แนวทางการบริหารสถานศึกษาตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของโรงเรียนในกลุ่มภาชีระพีพัฒน์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยาเขต 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียนในกลุ่มภาชีระพี่พัฒน์ 2) เพื่อศึกษาวิธีการบริหารสถานศึกษาตามหลักสังคหวัตถุ 4 และ 3) เพื่อเสนอแนวทางในการบริหารสถานศึกษาตามหลักสังคหวัตถุ 4 เป็นการวิจัยแบบผสมวิธีโดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามประชากรทั้งหมดในการวิจัยที่เป็นครูผู้สอน จำนวน 101 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 5 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียนในกลุ่มภาชีระพีพัฒน์ ในภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด และรายด้านมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุดทั้ง 4 ด้าน คือ การบริหารงานวิชาการ การบริหารงานทั่วไป การบริหารงานบุคคล การบริหารงานงบประมาณ ตามลำดับ 2) วิธีการบริหารสถานศึกษาตามหลักสังคหวัตถุ 4 เป็นการนำหลักการบริหารสถานศึกษา 4 ด้าน ได้แก่ การบริหารงานวิชาการ การบริหารงานงบประมาณ การบริหารงานบุคคล การบริหารงานทั่วไป บูรณาการตามหลักสังคหวัตถุ 4 ได้แก่ ทาน (การให้) ปิยวาจา (พูดจาไพเราะ) อัตถจริยา (ทำตนให้เป็นประโยชน์) สมานัตตตา (ทำตนให้เสมอต้นเสมอปลาย) เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการบริหารโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพ และ 3) แนวทางในการบริหารสถานศึกษาตามหลักสังคหวัตถุ 4 ประกอบด้วย (1) การบริหารงานวิชาการ ให้รู้จักให้อภัยในการทำงานร่วมกัน ให้ความช่วยเหลือแบ่งปัน ใช้คำพูดที่เกิดความรักความสามัคคี ปฏิบัติหน้าที่อย่างเคร่งครัด เป็นแบบอย่างที่ดี สร้างความเข้าใจการปรับเปลี่ยนโยกย้าย มอบหมายหน้าที่อย่างเป็นธรรม (2) การบริหารงานงบประมาณ ให้คำแนะนำการบริหารงบประมาณ การวางแผนงาน ร่วมมือกับบุคลากรในฝ่ายงบประมาณจัดทำระบบฐานข้อมูลสินทรัพย์ในสถานศึกษา ควบคุมการดำเนินงานการเงินตามกฎเกณฑ์ (3) การบริหารงานบุคคล แบ่งปันความรู้ให้ครูบุคลากรอย่างดี ใช้คำพูดที่เหมาะสมและนุ่มนวลต่อครูและบุคลากร มอบหมายงานให้กับเวลาราชการร่วมกับครูและบุคลากรด้วยความเป็นธรรม รับฟังความเห็นของครูและบุคลากรอย่างเท่าเทียมกัน (4) การบริหารงานทั่วไป ส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีในการศึกษา ให้คำเสนอแนะและคำปรึกษาในการจัดทำนโยบายแผนพัฒนาการศึกษาของสถานศึกษา เป็นแบบอย่างในการวางแผน กำหนดนโยบายและแนวทางพัฒนาการศึกษา จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์กิจกรรมโรงเรียนผ่านสื่อที่หลากหลาย
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ส่งมาขอรับการตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ จะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น รวมทั้งผู้เขียนจะต้องคำนึงถึงจริยธรรมการวิจัย ไม่ละเมิดหรือคัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง ซึ่งทางวารสารฯ ได้กำหนดความซ้ำของผลงาน ด้วยโปรแกรม CopyCat เว็บ Thaijo ในระดับ ไม่เกิน 25%
ในกรณีที่ บทความวิจัยมีกระบวนการวิจัยเกี่ยวข้องกับมนุษย์ ผู้นิพนธ์จะต้องส่งหลักฐานการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์มาประกอบการลงตีพิมพ์ด้วยจึงจะได้รับการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสาร
ผู้เขียนบทความจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเสนอบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ รวมทั้งระบบการอ้างอิงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ โดยรวมทั้งทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์และวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไข เพิ่มเติม (ฉบับที่ 2). กรุงเทพมหานคร :โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์
จักรวาล สุขไมตรี. (2562). การบริหารงานตามหลักสังคหวัตถุ 4 ขององค์การบริหารส่วนตำบลพะตงอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. วารสารราชพฤกษ์. 17(2). 105-106
ชิน เรืองบุญส่ง. (2551). การศึกษาการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลในโรงเรียนสังกัดสํานักงาน เขตพื้นที่การศึกษาระยอง เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฎรําไพพรรณี.
พระครูธํารงวงศ์วิสุทธิ์ (ธีรศักดิ์ ธีรสกฺโก), พระมหาสมบัติ ธนปญฺโญ และลําพอง กลมกูล. (2566). ศึกษาองค์ประกอบการพัฒนาการจัดการงานสาธารณสงเคราะห์วิถีพุทธของคณะสงฆ์ไทย. วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์. 4(1). 1-9.
พระครูโอภาสนนทกิตติ์ (ศักดา แสงทอง). ภาวะผู้นำที่ดี เก่ง ในศตวรรษที่ 21 ในทัศนะพระพุทธศาสนา.วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 1(2). 135-144.
พระเดชา กิตฺติโก (โชติธราธรรม). (2556). การบริหารงานบุคคลตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของผู้บริหาร โรงเรียนธรรมภิรักษ์ เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์พุทธศาตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺจิตฺโต). (2554). พุทธวิธีบริหาร. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2552). พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
โยธิกา เลิศรัตยากุล, พระมหาญาณวัฒน์ ฐิตวฑฺฒโน, สมศักดิ์ บุญปู่ และกฤษฎา นันทเพ็ชร. (2564). ระบบการส่งเสริมดูแลช่วยเหลือนักเรียนสำหรับสถานศึกษาตามหลักพุทธธรรม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 8(3). 166-178.
รวิวรรณ พลทะกลาง. (2564). การบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
สมชาย รัตนทองคำ. (2556). ปรัญชาการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
แสง จันทร์งาม.(2550). คู่มือพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมสำหรับผู้บริหาร. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: กรมการศาสนา.
อรสิณียาพ์ ศรีสองเมือง. (2560). การประเมินความต้องการจำเป็นด้านการบริหารงานของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 39. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.