหารงบประมาณ ผู้บริหารควรติดต่อประสานงานกับทุกภาคส่วนในการระดมทรัพยากร วางแผน จัดหา ดูแล บำรุง รักษา สื่อ วัสดุ อุปกรณ์ ในการจัดการเรียนการสอน ชื่นชม ยกย่อง ประกาศเกียรติคุณ ผู้ที่มีส่วนร่วมในการระดมทรัพยากร (3) การบริหารบุคคล ผู้บริหารควรจะต้องเปิดโอกาสในการพัฒนาตนเองของบุคลากรอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้บุคลากรได้นำความรู้ความสามารถ ประสบการณ์มาใช้ในการพัฒนาการศึกษาของโรงเรียน บุคลากรทางการศึกษา คนในชุมชน หรือใครก็ตามเมื่อได้ทำประโยชน์ให้กับโรงเรียน ควรได้รับรางวัล ความชมเชย ตามความเหมะสม (4) การบริหารทั่วไป ผู้บริหารควร ให้บ้าน วัด และโรงเรียน เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมต่างๆ ภายในโรงเรียน คนในชุม ผู้นำศาสนา สามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผน ตัดสินใจ และแสดงความคิดเห็น เพื่อให้กิจกรรมนั้นประสบความสำเร็จ ตามวัตถุประสงค์ ประสานงานกับภาคส่วนต่างๆ ให้ชุมชนมีมีส่วนร่วมในการดูแลอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อมของโรงเรียน</p>
อดิศร ระนาด
เผด็จ จงสกุลศิริ
ณัชชา อมราภรณ์
Copyright (c) 2024 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-31
2024-12-31
5 3
415
428
-
แนวทางการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนพหุวัฒนธรรมตามหลักกัลยาณมิตร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/283208
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนพหุวัฒนธรรม 2) เพื่อศึกษาวิธีการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนพหุวัฒนธรรมตามหลักกัลยาณมิตร และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนางานด้านวิชาการของโรงเรียนพหุวัฒนธรรมตามหลักกัลยาณมิตร เป็นการวิจัยแบบผสมวิธีโดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามประชากรทั้งหมดในการวิจัย จำนวน 95 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความต้องการจำเป็น และการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 5 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการจำเป็นในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนพหุวัฒนธรรม ในภาพรวมมีค่า PNImodified คือ 0.074 มีความต้องการจำเป็นอันดับที่ 1 คือ ด้านการจัดการเรียนการสอน รองลงมา คือ ด้านการวางแผนงานวิชาการ ด้านการพัฒนาหลักสูตร อันดับสุดท้าย คือ ด้านการวัดและประเมินผล ตามลำดับ 2) วิธีการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนพหุวัฒนธรรมตามหลักกัลยาณมิตร เป็นการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนพหุวัฒนธรรม ประกอบด้วยด้านการพัฒนาหลักสูตร ด้านการวางแผนงานวิชาการ ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านการวัดและประเมินผล บูรณาการตามหลักกัลยาณมิตร 7 ประกอบด้วยน่ารัก (ปิโย) หนักแน่น (ครุ) น่าเจริญใจ (ภาวนีโย) รู้จักพูดชี้แจงให้เข้าใจ (วัตตา) อดทนต่อถ้อยคำ (วจนักฺขโม) อธิบายเรื่องยากให้ง่ายได้ (คัมภีรัญจะ กถัง กัตตา) ไม่แนะนำในทางเสื่อมเสีย (โน จัฏฐาเน นิโยชเย) และ 3) แนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนพหุวัฒนธรรมตามหลักกัลยาณมิตร ประกอบด้วย (1) การพัฒนาหลักสูตร ผู้บริหารต้องบูรณาการหลักสูตรสถานศึกษาให้มีความหลากหลายทุกมิติทางเชื้อชาติ ศาสนา ประเพณีอย่างเอื้ออาทรอย่างเป็นกัลยาณมิตรน่ายกย่องน่าเจริญใจ (ภาวนีโย) ทำให้ระลึกและซาบซึ้งใจ (2) การวางแผนวิชาการ ผู้บริหารและคณะกรรมการสถานศึกษาต้องร่วมมือกันในการพัฒนางานวิชาการในทุกมิติกับพหุวัฒนธรรมและหลักกัลยาณมิตรกับทุกคนด้วยความอดทน รับฟังข้อเสนอแนะวิพากษ์วิจารณ์ (วจนกฺขโม) (3) การจัดการเรียนการสอน ครูต้องมีเทคนิคการสอนที่หลากหลายในการนำเนื้อหามาบูรณาการกับพหุวัฒนธรรมและหลักกัลยาณมิตรให้คำปรึกษาที่ดีน่ารัก (ปิโย) น่าเคารพเป็นที่พึ่งใจ (ครุ) ไม่แนะนำในทางเสื่อมเสีย (โน จฏฐาเน นิโยชเย) (4) การวัดและประเมินผล ผู้บริหารต้องเข้าใจกระบวนการวัดประเมินผล รู้จักชี้แจงกระบวนการวัดประเมินผลให้เข้าใจ (วตฺตา จ) และหลักเกณฑ์สามารถอธิบายเรื่องซับซ้อนให้เข้าใจที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นไป (คมฺภีรญฺจ กถํ กตฺตา)</p>
ศุภัชฌา สระทองอินทร์
พีรวัฒน์ ชัยสุข
ทองดี ศรีตระการ
สุทิศ สวัสดี
Copyright (c) 2024 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-31
2024-12-31
5 3
429
441
-
ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการจัดการงานสาธารณูปการของวัดชาวเหนือ อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/280288
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการจัดการงานสาธารณูปการของวัดชาวเหนือ 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการจัดการงานสาธารณูปการของวัดชาวเหนือ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะต่อความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการจัดการงานสาธารณูปการ เป็นการวิจัยแบบผสมวิธีโดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 375 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการจัดการงานสาธารณูปการของวัดชาวเหนือ อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี ในภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทั้ง 5 ด้าน คือ ด้านการสร้างมาตรฐาน ด้านสะดวก ด้านสะอาด ด้านสะสาง ด้านการสร้างวินัย ตามลำดับ 2) ผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการจัดการงานสาธารณูปการของวัดชาวเหนือ โดยจำแนกตามเพศ อายุ และอาชีพ พบว่า ไม่แตกต่างกันทุกด้านซึ่งปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ และกลุ่มตัวอย่างที่มีวุฒิการศึกษาต่างกันมีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 3) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะต่อความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการจัดการงานสาธารณูปการ พบว่า การดำเนินการให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดศาสนสมบัติของวัดยังไม่เป็นระบบแก่พระภิกษุสามเณร ช่วงเวลาในการก่อสร้างไม่ค่อยมีความสอดคล้องกับฤดูกาล งบประมาณก่อสร้างไม่เพียงพอ การจัดทำวาระการรักษาความสะอาดเสนาสนะภายในวัดยังไม่เหมาะสม ขาดการตรวจสอบสิ่งสาธารณูปการของวัดให้อยู่ในสภาพที่ใช้การได้ ไม่มีการจัดทำบัญชีสิ่งสาธารณูปการตามลำดับขนาด และความสำคัญ ทางคณะสงฆ์ของวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนนโยบาย 5 ส. ไม่มีการอบรมและขับเคลือนเท่าที่ควร พระสงฆ์ภายในวัดบางส่วนและประชาชนยังขาดการให้ความสำคัญกับการพัฒนาวัดที่สามารถเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ด้วยวิธี 5 ส เพื่อให้วัด และชุมชน เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อย</p>
พระอุกฤษ อุทาโน (เกตุแก้ว)
พระราชสมุทรวชิรโสภณ
พระครูวิสุทธานันทคุณ
Copyright (c) 2024 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-31
2024-12-31
5 3
442
453
-
แนวทางการบริหารสถานศึกษาตามหลักอปริหานิยธรรม สำหรับโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/283926
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารโรงเรียนขยายโอกาส 2) เพื่อศึกษากระบวนการบริหารสถานศึกษาตามหลักอปริหานิยธรรม และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการบริหารสถานศึกษาตามหลักอปริหานิยธรรม เป็นการวิจัยแบบผสมวิธีโดยใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 225 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการวิจัย ได้แก่ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 5 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารสถานศึกษาโรงเรียนขยายโอกาส 1 ในภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านการบริหารงบประมาณ ด้านการบริหารวิชาการ ด้านการบริหารงานบุคคล และด้านการบริหารงานทั่วไป ตามลำดับ 2) กระบวนการบริหารสถานศึกษาตามหลักอปริหานิยธรรม (1) ด้านการบริหารวิชาการ มีการหมั่นประชุมวางแผน กำหนดแนวทางการปฏิบัติงานวิชาการร่วมกัน ติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง ทำตามกฎระเบียบ รู้บทบาทหน้าที่ของตนเอง รับฟังข้อเสนอแนะของบุคลากรทุกคน มีการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน (2) ด้านการบริหารงบประมาณ มีการจัดทำแผนงบประมาณ และการจัดซื้อจัดจ้างให้ถูกต้องตามกฎระเบียบ สามารถตรวจสอบได้ในทุกกระบวนการ และจัดหาทรัพยากรเพื่อพัฒนาสถานศึกษา มีการจัดประชุมก่อนตัดสินใจใช้จ่ายงบประมาณ (3) ด้านการบริหารบุคคล มีการหมั่นประชุมสร้างความเข้าใจในการปฏิบัติงาน ให้ความเคารพในสิทธิและหน้าที่ของครู ไม่อคติต่อผู้ใต้บังคับบัญชา จัดวางคนได้เหมาะสมกับงาน สนับสนุนให้ครูมีความรู้ความสามารถและมีวิทยฐานะ ดูแลพฤติกรรม ป้องกันการกระทำผิดวินัย สร้างขวัญและกำลังใจให้แก่ครูและบุคลากร เสริมสร้างความสามัคคี สนับสนุนให้ครูและบุคลากรได้รับสวัสดิการต่างๆ (4) ด้านการบริหารงานทั่วไป มีการหมั่นประชุมสร้างความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงาน ปฏิบัติกิจการอย่างพร้อมเพรียงกัน ยึดมั่นในกฎระเบียบ ไม่เป็นการล้มล้างขั้นตอนการทำงานที่สำคัญของโรงเรียน จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างโรงเรียนและชุมชน มีการจัดกิจกรรมบำรุงศาสนาและให้ความร่วมมือกับวัดในกิจกรรมต่างๆ และ 3) แนวทางการบริหารสถานศึกษาตามหลักอปริหานิยธรรม เป็นแนวทางในการสร้างองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งความร่วมมือ เสริมสร้างความสามัคคี รับผิดชอบร่วมกัน ส่งผลให้ไม่เกิดความขัดแย้งภายในองค์กร มีการติดตามประเมินผลการทำงาน ยึดถือกฎระเบียบ ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ถูกระเบียบ โปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ สร้างความสัมพันธ์อันดีต่อชุมชนและสังคม ตลอดจนดูแลป้องกันและสร้างขวัญกำลังใจแก่ครูและบุคลากร ทำให้เกิดความเจริญทั้งทางคุณภาพชีวิตของคนในองค์กร และความเจริญทางวัฒนธรรมขององค์กร นำไปสู่ความสุขและความเจริญของหมู่คณะ</p>
บุญชนก ศิลทอง
พระครูกิตติญาณวิสิฐ
พระครูภัทรธรรมคุณ
Copyright (c) 2024 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-31
2024-12-31
5 3
454
466
-
ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้ จังหวัดนครสวรรค์ ตามหลักอิทธิบาท 4
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/283741
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด และ 2) เพื่อหาแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา ตามหลักอิทธิบาท 4 เป็นการวิจัยแบบผสมวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 137 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดนครสวรรค์ โดยภาพรวมมีสภาพอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านมีสภาพอยู่ในระดับมากที่สุด คือ ด้านการกำหนดวิสัยทัศน์ ด้านที่มีสภาพอยู่ในระดับมาก คือ ด้านวิธีการคิดเชิงปฏิวัติ ด้านการมีความคาดหวังและการสร้างโอกาสสำหรับอนาคต ด้านความคิดความเข้าใจระดับสูง และด้านความสามารถในการนำปัจจัยนำเข้าต่างๆ มากำหนดกลยุทธ์ ตามลำดับ และ 2) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดนครสวรรค์ ตามหลักอิทธิบาท 4 ประกอบด้วย (1) ความคิดความเข้าใจระดับสูง ผู้บริหารสถานศึกษาควรเข้าใจและสนับสนุนวิสัยทัศน์ของสถานศึกษา สร้างบรรยากาศการทำงานที่ดี พัฒนาตนเองและองค์กรอย่างต่อเนื่อง (2) การนำปัจจัยนำเข้ามากำหนดกลยุทธ์ ผู้บริหารสถานศึกษาควรวางแผนจัดการทักษะและการสื่อสาร สนับสนุนการทำงานเป็นทีม ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์และใช้ความรู้ของชุมชนในชีวิตประจำวัน (3) ความคาดหวังและการสร้างโอกาสสำหรับอนาคต ผู้บริหารสถานศึกษาควรพัฒนาวิสัยทัศน์ผ่านการอบรมและการดูงาน เสนอแผนการปรับปรุงที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ และติดตามการปฏิบัติงาน (4) วิธีการคิดเชิงปฏิวัติ ผู้บริหารสถานศึกษาควรกำหนดตัวชี้วัดและรางวัล ทำการวิเคราะห์ SWOT กระตุ้นการคิดนอกกรอบและพัฒนาจุดอ่อนของสถานศึกษา (5) การกำหนดวิสัยทัศน์ สร้างบรรยากาศการทำงานที่มีความสุข ส่งเสริมการวิจัยและนวัตกรรม ระดมความคิดเพื่อพัฒนาเป้าหมายและกลยุทธ์ขององค์กร</p>
นันทพัทธ์ วงศ์กันตา
พระมหาอุดร อุตฺตโร
ธานี เกสทอง
Copyright (c) 2024 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-31
2024-12-31
5 3
467
480
-
ความต้องการจำเป็นภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/284261
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เป็นการวิจัยเชิงปริมาณโดยการใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างที่เป็นครู จำนวน 368 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการวิจัย คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนีความต้องการจำเป็น (PNIModified) ผลการวิจัยพบว่า ความต้องการจำเป็นภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในภาพรวมมีดัชนีความต้องการจำเป็น (PNI Modified) อยู่ระหว่าง 0.055-0.076 องค์ประกอบที่มีความต้องการจำเป็นสูงที่สุด คือ ความมีวิสัยทัศน์นวัตกรรม รองลงมา คือ ความมีความคิดสร้างสรรค์นวัตกรรม ความมีความกล้าเสี่ยงต่อนวัตกรรม และความเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง ตามลำดับ</p>
พักตร์วิไล ชำปฏิ
พระมหาญาณวัฒน์ ฐิตวฑฺฒโน
พีรวัฒน์ ชัยสุข
Copyright (c) 2024 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-31
2024-12-31
5 3
481
489
-
สภาพการจัดการส่งเสริมความรับผิดชอบต่อการจัดกิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารีของบุคลากรทางการลูกเสือ โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสิงห์บุรี
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/284231
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการจัดการส่งเสริมความรับผิดชอบต่อการจัดกิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารีของบุคลากรทางการลูกเสือ โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสิงห์บุรี เป็นการวิจัยแบบเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริหารและครู จำนวน 286 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนีหาค่าความต้องการจำเป็น ผลการวิจัยพบว่า การจัดการส่งเสริมความรับผิดชอบต่อการจัดกิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารีของบุคลากรทางการลูกเสือ โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสิงห์บุรี มีสภาพที่ปฏิบัติจริงในภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีสภาพที่คาดหวังในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และมีความต้องการจำเป็นอันดับ 1 ด้านการทำงานเป็นทีม อันดับที่ 2 ด้านความมีภาวะผู้นำ อันดับที่ 3 ด้านการตระหนักรู้แห่งตน อันดับที่ 4 ด้านความมีจิตสาธารณะ อันดับที่ 5 ด้านความมีวินัย</p>
สุธีร์ เครือวรรณ์
ระวิง เรืองสังข์
ยุทธวีร์ แก้วทองใหญ่
Copyright (c) 2024 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-31
2024-12-31
5 3
490
498
-
การพัฒนางานสาธารณสงเคราะห์ของคณะสงฆ์ตำบลหนองกวาง อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/280100
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการปฏิบัติของประชาชนที่มีต่อการพัฒนางานสาธารณสงเคราะห์ของคณะสงฆ์ 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบระดับการปฏิบัติที่มีต่อการพัฒนางานสาธารณสงเคราะห์ของคณะสงฆ์ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะต่อการพัฒนางานสาธารณสงเคราะห์ของคณะสงฆ์ เป็นการวิจัยแบบผสมวิธีโดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 364 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที ค่าเอฟ วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) การปฏิบัติของประชาชนที่มีต่อการพัฒนางานสาธารณสงเคราะห์ของคณะสงฆ์ตำบลหนองกวาง อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี ในภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้านมีความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง 3 ด้าน คือ ด้านการพัฒนาวัสดุอุปกรณ์ ด้านการพัฒนาการบริหารจัดการ ด้านการพัฒนาบุคลากร และมีรายด้านมีความคิดเห็นอยู่ในระดับน้อย คือ ด้านการพัฒนางบประมาณ 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อการพัฒนางานสาธารณสงเคราะห์ของคณะสงฆ์ตำบลหนองกวาง อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ มีผลให้ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการพัฒนางานสาธารณสงเคราะห์ของคณะสงฆ์ โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิตติที่ 0.01 จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย ส่วนการศึกษา อาชีพ รายได้ มีผลให้ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการพัฒนางานสาธารณสงเคราะห์ของคณะสงฆ์ โดยภาพรวมไม่แตกต่างกันจึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย และ 3) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการพัฒนางานสาธารณสงเคราะห์ของคณะสงฆ์ (1) ปัญหา อุปสรรค ได้แก่ คณะสงฆ์ขาดความสัมพันธ์ที่ดีในการติดต่อประสานงานในการทำงานร่วมกับหน่วยงานของภาครัฐในการสร้างความสามัคคีในชุมชน (บวร) และขาดความพร้อมทั้งบุคลากรสนับสนุนอย่างมีประสิทธิภาพ (2) ข้อเสนอแนะ ควรมีการพัฒนาเตรียมความพร้อมให้ครอบคลุมในทุกด้าน โดยเฉพาะด้านบุคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจเพื่อทำหน้าที่หรือประสานงานร่วมกับหน่วยงานของรัฐในการสร้างความสามัคคีในชุมชน (บวรอ) บ้าน วัด โรงเรียน เอกชน พร้อมทั้งการบริหารจัดการงานโดยเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานสาธารณสงเคราะห์ พร้อมทั้งคณะสงฆ์ควรมีการรณรงค์ให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องได้เห็นคุณค่าและให้ความสำคัญของการงานสาธารณสงเคราะห์ชุมชนให้มากยิ่งขึ้น</p>
พระครูนิติสารวิกรม (สุขศิริ)
พระราชสมุทรวชิรโสภณ
พระครูวาทีวรวัฒน์
Copyright (c) 2024 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-31
2024-12-31
5 3
499
511
-
แนวทางการดำเนินการตามมาตรการฟื้นฟูภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของโรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษาที่ 6 ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นการศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/283981
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นของมาตรการฟื้นฟูภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ของโรงเรียน 2) เพื่อศึกษาวิธีการพัฒนามาตรการฟื้นฟูภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ตามหลักสัปปุริสธรรม 7 3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนามาตรการฟื้นฟูภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ตามหลักสัปปุริสธรรม 7 เป็นการวิจัยแบบผสมวิธีโดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 180 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าความต้องการจำเป็น และเชิงคุณภาพใช้แบบสัมภาษณ์ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 5 คน สถิติที่ใช้เป็นแบบวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการจำเป็นของมาตรการฟื้นฟูภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ของโรงเรียน ที่มีความต้องการจำเป็นอยู่อันดับที่ 1 คือ ออกแบบกระบวนการจัดการเรียนรู้ใหม่ที่ตอบสนองบริบทความเปลี่ยนแปลงและความต้องการของผู้เรียน อันดับที่ 2 คือ สร้างทัศนคติที่ดีต่อการเรียนรู้และสุขภาวะที่ดีของผู้เรียนทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต อันดับที่ 3 คือ สร้างการมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ อย่างมีประสิทธิภาพระหว่างสถานศึกษา ครู ผู้ปกครอง ชุมชน และทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง อันดับที่ 4 คือ จัดสวัสดิการ ความปลอดภัย และสร้างขวัญและกำลังใจ และอันดับที่ 5 คือ เสริมพลังพัฒนาครู และผู้บริหารสถานศึกษา ตามลำดับ 2) วิธีการพัฒนามาตรการฟื้นฟูภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ตามหลักสัปปุริสธรรม 7 เป็นการดำเนินการตามมาตรการฟื้นฟูภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ได้แก่ การรู้หลักการ (ธัมมัญญุตา) การรู้ความมุ่งหมาย (อัตถัญญุตา) การรู้จักตน (อัตตัญญุตา) การรู้จักประมาณ (มัตตัญญุตา) การรู้จักเวลา (กาลัญญุตา) การรู้จักชุมชน (ปริสัญญุตา) การรู้จักบุคคล (ปุคคลัญญุตา) เพื่อพัฒนาโรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษาที่ 6 และ 3) แนวทางการดำเนินการตามมาตรการฟื้นฟูภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ประกอบด้วยการออกแบบกระบวนการจัดการเรียนรู้ใหม่เพื่อตอบสนองความเปลี่ยนแปลงและความต้องการของผู้เรียน โดยการสืบหาสาเหตุด้านต่างๆ (รู้หลักการ) การสร้างทัศนคติที่ดีต่อการเรียนรู้และสุขภาวะที่ดีของผู้เรียนในการจัดการเรียนรู้ ครูและผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ที่ดี (รู้ความมุ่งหมาย) การสร้างสวัสดิการและความปลอดภัยในสถานศึกษาให้มีคุณภาพเพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นให้กับผู้ปกครอง (รู้จักตน) การยกระดับการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการบริหารจัดการอุปกรณ์และเครือข่ายอินเตอร์เน็ตของโรงเรียน (รู้จักประมาณ) การพัฒนาคลังสื่อดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้แบบเปิด ทันสมัย สามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว (รู้จักเวลา) การส่งเสริมกิจกรรมการเรียนรู้ที่ชุมชนมีส่วนร่วม ระหว่างผู้ปกครอง หน่วยงาน และโรงเรียน และหน่วยงานการศึกษาอื่นๆ (รู้จักชุมชน) การที่ผู้บริหารสถานศึกษาเป็น Super Coach ในการจัดการเรียนรู้พัฒนาครูให้เป็นโค้ชหรือผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ และสร้างนวัตกรรมในการสอนร่วมกัน (รู้จักบุคคล)</p>
พงษ์ศักดิ์ มากสูงเนิน
เกษม แสงนนท์
เผด็จ จงสกุลศิริ
Copyright (c) 2024 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-31
2024-12-31
5 3
512
526
-
แนวทางการบริหารงานวิชาการในยุคดิจิทัลตามหลักอิทธิบาท 4 ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/284129
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการในยุคดิจิทัล 2) เพื่อศึกษาวิธีการบริหารงานวิชาการในยุคดิจิทัลตามหลักอิทธิบาท 4 และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการบริหารงานวิชาการในยุคดิจิทัลตามหลักอิทธิบาท 4 เป็นการวิจัยแบบผสมวิธีโดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามประชากรในการวิจัยที่เป็นผู้บริหารและครูโรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 290 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติขั้นพื้นฐาน ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 5 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารงานวิชาการในยุคดิจิทัล ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1 ในภาพรวมมีสภาพการบริหารอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านมีสภาพการบริหารอยู่ในระดับมากทั้ง 5 ด้าน คือ ด้านหลักสูตร ด้านการเรียนการสอน ด้านกิจกรรมการเรียนรู้ที่ ด้านการวัดและการประเมินผล และด้านสื่อการเรียนการสอน ตามลำดับ 2) วิธีการบริหารงานวิชาการในยุคดิจิทัลตามหลักอิทธิบาท 4 ประกอบด้วยผู้บริหารสถานศึกษาที่ดีจะต้องมีความมุ่งมั่นตั้งใจในการปฏิบัติงานด้านวิชาการให้ประสบผลสำเร็จ มุ่งส่งเสริมสถานศึกษาให้จัดกระบวนการเรียนรู้ ปรับปรุงระบบงานวิชาการให้มีประสิทธิภาพใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ให้ความสำคัญด้านการจัดการเรียนการสอนด้วยความเอาใจใส่ มีเทคนิควิธีการสอนที่หลากหลายน่าสนใจ การจัดระบบการติดตามสนับสนุนและช่วยเหลือการปฏิบัติงานของครูในด้านงานวิชาการและการเรียนการสอนภายในสถานศึกษาโดยให้เกิดผลที่ส่งตรงถึงตัวผู้เรียนให้มากที่สุด และ 3) การบริหารงานวิชาการในยุคดิจิทัลตามหลักอิทธิบาท 4 เป็นการบูรณาการการบริหารกับหลักอิทธิบาท 4 โดยผู้บริหารสถานศึกษาต้องมีความมุ่งมั่นตั้งใจมุมานะพยายาม มีความรับผิดชอบ รอบคอบรอบรู้ ในการปฏิบัติงานด้านต่างๆ มีปัญญา มีศักยภาพ ในการศึกษาต่อและประกอบอาชีพตามมาตรฐานและเทคนิควิธีการที่ทันสมัย ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในยุคดิจิทัลในงานต่างๆ รวมทั้งกิจกรรมต่างๆ ที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ เกิดการพัฒนาที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้โดยผู้เรียนเป็นผู้ลงมือกระทำตามวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนตรงตามที่กำหนดอย่างมีประสิทธิผล</p>
กัญสุญา บุญเกิด
เกษม แสงนนท์
สมศักดิ์ บุญปู่
Copyright (c) 2024 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-31
2024-12-31
5 3
527
540
-
ความพึงพอใจของประชาชนต่อการดำเนินงานโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ของคณะสงฆ์อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/280070
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของประชาชนต่อการดำเนินงานโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อความพึงพอใจของประชาชนต่อการดำเนินงานโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ของคณะสงฆ์อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะสำหรับความพึงพอใจของประชาชนต่อการดำเนินงานโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 เป็นการวิจัยแบบผสมวิธีโดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 399 คน วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้โดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที ค่าเอฟ วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ความพึงพอใจของประชาชนต่อการดำเนินงานโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ของคณะสงฆ์อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี ในภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านมีความพึงพอใจที่อยู่ในระดับปานกลาง 3 ด้าน คือ ด้านอารมณ์ ด้านร่างกาย ด้านสังคม และรายด้านมีความพึงพอใจที่อยู่ในระดับน้อย คือ ด้านปัญญา ตามลำดับ 2) การเปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อความพึงพอใจของประชาชนต่อการดำเนินงานโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ของคณะสงฆ์อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ มีผลให้ความคิดเห็นที่มีต่อความพึงพอใจของประชาชนต่อการดำเนินงานโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วนปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ การศึกษา อาชีพและรายได้ ไม่มีผลให้ความคิดเห็นที่มีต่อความพึงพอใจของประชาชนต่อการดำเนินงานโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน และ 3) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ (1) ปัญหา อุปสรรค พบว่า เด็กเยาวชนมีปัญหาด้านการทะเลาะขัดแย้ง สภาพสังคมเศรษฐกิจทำให้ประชาชนมีปัญหาด้านอารมณ์ไม่เสมอต้นเสมอปลาย, ขาดการนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับประยุกต์กับหลักธรรมอันเหมาะสมพร้อมนำไปใช้ให้ก่อเกิดประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม และปัญหาเด็กเยาวชนเป็นโรคสมาธิสั้นเพราะติดเกมส์มากเกินทำให้สติปัญญาลดน้อยลง (2) ข้อเสนอแนะ ได้แก่ ควรมีการรณรงค์สนับสนุนให้ประชาชนน้อมนำเอาหลักโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ไปพัฒนาคุณภาพชีวิตและป้องกันยาเสพติด ควรจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพจิตใจของตนโดยการรักษาศีลฝึกสมาธิเพื่อทันกับสภาพเศรษฐกิจ ควรสนับสนุนการนำหลักธรรมมันเหมาะสมดีงามมาปรับใช้เศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการดำเนินวิถีชีวิตสัมมาอาชีพอย่างเป็นรูปธรรม และควรสนับสนุนการเพิ่มทักษะความรู้ด้วยการเข้ารับการฝึกอบรมด้านการพัฒนาสติปัญญา</p>
พระครูคุณสารานุกูล (ประพัช คุณสาโร)
พระราชสมุทรวชิรโสภณ
พระครูวิสุทธานันทคุณ
Copyright (c) 2024 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-31
2024-12-31
5 3
541
554
-
ความต้องการจำเป็นภาวะผู้นำที่แท้จริงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/284235
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นภาวะผู้นำที่แท้จริงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยการใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างที่เป็นครูโรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 368 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนีความต้องการจำเป็น (PNIModified) ผลการวิจัยพบว่า ความต้องการจำเป็นภาวะผู้นำที่แท้จริงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในภาพรวมมีดัชนีความต้องการจำเป็น (PNIModified) อยู่ระหว่าง 0.035-0.052 องค์ประกอบที่มีความต้องการจำเป็นสูงที่สุด คือ ความมีกระบวนการที่สมดุล รองลงมา คือ ความตระหนักรู้ในตนเอง ความยุติธรรม ความโปร่งใส และความมีการมองโลกเชิงบวก ตามลำดับ</p>
กัญชพร ปานเพ็ชร
อินถา ศิริวรรณ
พระมหาญาณวัฒน์ ฐิตวฑฺฒโน
Copyright (c) 2024 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-31
2024-12-31
5 3
555
563
-
แนวทางการบริหารสถานศึกษาตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของโรงเรียนในกลุ่มภาชีระพีพัฒน์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยาเขต 1
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/283986
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียนในกลุ่มภาชีระพี่พัฒน์ 2) เพื่อศึกษาวิธีการบริหารสถานศึกษาตามหลักสังคหวัตถุ 4 และ 3) เพื่อเสนอแนวทางในการบริหารสถานศึกษาตามหลักสังคหวัตถุ 4 เป็นการวิจัยแบบผสมวิธีโดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามประชากรทั้งหมดในการวิจัยที่เป็นครูผู้สอน จำนวน 101 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 5 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียนในกลุ่มภาชีระพีพัฒน์ ในภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด และรายด้านมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุดทั้ง 4 ด้าน คือ การบริหารงานวิชาการ การบริหารงานทั่วไป การบริหารงานบุคคล การบริหารงานงบประมาณ ตามลำดับ 2) วิธีการบริหารสถานศึกษาตามหลักสังคหวัตถุ 4 เป็นการนำหลักการบริหารสถานศึกษา 4 ด้าน ได้แก่ การบริหารงานวิชาการ การบริหารงานงบประมาณ การบริหารงานบุคคล การบริหารงานทั่วไป บูรณาการตามหลักสังคหวัตถุ 4 ได้แก่ ทาน (การให้) ปิยวาจา (พูดจาไพเราะ) อัตถจริยา (ทำตนให้เป็นประโยชน์) สมานัตตตา (ทำตนให้เสมอต้นเสมอปลาย) เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการบริหารโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพ และ 3) แนวทางในการบริหารสถานศึกษาตามหลักสังคหวัตถุ 4 ประกอบด้วย (1) การบริหารงานวิชาการ ให้รู้จักให้อภัยในการทำงานร่วมกัน ให้ความช่วยเหลือแบ่งปัน ใช้คำพูดที่เกิดความรักความสามัคคี ปฏิบัติหน้าที่อย่างเคร่งครัด เป็นแบบอย่างที่ดี สร้างความเข้าใจการปรับเปลี่ยนโยกย้าย มอบหมายหน้าที่อย่างเป็นธรรม (2) การบริหารงานงบประมาณ ให้คำแนะนำการบริหารงบประมาณ การวางแผนงาน ร่วมมือกับบุคลากรในฝ่ายงบประมาณจัดทำระบบฐานข้อมูลสินทรัพย์ในสถานศึกษา ควบคุมการดำเนินงานการเงินตามกฎเกณฑ์ (3) การบริหารงานบุคคล แบ่งปันความรู้ให้ครูบุคลากรอย่างดี ใช้คำพูดที่เหมาะสมและนุ่มนวลต่อครูและบุคลากร มอบหมายงานให้กับเวลาราชการร่วมกับครูและบุคลากรด้วยความเป็นธรรม รับฟังความเห็นของครูและบุคลากรอย่างเท่าเทียมกัน (4) การบริหารงานทั่วไป ส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีในการศึกษา ให้คำเสนอแนะและคำปรึกษาในการจัดทำนโยบายแผนพัฒนาการศึกษาของสถานศึกษา เป็นแบบอย่างในการวางแผน กำหนดนโยบายและแนวทางพัฒนาการศึกษา จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์กิจกรรมโรงเรียนผ่านสื่อที่หลากหลาย</p>
ชนะศักดิ์ ลาภเวช
พระครูวิรุฬห์สุตคุณ
พระครูโอภาสนนทกิตติ์
Copyright (c) 2024 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-31
2024-12-31
5 3
564
575
-
แนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วมตามหลักกัลยาณมิตร 7 ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/576-588
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียน 2) เพื่อศึกษาวิธีการบริหารแบบมีส่วนร่วมตามหลักกัลยาณมิตร 7 และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วมตามหลักกัลยาณมิตร 7 เป็นการวิจัยแบบผสมวิธีโดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างที่เป็นครูโรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 322 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 5 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนในภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก และรายด้านมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทั้ง 4 ด้าน คือ การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ การมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน การมีส่วนร่วมในการประเมินผล และการมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ ตามลำดับ 2) วิธีการบริหารแบบมีส่วนร่วมตามหลักกัลยาณมิตร 7 ประกอบด้วย (1) การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจประกอบด้วยความเมตตา (ปิโย น่ารัก) ถือหลักการเป็นสำคัญ (ครุ น่าเคารพ) มีความรอบรู้ และเจริญด้วยคุณธรรม (ภาวนีโย น่าเจริญใจ) (2) การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานให้ทุกคนได้แสดงความคิดเห็นและสามารถชี้แจงให้คนอื่นเข้าใจได้โดยง่าย (วตฺตา รู้จักพูดให้ได้ผล) ไม่ตัดสินใจด้วยตนเองและยังสามารถควบคุมอารมณ์ได้ (วจนกฺขโม ทนต่อถ้อยคำ) (3) มีไหวพริบชี้แจงได้ด้วยเหตุผลและติดตามประเมินผลงาน (คมฺภีรญฺจ กถํ กตฺตา ชี้แจงล้ำลึก) (4) ตระหนักถึงประโยชน์ส่วนรวมและเป็นการป้องกันที่จะนำสู่ทางเสื่อมเสียต่อการบริหาร (โน จฏฺฐาเน นิโยชเย ไม่ชักนำไปในทางที่เสื่อมเสีย) และ 3) แนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วมตามหลักกัลยาณมิตร 7 ประกอบด้วย (1) บริหารให้ความเสมอภาคต่อทุกคนและมีความเมตตา เปิดโอกาสให้ทุกคนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารร่วม ยึดถือหลักการตามระเบียบและแนวทางปฏิบัติ และเจริญด้วยคุณธรรม (2) ชี้แจงนโยบายสอดคล้องกับข้อบังคับ กฎระเบียบทางราชการ พิจารณาก่อนตัดสินใจ ให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมในการดำเนินงานทุกขั้นตอน (3) มีไหวพริบชี้แจงและติดตามโดยให้ทุกคนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการประเมินผลงาน (4) ยึดประโยชน์ส่วนรวมที่จะเกิดขึ้นและไม่นำสู่ทางแห่งความเสื่อม</p>
สุรชัย คำดีราช
พระครูสังฆรักษ์จักรกฤษณ์ ภูริปญฺโญ
สมศักดิ์ บุญปู่
Copyright (c) 2024 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-31
2024-12-31
5 3
576
588
-
แนวทางการนิเทศภายในของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้ จังหวัดนครสวรรค์ ตามหลักอิทธิบาท 4
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/283657
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการนิเทศภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดนครสวรรค์ และ 2) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาการนิเทศภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดนครสวรรค์ ตามหลักอิทธิบาท 4 ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมวิธี คือ 1) การวิจัยเชิงปริมาณเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ และคณะครู จำนวน 133 คน มีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนและประมาณค่าได้ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.98 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ 2) การวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือวิจัยเป็นการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง โดยเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 12 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการนิเทศภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดนครสวรรค์ ในภาพรวมมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านทั้ง 6 ด้านพบว่ามีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทั้งหมด คือ การศึกษาสภาพปัญหาและความจำเป็นการนิเทศภายในสถานศึกษา การรายงานผลการนิเทศภายในสถานศึกษา การวางแผนการนิเทศภายในสถานศึกษา การประเมินผลการนิเทศภายในสถานศึกษา การเตรียมการนิเทศภายในสถานศึกษา และการปฏิบัติการนิเทศภายในสถานศึกษา และ 2) แนวทางการพัฒนาการนิเทศภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดนครสวรรค์ ตามหลักอิทธิบาท 4 ประกอบด้วย (1) การศึกษาสภาพปัญหาและความจำเป็นการนิเทศภายในสถานศึกษา ผู้บริหารควรประชุมร่วมกับผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศจัดลำดับความสำคัญในการแก้ไขปัญหาของสถานศึกษา วิเคราะห์งบประมาณ วางแผนพัฒนาบุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้นิเทศ ผู้บริหารติดตาม ตรวจสอบ การนิเทศเพื่อนำปัญหามาทบทวน และแก้ไขต่อไป (2) การวางแผนการนิเทศภายในสถานศึกษา ผู้บริหารควรสร้างทัศนะคติที่ดีให้ทุกคนพร้อมรับการนิเทศ ชี้ให้เห็นประโยชน์ของแผนนิเทศ นอกจากนี้ควรร่วมกันจัดทำคู่มือกรอบแนวทางการนิเทศ รวมถึงมีคำสั่ง ปฏิทิน และวิธีการนิเทศ ผู้บริหารหมั่นเพียรติดตามรายงายผลการนิเทศด้วยความเอาใจใส่ และประชุมทบทวน ปรับปรุงกรอบการนิเทศ (3) การเตรียมการนิเทศภายในสถานศึกษา ผู้บริหารควรจัดสรรงบประมาณในการนิเทศให้ทุกคนได้ร่วมกันตัดสินใจอย่างรอบคอบ และนำเทคโนโลยีแบบออนไลน์มาใช้ในการนิเทศ ผู้บริหารติดตาม ตรวจสอบ ปรับปรุงการใช้งบประมาณในการนิเทศอย่างคุ้มค่า (4) การปฏิบัติการนิเทศภายในสถานศึกษา ผู้บริหารควรสร้างความเชื่อมั่นให้ครูว่าสามารถเป็นผู้นิเทศได้ มีเทคนิคการนิเทศอย่างกัลยาณมิตร จัดตั้งศูนย์แนะแนวการนิเทศให้ครูได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผู้บริหารทบทวน ปรับปรุงการนิเทศอย่างต่อเนื่อง (5) การประเมินผลการนิเทศภายในสถานศึกษา ตาม ผู้บริหารควรชี้แจงและวางแผนประเมินผลกิจกรรมหลังได้รับการนิเทศ สร้างระบบประเมินผลตามคู่มือการพัฒนาหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ตรวจสอบวิธีการประเมินผล หากมีข้อบกพร่องในการประเมินผลให้ปรับปรุงแก้ไขวิธีการต่อไป (6) การรายงานผลการนิเทศภายในสถานศึกษา ผู้บริหารควรชี้แจงให้บุคลากรเห็นความสำคัญในการจัดทำรายงานการนิเทศที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ พัฒนาบุคลากรให้เขียนรายงานผลการนิเทศที่ถูกต้อง ผู้บริหารตรวจสอบรายงานการนิเทศ หากพบข้อผิดพลาดควรให้ข้อแนะนำและปรับปรุงแก้ไขการเขียนรายงานการนิเทศให้ถูกต้อง</p>
วราภรณ์ ทรัพย์ประสม
วินัย ทองมั่น
อานนท์ เมธีวรฉัตร
Copyright (c) 2024 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-31
2024-12-31
5 3
589
604
-
แนวทางการจัดการเรียนการสอนตามหลักอริยสัจ 4 ของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/283565
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นการจัดการเรียนการสอนของครู 2) เพื่อศึกษาวิธีการจัดการเรียนการสอนตามหลักอริยสัจ 4 และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการจัดการเรียนการสอนตามหลักอริยสัจ 4 เป็นการวิจัยแบบผสานวิธีโดยการเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริหารและครูโรงเรียนมัธยมศึกษา จำนวน 217 คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์คือ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าความต้องการจำเป็น และการวิจัยเชิงคุณภาพใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 8 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการจำเป็นการจัดการเรียนการสอนของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ด้านที่มีความต้องการจำเป็นอันดับที่ 1 คือ ด้านหลักสูตร รองลงมา คือ ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านการวัดผลและประเมินผล ด้านสื่อการเรียนการสอน และด้านครูผู้สอน 2) วิธีการจัดการเรียนการสอนตามหลักอริยสัจ 4 เป็นการจัดการเรียนการสอนประกอบด้วยด้านครูผู้สอน ด้านหลักสูตร ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านสื่อการเรียนการสอน ด้านการวัดผลและประเมินผล บูรณาการตามหลักอริยสัจ 4 (1) ทุกข์ การกำหนดรู้ปัญหา (2) สมุทัยการกำหนดรู้สาเหตุปัญหา (3) นิโรธ การดับความทุกข์อย่างมีจุดหมาย (4) มรรค วิธีการการปฏิบัติเพื่อกำจัดปัญหา และ 3) แนวทางการจัดการเรียนการสอนตามหลักอริยสัจ 4 ประกอบด้วย (1) ด้านหลักสูตร ปรับปรุงหลักสูตรให้มีคุณภาพทันสมัย เหมาะสมกับระดับความรู้ของนักเรียน สร้างหลักสูตรที่เน้นพัฒนาการคิดวิเคราะห์และทักษะการแก้ปัญหา สอดคล้องกับสถานการณ์ในชีวิตประจำวัน (2) ด้านการจัดการเรียนการสอน สร้างสภาพแวดล้อมที่ดีและเปิดกว้างให้นักเรียนในการเรียนรู้ กิจกรรมที่ช่วยสนับสนุนให้นักเรียนเข้าใจสาเหตุปัญหา พิจารณาหาวิธีปรับปรุงแก้ไขปัญหาหรือเป้าหมายที่ตั้งไว้ (3) ด้านการวัดผลและประเมินผล ปรับปรุงให้เหมาะสมต่อความต้องการและระดับความรู้ของนักเรียน ใช้เครื่องมือการวัดที่มีมาตรฐาน, ถูกต้อง, และมีประสิทธิภาพ นำผลที่ได้จากการวัดผลไปปรับปรุงในการจัดการเรียนการสอน สนับสนุนนักเรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการประเมินและการพัฒนาการเรียนรู้ของตนเอง (4) ด้านสื่อการเรียนการสอน การเลือกสื่อที่เหมาะสมกับระดับของนักเรียน พัฒนาสื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การเรียนรู้ ให้คำแนะนำเพื่อให้นักเรียนสามารถนำสื่อไปใช้ได้ในสถานการณ์ต่างๆ (5) ด้านครูผู้สอน เข้าใจสภาพจิตของนักเรียน เพื่อปรับการสอนให้เหมาะสม ช่วยเหลือนักเรียนให้เข้าใจสาเหตุของปัญหาที่นักเรียนเผชิญ สนับสนุนนักเรียนในการกำหนดเป้าหมายและวางแผนการแก้ไขปัญหา</p>
พิธิพัฒน์ รัตนชัยกูล
พีรวัฒน์ ชัยสุข
พระครูสังฆรักษ์จักรกฤษณ์ ภูริปญฺโญ
Copyright (c) 2024 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-31
2024-12-31
5 3
605
617
-
แนวทางการบริหารความขัดแย้งในสถานศึกษาตามหลักอริยสัจ 4 ของโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/283623
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารความขัดแย้งในสถานศึกษา 2) เพื่อศึกษาวิธีการบริหารความขัดแย้งในสถานศึกษาตามหลักอริยสัจ 4 และ 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการบริหารความขัดแย้งในสถานศึกษาตามหลักอริยสัจ 4 เป็นการวิจัยแบบผสมวิธีโดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 260 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 7 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารความขัดแย้งในสถานศึกษา ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และรายด้านอยู่ในระดับมากทั้ง 5 ด้าน คือ ด้านแบบการเอาชนะ ด้านแบบการร่วมมือ ด้านแบบการประนีประนอม ด้านแบบการหลีกเลี่ยง ด้านแบบการยอมให้ ตามลำดับ 2) วิธีการบริหารความขัดแย้งในสถานศึกษาตามหลักอริยสัจ 4 เป็นการนำหลักการบริหารความขัดแย้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านแบบการเอาชนะ ด้านแบบการร่วมมือ ด้านแบบการประนีประนอม ด้านแบบการหลีกเลี่ยง ด้านแบบการยอมให้ โดยบูรณาการกับหลักอริยสัจ 4 ได้แก่ ขั้นทุกข์ การกำหนดปัญหา ขั้นสมุทัย การวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา ขั้นนิโรธ การกำหนดเป้าหมาย ขั้นมรรค การกำหนดวิธีการแก้ปัญหา เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในสถานศึกษา และ 3) แนวทางการบริหารความขัดแย้งในสถานศึกษาตามหลักอริยสัจ 4 แบ่งออกเป็น 5 ด้าน ดังนี้ (1) แบบการเอาชนะ ผู้บริหารสถานศึกษาสามารถกำหนดสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นโดยวิเคราะห์หาสาเหตุบนพื้นฐานของความถูกและชอบธรรมภายใต้ระเบียบข้อบังคับทางราชการ (2) แบบการร่วมมือ ผู้บริหารสถานศึกษาพิจารณาก่อนว่าอะไรคือปัญหาและปรับความเข้าใจกันเองในลำดับต่อไป (3) แบบการประนีประนอม ผู้บริหารสถานศึกษากำหนดนโยบายการแก้ปัญหาพิจารณาถึงข้อมูลที่ยอมรับความคิดเห็นของทุก ๆ ฝ่าย เพื่อพบกันคนละครึ่งทาง (4) แบบการหลีกเลี่ยง ผู้บริหารสถานศึกษาประวิงเวลาจนปัญหาคลี่คลายปัญหา และ (5) ด้านแบบการยอมให้ผู้บริหารสถานศึกษาพยายามถนอมน้ำใจคณะครูผู้มีส่วนร่วมในการขัดแย้งเพื่อรักษาสัมพันธภาพอันดีในการทำงานร่วมกัน</p>
สิริวัฒน์ ไตรบุตร
พระครูกิตติญาณวิสิฐ
ทองดี ศรีตระการ Thongdee Sritragarn
Copyright (c) 2024 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-31
2024-12-31
5 3
618
629
-
แนวทางการบริหารสถานศึกษาบูรณาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มศูนย์เจ้าพระยา จังหวัดอ่างทอง
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/281509
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารสถานศึกษากลุ่มศูนย์เจ้าพระยา จังหวัดอ่างทอง 2) เพื่อพัฒนาวิธีการบริหารสถานศึกษาบูรณาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการบริหารสถานศึกษาบูรณาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมวิธี คือ 1) การวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริหารสถานศึกษาและบุคลากรทางการศึกษากลุ่มศูนย์เจ้าพระยา จังหวัดอ่างทอง จำนวน 164 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ 2) การวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 7 คน ด้วยการเลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารสถานศึกษากลุ่มศูนย์เจ้าพระยา จังหวัดอ่างทอง ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงอันดับการปฏิบัติจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านที่มีผลการปฏิบัติมากที่สุดคือ ด้านบริหารทั่วไปอยู่ในระดับมาก และด้านที่ผลการปฏิบัติน้อยที่สุด คือ ด้านกิจการนักเรียนอยู่ในระดับมาก 2) วิธีการบริหารสถานศึกษาบูรณาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วย (1) ด้านบริหารทั่วไป สถานศึกษาควรกำหนดนโยบายการบริหารให้สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในแผนปฏิบัติการประจำปี (2) ด้านวิชาการ วิเคราะห์และพัฒนาหลักสูตรโดยน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเข้าไปสอดแทรกในแผนการจัดการเรียนการสอนรายวิชา (3) ด้านกิจการนักเรียน สถานศึกษาควรจัดตั้งเครือข่ายการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงร่วมกับชุมชน (4) ด้านบุคลากร สนับสนุนให้บุคลากรเข้ารับการอบรม สัมมนา ศึกษาตามแหล่งเรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและนำมาดำเนินชีวิตประจำวัน (5) ความสัมพันธ์ชุมชน ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเข้ามาใช้ และ 3) แนวทางการบริหารสถานศึกษาบูรณาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วย (1) ด้านบริหารทั่วไป มีการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำมาจัดทำนโยบาย วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ของสถานศึกษาและแผนปฏิบัติการประจำปี (2) ด้านวิชาการ มีการวิเคราะห์หลักสูตรสถานศึกษาและหลักสูตรท้องถิ่น สอดแทรกหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเข้าไปในรายวิชา (3) ด้านกิจการนักเรียน จัดกิจกรรมให้กับผู้เรียนเกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (4) ด้านบุคลากร สนับสนุนให้บุคลากรเข้ารับการอบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิตประจำวัน (5) ความสัมพันธ์ชุมชน ชุมชนมีส่วนร่วมกำหนดนโยบายสถานศึกษาโดยเชิญผู้นำชุมชน หรือผู้มีทักษะด้านอาชีพเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอน</p>
สุภาวดี ปิติเขตร์
ลำพอง กลมกูล
ยุทธ์วีร์ แก้วทองใหญ่
Copyright (c) 2024 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-31
2024-12-31
5 3
630
644
-
แนวทางการบริหารสถานศึกษาปลอดภัยตามหลักปาปณิกธรรม โรงเรียนวัดบัวขวัญ (มีทับราษฎร์บำรุง) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรีเขต 1
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/284104
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารสถานศึกษาปลอดภัย 2) เพื่อศึกษาวิธีการบริหารสถานศึกษาปลอดภัยตามหลักปาปณิกธรรม และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการบริหารสถานศึกษาปลอดภัยตามหลักปาปณิกธรรม เป็นการวิจัยแบบผสมวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างผู้บริหาร ครู และนักเรียน จำนวน 209 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 5 ท่าน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพความบริหารการปลอดภัยโรงเรียนวัดบัวขวัญ ในภาพรวมและทุกด้านอยู่ในระดับมาก เพราะว่าผู้ว่าบริหารและครูในสถานศึกษาให้ความสำคัญกับเรื่องความปลอดภัยในทุกด้านที่ศึกษา เช่น ด้านมาตรการป้องกัน ด้านการปลูกฝั่ง และด้านการปราบปรามโดยมีการเชิญวิทยากรอบรมให้ความรู้แก่บุคลากรประจำทุกภาคการศึกษาตามลำดับความสำคัญ 2) วิธีการบริหารสถานศึกษาปลอดภัยโรงเรียนวัดบัวขวัญ (มีทับราษฎร์บำรุง) ทั้ง 3 ด้านตามหลักปาปณิกธรรม ประกอบด้วย (1) การป้องกัน ผู้บริหารควรการกำหนดนโยบายและขั้นตอนการป้องกันจัดทำนโยบายและขั้นตอนที่ชัดเจนเพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้น (2) ปลูกฝัง ต้องตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจเพื่อปฏิบัติการในกรณีฉุกเฉินที่ชัดเจนและปรับปรุงอยู่เสมอตามความเหมาะสม เพื่อให้ทุกคนในสถานศึกษาทราบว่าควรทำอย่างไรในกรณีฉุกเฉิน (3) ปราบปราม ผู้บริหารต้องกำหนดนโยบายและขั้นตอนการปฏิบัติจัดทำนโยบายที่ชัดเจนและเข้มงวดในการปราบปราม รวมถึงการกำหนดขั้นตอนการรายงานเหตุการณ์ และการดำเนินการในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ โดยรวมถึงการฝึกบุคลากรและนักเรียนในการรายงาน และ 3) แนวทางการบริหารสถานศึกษาปลอดภัยโรงเรียนวัดบัวขวัญ (มีทับราษฎร์บำรุง) ทั้ง 3 ด้าน ประกอบด้วย (1) การป้องกัน ในการประเมินใช้ข้อมูลเชิงสถิติเกี่ยวกับอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในสถานศึกษาในช่วงเวลาที่กำหนดเพื่อประมาณความเสี่ยงที่จะเกิดเหตุอันตราย การประเมินยังอาจพิจารณาปัจจัยต่างๆ (2) ปลูกฝัง การจัดลำดับความรุนแรงเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการช่วยให้โรงเรียนสามารถจัดการกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสมและรวดเร็ว ซึ่งมีความสำคัญเป็นพิเศษในสถานการณ์ฉุกเฉินที่ต้องการการแก้ไขทันที คือ การเสริมสร้างทักษะและสมรรถนะในด้านความปลอดภัยสำหรับสถานศึกษาเป็นกระบวนการที่ต้องทำอย่างต่อเนื่องเพื่อให้โรงเรียนมีความพร้อมและสามารถจัดการกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ (3) ปราบปราม การฟื้นฟูและช่วยเหลือในด้านความปลอดภัยสำหรับสถานศึกษาเป็นกระบวนการที่สำคัญเพื่อให้สถานศึกษากลับมาทำงานได้โดยปลอดภัยหลังจากเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินหรืออุบัติเหตุการฟื้นฟูและช่วยเหลือความปลอดภัยของสถานศึกษา และการดำเนินการขั้นตอนของกฎในสถานศึกษาเพื่อความปลอดภัยมักจะเป็นกระบวนการที่เน้นไปที่การใช้กฎและข้อบังคับเพื่อให้สถานศึกษาปลอดภัยและป้องกันอันตราย การใช้กฎและข้อบังคับในสถานการณ์ต่างๆ มีความสำคัญอย่างมากในการสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่ปลอดภัยและมั่นใจให้กับนักเรียนและบุคลากร</p>
สุชาดา เกตุแก้ว
พีรวัฒน์ ชัยสุข
ทองดี ศรีตระการ
Copyright (c) 2024 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-31
2024-12-31
5 3
645
656
-
แนวทางการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนตามหลักไตรสิกขาในยุควิถีชีวิตใหม่ ของกลุ่มโรงเรียนในสำนักงานเขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/283993
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาศักยภาพผู้เรียนในยุควิถีชีวิตใหม่ 2) เพื่อศึกษาวิธีการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนตามหลักไตรสิกขาในยุควิถีชีวิตใหม่ และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนตามหลักไตรสิกขาในยุควิถีชีวิตใหม่ เป็นการวิจัยแบบผสมวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษา จำนวน 313 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติวิเคราะห์ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 5 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ศักยภาพผู้เรียนในยุควิถีชีวิตใหม่ของกลุ่มโรงเรียนในสำนักงานเขต บางซื่อ กรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมสภาพการเรียนรู้อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทั้ง 5 ด้าน คือ ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ด้านการคิดวิเคราะห์ ด้านการคิดสร้างสรรค์ ด้านการคิดเป็นระบบ และด้านการคิดสังเคราะห์ ตามลำดับ 2) วิธีการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนตามหลักไตรสิกขาในยุควิถีชีวิตใหม่ ประกอบด้วย (1) ด้านการคิดวิเคราะห์ ควรให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมจัดกิจกรรมส่งเสริมระเบียบวินัย (ศีล) เพื่อเป็นฝึกให้นักเรียนมีจิตใจที่มั่นคง (สมาธิ) (2) ด้านการคิดสังเคราะห์ ควรส่งเสริมให้นักเรียนใช้เทคโนโลยีอย่างมีคุณธรรม (ศีล) แล้วให้นักเรียนนำข้อมูลข่าวสารออนไลน์ มาวิเคราะห์ สังเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณ (ปัญญา) ในการดำรงชีวิตวิถีชีวิตใหม่ (3) ด้านการคิดสร้างสรรค์ ควรส่งเสริมการใช้แพลตฟอร์มออนไลน์บนโซเชียลมีเดีย เว็บไซต์ออนไลน์หรือแอปพลิเคชันเรียนอย่างมีวินัย (ศีล) นำมาคิดสร้างสรรค์และเลือกข้อมูลข่าวสารมาบริโภคอย่างมีมีสติ (สมาธิ) จากผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง (4) ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ควรฝึกการใช้วิจารณญาณแก่นักเรียนในการโพสต์ข้อความหรือแชร์ความรู้สึกผ่านโซเชียลมีเดียอย่างเหมาะสม (ปัญญา) (5) ด้านการคิดเป็นระบบ ควรจัดกิจกรรมให้นักเรียนคิดอย่างเป็นระเบียบเหมาะสม (ศีล) ในการดำรงชีวิตอย่างมีสติ (สมาธิ) จากประสบการณ์ช่วยทำให้นักเรียนพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีระบบในการวิเคราะห์ข้อมูลข่าวสารอย่างมีวิจารณญาณ (ปัญญา) ในยุควิถีชีวิตใหม่ และ 3) แนวทางการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนตามหลักไตรสิกขาในยุควิถีชีวิตใหม่ เป็นการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนตามหลักไตรสิกขา ประกอบด้วย (1) ศีล รักษากาย วาจา การจัดกิจกรรมศักยภาพด้านความคิดส่งเสริมนักเรียนเกี่ยวกับระเบียบวินัยการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีสติสัมปชัญญะ ฝึกให้นักเรียน ตั้งใจเรียน รู้จักหน้าที่ รับผิดชอบ ปฏิบัติตามกฎระเบียบ มีเมตตา ช่วยเหลือผู้อื่นในการดำเนินชีวิต (2) สมาธิ ตั้งจิตมั่น การจัดการฝึกสมาธิส่งเสริมการเรียนรู้ผ่านสื่อดิจิทัล ให้นักเรียนคิดวิเคราะห์ข้อมูลข่าวออนไลน์ ฝึกคิดวิพากษ์วิจารณ์ผ่านโซเชียลมีเดีย โต้แย้งความคิดเห็นบนโซเชียลมีเดียจากสถานการณ์จำลองออนไลน์อย่างสร้างสรรค์ และ (3) ปัญญา ความรอบรู้ การจัดการฝึกทักษะการเรียนรู้เน้นการเรียนรู้แบบ Active Learning เรียนรู้ด้วยการทำลงมือปฏิบัติ ค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง ฝึกตั้งคำถาม หาข้อสงสัย วิเคราะห์ข้อมูล โต้แย้งอย่างมีเหตุผลเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้เรียนรู้ให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ มีวิจารณญาณได้เรียนรู้วิธีการดำเนินชีวิตปัจจุบัน</p>
จิราภรณ์ ถีติปริวัตร
พระครูกิตติญาณวิสิฐ
สุทิศ สวัสดี
Copyright (c) 2024 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-31
2024-12-31
5 3
657
668
-
สภาพการบริหารสถานศึกษาเพื่อสร้างความสุขในการทำงาน สำหรับบุคลากรในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/284199
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการบริหารสถานศึกษาเพื่อสร้างความสุขในการทำงานให้แก่บุคลากรในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เป็นการวิจัยแบบเชิงปริมาณใช้กลุ่มตัวอย่างที่เป็นครูโรงเรียนมัธยมศึกษา จำนวน 297 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า สภาพการบริหารสถานศึกษาเพื่อสร้างความสุขในการทำงานให้แก่บุคลากรในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ในภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก และรายด้านมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทั้ง 7 ด้าน คือ ด้านความสำเร็จในงาน ด้านความกระตือรือร้นและความรับผิดชอบในการทำงาน ด้านการจัดการและการบริหารงาน ด้านความรักในงาน ด้านการติดต่อสัมพันธ์ ด้านการเป็นที่ยอมรับ และด้านความมั่นคงปลอดภัยในการทำงานและสวัสดิการ ตามลำดับ</p>
บุญญาธิการ รอดคำ
บุญเชิด ชำนิศาสตร์
พระสุรชัย สุรชโย
Copyright (c) 2024 วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-31
2024-12-31
5 3
669
676