การพัฒนาชุมชนตามหลักสังคหวัตถุธรรมของวัดลิ้นช้าง อำเภอหนองหญ้าปล้อง จังหวัดเพชรบุรี

Main Article Content

พระวรัญญู วรปญฺโญ (รอดประจง)
พระครูวาทีวรวัฒน์
พระมหากังวาล ธีรธมฺโม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาหลักการการพัฒนาชุมชนตามหลักสังคหวัตถุธรรม 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการพัฒนาชุมชนตามหลักสังคหวัตถุธรรม โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการพัฒนาชุมชนตามหลักสังคหวัตถุธรรมของวัดลิ้นช้าง เป็นการวิจัยแบบผสมวิธีโดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามประชากรทั้งหมดในการวิจัย จำนวน 276 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที ค่าเอฟ วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) หลักการพัฒนาชุมชนตามหลักสังคหวัตถุธรรมของวัดลิ้นช้าง อำเภอหนองหญ้าปล้อง จังหวัดเพชรบุรี ในภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด คือ ด้านสมานัตตตา การประพฤติตนเสมอต้นเสมอปลาย และรายด้านมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก 3 ด้าน คือ ด้านทาน การให้การเสียสละ ด้านปิยวาจา การพูดด้วยถ้อยคำที่ไพเราะจริงใจ ด้านอัตถจริยา การสงเคราะห์ประโยชน์ส่วนรวม ตามลำดับ 2) ผลการเปรียบเทียบการพัฒนาชุมชนตามหลักสังคหวัตถุธรรมของวัดลิ้นช้าง โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ ต่างกัน มีการพัฒนาชุมชนตามหลักสังคหวัตถุธรรมของวัดลิ้นช้าง โดยภาพรวมแตกต่างกันจึงยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้ ส่วนปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ การศึกษา อาชีพ และรายได้ ต่างกันมีผลให้ประชาชนมีความคิดเห็นต่อการพัฒนาชุมชนตามหลักสังคหวัตถุธรรมของวัดลิ้นช้างโดยภาพรวม ไม่แตกต่างกันจึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ และ 3) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ ในการพัฒนาชุมชนตามหลักสังคหวัตถุธรรม (1) ปัญหา อุปสรรค คือ จำนวนของผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเพิ่มจำนวนมากขึ้นทำให้ได้รับการช่วยเหลือไม่ทั่วถึง มีการใช้ถ้อยคำที่ไม่สุภาพ ขาดความสำรวมในบางครั้ง (2) ข้อเสนอแนะ คือ การสำรวจข้อมูลผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือให้ครอบคลุม เว้นการใช้คำพูดที่ไม่สุภาพ และรักษาสมณะสารูป การวางตัวให้เหมาะสมกับทุกสถานที่

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คณะกรรมการบริหารงานตำบลยางน้ำกลัดเหนือ. (2566). แผนพัฒนาตำบลยางน้ำกลัดเหนือ พ.ศ. 2566-2570. เพชรบุรี: องค์การบริหารส่วนตำบลยางน้ำกลัดเหนือ.

ดาบตำรวจวัฒนา ภังคสังข์. (2555). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริหารตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของสถานีตำรวจภูธรหนองกรด จังหวัดนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ประสาน เจริญศรี. (2558). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการตามหลักสังคหวัตถุธรรมของสำนักงานเทศบาลเมืองชลบุรี. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูใบฎีกาสุรพล อาสโภ. (2558). การพัฒนารูปแบบงานสาธารณสงเคราะห์ตามกระบวนทัศน์วิถีพุทธ. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูประกาศศาสนกิจ (ณกร ถิ่นสำราญ). (2558). การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการพัฒนาชุมชนของพระสงฆ์ในเขตตำบลวังดิน อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูวิจิตรธรรมานุรักษ์. (2557). การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมสาหรับการพัฒนาชุมชนของพระสังฆาธิการในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค 2. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธวัช วิสุทฺโธ (เนียมปาน). (2560). การให้บริการฌาปนกิจของเจ้าหน้าที่สัปเหร่อในเทศบาลนครพิษณุโลกตามหลักสังคหวัตถุ 4. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธีรวัฒน์ ธีรวฑฺฒโน (บุญเป็ง). (2565). การบริหารงานตามหลักราชสังคหวัตถุธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบลม่วงตึ๊ด อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน. สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระปลัดบัวศรี ฐิตวีริโย (ผ่านสำแดง). (2560). การส่งเสริมพฤติกรรมทางจริยธรรมตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังหัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพันธวัฒน์ ธมฺมวฑฺฒโน (ภูมิรัง) และวิทยา ทองดี. (2565). สังคมไทยกับการพัฒนาแบบยั่งยืนตามแนวพระพุทธศาสนา. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์. 7(3). 306.

พระมหาสุภกันต์ สุขุมาโล. (2557). บทบาทการพัฒนาชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลโพนสูง อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระสมุห์วีระ สุนฺทโร. (2566). พระสงฆ์กับการพัฒนาชุมชนตามหลักพุทธศาสนา. วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์. 6(4). 249.

พระสุนทร ธมฺมวโร (บุญคง). (2560). การประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในชุมชนวัดหนองสนม จังหวัดระยอง. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ภิญญดา พราหมณโชติ. (2566). การพัฒนาคุณภาพการให้บริการประชาชนตามหลักสังควัตถุธรรมของเทศบาลตำบลเลาขวัญ อำเภอเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี. สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วิทวัส พงศ์กรเกียรติ. (2566). การพัฒนาการให้บริการประชาชนตามหลักสังคหวัตถุธรรมของศูนย์ดำรงธรรมอำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี. สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2554). การพัฒนาวัดสู่ความเป็นมาตรฐาน. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอชุมแพ. (2560). มาตรฐานการพัฒนาชุมชน. ขอนแก่น: สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอชุมแพ.

อุทุมพร เกตุสุนทร. (2564). ศึกษาวิเคราะห์จริยศาสตร์ในการพัฒนาชุมชนจังหวัดภาคเหนือ. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.