แนวทางการบริหารงบประมาณตามหลักฆราวาสธรรม 4 ของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1

Main Article Content

นภาพร เกษสร
พีรวัฒน์ ชัยสุข
อินถา ศิริวรรณ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นการบริหารงบประมาณของผู้บริหาร 2) เพื่อศึกษาวิธีการบริหารงบประมาณตามหลักฆราวาสธรรม 4 3) เพื่อเสนอแนวทางการบริหารงบประมาณตามหลักฆราวาสธรรม 4 เป็นการวิจัยแบบผสมวิธีโดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบกลุ่มตัวอย่างการวิจัย จำนวน 120 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความต้องการจำเป็น (PNI) และการวิจัยเชิงคุณภาพใช้แบบสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 5 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการจำเป็นของการบริหารงบประมาณ ด้านที่มีความต้องการจำเป็นอันดับที่ 1 คือ การจัดทำและเสนอของบประมาณ รองลงมา คือ การตรวจสอบติดตามประเมินผลรายงานผลการใช้จ่ายและผลการดำเนินงาน ด้านการระดมทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา ด้านการบริหารการเงิน และการบริหารบัญชี ด้านการบริหารพัสดุและทรัพย์สิน ตามลำดับ 2) วิธีการบริหารงบประมาณตามหลักฆราวาสธรรม 4 เป็นการบริหารงบประมาณทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ 1) การจัดทำและเสนอของบประมาณ 2) การบริหารการเงินและการบริหารบัญชี 3) การบริหารพัสดุและทรัพย์สิน 4) การระดมทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา 5) การตรวจสอบติดตามประเมินผล รายงานผลการใช้จ่ายและผลการดำเนินงาน โดยบูรณาการตามหลักฆราวาสธรรม 4 ได้แก่ 1) สัจจะ สัตย์ซื่อแก่กัน 2) ทมะ รู้จักข่มจิตของตน 3) ขันติ อดทน 4) จาคะ สละแบ่งปันแก่ผู้อื่นที่ควรให้ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการบริหารงบประมาณในสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และ 3) แนวทางการบริหารงบประมาณตามหลักฆราวาสธรรม 4 ประกอบด้วย (1) การจัดทำแผนงบประมาณ เพื่อให้ทราบถึงแผนการใช้จ่ายและเป้าหมายที่กำหนดไว้ (2) ระบบการบริหารการเงินและบัญชี กำหนดเป้าหมายทางการเงินและการวางแผนการใช้ทรัพยากรเงินให้เหมาะสมกับเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ การควบคุมการเงินตรวจสอบและควบคุมการใช้จ่าย (3) ระบบการบริหารพัสดุและทรัพย์สิน คือ การวางแผนการจัดซื้อจัดจ้าง บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับทรัพย์สินทั้งหมดของสถานศึกษาอย่างถูกต้องและเป็นระบบ (4) การเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณชน เปิดเผยข้อมูลการระดมทรัพยากรและทุนเพื่อการศึกษา วางแผนและกำหนดเป้าหมายในการระดมทรัพยากรสำหรับการศึกษา (5) การติดตามประเมินผลงบประมาณ การตรวจสอบ ติดตามกระบวนการที่ใช้ทางการเงินและบัญชีดำเนินงานมีประสิทธิภาพ มุ่งเน้นไปที่ความถูกต้อง โปร่งใส และเชื่อถือได้ของข้อมูล

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). ข้อเสนอแนะทางการบริหารจัดการศึกษาในสถานศึกษากรุงเทพหมานคร. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

จารุวัฒน์ ปาสาโก. (2566). การบริหารงานงบประมาณตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2. พุทธปรัชญาวิวัฒน์. 7(1). 37-38.

ณัฐกาลน์ ฤทธิจันทร์. (2566). แนวทางการบริหารงานงบประมาณตามหลักธรรมาภิบาลของโรงเรียนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ทองดี ปาโส. (2566). พุทธบูรณาการเพื่อส่งเสริมการบริหารงานที่ดีของบริษัทสัญชาติญี่ปุ่นในประเทศไทย. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

นิรุตต์ เข็มเงิน. (2546). การบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานของหน่วยงานปฏิบัติในส่วนภูมิภาค กรณีศึกษาจังหวัดนครนายก. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ปวีณา จำนงกิจ. (2566). การบริหารงานงบประมาณตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

พระครูวรปัญญาพล (กำพล มหาปญฺโญ). (2565). แนวทางส่งเสริมการบริหารงานของหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล (อ.ป.ต.) มะเขือแจ้ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน ตามหลักสาราณียธรรม. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระเมธีวราภรณ์ (สุทัศน์ วรทสฺสี). (2555). เบญจศีลเบญจธรรม: อุดมชีวิตของมนุษย์. กรุงเทพมหานคร: พิมพ์ต้นบุญ.

เพ็ญพรรณ บางอร. (2562). แนวทางการบริหารจัดการระบบบริหารงานงบประมาณของโรงเรียนสบเมยวิทยาคม อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

รัตติกรณ์ สุขดี. (2551). สภาพการบริหารงบประมาณตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียนและศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะในการบริหารงบประมาณตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. (2543). ปฏิรูปการเรียนรู้ผู้เรียนสำคัญที่สุด. กรุงเทพมหานคร: พิมพ์ดี.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2547). การจัดทำงบประมาณแบบประมาณการรายจ่ายล่วงหน้าระยะปานกลาง. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

แสงเทียน จิตรโชติ. (2560). แนวทางการบริหารงบประมาณตามหลักธรรมาภิบาลสำหรับสถานศึกษาขยายโอกาส ในเขตอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

อุทร พินิจมนตรี. (2540). การศึกษาสภาพและปัญหาการปฏิบัติงานการเงินและพัสดุโรงเรียนในสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดเลย. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Mark Allen Poisel. (1998). An evaluation of performance – based budgeting in Florida community college system. Ed.D. dissertation, The Florida State University.