การพัฒนาชุดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการประกอบคอมพิวเตอร์โดยประยุกต์ทฤษฎี Muscle Memory ของนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาชุดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการประกอบคอมพิวเตอร์โดยประยุกต์ทฤษฎี Muscle Memory นักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา Memory เปรียบเทียบแนวโน้มทักษะการประกอบคอมพิวเตอร์โดยประยุกต์ทฤษฎี Muscle Memory นักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา และประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อชุดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการประกอบคอมพิวเตอร์โดยประยุกต์ทฤษฎี Muscle Memory นักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เป็นแบบการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาแผนกเทคโนโลยีธุรกิจดิจิทัล วิทยาลัยการอาชีพหลวงประธานราษฎร์นิกร สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้วิจัย ได้แก่ 1) ชุดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการประกอบคอมพิวเตอร์ มีค่าเฉลี่ยความถูกต้องและความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) แผนการจัดการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยความถูกต้องและความเหมาะสมอยู่ระดับมากที่สุด 3) แบบวัดทักษะการประกอบคอมพิวเตอร์ มีค่าความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์ 1.00 และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อชุดการเรียนรู้ มีค่าความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์ 0.67 - 1.00 มีค่าความเชื่อมั่น 0.78 สถิติที่ใช้วิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวัดซ้ำโดยใช้สถิติฟรีดแมน พบว่า ชุดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการประกอบคอมพิวเตอร์โดยประยุกต์ทฤษฎี Muscle Memory ประกอบด้วย จุดประสงค์การเรียนรู้ ใบความรู้ แบบฝึกหัด เฉลยแบบฝึกหัด และแบบทดสอบ มีค่าประสิทธิภาพ 83.78/83.33 ผลการเปรียบเทียบแนวโน้มทักษะการประกอบคอมพิวเตอร์ของผู้เรียนที่เรียนด้วยชุดการเรียนรู้มีแนวโน้มที่สูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผลประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อชุดการเรียนรู้ นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงมีความพึงพอใจต่อชุดการเรียนรู้อยู่ในระดับมาก
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ก้าน อะโรคา และคณะ. (2558). การเปรียบเทียบผลการเรียน เรื่องการประกอบ เครื่องคอมพิวเตอร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างการเรียนบนเว็บแบบผสมผสานกับการเรียนปกติ. วารสารราชพฤกษ์, 13(1), 110-117.
กุศยา แสงเดช. (2545). แบบฝึกคู่มือพัฒนาสื่อการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญระดับประถมศึกษา. กรุงเทพมหานคร: แม็ค.
เกลานิสัยอันตราย. (2564). ต้องฝึกฝนจนกว่า กล้ามเนื้อ จะจำได้ความจำที่ต้องการความสม่ำเสมอ. เรียกใช้เมื่อ 15 กันยายน 2567 จาก https://klao365.org/articles/muscle-memory-article-01
ณัฏฐภรณ์ หลาวทอง. (2559). การสร้างเครื่องมือการวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญชม ศรีสะอาด. (2537). การพัฒนาการสอน. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
ประสิทธิพร แท่นพิทักษ์ และสมศักดิ์ อภิบาลศรี. (2559). การพัฒนาชุดฝึกปฏิบัติการประกอบเครื่อง คอมพิวเตอร์ วิชาปฏิบัติการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ สำนักนักศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษา นครราชสีมาระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงปีที่ 1. ใน การประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยระดับชาติครั้งที่ 3. วิทยาลัยนครราชสีมา.
พล เหลืองรังษี. (2568). การวิจัยหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้. (พิมพ์ครั้งที่ 2). สงขลา: บริษัทอะวา 2013 จำกัด.
พันทิวา พรหมทองบุญ และพล เหลืองรังษี. (2567). การพัฒนาชุดการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ เรื่องการแก้โจทย์ปัญหาการคุณและการหาร โดยใช้ทฤษฎีบาร์โมเดล นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนพะตงวิทยามูลนิธิ. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม, 8(3), 25-37.
พิชิต บุตรศรีสวย. (2546). ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด เขตการศึกษา 9. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
สำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ. (2567). หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พุทธศักราช 2567. เรียกใช้เมื่อ 1 กันยายน 2567 จาก https://bsq.vec.go.th/th-th/หลักสูตร/ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส)/หลักสูตรพศ2567.aspx
สุวิทย์ มูลคำ และอรทัย มูลคำ. (2551). 20 วิธีการจัดการเรียนรู้. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: ภาพพิมพ์.
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ. (2567). ออกกำลังกายต้องรู้ ความจำของกล้ามเนื้อ (Muscle Memory) คืออะไร ทำงานยังไง. เรียกใช้เมื่อ 15 กันยายน 2567 จาก https://www.thairath.co.th/sport/others/2756712
อาฟีฟี ลาเต๊ะ. (2566). การวิจัยในชั้นเรียน. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: ไอ.เจ.สยาม จำกัด.
Nike. (2563). ความจำของกล้ามเนื้อช่วยเร่งพัฒนาการได้อย่างไร. เรียกใช้เมื่อ 20 กันยายน 2567 จาก https://www.nike.com/th/a/how-muscle-memory-speeds-progress
Thip. (2566). ความจำของกล้ามเนื้อ (Muscle Memory) คืออะไร ทำงานยังไง. เรียกใช้เมื่อ 20 กันยายน 2567 จาก https://www.vrunvride.com/what-is-muscle-memory/
Worakan, J. (2024). Even though it's been a long time, can we still do something? 'Muscle Memory' when we practice until the body moves automatically. Retrieved September 20, 2024, from https://thematter.co/science-tech/muscle-memory/131391