กลยุทธ์การบริหารจัดการหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น อย่างยั่งยืนของกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการ จำเป็นฯ พัฒนาและตรวจสอบกลยุทธ์และคู่มือการขับเคลื่อนฯ และตรวจสอบประเมินกลยุทธ์และคู่มือการขับเคลื่อนการบริหารจัดการหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืนของกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ เป็นแบบผสมวิธีพหุระยะ กลุ่มตัวอย่าง/ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการตอบแบบสอบถาม จำนวน 150 คน สัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน ประชุม เชิงปฏิบัติการสนทนากลุ่ม จำนวน 9 คน ตรวจสอบความถูกต้องและความเหมาะสม จำนวน 11 คน ประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ จำนวน 150 คน ได้เลือกกลุ่มเป้าหมายแบบเจาะจง เครื่องมือการวิจัย เป็นแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง แบบบันทึกการประชุมเชิงปฏิบัติการ แบบตรวจสอบความถูกต้องความเหมาะสม และแบบประเมินความเป็นไปได้ ความเป็นประโยชน์ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์เชิงลึกกึ่งโครงสร้าง แบบบันทึกและแบบประเมิน วิเคราะห์เนื้อหาด้วยตาราง SWOT Matrix, TOWs Matrix สถิติที่ใช้ในการวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (Priority Need Index : PNI) ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบัน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ความต้องการจำเป็นโดยรวมอยู่ในระดับสูง (PNI Modified = 0.17) พัฒนาและตรวจสอบกลยุทธ์ ประกอบด้วย วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ ประเด็นกลยุทธ์ มาตรการ แผนงาน และโครงการ และผลการตรวจสอบประเมินกลยุทธ์และคู่มือการบริหารจัดการหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น อย่างยั่งยืนของกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ความถูกต้องและความเหมาะสมโดยภาพรวมร้อยละ 90.91 ความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2565). 3 ปี อว.กับความสำเร็จการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.
ขวัญตา บุญวาศ และคณะ. (2020). การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้ สถานการณ์จำลองเสมือนจริง ในยุคสังคมปกติวิถีใหม่ ของคณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 32(3), 66-79.
คณะการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. (2567). การศึกษาปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 ครูปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 อาชีพที่เกินกว่าการทดแทนด้วย AI. เรียกใช้เมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2568 จาก https://ece.utcc.ac.th/#course
ที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ. (2562). ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏ เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 - 2579). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ.
พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547. (2547). ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 121 ตอนพิเศษ 23 ก หน้า 1 (14 มิถุนายน 2547).
ภาควิชาการศึกษาปฐมวัย. (2564). รายงานการประเมินผลการประกันคุณภาพภายในระดับหลักสูตรปีการศึกษา 2563. เรียกใช้เมื่อ 31 กรกฏาคม 2564 จาก http://202.44.139.56/cheqa3d2564/
มารุต พัฒผล. (2567). แนวคิดในการพัฒนาหลักสูตร. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
เมษา นวลศรี และคณะ. (2564). การประเมินความต้องการจำเป็นเพื่อพัฒนาด้านการจัดการเรียนการสอน ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. Journal of Roi Kaensarn Academi, 6(6), 34-51.
ยุภาพร ยุภาศ. (2562). กลยุทธ์กับการบริหารงาน. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 6(1), 353-362.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
โสภณ วุฒิประเสริฐกุล และประทุมทอง ไตรรัตน. (2564). กลยุทธ์การบริหารมหาวิทยาลัยตามแนวคิดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(6), 387-403.
Best, J. W. (1997). Research in Education. (3rd ed.). New Jersey: Prentice Hall Inc.
Mjaku, G. (2020). Strategic Management and Strategic Leadership. International Journal of Scientific and Research Publications, 10(8), 914-918.