การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกสำหรับชุมชนท่องเที่ยวริมน้ำ ในลุ่มน้ำท่าจีนตอนกลาง กรณีศึกษา พื้นที่เกาะลัดอีแท่น จังหวัดนครปฐม
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ ลักษณะผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกสำหรับชุมชนท่องเที่ยวริมน้ำในลุ่มน้ำท่าจีนตอนกลางของชุมชนเกาะลัดอีแท่น พฤติกรรมและความต้องการบริโภคผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก ออกแบบและจัดทำต้นแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก และประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อผลิตภัณฑ์ต้นแบบของที่ระลึกฯ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ สมาชิกในชุมชน นักท่องเที่ยว และผู้สนใจ เลือกแบบเจาะจง รวมทั้งสิ้น จำนวน 60 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบประเมินพฤติกรรมและความต้องการบริโภคผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก แบบประเมินความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์ ต้นแบบ 7 ต้นแบบ สถิติการวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า ลักษณะสภาพทั่วไปการจัดการท่องเที่ยวผลิตภัณฑ์สินค้าและของที่ระลึกในชุมชนเกาะลัดอีแท่น เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เกษตร และวิถีชีวิตชุมชนที่โดดเด่นด้วยทรัพยากรธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์จากแม่น้ำท่าจีน เหมาะแก่การเกษตรแบบผสมผสาน มีพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน และสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจทั้งทางการเกษตร ทางวัฒนธรรม และทางศาสนาพฤติกรรมและความต้องการบริโภคผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก ฯ ตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวกลุ่ม Digital Nomad ทั้งชาวต่างชาติและชาวไทย ได้จัดทำต้นแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก ออกแบบและจัดทำต้นแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก ใช้หลักการออกแบบเชิงคิด มาประยุกต์ใช้กับการออกแบบและพัฒนาอุปกรณ์คลายเส้นจากภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้ผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกรูปแบบใหม่ จำนวน 7 รูปแบบ ความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อผลิตภัณฑ์ต้นแบบของที่ระลึกฯ โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับดี ส่วนด้านความสะดวกในการพกพาและขนาดที่เหมาะสมบรรจุหีบห่อ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับดีมาก
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2566). เเผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2566 - 2570). เรียกใช้เมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2568 จาก https://shorturl.asia/VXHn1
กิตติกรณ์ บำรุงบุญ. (2564). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกที่สะท้อนอัตลักษณ์ท้องถิ่นจังหวัดมหาสารคามเพื่อยกระดับมูลค่าทางเศรษฐกิจ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 40(2), 7-24.
ชลธิชา วิมลชัยฤกษ์. (2563). พื้นที่ของกลุ่มคนดิจิทัลโนแมด ในมิติการอยู่อาศัย การทำงานและการพักผ่อนหย่อนใจ (LIVE WORK PLAY) กรณีศึกษาพื้นที่เมืองเชียงใหม่. ใน วิทยานิพนธ์สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสถาปัตยกรรม. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ชัยรัตน์ อัศวางกูร. (2548). ออกแบบให้โดนใจ: คู่มือการออกแบบบรรจุภัณฑ์สำหรับผู้ประกอบการและนักออกแบบ. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: สำนักพัฒนาอุตสาหกรรมสนับสนุน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม.
นิรัช สุดสังข์. (2559). ระเบียบวิธีวิจัยทางการออกแบบ. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (ฉบับที่ 13). (2565). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 139 ตอนพิเศษที่ 258 ง หน้า 12 (1 พฤศจิกายน 2565).
มะยุรีย์ พิทยเสนีย์ และพิชญาภา ยวงสร้อย. (2564). การคิดเชิงออกแบบ: ครูนวัตกรวิถีใหม่. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎลําปาง, 10(2), 190-199.
วัชรินทร์ จรุงจิตสุนทร. (2548). หลักการและแนวคิดการออกแบบผลิตภัณฑ์. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: แอ๊ปป้า พริ้นติ้ง กรุ๊ป.
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. (2568). มาตราส่วนลิเคิร์ต. เรียกใช้เมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2568 จาก https://en.wikipedia.org/wiki/Likert_scale
ศิริวัฒน์ สาระเขตต์ และคณะ. (2565). แผนที่ศิลปะโคราช. วารสารมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล, 35(2), 82-96.
สิงห์อำพล จันทร์วิเศษ. (2563). ความต้องการและปัญหาในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรของเกษตรกรในพื้นที่เกาะลัดอีแท่น อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. ใน วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาส่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตร. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
Makimoto, T. & Manners, D. (1997). Digital Nomad. New York: John Wiley & Sons.