การพัฒนารูปแบบการนำผลการประเมินคุณภาพภายในไปใช้เพื่อพัฒนาคุณภาพ ของโรงเรียนการศึกษาสงเคราะห์ภาคใต้

Main Article Content

อัสสยุช รักษ์พงศ์
อโนทัย ประสาน
พร้อมพิไล บัวสุวรรณ

บทคัดย่อ

บทความวิจัย มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบ และ 3) ตรวจสอบรูปแบบการนำผลการประเมินคุณภาพภายในไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพของโรงเรียน รูปแบบการศึกษาวิจัย มีการดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันความต้องการ ใช้กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 45 คน คือ ผู้บริหารสถานศึกษา 15 คน หัวหน้างานวิชาการ 15 คน และครูผู้รับผิดชอบงานประกันคุณภาพการศึกษา 15 คน ใช้แบบสอบถาม สัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูล จำนวน 5 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหา 2) พัฒนารูปแบบการประเมินคุณภาพภายใน ใช้การสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ 9 คน ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา และ 3) ตรวจสอบรูปแบบ กลุ่มตัวอย่าง คือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการใช้รูปแบบ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา 15 คน สนทนากลุ่มผู้ปฏิบัติ ใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือด้านการมุ่งเน้นครูบุคลากร ด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดการมุ่งเน้นผู้เรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ความต้องการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ การวัดการวิเคราะห์ การจัดการความรู้ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือด้านการนำองค์กรและการมุ่งเน้นผู้เรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ผลการสัมภาษณ์เชิงลึก พบว่า ต้องนำผลการประเมินคุณภาพภายในไปพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง 2) การพัฒนารูปแบบ มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ ระบบงานและกลไกวิธีดำเนินงาน และแนวการประเมินผลการใช้ 3) การตรวจสอบรูปแบบ โดยภาพรวมมีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ คิดเป็นร้อยละ 100 ทั้ง 5 องค์ประกอบ

Article Details

How to Cite
รักษ์พงศ์ อ. ., ประสาน อ. ., & บัวสุวรรณ พ. . (2025). การพัฒนารูปแบบการนำผลการประเมินคุณภาพภายในไปใช้เพื่อพัฒนาคุณภาพ ของโรงเรียนการศึกษาสงเคราะห์ภาคใต้. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 12(3), 200–209. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/286678
บท
บทความวิจัย

References

เฉลิมพร กุมภา. (2563). รูปแบบการบริหารงานประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก. ใน ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา. มหาวิทาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

วิไลวรรณ นันต๊ะ. (2566). รูปแบบการบริหารงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาบนพื้นที่สูงในถิ่นทุรกันดาร. ใน ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

วีระยุทธ์ ชาตะกาญจน์. (2560). การพัฒนารูปแบบการนำผลการประกันคุณภาพการศึกษาไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็กในภาคใต้. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์, 9(2), 1-13.

สง่า จันทร์วิเศษ. (2566). การพัฒนารูปแบบการบริหารการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในเขตตรวจราชการที่ 13. ใน ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล.

สมชาย ว้ากิจเกษมสกุล. (2567). การวัดและประเมินผลการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2566). แนวทางการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาทักษะความฉลาดทางดิจิทัลของผู้เรียนทุกช่วงวัย : กรณีศึกษาของต่างประเทศและประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2565). เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน OBECQA ปี 2565 - 2568. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2567). เกณฑ์คุณภาพศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ ฉบับปี 2567 - 2570. กรุงเทพมหานคร: กองยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. (2567). แนวทางการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อการประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. (2566). คู่มือสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

อำนาจ ธีระวนิช. (2565). การจัดการยุคใหม่. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Vroman, H. W. & Luchsinger, V. P. (1994). Managing Organization Quality. New York: IRWIN.