ประสิทธิผลการดำเนินงานของสถาบันการเงินชุมชนในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือ

Main Article Content

สยาม เจติยานนท์
กัมปนาท วงษ์วัฒนพงษ์
ภาสกร ดอกจันทร์

บทคัดย่อ

งานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความสำคัญของทุนทางสังคม การมีส่วนร่วมของสมาชิก ภาวะผู้นำ การบริหารจัดการ และประสิทธิผลการดำเนินงานของสถาบันการเงินชุมชน 2) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานของสถาบันการเงินชุมชน และ 3) ศึกษาแนวทางพัฒนาการดำเนินงานของสถาบันการเงินชุมชนในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือ ซึ่งเป็นการวิจัยแบบผสมผสาน เครื่องมือในการวิจัย คือ 1) แบบสอบถาม ประชากรเป็นผู้บริหารหรือคณะกรรมการสถาบันการเงินชุมชน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน โดยวิธีสุ่มอย่างแบบหลายขั้นตอน 2) การสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม จำนวน 12 คน และ 6 คน ตามลำดับ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ คณะกรรมการสถาบันการเงินชุมชน นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญสถาบันการเงินชุมชน ด้วยวิธีเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง ผลการวิจัย พบว่า ทุนทางสังคม การมีส่วนร่วมของสมาชิก การบริหารจัดการ และประสิทธิผล การดำเนินงาน ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนภาวะผู้นำ ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และผลการวิเคราะห์ การถดถอยพหุคูณ พบว่า ทุนทางสังคม การมีส่วนร่วมของสมาชิก และการบริหารจัดการ สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลการดำเนินงานของสถาบันการเงินชุมชน ได้ร้อยละ 61.20 (R² = .612) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และเมื่อพิจารณาขนาดอิทธิพลที่มีผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงาน โดยเรียงลำดับด้านที่มีค่าสูงสุด คือ ทุนทางสังคม การบริหารจัดการ และการมีส่วนร่วมของสมาชิก ตามลำดับ แนวทางการยกระดับกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง เริ่มจากส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนให้สมาชิกพึ่งพาตนเองได้ ส่งเสริมอาชีพมีรายได้เพิ่มแนวทางการเพิ่มประสิทธิผลการดำเนินงาน คือ ส่งเสริมกิจกรรมที่เพิ่มทุนทางสังคม ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของสมาชิก การนำระบบเทคโนโลยีมาใช้ และสมาชิกคัดสรรคณะกรรมการที่มีคุณธรรม ความรู้ ความสามารถ และบริหารงานด้วยความโปร่งใส

Article Details

How to Cite
เจติยานนท์ ส. ., วงษ์วัฒนพงษ์ ก. ., & ดอกจันทร์ ภ. . (2025). ประสิทธิผลการดำเนินงานของสถาบันการเงินชุมชนในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือ. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 12(3), 95–108. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/286332
บท
บทความวิจัย

References

กรวีร์ ปัณณราช และฏฐภัทร์ ศุภเศรษฐสิริ. (2567). แจงสี่เบี้ย. เรียกใช้เมื่อ 16 เมษายน 2567 จาก https://www.bot.or.th/content/dam/bot/documents/th/research-and-publications-pdf/articles-and-publications/articles/download/2024/article-2024mar06.pdf

ชุติมณฑน์ วงษ์คำหาร. (2559). ความสำเร็จในการนำนโยบายการยกระดับกองทุนหมู่บ้านเป็นสถาบันการเงินชุมชนไปปฏิบัติ: กรณีศึกษา สถาบันการเงินชุมชนปากเกร็ดร่วมใจ 2. ใน วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองการปกครอง. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ณฐชน วงษ์ขำ. (2561). ปัจจัยสู่ความสำเร็จของการนำนโยบายกองทุนหมู่บ้านไปปฏิบัติ: กรณีศึกษากองทุนที่ได้รับการพัฒนาเป็นสถาบันการเงินชุมชนในจังหวัดสมุทรปราการ. ใน วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2549). สถิติวิเคราะห์เพื่อการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: จามจุรี โปรดักท์.

ปิยะวดี ยอดนา. (2561). การบริหารแบบบูรณาการของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนจังหวัดสกลนคร. ใน วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพัฒนา. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

พระปุญญาพัฒน์ แสงวงค์ดี และกฤตวรรณ สาหร่าย. (2565). ปัจจัยสู่ความสำเร็จสถาบันการเงินชุมชนบ้านดอน ตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ และสถาบันการเงินชุมชนบ้านแม่ใจใต้ ตำบลเวียง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่. วารสาร มจร การพัฒนาสังคม, 7(1), 117-193.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2556). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ. (2567). รายงานสรุปจำนวนสถาบันการเงินชุมชน สาขา 1 และ 2. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ.

สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน. (2561). กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ. เรียกใช้เมื่อ 20 มกราคม 2566 จาก https://www.audit.go.th/th/กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ-สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ

สำราญ วิเศษพรม. (2560). รูปแบบพัฒนาการบริการจัดการสถาบันการเงินชุมชนในจังหวัดนครพนม. ใน วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

สุจิตรา บุณยรัตพันธุ์. (2557). ระเบียบวิธีวิจัยสำหรับรัฐประศาสนศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 14). กรุงเทพมหานคร: พับลิชชิ่ง.

สุภางค์ จันทวานิช. (2547). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อุมาวดี เดชธำรงค์ และวิระพงศ์ จันทร์สนาม. (2562). ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน: กรณีศึกษา สถาบันการเงินชุมชนในจังหวัดชัยภูมิ. วารสารสมาคมนักวิจัย, 25(1), 72-89.

Best, J. W. (1997). Research in Education. (3th ed.). Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice Hall, Inc.

David, A. S. et al. (2023). Mediating Effect of Public Participation on the Relationship between Budgeting Practices and Financial Performance of County Governments in Kenya. Stratford Peer Reviewed Journals and Book Publishing Journal of Finance and Accounting, 7(5), 78-94.

Dilshad, R. M. & Latif, M. I. (2013). Focus Group Interview as a Tool for Qualitative Research: An Analysis. Pakistan Journal of Social Sciences, 33(1), 191-198.

Hair, J. F. et al. (2010). Multivariate data analysis. (7th ed.). Upper Saddle River, New Jersey: Prentice Hall.

Kerr, S. & Jermier, J. M. (1978). Substitutes for leadership: Their meaning and measurement. Organizational Behavior and Human Performance, 22(3), 375-403.

Pedhazur, E. J. (1997). Multiple Regression in Behavioral Research. New York: Holt Rinehart and Winston.

Putu, Y. W. et al. (2019). Social Capital Effectiveness toward Competitive Advantage and Business Performance (Case Study of Village Credit Institutions in Gianyar Regency, Bali, Indonesia). Scientific Papers Series “Management, Economic Engineering in Agriculture and Rural Development”, 19(3), 2285-3952.