ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการจัดการงานสาธารณูปการของวัดชาวเหนือ อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี

Main Article Content

พระอุกฤษ อุทาโน (เกตุแก้ว)
พระราชสมุทรวชิรโสภณ
พระครูวิสุทธานันทคุณ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการจัดการงานสาธารณูปการของวัดชาวเหนือ 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการจัดการงานสาธารณูปการของวัดชาวเหนือ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะต่อความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการจัดการงานสาธารณูปการ เป็นการวิจัยแบบผสมวิธีโดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 375 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการจัดการงานสาธารณูปการของวัดชาวเหนือ อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี ในภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทั้ง 5 ด้าน คือ ด้านการสร้างมาตรฐาน ด้านสะดวก ด้านสะอาด ด้านสะสาง ด้านการสร้างวินัย ตามลำดับ 2) ผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการจัดการงานสาธารณูปการของวัดชาวเหนือ โดยจำแนกตามเพศ อายุ และอาชีพ พบว่า ไม่แตกต่างกันทุกด้านซึ่งปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ และกลุ่มตัวอย่างที่มีวุฒิการศึกษาต่างกันมีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 3) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะต่อความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการจัดการงานสาธารณูปการ พบว่า การดำเนินการให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดศาสนสมบัติของวัดยังไม่เป็นระบบแก่พระภิกษุสามเณร ช่วงเวลาในการก่อสร้างไม่ค่อยมีความสอดคล้องกับฤดูกาล งบประมาณก่อสร้างไม่เพียงพอ การจัดทำวาระการรักษาความสะอาดเสนาสนะภายในวัดยังไม่เหมาะสม ขาดการตรวจสอบสิ่งสาธารณูปการของวัดให้อยู่ในสภาพที่ใช้การได้ ไม่มีการจัดทำบัญชีสิ่งสาธารณูปการตามลำดับขนาด และความสำคัญ ทางคณะสงฆ์ของวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนนโยบาย 5 ส. ไม่มีการอบรมและขับเคลือนเท่าที่ควร พระสงฆ์ภายในวัดบางส่วนและประชาชนยังขาดการให้ความสำคัญกับการพัฒนาวัดที่สามารถเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ด้วยวิธี 5 ส เพื่อให้วัด และชุมชน เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2554). สถิติเบื้องต้นและการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูเวฬุวันพัฒนาทร (ชัยวัฒน์ ชุตินฺธโร). (2556). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพในการบริหารจัดการงานสาธารณูปการของพระสังฆาธิการ อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระเทพโสภณ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2556). พระสังฆาธิการที่พึงประสงค์. กรุงเทพมหานคร: วัดประยุรวงศาวาส.

พระสมุห์เจริญ คเวสโก. (2554). การบริหารจัดการศาสนสมบัติของพระสังฆาธิการในจังหวัดสมุทรสงคราม.วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระสมุห์เอก ชินวํโส (เฉลยประทุม). (2554). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการสร้างสาธารณูปการ : กรณีศึกษาวัดในเขตเทศบาลตำบลพระอินทราชา อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระอกนิษฐ์ สิริปญฺโญ (อาจวิชัย). (2555). การบริหารจัดการสาธารณูปการของพระสังฆาธิการในอำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระอกนิษฐ์ สิริปญฺโญ (อาจวิชัย). (2558). การบริหารจัดการด้านสาธารณูปการของพระสังฆาธิการในอำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ไพทูรย์ โพธิสว่าง. (2559). การทำวิจัยทางสังคมศาสตร์ : หลักการวิธีปฏิบัติ สถิติและคอมพิวเตอร์. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สำนักงานทะเบียนราษฎร์ประจำเทศบาลตำบลบ้านไร่. (2565). สถิติจำนวนประชากรในหมู่บ้านชาวเหนือ ตำบลบ้านไร่ อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ประจำปี 2565. ราชบุรี: เทศบาลตำบลบ้านไร่.

สุภาพ สุปัญจนันท์. (2559). โครงการเมรุปลอดมลพิษ. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา.

Yamane, Taro. (1973). Statistic: An Introducting Analysis. 3rd ed. New York: Harper and Row.