แนวทางการนิเทศภายในของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้ จังหวัดนครสวรรค์ ตามหลักอิทธิบาท 4

Main Article Content

วราภรณ์ ทรัพย์ประสม
วินัย ทองมั่น
อานนท์ เมธีวรฉัตร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการนิเทศภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดนครสวรรค์ และ 2) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาการนิเทศภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดนครสวรรค์ ตามหลักอิทธิบาท 4 ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมวิธี คือ 1) การวิจัยเชิงปริมาณเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ และคณะครู จำนวน 133 คน มีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนและประมาณค่าได้ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.98 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ 2) การวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือวิจัยเป็นการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง โดยเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 12 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการนิเทศภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดนครสวรรค์ ในภาพรวมมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านทั้ง 6 ด้านพบว่ามีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทั้งหมด คือ การศึกษาสภาพปัญหาและความจำเป็นการนิเทศภายในสถานศึกษา การรายงานผลการนิเทศภายในสถานศึกษา การวางแผนการนิเทศภายในสถานศึกษา การประเมินผลการนิเทศภายในสถานศึกษา การเตรียมการนิเทศภายในสถานศึกษา และการปฏิบัติการนิเทศภายในสถานศึกษา และ 2) แนวทางการพัฒนาการนิเทศภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดนครสวรรค์ ตามหลักอิทธิบาท 4 ประกอบด้วย (1) การศึกษาสภาพปัญหาและความจำเป็นการนิเทศภายในสถานศึกษา ผู้บริหารควรประชุมร่วมกับผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศจัดลำดับความสำคัญในการแก้ไขปัญหาของสถานศึกษา วิเคราะห์งบประมาณ วางแผนพัฒนาบุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้นิเทศ ผู้บริหารติดตาม ตรวจสอบ การนิเทศเพื่อนำปัญหามาทบทวน และแก้ไขต่อไป (2) การวางแผนการนิเทศภายในสถานศึกษา ผู้บริหารควรสร้างทัศนะคติที่ดีให้ทุกคนพร้อมรับการนิเทศ ชี้ให้เห็นประโยชน์ของแผนนิเทศ นอกจากนี้ควรร่วมกันจัดทำคู่มือกรอบแนวทางการนิเทศ รวมถึงมีคำสั่ง ปฏิทิน และวิธีการนิเทศ ผู้บริหารหมั่นเพียรติดตามรายงายผลการนิเทศด้วยความเอาใจใส่ และประชุมทบทวน ปรับปรุงกรอบการนิเทศ (3) การเตรียมการนิเทศภายในสถานศึกษา ผู้บริหารควรจัดสรรงบประมาณในการนิเทศให้ทุกคนได้ร่วมกันตัดสินใจอย่างรอบคอบ และนำเทคโนโลยีแบบออนไลน์มาใช้ในการนิเทศ ผู้บริหารติดตาม ตรวจสอบ ปรับปรุงการใช้งบประมาณในการนิเทศอย่างคุ้มค่า (4) การปฏิบัติการนิเทศภายในสถานศึกษา ผู้บริหารควรสร้างความเชื่อมั่นให้ครูว่าสามารถเป็นผู้นิเทศได้ มีเทคนิคการนิเทศอย่างกัลยาณมิตร จัดตั้งศูนย์แนะแนวการนิเทศให้ครูได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผู้บริหารทบทวน ปรับปรุงการนิเทศอย่างต่อเนื่อง (5) การประเมินผลการนิเทศภายในสถานศึกษา ตาม ผู้บริหารควรชี้แจงและวางแผนประเมินผลกิจกรรมหลังได้รับการนิเทศ สร้างระบบประเมินผลตามคู่มือการพัฒนาหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ตรวจสอบวิธีการประเมินผล หากมีข้อบกพร่องในการประเมินผลให้ปรับปรุงแก้ไขวิธีการต่อไป (6) การรายงานผลการนิเทศภายในสถานศึกษา ผู้บริหารควรชี้แจงให้บุคลากรเห็นความสำคัญในการจัดทำรายงานการนิเทศที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ พัฒนาบุคลากรให้เขียนรายงานผลการนิเทศที่ถูกต้อง ผู้บริหารตรวจสอบรายงานการนิเทศ หากพบข้อผิดพลาดควรให้ข้อแนะนำและปรับปรุงแก้ไขการเขียนรายงานการนิเทศให้ถูกต้อง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

กลุ่มการพัฒนาระบบการทดสอบ. (2566). ประเมินผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติด้านการศึกษา นอกระบบ (N-NET). แหล่งที่มา http://203.159.251.151/nfetesting/ สืบค้นเมื่อ 27 มี.ค. 2566.

จรินทร์ อุตสาหะ. (2564). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการนิเทศภายในสถานศึกษาของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี.

จริยา ศรีชนะ. (2563). การพัฒนาแนวทางการนิเทศภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ชลธิชา หอมฟุ้ง. (2557). การพัฒนารูปแบบการสอนวรรณคดีไทยโดยประยุกต์ใช้อริยสัจสี่เพื่อส่งเสริม ความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนมัธยมศึกษา. ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้นฉบับปรับปรุง. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

ปาจรีย์ หงส์แก้ว. (2563). การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในที่มีประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วัชรา เล่าเรียนดี. (2554). นิเทศการสอน. พิมพ์ครั้งที่ 9. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วันสุไลมาน แวสุหลง. (2564). ภาวะผู้นำทางวิชาการกับการนิเทศภายในขอผู้บริหารโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดปัตตานี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

ศรีนพรัตน์ วงศ์วิเศษ. (2560). สภาพการดำเนินการนิเทศภายในของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

สรรเพชญ ศิริเกตุ. (2563). การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดกาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สายวินิตย์ ดวงสนาม. (2561). การนิเทศภายในสถานศึกษาของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

หน่วยศึกษานิเทศก์ สำนักงาน กศน. (2555). คู่มือการนิเทศภายในของสถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์รังสีการพิมพ์.