แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำยุคดิจิทัลตามหลักพุทธธรรมของผู้บริหารสำนักศาสนศึกษาแผนกธรรมสนามหลวงในเขตปกครองคณะสงฆ์ ภาค 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสำนักศาสนศึกษา 2) เพื่อศึกษาวิธีการพัฒนาภาวะผู้นำยุคดิจิทัลตามหลักพุทธธรรมของผู้บริหารสำนักศาสนศึกษา และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำยุคดิจิทัลตามหลักพุทธธรรมของผู้บริหารสำนักศาสนศึกษา เป็นการวิจัยแบบผสมวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 205 รูป ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 6 รูป ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสำนักศาสนศึกษา ในภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทั้ง 5 ด้าน คือ ด้านการสนับสนุนการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ด้านการสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการวัดและประเมินผลด้านจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ด้านการสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในด้านการบริหารงาน และด้านการมีภาวะผู้นำและวิสัยทัศน์เทคโนโลยีดิจิทัล ตามลำดับ 2) วิธีการพัฒนาภาวะผู้นำยุคดิจิทัลตามหลักพุทธธรรมของผู้บริหารสำนักศาสนศึกษา ประกอบด้วย (1) ด้านการมีภาวะผู้นำและวิสัยทัศน์เทคโนโลยีดิจิทัล ผู้บริหารมีการสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการพัฒนาสำนักศาสนศึกษา กำหนดแนวทางและยุทธศาสตร์ที่ชัดเจนในการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้าสู่กระบวนการการเรียนรู้ พัฒนาอุปกรณ์และโครงสร้างพื้นฐาน พัฒนาบุคลากร (2) ด้านการสนับสนุนการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ผู้บริหารมีการส่งเสริมการพัฒนาวิชาชีพด้านการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลให้กับครูและบุคลากร จัดอบรมและสัมมนาเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (3) ด้านจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ผู้บริหารมีการดำเนินการให้เกิดความเสมอภาคในการเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัลในสำนักศาสนศึกษา (4) ด้านการสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในด้านการบริหารงาน ผู้บริหารตรวจสอบความพึงพอใจของครูและบุคลากรต่อการให้บริการด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของสำนักศาสนศึกษา (5) ด้านการสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการวัดและประเมินผล ผู้บริหารมีการประเมินการสอนโดยใช้ระบบเทคโนโลยีดิจิทัลของครู มีตัวชี้วัดประสิทธิภาพการสอน และ 3) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำยุคดิจิทัลตามหลักพุทธธรรมของผู้บริหารสำนักศาสนศึกษา ประกอบด้วย (1) พหุสสุตา (ฟังและการเรียนรู้) การฟังและการเรียนรู้เทคโนโลยีโดยการฟังและทำความเข้าใจความต้องการ สนับสนุนการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการวัดและประเมินผล ให้คำแนะนำที่มีประสิทธิภาพและการติดตาม ประเมินการสอนโดยใช้ระบบเทคโนโลยีดิจิทัลของครู (2) ธตา (ทรงจำแม่นยำ) ทรงจำแม่นยำจับหลักหรือสาระได้ ทรงจำความไว้แม่นยำในข้อปฏิบัติและจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ดำเนินการให้เกิดความเสมอภาคในการเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัลในสำนักศาสนศึกษา (3) วจสา ปริจิตา (เข้าใจและการปฏิบัติได้จริง) เข้าใจและการปฏิบัติได้จริงเข้าใจความต้องการในการพัฒนาวิชาชีพด้านการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลให้กับครูและบุคลากร สนับสนุนการเรียนการสอน (4) มนสานุเปกขิตา (วิเคราะห์) วิเคราะห์ความพึงพอใจของครูและบุคลากรด้านเทคโนโลยีดิจิทัล สนับสนุนการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในด้านการบริหารงาน (5) ทิฏฐิยา สุปฏิวิทธา (สังเคราะห์และการประยุกต์) สังเคราะห์และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการพัฒนาร่วมกับการมีภาวะผู้นำและวิสัยทัศน์เทคโนโลยีดิจิทัล
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ส่งมาขอรับการตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ จะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น รวมทั้งผู้เขียนจะต้องคำนึงถึงจริยธรรมการวิจัย ไม่ละเมิดหรือคัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง ซึ่งทางวารสารฯ ได้กำหนดความซ้ำของผลงาน ด้วยโปรแกรม CopyCat เว็บ Thaijo ในระดับ ไม่เกิน 25%
ในกรณีที่ บทความวิจัยมีกระบวนการวิจัยเกี่ยวข้องกับมนุษย์ ผู้นิพนธ์จะต้องส่งหลักฐานการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์มาประกอบการลงตีพิมพ์ด้วยจึงจะได้รับการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสาร
ผู้เขียนบทความจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเสนอบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ รวมทั้งระบบการอ้างอิงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ โดยรวมทั้งทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์และวารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
References
กมล ภู่ประเสริฐ. (2544). การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ก.พล.
กองพุทธศาสน์ศึกษา. (2566). ทะเบียนรายชื่อครูสอนพระปริยัติธรรม แผนกธรรม-แผนกบาลี ปี 2565. แหล่งที่มา http://deb.onab.go.th สืบค้นเมื่อ 6 ก.พ. 2566.
จักรแก้ว นามเมือ. 2560. แนวการสอนพุทธวิธี. แหล่งที่มา https://www.gotoknow.org/posts/436552 สืบค้นเมื่อ 2 ก.ค. 2566.
จิณณวัตร ปะโคทัง. (2561). ภาวะผู้นำยุคดิจิทัล สำหรับผู้บริหารโรงเรียนมืออาชีพ. อุบลราชธานี: ศิริธรรมออฟเซ็ท.
จิราภรณ์ ปกรณ์. (2565). รูปแบบภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารรัชต์ภาคย์. 16(48). 396-410.
เจษฎา สนสุภาพ และคณะ. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการครู วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารสืบเนื่องการประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาลัยนครราชสีมา.
ทินกร บัวชู. (2562). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา. วารสารครุศาสตร์สารมหาวิทยาลัย ราชภัฏเพชรบุรี. 13(2) 285-594.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2551). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.
พัชรี ชำนาญศิลป์. (2557). ภาวะผู้นำเชิงพุทธ. สารนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
รุจาภรณ์ ลักษณะดี. (2565). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาในสหวิทยาเขตบ้านบึง 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเกริก.
เลอศักดิ์ ตามา. (2564). ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22. วารสารรัชภาคย์. 15(38). 224-240.
วรรณ จันณรงค์. (2560). คุณลักษณะของพหูสูต. แหล่งที่มา http://www.mcu.ac.th/userfiles/file/thesis/Educational-Administration สืบค้นเมื่อ 2ก.ค. 2566.
สุกัญญา แช่มช้อย. (2562). การบริหารจัดการโรงเรียนในยุคดิจิทัล. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุภวัช เชาวน์เกษม. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สุวรีย์ ศิริโภคาภิรมย์. (2546). การวิจัยทางการศึกษา. ลพบุรี: ฝ่ายเอกสารการพิมพ์สถาบันราชภัฏเทพสตรี.
Krejcie. R. V. & Morgan. D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3). 607–610.