แนวทางการดำเนินการตามมาตรการฟื้นฟูภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของโรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษาที่ 6 ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นการศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1

Main Article Content

พงษ์ศักดิ์ มากสูงเนิน
เกษม แสงนนท์
เผด็จ จงสกุลศิริ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นของมาตรการฟื้นฟูภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ของโรงเรียน 2) เพื่อศึกษาวิธีการพัฒนามาตรการฟื้นฟูภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ตามหลักสัปปุริสธรรม 7 3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนามาตรการฟื้นฟูภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ตามหลักสัปปุริสธรรม 7 เป็นการวิจัยแบบผสมวิธีโดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 180 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าความต้องการจำเป็น และเชิงคุณภาพใช้แบบสัมภาษณ์ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 5 คน สถิติที่ใช้เป็นแบบวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการจำเป็นของมาตรการฟื้นฟูภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ของโรงเรียน ที่มีความต้องการจำเป็นอยู่อันดับที่ 1 คือ ออกแบบกระบวนการจัดการเรียนรู้ใหม่ที่ตอบสนองบริบทความเปลี่ยนแปลงและความต้องการของผู้เรียน อันดับที่ 2 คือ สร้างทัศนคติที่ดีต่อการเรียนรู้และสุขภาวะที่ดีของผู้เรียนทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต อันดับที่ 3 คือ สร้างการมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ อย่างมีประสิทธิภาพระหว่างสถานศึกษา ครู ผู้ปกครอง ชุมชน และทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง อันดับที่ 4 คือ จัดสวัสดิการ ความปลอดภัย และสร้างขวัญและกำลังใจ และอันดับที่ 5 คือ เสริมพลังพัฒนาครู และผู้บริหารสถานศึกษา ตามลำดับ 2) วิธีการพัฒนามาตรการฟื้นฟูภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ตามหลักสัปปุริสธรรม 7 เป็นการดำเนินการตามมาตรการฟื้นฟูภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ได้แก่ การรู้หลักการ (ธัมมัญญุตา) การรู้ความมุ่งหมาย (อัตถัญญุตา) การรู้จักตน (อัตตัญญุตา) การรู้จักประมาณ (มัตตัญญุตา) การรู้จักเวลา (กาลัญญุตา) การรู้จักชุมชน (ปริสัญญุตา) การรู้จักบุคคล (ปุคคลัญญุตา) เพื่อพัฒนาโรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษาที่ 6 และ 3) แนวทางการดำเนินการตามมาตรการฟื้นฟูภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ประกอบด้วยการออกแบบกระบวนการจัดการเรียนรู้ใหม่เพื่อตอบสนองความเปลี่ยนแปลงและความต้องการของผู้เรียน โดยการสืบหาสาเหตุด้านต่างๆ (รู้หลักการ) การสร้างทัศนคติที่ดีต่อการเรียนรู้และสุขภาวะที่ดีของผู้เรียนในการจัดการเรียนรู้ ครูและผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ที่ดี (รู้ความมุ่งหมาย) การสร้างสวัสดิการและความปลอดภัยในสถานศึกษาให้มีคุณภาพเพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นให้กับผู้ปกครอง (รู้จักตน) การยกระดับการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการบริหารจัดการอุปกรณ์และเครือข่ายอินเตอร์เน็ตของโรงเรียน (รู้จักประมาณ) การพัฒนาคลังสื่อดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้แบบเปิด ทันสมัย สามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว (รู้จักเวลา) การส่งเสริมกิจกรรมการเรียนรู้ที่ชุมชนมีส่วนร่วม ระหว่างผู้ปกครอง หน่วยงาน และโรงเรียน และหน่วยงานการศึกษาอื่นๆ (รู้จักชุมชน) การที่ผู้บริหารสถานศึกษาเป็น Super Coach ในการจัดการเรียนรู้พัฒนาครูให้เป็นโค้ชหรือผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ และสร้างนวัตกรรมในการสอนร่วมกัน (รู้จักบุคคล)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2565). มาตรการฟื้นฟูภาวะถดถอยทางการเรียนรู้. สมุทรปราการ: บริษัท เอส. บี. เค. การพิมพ์.

เก็จกนก เอื้อวงศ์ และคณะ. (2564). การศึกษารูปแบบการจัดการเรียนรู้สำหรับนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด – 19. รายงานการวิจัย. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฎอุบลราชธานี.

พระพรหมคุณาพร (ป. อ. ปยุตฺโต). (2546). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพมหานคร: สหธรรมมิก.

พระยุทธศิลป์ ยุทธสิปฺโป (อุปศรี). (2554). การบริหารงานโดยการประยุกต์ใช้หลักสัปปริสธรรม 7 ขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านค้อ อำเภอโพนสวรรค์จังหวัดนครพนม. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1. (2566). ข้อมูลอัตรากำลังข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา 2566. ปทุมธานี: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1.

สุรศักดิ์ ชะมารัมย์ และคณะ. (2561). การวิเคราะห์ความเชื่อมโยงแนวปฏิบัติระหว่างหลักสัปปุริสธรรมกับเทคนิค การบริหารจัดการสมัยใหม่. วารสารวนัม ฎองแหรกพุทธศาสตรปริทรรศน์. 5(2). 67-77.

หยาดฝน เดชโอภาส. (2565). การประยุกต์ใช้หลักสัปปุริสธรรมของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งความสุขของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

อัมพร พินะสา. (2566). สพฐ. แจงเลือกวิธีเรียนได้หลายแบบหากไม่พร้อมเรียนออนไลน์. แหล่งที่มา https://www.obec.go.th/archives/377135 สืบค้น 28 ม.ค. 2566.

Krejcie, R.V. & D.W. Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3). 607-610.