การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติ ตามแนวคิดของเดวีส์ เรื่องพื้นฐานนาฏศิลป์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

Main Article Content

วรายุทธ มะปะทัง
วนิดา ผาระนัด
ณัฏฐชัย จันทชุม

บทคัดย่อ

          บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติตามแนวคิดของเดวีส์ เรื่องพื้นฐานนาฏศิลป์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2.) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติตามแนวคิดของเดวีส์ เรื่องพื้นฐานนาฏศิลป์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 3) ศึกษาทักษะปฏิบัติหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติตามแนวคิดของเดวีส์ เรื่องพื้นฐานนาฏศิลป์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนบ้านห้วยยางสะอาด อำเภอเขาสวนกวาง จังหวัดขอนแก่น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4 จำนวน 106 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดของเดวีส์ จำนวน 6 แผน ค่าความเหมาะสม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ค่าความเชื่อมั่น แบบวัดทักษะปฏิบัติ เป็นแบบรูบริคสกอร์ (Rubric Score) 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


          ผลการวิจัยพบว่า: 1) ประสิทธิภาพของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติตามแนวคิดของเดวีส์ เรื่องพื้นฐานนาฏศิลป์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ (87.08/82.58) ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ (80/80) 2) ดัชนีประสิทธิผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติตามแนวคิดของเดวีส์ เรื่องพื้นฐานนาฏศิลป์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีค่าเท่ากับ 0.7191 3) นักเรียนมีทักษะปฏิบัติด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติตามแนวคิดของเดวีส์ เรื่องพื้นฐานนาฏศิลป์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยรวมอยู่ในร้อยละ 84.04

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เฉิดฉิน โคตรมา. (2551). การพัฒนาผลการเรียนรู้และความสามารถในการปฏิบัติเรื่อง นาฏศิลป์เบื้องต้น ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคร่วมมือกัน. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและวิธีสอน. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เผชิญ กิจระการ. (2542). เอกสารประกอบการสอนวิชาดัชนีประสิทธิผล (503710). มหาสารคาม: ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

เรณู โกศิลานนท์. (2545). รำไทย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

ทัศนีย์ หลักเพ็ชร. (2548). การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นทักษะกระบวนการเรื่อง บายศรีปากชม กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. ใน สารนิพนธ์การศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีศึกษาและคอมพิวเตอร์ศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ธิดารัตน์ นวลมณี. (2548). การหลักสูตรท้องถิ่นกลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยีเรื่อง การประดิษฐ์ขันหมากเบง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. ใน สารนิพนธ์การศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีศึกษาและคอมพิวเตอร์ศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

นวลจิตต์ เชาวกีรติพงศ์. (2534). พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอน ที่เน้นทักษะปฏิบัติสำหรับครูวิชาอาชีพ. ใน ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมจิตร ศรีหาวงษ์. (2553). ผลการพัฒนาความสามารถด้านการวาดภาพระบายสีด้วยการจัดกิจกรรมที่เน้นทักษะปฏิบัติตามแนวคิดของแฮร์โรว์ (Harrow) กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระทัศนศิลป์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สมนึก ภัททิยธนี. (2549). พื้นฐานการวิจัยการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.

อภิณห์พร แม้นวิเศษพงศ์. (2549). การพัฒนาชุดการสอนเรื่อง นาฏยศัพท์และภาษาท่านาฏศิลป์ โดยเน้นกระบวนการปฏิบัติ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยบูรพา.

Goodman R.I. et al. (1980). The Effectiveness Index as Comparative Measure in Media Product Evaluation. Educational Technology, 20(09), 30-34.