ประสิทธิภาพการบริหารจัดการของหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลคลองข่อย อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี

Main Article Content

พระครูสังฆรักษ์สุเทพ สุเทโว (ชูชีพ)
พระครูวาทีวรวัฒน์
พระมหากังวาล ธีรธมฺโม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการบริหารจัดการของหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับปฏิบัติการที่มีต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการของหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะต่อการบริหารจัดการของหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล เป็นการวิจัยแบบผสมวิธีโดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 370 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที ค่าเอฟ วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพการบริหารจัดการของหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลคลองข่อย อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี ในภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้านมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก คือ ด้านการจัดกิจกรรมการฝึกอบรมประชาชน และรายด้านมีความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง 2 ด้าน คือ ด้านการดำเนินกิจการเพื่อช่วยเหลือเกื้อกูลประชาชน ด้านการบริหารการเงิน พัสดุ และครุภัณฑ์ ตามลำดับ 2) ผลการเปรียบเทียบประสิทธิภาพการบริหารจัดการของหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลคลองข่อย โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า เพศ อายุ การศึกษา มีผลให้ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการ โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย ส่วนด้านอาชีพและรายได้ มีผลให้ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการ โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน และ 3) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะต่อการบริหารจัดการของหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล (1) ปัญหา อุปสรรค คือ คณะสงฆ์ขาดการอบรมส่งเสริมพัฒนาบุคลากร ขาดการจัดทำแผนงบประมาณสนับสนุนสงเคราะห์ชุมชน ขาดการเปิดโอกาสให้ภาครัฐและประชาชนมีส่วนร่วมปฏิบัติงานของหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล (2) ข้อเสนอแนะ คือ คณะสงฆ์ควรสนับสนุนให้การอบรมพัฒนาบุคลากรและให้ความสำคัญบุคลากรในฐานะทรัพยากรที่ทรงคุณค่า ควรพัฒนางานในหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล ควรให้การสนับสนุนและพัฒนากลุ่มงานที่มีอยู่ในชุมชนอย่างยั่งยืน ควรเพิ่มประสิทธิภาพการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อลดช่องว่างงานของคนในชุมชน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จำนงค์ อดิวัฒนสิทธิ์ และคณะ. (2550). สังคมวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์.

พระครูนิทัศน์กิจจาทร (วันชัย กลฺยาณธมฺโม). (2559). การศึกษาบทบาทพระสังฆาธิการในการดำเนินงานหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล ในอำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูใบฎีกาสอาด ปญฺญาทีโป (ดิษฐสวรรค์). (2558). รูปแบบการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตในชุมชน ในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค 2. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูสังฆรักษ์สมบัติ ธมฺมทินฺโน (สมดี). (2562). การพัฒนาการบริหารจัดการหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลของ คณะสงฆ์ อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูอาทรวชิรกิจ (มานะ ญานิสฺสโร). (2561). การพัฒนาการจัดการหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลในจังหวัดกำแพงเพชร. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

พระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตฺโต). (2546). มองสันติภาพโลกผ่านภูมิหลังอารยธรรมโลกาภิวัตน์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: บริษัทสหธรรมิก.

พระสุธีวรญาณ (ณรงค์ จิตฺตโสภโณ). (2549). พุทธศาสตร์ปริทรรศน์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สุขภาพใจ.

พิสิฐ เจริญสุข. (2546). การปฏิบัติงานของหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล. กรุงเทพมหานคร: กรมการศาสนา.

พุทธทาสภิกขุ (เงื้อม อินฺทปญฺโญ). (2547). บางแง่มุมของกามในทัศนะพุทธทาสภิกขุ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สุขภาพใจ.

ไพทูรย์ โพธิสว่าง. (2559). การทำวิจัยทางสังคมศาสตร์ : หลักการวิธีปฏิบัติ สถิติและคอมพิวเตอร์. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Yamane, Taro. (1973). Statistic: An Introducting Analysis. 3rd ed. New York: Harper and Row.